สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

เมลามีน... เรื่องราวที่ถูกเปิดเผย

ผู้เขียน: รศ. สุชาตา ชินะจิตร
หน่วยงาน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 8 ต.ค. 2551

            เมลามีนยังเป็นกระแสข่าวต่อเนื่อง ก็เลยมีเรื่องที่ไปค้นมาเล่าต่อเป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมในแง่ประโยชน์นั้นมีมาก เมลามีนเป็นสารประกอบที่นำไปทำเป็นเมลามีนเรซินกับฟอร์มัลดีไฮด์ ได้พลาสติกชนิด thermosetting หมายความว่าเป็นพลาสติกที่ไม่สามารถนำมาหลอมไปใช้ใหม่ได้เหมือนพวก thermoplastic เราจะพบการใช้ประโยชน์ของเมลามีนเรซินในการทำเป็นภาชนะที่ใช้ในครัว แต่ไม่เหมาะกับการใช้กับไมโครเวฟเพราะเก็บคลื่นไมโครเวฟได้ทำให้ร้อนขึ้น พื้นฟอร์เมกาที่เราเคยได้ยินบ่อยๆ ก็มาจากเมลามีนเรซิน ซึ่งเหมาะกับการใช้เคลือบผิวชนิดต่างๆ ด้วยเพราะรักษาความสะอาดได้ง่าย เมลามีนโฟมใช้เป็นวัสดุเพื่อเป็นฉนวนไฟฟ้าและเก็บเสียง ดังนั้นเมลามีนจึงมีประโยชน์ในการใช้งานมหาศาล แต่ที่เป็นเรื่องขึ้นมาเพราะเกิดจากการใช้ที่ผิดวัตถุประสงค์

            เรื่องราวที่ถูกเปิดเผย (2008 Chinese Milk Scandal) เกิดจากมีรายงานจากกุมารแพทย์ว่าพบทารกในประเทศจีนป่วยมีอาการไตวาย ตั้งแต่เดือนกันยายน 2008 เป็นต้นมา ได้มีการรายงานจากสำนักข่าวและนานาชาติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำนองว่าจีนพยายามปกปิดการเสนอข่าวทั้งๆ ที่กุมารแพทย์และแพทย์เฉพาะทางได้รายงานต่อองค์กรตรวจสอบของรัฐที่เรียกว่า Administration of Quality Supervision Inspection and Quarantine (AQSIQ) แต่ถูกปฏิเสธปัดให้ไปรายงานต่อกรมอนามัย เมื่อกลุ่มสหกรณ์ของนิวซีแลนด์ชื่อ Fonterra ซึ่งมีหุ้นส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์นมในจีนขนาดใหญ่ต้องแจ้งไปยังรัฐบาลนิวซีแลนด์ หลังจากที่บริษัทไม่ได้รับคำตอบจากหุ้นส่วน ชื่อบริษัทผู้ต้องสงสัยก็ไม่ได้รับการเปิดเผย อีกทั้งยังพบว่ามีความพยายามขอความร่วมมือจาก search engine รายใหญ่ให้ช่วยปิดบังข้อมูลที่เสียหายด้วย ในที่สุดก็มีการเพ่งเล็งไปยังกลุ่มบริษัทซันลูที่เป็นปัญหา เพราะเป็นบริษัทผู้นำในตลาดซึ่งปฏิเสธมาตั้งแต่ต้น ทั้งๆ ที่บริษัทเคยได้รับรายงานความผิดปกติมาตั้งแต่ปี 2007 แต่ไม่ได้ทำการตรวจสอบจนปี 2008 แล้ว ยังพยายามร้องขอให้เทศบาลเมือง Shijiazhuang เข้มงวดกับการเสนอข่าวทางลบอีก ในที่สุดวันที่ 15 กันยายน 2008 บริษัทจึงถูกสั่งหยุดการผลิต และทำลายผลิตภัณฑ์นม 2.76 ตัน ที่อยู่ภายในโกดัง รวมทั้งเรียกผลิตภัณฑ์กลับอีกด้วย ผลที่ตามมาแน่นอนมีผู้ถูกดำเนินคดีตั้งแต่ ประธานบริษัท ผู้อำนวยการ AQSIQ ตลอดจนนายกเทศมนตรี และเจ้าหน้าที่เมือง Shijiazhuang ก็ถูกให้ออกฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

