สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สาระเคมีภัณฑ์

โลหะหนัก : ตัวการปัญหาสิ่งแวดล้อม

ผู้เขียน: พรพรรณ พนาปวุฒิกุล
วันที่: 12 ต.ค. 2549


การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเทคโนโลยี การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ทำให้มีการปล่อยของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมเกินขีดจำกัด ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรงและยากต่อการแก้ไข หนึ่งในผลกระทบนั้นคือการรั่วไหลปนเปื้อนของโลหะหนักในแหล่งน้ำ
 
โลหะหนักจัดอยู่ในกลุ่มธาตุที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่า 4 ขึ้นไป (ตรวจสอบค่าความถ่วงจำเพาะได้ที่ website http://www.lenntech.com/periodic-chart.htm) และส่วนใหญ่เป็นธาตุที่อยู่ในกลุ่ม Transition metals ซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต โลหะหนักเป็นสารที่คงตัว ไม่สามารถสลายตัวได้ในกระบวนการธรรมชาติ จึงมีบางส่วนตกตะกอนสะสมอยู่ในดิน ดินตะกอนที่อยู่ในน้ำ รวมถึงการสะสมอยู่ในสัตว์น้ำ
 
โลหะหนักเป็นวัตถุดิบที่ถูกนำมาใช้ในหลายภาคส่วน เช่น ในด้านอุตสาหกรรม เราใช้โลหะหนักในการผลิตพลาสติก พีวีซี สี ถ่านไฟฉาย สำหรับทางด้านการเกษตร โลหะหนักเป็นส่วนผสมของยาฆ่าแมลงและปุ๋ย ขณะเดียวกันทางการแพทย์ใช้โลหะหนักเป็นส่วนผสมของยา อุปกรณ์ทางการแพทย์และเครื่องสำอาง น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตเหล่านี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในการดำรงชีพ
 
ในชีวิตประจำวัน คนเรามีความเสี่ยงต่อการนำโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการบริโภคอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีสารเหล่านี้ปนเปื้อนอยู่ โดยเฉพาะชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณโรงงานที่ขาดจิตสำนึก ซึ่งมักจะลักลอบเทของเสียลงดินหรือลงแม่น้ำ กำจัดกากของเสียอย่างผิดวิธี ทั้งนี้เนื่องจากต้องการลดรายจ่าย โลหะหนักบางชนิดสามารถให้ทั้งคุณและโทษต่อสิ่งมีชีวิต ขึ้นกับชนิดของสิ่งมีชีวิตและปริมาณที่ได้รับเข้าไป ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียต้องการ โคบอลท์ (Cobalt-Co) ทองแดง (Copper-Cu) แมงกานีส (Manganese-Mn) โมลิบดีนัม (Molybdenum-Mo) แวแนเดียม (Vanadium-V) และสังกะสี (Zinc-Zn) ในปริมาณที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตามปริมาณโลหะที่มากเกินไปจะสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษต่อจุลินทรีย์เหล่านี้ ส่งผลให้ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สำหรับโลหะหนักบางชนิด เช่น ปรอท (Mercury-Hg) และแคดเมียม (Cadmium-Cd) จัดเป็นสารพิษต่อร่างกาย และถูกจัดให้ขึ้นบัญชีดำ (black list) เนื่องจากมีพิษร้ายแรงมากต่อมนุษย์ จึงขอนำมากล่าวในรายละเอียดซึ่งจะบอกถึงแหล่งที่มาและผลของการมีโลหะหนักทั้ง 2 ชนิดสะสมอยู่ในร่างกาย (Sawyer et al., 2003).
 
