ผู้ประกอบการเกี่ยวข้องกับ SDS อย่างไร |
ผู้เขียน:
ธิดารัตน์ คล่องตรวจโรค |
หน่วยงาน: ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย |
วันที่:
16 พ.ย. 2550 |
คำถาม ผู้ประกอบการเกี่ยวข้องกับ SDS อย่างไร
คำตอบ กฎหมายของหลายประเทศได้กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ผลิต และจำหน่ายสารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีอันตรายเป็นส่วนประกอบ ต้องจัดทำข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีส่งมอบให้กับผู้ซื้อ เพื่อสื่อสารให้ทราบถึงความเสี่ยงและการดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีหรือสารเคมีในผลิตภัณฑ์นั้นได้อย่างเหมาะสม
ข้อกำหนดของระบบ GHS (The Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals) กำหนดว่าควรจัดทำ SDS สำหรับสารเคมี (substance) และสารผสม (mixture) ทุกชนิดที่มีคุณสมบัติตรงกับเกณฑ์ความเป็นอันตรายด้านกายภาพ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ระบบ GHS และสำหรับสารผสมทุกชนิดที่ประกอบด้วยสารที่มีคุณสมบัติตรงกับเกณฑ์ของสารก่อมะเร็ง เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ หรือเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมาย โดยมีค่าความเป็นอันตรายตามที่ระบบ GHS กำหนด
นอกจากนี้ ระเบียบ REACH ที่สหภาพยุโรปประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อปลายปี พ.ศ. 2549 และเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป มีข้อกำหนดไว้ข้อหนึ่งว่า ผู้ผลิต (manufacturer) ผู้นำเข้า (importer) หรือผู้จัดจำหน่าย (distributor) สารเคมี (substance) หรือเคมีภัณฑ์ (preparation) จะต้องจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรับและส่งผ่านข้อมูลความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทาน
ดังนั้นผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิต ที่จะต้องติดต่อค้าขายกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป จะต้องจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี ตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ มิฉะนั้นจะไม่สามารถจำหน่ายสินค้าในประเทศเหล่านี้ได้
แหล่งอ้างอิง :
ขวัญนภัส สรโชติ, รดาวรรณ ศิลปโภชนากุล และวราพรรณ ด่านอุตรา. เอกสารข้อมูลความปลอดภัย Safety Data Sheets. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, 2550 |
|
|
ข้อคิดเห็น |
|
|
ข้อคิดเห็นที่
1:
That's way the bseetst answer so far!
โดย:
Justice
[3 มิ.ย. 2554 19:31]
|
|
|
|
|
ข้อคิดเห็นที่
2:
I don't even know what to say, this made thgnis so much easier!
โดย:
Janais
[17 ม.ค. 2555 02:33]
|
|
|
|
|
|
|
|
|