            คำถามคือเรื่องนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ความเสียหายได้กระจายไปทั่วโลกก็ว่าได้ 25 ประเทศหยุดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์นมจากจีน ร้านกาแฟ อาหารและขนมดังๆ ทั้งหลายที่ใช้ผลิตภัณฑ์นมมีทั้ง Starbuck, Cadbury, White Rabbit, Lotte ล้วนถูกผลกระทบเพราะใช้วัตถุดิบจากจีน นอกจากบริษัทซันลูแล้ว ยังตรวจพบเมลามีนในผลิตภัณฑ์ของบริษัทอื่นอีกด้วย แต่มีปริมาณไม่มากเท่า ได้แก่ บริษัท Mengniu, Yili, และYorhili ทั้งนี้จีนผลิตผลิตภัณฑ์นมถึง 30 ล้านตัน ในปี 2006 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า ของปริมาณที่ผลิตได้เมื่อ10 ปีก่อน ซึ่งสิ่งที่เป็นข้อสงสัยต่อมาคือราคาขายของบริษัทซันลู ถูกกว่าราคาตามท้องตลาดถึงครึ่งหนึ่ง เป็นไปได้ว่าทางบริษัทซันลูใช้เมลามีนคุณภาพต่ำซึ่งอาจมีสิ่งปนเปื้อนอื่นอีกด้วย ขณะที่ราคาเมลามีนเกรดบริสุทธิ์ 99% ราคาตันละ 11,000 หยวน ส่วนเกรดต่ำราคาเพียงตันละ 700 หยวน ซึ่งในเมลามีนเกรดต่ำจะมีสารปนเปื้อนอื่น เช่น ยูเรีย แอมโมเนีย โปแตสเซียมไนเตรต และโซเดียมไนไตรต์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย

            องค์การอนามัยโลกได้รับแจ้งจากจีนเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 และได้ตั้งข้อตำหนิว่าเปิดเป็นประเด็นสาธารณะช้ามากด้วยความจงใจหรือไม่รู้ แต่ดูเหมือนเป็นความตั้งใจหลอกผู้บริโภคระดับชาติ เพื่อทำกำไรในระยะสั้น ทางด้านศาสตราจารย์ Hu Zingdoa แห่งสถาบันเทคโนโลยีปักกิ่งกล่าวว่า นี้คือผลของการขยายตลาดโดยไม่พยายามวางรากฐานทางจริยธรรม รัฐบาลจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดในการแก้ปัญหาทั้งระบบแทนที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทีละจุด ซึ่งสภาพนี้คงไม่แตกต่างกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งไทยด้วยที่กำลังเป็นสังคมที่อยากรวยเร็ว

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Ammonia
Formaldehyde
Potassium nitrate
2,4,6-Triamino-1,3,5-triazine
Urea
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
เรียนรู้จากข่าว - จากอาหารแมว อาหารสุนัข ถึงยาสีฟัน
เรียนรู้จากข่าว - เมลามีนในนม
เรียนรู้จากข่าว - เมลามีนในอาหารสัตว์
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เมลามีนคืออะไร

โดย:  น้องฟ้า  [3 พ.ย. 2551 16:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

เมลามีนเป็นอย่างไรและมีลักษณะอย่างไร

โดย:  ภา  [3 พ.ย. 2551 16:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

แย่จริงๆ

โดย:  ..  [5 พ.ย. 2551 13:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

รอบรู้เรื่องเมลามีน
รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ  ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมลามีน คือ พลาสติกชนิดหนึ่งมีสารฟอร์มาลดีไฮด์เป็นส่วนประกอบ หรือที่เรารู้จักคุ้นเคยกันคือ ฟอร์มาลีน ส่วนใหญ่เมลานีนจะถูกนำมาผลิตพลาสติก จานเมลามีน ถุงพลาสติก พลาสติกสำหรับห่ออาหาร นอกจากนี้เมลามีนยังอยู่ในอุตลาหกรรมเม็ดสีเป็นหมึกพิมพ์สีเหลือง นอกจากนี้ยังนำไปทำน้ำยาดับเพลิงคุณภาพดี น้ำยาทำความสะอาด และปุ๋ย เพราะโครงสร้างของเมลามีนมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบที่ค่อนข้างสูง