ปรอท

สารปรอทเป็นส่วนประกอบหลักของสารอมัลกัมที่ใช้อุดฟัน (Amalgum) ปรอทยังมีในสีทาบ้าน และใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตแบตเตอรีและการสกัดแร่เงินและทอง จุลินทรีย์บางชนิดสามารถเปลี่ยนสารปรอทให้เป็นสารประกอบ methylated mercury (CH3Hg+ และ (CH3)2Hg) ซึ่งมีความเป็นพิษสูง โลหะหนักรวมทั้งปรอทมักปนเปื้อนมากับน้ำดิบที่จะมาทำน้ำประปาและอาหารซึ่งจะเป็นพวกปลาทะเลที่มีวงจรชีวิตยาว เช่น ปลาทูน่า และปลาฉลาม ทั้งนี้เนื่องจากปรอทไหลไปตามน้ำจืดออกสู่ทะเล และเข้าสู่วงจรอาหาร ปลาทะเลจึงกินเข้าไปและสะสมอยู่ในหัวปลา อาการป่วยเนื่องจากพิษของปรอทโดยทั่วไป มีตั้งแต่ ปวดท้องรุนแรง ปวดศีรษะ ปวดตามเนื้อตัว ชา ความจำเสื่อม ไม่มีสมาธิ ซึมเศร้า เพราะปรอทส่วนใหญ่ไปสะสมที่มันสมองของมนุษย์ โดยอยู่ในไขมันซึ่งมีจำนวนมากที่สมอง ทำให้เป็นอันตรายต่อระบบประสาท ผลกระทบนี้มีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์ และเด็กเล็ก เพราะระบบประสาทของเด็กกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนา (จนกระทั่งอายุ 14 ปี) แต่ระยะวิกฤตจะอยู่ในช่วงสัปดาห์แรกๆของการตั้งครรภ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจไม่ปรากฏในช่วงแรกคลอด แต่จะแสดงอาการเด่นชัดในช่วงหลัง ดังนั้นองค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา จึงมีคำแนะนำให้สตรีมีครรภ์ สตรีในวัยเจริญพันธ์ แม่ที่กำลังให้นมบุตร และเด็ก หลีกเลี่ยงการบริโภคปลาบางชนิด เช่น ปลาดาบเงิน ปลาฉลาม ปลา King Mackeral เนื่องจากมีสารปรอทสะสมอยู่ในปริมาณสูง
 
แคดเมียม

แคดเมียมเป็นโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำ โดยมาจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานแบตเตอรี่ โรงงานทำสี และ โรงงานทำพลาสติก พิษของสารแคดเมียม คือ ถ้าได้รับปริมาณมากในทันที อาจทำให้เกิดโรค อิไต อิไต (“Itai-Itai” disease) มีผลให้กระดูกเปราะ และปวดอย่างรุนแรง ถ้าได้รับสารในปริมาณน้อยแต่เป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ไตทำงานผิดปกติ กระวนกระวาย ขาดสมาธิ ความจำเสื่อม บางครั้งซึมเศร้า บางครั้งร่าเริง (Manic Depressive Behaviour) ถ้ามีอาการอ่อนเพลียอาจหมดสติและตายได้
 
การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียมีหลายวิธีและขั้นตอน ขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำเสียและวัตถุประสงค์ในการบำบัด เช่น การบำบัดน้ำเสียที่มีความเข้มข้นของโลหะหนักสูงให้อยู่ในระดับที่สามารถนำกลับมาดื่มได้ (ตารางที่ 1) ต้องอาศัยขั้นตอนการบำบัดหลายขั้นตอน ตัวอย่างวิธีการบำบัดที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้
 
1.       การตกตะกอนโดยใช้สารเคมี (Precipitation)
2.       การแยกโดยใช้กระแสไฟฟ้า (Electrolytic Process)
3.       การแยกด้วยแผ่น membrane (Membrane separation)
4.       การบำบัดทางชีวภาพ (Biological Process)
5.       การใช้สารดูดซับ (Adsorption)
6.       การแลกเปลี่ยนไอออน (Ion-Exchange)
 
แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีการบำบัดมากมายมารองรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่การป้องกันการรั่วไหลของโลหะหนักจากโรงงานนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะการกำจัดของเสียของโรงงานอุตสาหกรรมไม่สามารถควบคุมได้ แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วยังไม่สามารถป้องกันการรั่วไหลออกมาปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมบูรณ์ ทางออกของประเทศเหล่านี้ คือการมาสร้างโรงงานในประเทศด้อยพัฒนาซึ่งไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากค่าแรงและค่าวัตถุดิบที่ถูกกว่าแล้ว ยังสามารถปล่อย กากของเสีย สารเคมี รวมถึงเศษโลหะหนัก สู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ผ่านการบำบัดที่เหมาะสม ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนจึงเป็นปัญหาสำคัญที่ประเทศด้อยพัฒนายังต้องเผชิญต่อไปจนกว่าทางภาครัฐจะหันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับการปรับปรุงกฏหมายสิ่งแวดล้อมให้เข้มงวดมากขึ้น
 
เอกสารอ้างอิง
 
1) Sawyer, C., McCarty, P. and Parkin, G., “Chemistry for environmental engineering and science”, 5th ed., McGrawhill, Singapore, 2003.
 
 
ตารางที่ 1 ตัวอย่างค่ามาตรฐานโลหะหนักในน้ำดื่ม (U.S.  EPA)
 
ชนิดของโลหะหนัก
ความเข้มข้น
( มิลลิกรัมต่อลิตร )
ปรอท
0.002
แคดเมียม
0.005
นิกเกิล
0.01
แมงกานีส
0.05
ตะกั่ว
0.05
โครเมียม
0.1
ทองแดง
1
สังกะสี
5
 
 
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Mercury
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ดีมากๆคับ


โดย:  002  [28 ส.ค. 2550 16:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอบคุณสำหรับข้อมูล


โดย:  ตัวเอง  [28 ส.ค. 2550 22:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

อยากทราบค่ามาตรฐานโลหะหนักในน้ำผึ้งค่ะ     ต้องการด่วนเลยนะคะ

โดย:  I want it.  [17 ก.ย. 2550 17:59]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

ดู draft revised standard of honey ของ CODEX
http://www.fao.org/docrep/meeting/005/X4616E/x4616e0b.htm
http://www.beekeeping.com/articles/us/honey_quality.htm

โดย:  I found it  [18 ก.ย. 2550 10:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

อยากทราบว่ามีข้อกำหนดของปริมาณโลหะหนักสำหรับหมึกพิมพ์กล่องหรือไม่อย่างไร

โดย:  สายจิตต์  [21 ก.ย. 2550 10:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

อยากทราบเรื่องสารเคมี หรือโลหะหนักที่ส่งผลกระทบกับพนักงานในโรงงานผลิตท่อเหล็กส่งน้ำมันหรือแก๊ส ขนาดใหญ่ ค่ะ

โดย:  มี๋  [13 ต.ค. 2550 22:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

เพราะไม่รู้ว่าในการผลิตท่อที่ว่าใช้สารเคมีอะไรบ้างและใช้อย่างไร จึงขอตอบในหลักการดังนี้ค่ะ
1. น่าจะเริ่มจากดูว่าในการผลิตมีสารเคมีหรือโลหะหนักอะไรเกี่ยวข้องบ้าง
2. จากนั้นหาข้อมูลว่าสารหรือโลหะหนักนั้น ๆ มีความเป็นอันตรายหรือไม่ โดยดูจากเอกสารความปลอดภัย (MSDS หรือ SDS) หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีข้อมูลนี้ของสารที่ใช้ -สำหรับ MSDS ของสารเคมีสามารถสืบค้นได้จากเว็บไซต์นี้ที่เมนู "ค้นหา" มี MSDS ภาษาไทยของสารเคมีกว่าพันตัว-
3. พิจารณาโอกาสที่ผู้ปฏิบัติงานจะสัมผัสกับสารเคมี เช่นในกระบวนการผลิตมีการควบคุมการแพร่กระจายสารเคมีเพียงพอหรือไม่ มีการเจือปนในอากาศมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
4. ลองพิจารณาดูนะค่ะ

โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [18 ต.ค. 2550 22:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:8

ดีมากๆเลยค่ะ ถ้ามีอะไรดีๆก็มาแบ่งปันได้นะค่ะ

โดย:  Kriston_KI@hh  [5 พ.ย. 2550 22:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:9

โรงงานผมเป็นโรงงานชุบเคลือบผิวโลหะ อยากทราบค่ามาตรฐานของNi และCrไม่ควรเกินเท่าไรในร่างกาย

โดย:  waste  [11 พ.ย. 2550 20:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :10

ในการทำท่ออาจมีการเชื่อมโลหะโดยความร้อนสูงๆ ทำให้โลหะหนักเข้าไปในร่างกายทางทางเดินหายใจได้โดยตรง จึงต้องระวังเรื่องการระบายอากาศด้วย
Nickel ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะก่อมะเร็งทางเดินหายใจด้วย

คนปกติจะมี Ni ในเลือดระหว่าง 1.4-3.4 mcg/L
ปัสสาวะ 0.5-6.5 mcg/L
Cr (VI)ก็เป็นสารก่อมะเร็งเช่นเดียวกันแต่ไม่มากเท่ากับ Ni
ค่าปกติคือในปัสสาวะมีไม่เกิน 10 mcg/g creatinine
และในปลายสัปดาห์ของการทำงานไม่เกิน 30mcg/g creatinine
ข้อมูลบางอย่างอาจหาได้จาก www.referencetoxiclab.com ของกรมควบคุมโรค

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์  [16 พ.ย. 2550 07:40]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:12

ไม่รู้เรื่องเลย

โดย:  555  [2 มิ.ย. 2551 16:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:13

lead มีผลไงบ้าง ต่อผู้สัมผัส หรือต้องอยู่ใกล้ไอระเหย ชนิดเป็นก้อนๆ แท่งละ 40 กก.

โดย:  ปุ๊ก  [23 มิ.ย. 2551 21:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:14

อยากทราบค่าโลหะหนักในการผลิตผลไม้บรรจุกระป๋อง เช่น
tin   zine  copper  lead  arsenic  mercury  cadmium

โดย:  ggg  [25 มิ.ย. 2551 09:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:15

ข้อมูลจากเอกสารความปลอดภัยของตะกั่วชนิดแท่ง 90, 95, 97% บอกว่าจะมีอันตรายถ้าสัมผัสฝุ่นและไอตะกั่ว โดยจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและตา รวมทั้งทำลายเนื้อเยื่อด้วย ถ้าหายใจเข้าไปจะระคายเคืองทางเดินหายใจ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยล้า นอนไม่หลับ น้ำหนักลด โลหิตจาง เจ็บตามแขน ขา และข้อต่อต่าง ๆ

ลอง download เอกสาร MSDS มาอ่านดูนะค่ะ http://www.teckcominco.com/DocumentViewer.aspx?elementId=108477&portalName=tc

สำหรับค่าโลหะหนักในผลไม้กระป๋อง ลองเข้าไปค้นดูมาตรฐาน Codex alimentarius =>> http://siweb.dss.go.th/standard/codex/index.asp

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [11 ก.ค. 2551 19:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:16

อยากทราบมาตรฐานโลหะหนักในรำข้าว ไม่ทราบว่ามีกำหนดไว้หรือเปล่าค่ะ ต้องการด่วนมากๆค่ะ มครรุ้บอกทีนะคะ

โดย:  งง  [16 ก.ค. 2551 11:40]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:17

http://en.wikipedia.org/wiki/Heavy_metals        ( Heavy Metals )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Toxic_metal        ( Toxic Metals )

โดย:  นักเคมี  [23 ส.ค. 2551 22:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:19

อยากทราบว่ามีวิธีการแยกโลหะหนักออกจากน้ำมันวิธีไหนบ้างค่ะ

โดย:  R&D  [17 ก.ย. 2551 14:40]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:20