คุณสมบัติของเมลามีน
เป็นเมตาโบไลท์ของไซโรมาซีน(Cyromazine)  ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่งเมื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและพืชได้รับเข้าไปในร่างกายจะสามารถเปลี่ยนไปเป็นเมลามีนได้ มีไนโตรเจน 66.67 %  คิดเป็นปริมาณโปรตีนได้ 416.66 % จัดเป็นพวก Non-Protein Nitrogen (NPN) ในสัตว์กระเพาะรวม แต่ไม่นิยมใช้เพราะการ Hydrolysis ช้าและไม่สมบูรณ์เหมือนยูเรีย ลักษณะเป็นผงสีขาว มีสูตรโครงสร้างทางเคมี C3H6 N6 (1,3,5 Triazine 2,4,6 Triamine) ละลายน้ำได้น้อย เมลามีนคุณภาพดีจะนำไปทำเม็ดพลาสติกเรียกเม็ดเลซินเมลามีน ส่วนเศษที่เหลือหรือเมลามีนที่คุณภาพเลวจะนำกลับไปทำของใช้ ซึ่งเมลานีนคุณภาพเลวนี้ขบวนการของมันไม่สมบูรณ์จึงมีราคาถูก และเกิดอนุพันธ์ของเมลามีนขึ้นหลายชนิด เรียกว่า เมลามีนอันนาล็อก ประกอบด้วย ammeline,ammelide และ cyanuric acid แม้จะเป็นอนุพันธ์ของเมลามีนแต่ก็ยังมีโปรตีนสูงถึง 224.36 %

งานวิจัยกับเมลามีนในช่วงที่ผ่านมา
จากการวิจัยในปี ค.ศ.1971 มีการนำเมลามีนมาใส่ในอาหารโค เพราะเป็นแหล่งไนโตรเจน ต่อมาในปี 1971-1976 มีการวิจัยพบว่าเมลามีนมีไนโตรเจนสูงกว่ายูเรีย แต่เมื่อสัตว์กระเพาะรวม (โคเนื้อ โคนม แพะ แกะ) กินเข้าไปแล้วไม่สามารถย่อยได้สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในตัวสัตว์จึงไม่นิยมใช้ จากนั้นมีการทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเมลามีนที่มาจากโรงงานผลิตที่ค่อนข้างดีก็จะมีเฉพาะเมลามีนตัวเดียวออกมาไม่มีอัลนาล็อก และมีการศึกษาเมลามีนในสัตว์และคน ก็พบว่าไม่เป็นพิษจึงยอมให้มาผลิตเป็พลาสติกภาชนะใส่อาหารและใช้ห่ออาหารอีกด้วย
จนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา หน่วยงาน U.S.Food and Drug ออกมาตรการให้มีการสืบสวนกลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงจากเมืองจีน เพราะพบว่าอาหารสัตว์เลี้ยงที่ส่งไปขายในสหรัฐอเมริกาและแอฟริกาใต้ เมื่อสุนัขและแมวกินเข้าไปทำให้สัตว์เลี้ยงลัมป่วยและตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ U.S.Food and Drug ได้ประกาศระงับการนำเข้ากลูเตนที่ผลิตได้จากแป้งสาลี(wheat gluten) ของจีน รวมทั้งเรียกคืนสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงจากจีนรวมกว่า 60 ล้านกล่อง ครอบคลุมสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงประมาณ 100 ยี่ห้อ นอกจากนี้ยังมีความสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าคอนกลูเต้น ( corn gluten )  ที่ผลิตในอเมริกามีโปรตีนไม่ถึง 64 % ทั้ง ๆ ที่อเมริกาเป็นแหล่ง corn gluten แหล่งใหญ่ของโลกในขณะที่ผลิตภัณฑ์จากเมืองจีนมีโปรตีนสูงถึง 68 % แต่กลับราคาถูกกว่า
นอกจากนำเข้า corn gluten จากจีนแล้ว อเมริกายังนำเข้าโปรตีนจากพืชชนิดอื่น ๆ ของจีน เช่น  wheat gluten, rice bran และ rice protein concentrate หลังจากนั้นพบว่าเมื่อนำไปใช้เลี้ยงสัตว์แล้วเกิดปัญหา เมื่อตรวจสอบก็พบว่าโปรตีนจากพืชที่นำเข้าจากจีนปนเปื้อนด้วยเมลามีน และอนุพันธ์ของเมลามีน U.S.Food and Drug  ได้ประกาศระงับการนำเข้าโปรตีนจากพืชของจีนรวมทั้งเรียกคืนอาหารสัตว์จากจีนกว่า 60 ล้านกล่อง ครอบคลุมสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงประมาณ 100 ยี่ห้อ
จากจุดนี้ทำให้หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหาร ประจำสหภาพยุโรป (European food Safety Authority : EFSA) ได้มีการกำหนดค่าในการบริโภคเมลามีนต่อวันของมนุษย์และสัตว์ ( toterable daily intake : TDI ) ในระดับไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน โดยค่ะ TDI ของเมลามีนทั้งคนและสัตว์ให้มีค่าเท่ากันเพราะยังไม่มีการวิจัยในสัตว์ออกมาส่วนค่าเมลามีนที่จะปนมากับอาหารคนและสัตว์เกินกว่า 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ 30 ppm. ได้
EU และประเทศสมาชิก 27 ประเทศมีการตรวจเข้มข้น เพื่อหาการปนเปื้อนของเมลามีนในสินค้าประเภท wheat gluten,corn gluten, corn meal, soy protein, rice bran, rice protein concentrate ที่นำเข้าจากจีนและประเทศที่ 3 ซึ่งรวมถึงกลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้ทั้งนี้ให้รายงานผลการตรวจเข้าสู่ระบบเตือนภัยกลาง คือ Repid Alert System for Food and Feed