ขอบคุณมากค่ะ

โดย:  แพร  [6 พ.ย. 2551 21:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:21

http://en.wikipedia.org/wiki/Heavy_metals        Heavy Metal        
http://www.lef.org/protocols/prtcl-156.shtml        Heavy Metal Toxicity        
http://www.lenntech.com/heavy-metals.htm        Heavy Metals        
http://tuberose.com/Heavy_Metal_Toxicity.html        Heavy Metal Toxicity  &  Detoxification

โดย:  นักเคมี  [2 ม.ค. 2552 16:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:22

ขอบคุณมากค่ะ ข้อมูลสามารถใช้ได้


โดย:  ผู้อ้างอิง  [7 ม.ค. 2552 20:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:23

อยากทราบมาตรฐานโลหะหนักในปลาสลิดค่ะ เช่น Ni ,As, Pb ,Cr ,Cd เพื่อนำไปใช้ในงานวิจัย พอจะทราบไหมค่ะ ขอความกรุณาด้วยค่ะ

โดย:  แอน  [9 มี.ค. 2552 01:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:24

อยากทราบว่าสารเหล่านี้คือสารอะไร   มีคุณและโทษอยากไร   และความหมายของสสารนี้
สารเคมี                       ชนิด
antimony                 heavy  metal
carbamine              toxic  chemical
zineb                         pesticide


โดย:  เด็กปฐพี  [16 มิ.ย. 2552 09:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:25

เว็ปนี้ดีมากค่ะ สามารถนำความรู้ในระดับสูงมาสู่น้องๆ ที่ศึกษาด้วยตัวเอง หรือในโรงเรียนที่ยังล้าหลังอยู่ในเรื่องของสื่อการสอน

โดย:  เด็กชุมพร  [23 มิ.ย. 2552 11:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:26

อยากทราบมาตรฐานโลหะหนักในพืชผัก Ni,Cd,Cr,Pd

โดย:  โปรเจค  [29 มิ.ย. 2552 00:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:27

ผมจบจากสวีเดนผมคิดว่าน่าจะหาเนื้อหาที่มันเข้าใจง่ายและครบถ้วนมากกว่านี้ผมว่ามันจะดีกับน้องๆและทุกคนเลยนะครับ

โดย:  นักเคมี  [16 ก.ค. 2552 10:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 25:28

วิธีการบำบัดโลหะหนักโดยทางชีวภาพจะใช้วิธีอะไรคับ

โดย:  ก้อง  [29 ก.ค. 2552 02:08]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 26:29

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดีๆ

โดย:  เคมีรุ่นเยาร์  [11 ส.ค. 2552 08:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 27:30

อยากทราบค่ามาตรฐานผโลหะหนักในเมล็ดข้าวค่ะ ใครทราบขอความช่วยเหลือด่วนค่ะ

โดย:  เด็กนนทรีย์  [26 ส.ค. 2552 13:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 28:31

ทำโปรเจด การบำบัดตะกั่วโดยใช้จุลินทรีย์ อยากทราบว่าถ้าร่างกายได้รับตะกั่วเข้าไปแล้ว มีวิธีบำบัดอย่างไร

โดย:  lovephage  [29 ก.ย. 2552 12:00]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 29:32

ขอบใจจะ

โดย:  นินิ  [20 ต.ค. 2552 17:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 30:33

บทความดี/เป็นประโยชน์มากครับ  /อยากทราบอันตรายจากฝุ่นที่เกิดจากการตัดเหล็กครับ โดยใช้แท่นตัดเหล็ก ที่ใช้ใบตัดไฟเบอร์14นิ้ว รู้สึกเหม็นและคันมากครับ ขอบคุณครับ

โดย:  นาย วรวัฒน์  [24 พ.ย. 2552 16:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 31:34

ในการวิเคราะห์พวกสารที่เป็นพวกโลหะเบื้องต้นนะแนนำให้ดื่มนม

โดย:  atom  [5 ธ.ค. 2552 21:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 32:35