เมลามีนในประเทศจีน
จีนมีโรงงานผลิตเมลามีน 3 แหล่งใหญ่ ๆ  ซึ่งร่ำรวยมาก ผลิตเมลามีนเดือนละหลายหมื่นตันในเมืองจีนเมลามีนวางขายหลากหลายยี่ห้อ และมีการับรองมาตรฐานอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการประกาศขายเมลามีนผ่านทางอินเตอร์เน็ตอย่างเปิดเผย ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในเมืองจีนมีขายและใช้กันมากในการผลิตอาหารสุนัข อาหารสุกร รวมถึงแป้งที่คนกิน นอกจากจะนำมาใช้ในประเทศแล้ว จีนยังมีการส่งเมลามีนเข้าไปขายในประเทศที่ 3 ประกอบด้วย ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเชีย และฟิลลิปปินส์ โดยไม่ได้นำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมจานเมลามีน แต่เอามาปนเปื้อนในอาหารคนอาหารสัตว์ ซึ่งผู้ขายจากจีนจะไม่บอกว่าเป็นเมลามีนโดยบอกว่าเป็น ไบโอโปรตีน โดยเป็นเมลานีนเศษเหลือจากโรงงานพลาสติก ราคาถูก นำเข้าในราคากิโลกรัมละ 1.20 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เมืองจีนราคาประมาณกิโลกรัมละ 1-2 หยวนเท่านั้น
ในตอนนั้นไม่มีใครคิดว่าสารที่เข้ามาเป็นเมลามีน เพราะไม่มีน้ำยาสำหรับตรวจสอบได้ มีแต่ตรวจเช็คการปนเปื้อนยูเรีย Non-Protein Nitrogen  คือ ปุ๋ย เป็นพวกแอมโมเนียมไนเตรท แอมโมเนียมฟอสเฟต แอมโมเนียมซัลเฟต นอกจากนั้นยังมีการตรวจการปนเปื้อนขนไก่ไฮโดรไลซ์เศษหนังเท่านั้น

ความเป็นพิษของเมลามีน
เกิดการระคายเคืองเมื่อสูดดมทำให้ตาและผิวหนังอักเสบ เมื่อกินเข้าไประบบสืบพันธุ์ถูกทำลาย เกิดนิ่วในท่อปัสสาวะและไต เกิดมะเร็งที่ท่อปัสสาวะ ในสุนัขจะขับถ่ายออกมามาก ปัสสาวะมีความถ่วงจำเพาะลดลง มีเมลามีนในปัสสาวะสูง และเห็นเกร็ดเล็ก ๆ สีขาวเกิดขึ้นที่ไตและปัสสาวะ โดยน้ำปัสสาวะจะมีสีขาวขุ่นและมีโปรตีนและเลือดถูกขับออกมาด้วย กรณีในคนจะมีปัญหาท่อปัสสาวะล้มเหลว ในปลาไร้เกล็ด(ปลาดุก) เกร็ดจะเกิดผิวสีดำ ตับและไตขนาดใหญ่(ตับแตก) และตายในที่สุด

ผลของเมลามีนต่อสุกร – ไก่
อาการที่พบในสุกร ผอมซูบไม่กินอาหาร ตายแบบเฉียบพลันเพราะไตวาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเข้าว่าเป็น PRRS หรือเซอร์โคไวรัส ขี้จะแข็งเป็นเม็ดกระสุน ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นรุนแรง พื้นคอกสีขาวเนื่องจากการขับเมลามีนออกมากับปัสสาวะ ผิวหนังที่มีการสัมผัสเมลามีนจะเป็นมะเร็งได้ (ในสุกรจะเห็นผิวหนังเป็นจุดแดง) ถ้าสูดดมเอาเมลามีนเข้าไปจะทำให้โพรงจมูกอักเสบ และมักพบสุกรส่วนหนึ่งตายอย่างไม่ทราบสาเหตุ การแสดงอาหารป่วยจะพบ 30–100 % แต่การตายจะพบ 20-80 % วิการเมื่อผ่าซากจะพบไตแข็ง มีสีเหลืองผิวเป็นเม็ดน้อยหน่า และจะพบโรคแทรกซ้อนมากมาย
อาการที่พบในไก่เนื้อ ไตจะใหญ่กว่าปกติ 3-4 เท่า บริเวณอุ้งเท้าไก่จะเน่าเพราะมูลที่ขับถ่ายออกมาเหนียวมากจึงเกาะติดทำให้เกิดการระคายเคืองกับอุ้งเท้าไก่โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนขาย จึงเกิดความเสียหายขึ้นจะมาก-น้อยแตกต่างกันในแต่ละฟาร์ม

เส้นทางการสืบค้นหาเมลามีนในเมืองไทย
จากการตรวจสอบวัตถุที่นำเข้าจากจีนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีสิ่งที่เป็นข้อสงสัยเกิดขึ้นจากการค้นคว้าเจาะลึกลงไป พอดีกับที่ได้ไปงาน VIV ที่จีน พร้อมไปเป็นวิทยากรที่เมืองจีนอีกหลายครั้ง ก็ได้เห็นสินค้าหลากหลายวางขายจึงเก็บมาวิเคราะห์ก็เลยแน่ใจว่าเป็น เมลามีน โดยเมลามีนที่ตรวจพบในเมืองไทยที่ปนเปื้อนมากับวัตถุดิบอาหารมีหลากหลายชนิด ประกอบด้วย
- โพลียูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ (ผงสีขาว)
- โพลีเมธิลคาร์บาไมล์ (ผงสีขาว)
- โพลียูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ (UF) เรซิน
- เมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ (MF) เรซิน
- เมลามีนยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ (MUF) เรซิน
ซึ่งมีตั้งแต่สีเหลืองจนขาว ขาวเทา เทาและดำ เมลามีน(ผงสีขาว) และเมลามีนไซอนูเลท(เป็นรูปเกลือที่เกิดจากเมลามีนและกรดไซอนูริค) โดยเมื่อตรวจสอบเปอร์เซ็นต์โปรตีนพบสูงตั้งแต่ 160-450 %  จึงเริ่มมีการทำเทสคิดและสำเร็จในเดือนพฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา โดยน้ำยาสารละลาย A (ความเป็นด่างสูง) และน้ำยาสารละลาย B (ความเป็นกรมสูง)

ขั้นตอนในการตรวจสอลเมลามีน
1. ตรวจสอบโดยตรงจากกล้องจุลทรรศน์ (ต้องมีความชำนาญและฝึกอบรมการตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยกล้องจุลทรรศน์มาก่อน) จะสามารถเห็นสารนี้ได้ โดยจะเห็นเป็นคริสตัลแวววาวสีแตกต่างกันไปถ้าปลอมปนในโปรตีนจากพืช เช่น โปรตีนจากข้าวโพด ข้าวลาสี ถั่วเหลือง (กากถั่วเหลืองและถั่วอบ) มักจะเป็นสีเหลืองหรือขาว
2. หยดสารละลาย A ลงไปจะเกิดตะกอนขุ่นขาวครั้งแรก (มองจากกล้องจุลทรรศน์) และจะเปลี่ยนเป็นตะกอนขุ่นสีเทาดำเกิดขึ้น เมื่อทิ้งไว้ 5-10 นาที จะมีเมือกสีขาวเคลือบอยู่ด้านบน ส่วนด้านล่างจะมีสีดำเทาแสดงว่าเป็นพวก UF ถ้าเป็น MF จะได้สารละลายสีเหลืองและ MUF จะเป็นสีเหลืองอ่อน
3. ตรวจสอบจากกล้องจุลทรรศน์ เช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 2 แต่ให้หยดสารละลาย B ลงไปจะเกิดสีชมพู-ม่วงคราม-ม่วงน้ำเงินเกิดขึ้นเป็นพวก UF สำหรับ MF จะได้สีชมพู และ MUF ต้องทิ้งไว้ 15-20 นาที จึงจะเกิดสีชมพูอ่อน
4. น้ำตัวอย่างอาหารที่จะทดสอบโดยละลายในน้ำกลั่น อัตราส่วนอาหารต่อน้ำ 1 : 10 แล้วคนให้เข้ากันขณะคนให้สังเกตถ้ามีสารปนเปื้อนอาหารจะจับตัวเป็นขุยก้อนเล็ก ๆ สังเกตดูน้ำที่ใช้ละลายจะไม่ใส มีสีขาวเหมือนน้ำข้าวต้ม แสดงได้ทันทีว่ามีเมลามีนผงสีเทาปนเปื้อน ทิ้งไว้ในตะกอนแล้วกรองด้วยกระดาษกรอง Whatman No.4 หรือดูดเอาน้ำไปทดสอบกับสารละลาย A และ B

วัตถุดิบอาหารสัตว์หลักที่ต้องระว

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [6 พ.ย. 2551 17:18]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

" จับ 22 ผู้ต้องหาคดีนมปนเปื้อน Melamine อันอื้อฉาว "      เขียนโดย tai เมื่อ 30 กันยายน 2008        

ทางการมณฑลเหอเป่ยได้ส่งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 800 คน เพื่อตรวจค้นฟาร์มท้องถิ่นและโรงนมถึง 10 วัน ในที่สุดก็สามารถจับกุมผู้ต้องหา 22 คน ที่มีส่วนในการผสมสาร Melamine ลงในน้ำนมได้แล้ว  โดยผู้ต้องหาทั้งหมดมีอาชีพผลิตและจัดส่งนมให้กับบริษัทซานลู่ ซึ่งเป็นบริษัทที่อื้อฉาวจากการที่สินค้าถึง 21 ชนิดของตน มีสาร Melamine ปนเปื้อน จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายและเจ็บป่วยอีกกว่า 50,000 คน  
จากการสืบสวน ผู้ต้องหาทั้งหมดให้การรับสารภาพว่า ที่ต้องทำแบบนี้ก็เพราะว่าน้ำนมที่พวกตนส่งให้กับบริษัทซานลู่นั้น ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากซานลู่หลายครั้ง จึงทำให้คิดว่า หากใส่สาร Melamine เข้าไป ก็จะช่วยทำให้น้ำนมมีโปรตีนมากขึ้น และสามารถขายให้กับซานลู่ได้ในที่สุด  
ซึ่งผู้ต้องหายังให้การรับสารภาพอีกว่า พวกตนได้ใส่สาร Melamine ลงไปในน้ำนมดิบถึง 222.5 กิโลกรัม ในระหว่างการผลิต, การขาย และการจัดส่งไปยังบริษัทซานลู่ด้วย

ที่มา - เซี่ยงไฮ้เดลี่        

http://www.taimix.com/tags/melamine/        ข่าว เรื่อง นมปนเปื้อนเมลามีน ( Melamine )

โดย:  นักเคมี  [1 ธ.ค. 2551 18:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

http://en.wikipedia.org/wiki/Melamine        ( Melamine )        
http://www.theregister.co.uk/2008/10/06/china_melamine_scare/        
http://www.fda.gov/bbs/topics/NEWS/2008/NEW01891.html        
http://www.sciam.com/blog/60-second-science/post.cfm?id=why-is-melamine-in-baby-formula-you-2008-09-24        
http://www.sciencebase.com/science-blog/melamine-in-milk.html        เรื่อง นมปนเปื้อนเมลามีน ( Melamine in Milk )  มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น มากกว่า  120 ครั้ง

โดย:  นักเคมี  [1 ธ.ค. 2551 18:48]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น