การบำบัดโลหะหนักสามารถทำได้หลายวิธี
-การใช้แบคทีเรียในการช่วยเสริมความสามารถในการกักเก็บโลหะหนักใว้ในนต้นพืชได้(PGPB)

โดย:  โจ้  [7 ธ.ค. 2552 11:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 33:36

บอกความหมายปัญหาสิงแวดล้อมหน่อยครับจ.แพร่

โดย:  เฟรม  [13 ม.ค. 2553 20:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 34:37

อยากทราบค่ามาตรฐานโลหะหนักในเครื่องสำอางค์

โดย:  เคมี  [21 ก.พ. 2553 17:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 35:38

อยากได้มาตรฐาน ปริมาณสารปนเปื้อนที่ให้มีได้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ (ชิ้นงานที่เป็นเหล็กชุบ Zn+3)

โดย:  KEY  [9 มี.ค. 2553 14:59]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 36:40

อยากทราบ โรงงานที่ผลิตงาน  ที่มีส่วนประกอบของมีสารโลหะหนักทั้งหมดค่ะ  จะไปทำวิจัยค่ะ  ขอบคุณค่ะ  เอาแบบที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามารถอ้างอิงได้แน่นอนนะคะ

โดย:  nuploy  [16 พ.ย. 2553 15:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 37:41

อยากทราบมาตรฐานตะกั่วและแคดเมียมในกุ้งและปลา พอจะมีมั้ยคะ

โดย:  minnie  [22 พ.ย. 2553 23:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 38:42

มีหลายมาตราฐานครับ มาตราฐานเพื่อการบริโภค เพื่อการส่งออก
มาตราฐานเพื่อการส่งออกของแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน
ดูจากมาตราฐานเพื่อการส่งออกสัตว์น้ำ
ฐานข้อมูลสถาบันอาหาร ก็มีรายละเอียดครับ


โดย:  มาโนช  [7 ธ.ค. 2553 11:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 39:44

ขอทราบแนวทางการจัดการปัญหาโลหะหนักที่ปนเปื้อนออกมาในระบบบำบัดน้ำเสียจากการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แล้วนำมาใช้เป็น Zero discharge จะมีการตกค้างสะสมในดินหรือพืชได้นั้น ควรใช้วิธีการแก้ไขอย่งไร? เพื่อป้องกัน/ลดผลกระทบต่อสุขภาพคนงาน?

โดย:  อิทธิฤทธิ์  [3 พ.ค. 2554 22:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 40:45

สกัดโลหะเงินจนเป็นน้ำมีตะกั่วผสมอยู่ในนั้นใส่โซดาไฟกรดเกลือและกากน้ำตาลแล้วเงินไม่จับตัวเป็นขี้โคลนไม่สามารถจับขึ้นมาได้ใครทราบมีวิธีขอความกรุณาตอบด้วยหรือ โทร..0818103147

โดย:  sarunyapong  [29 มิ.ย. 2554 13:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 41:46

อยากทราบค่ามาตฐาน ของโลหะหนักที่ปนอยู่ใน ปุ๋ยเคมี ผงซักฟอก ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า สีทาบ้าน สีทากันสนิมเทา สีทากันสนิมส้ม คะ ใครทราบรบกวนด้วยนะค่ะ เป็นการบ้านของลูกนะค่ะ หาไม่เจอ ขอบคุณล่วงหน้า ค่ะ

โดย:  น้ำ  [2 ก.ย. 2554 16:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 42:52

สุดยอดไปเลยค่ะ >_< กำลังหาข้อมูลทำการบ้านอยู่พอดีเลยค่ะ ขอบคุณมากๆเลยค่า >_<

โดย:  mamio_<  [16 ก.ย. 2555 13:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 43:55

อยากทราบว่า ใน ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ มีโลหะหนักตัวใดตกค้างบ้าง

โดย:  จิ๋วแจ๋ว  [19 พ.ค. 2557 11:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 44:59

อยากทราบว่าโลหะหนักแต่ละตัวมีมาตรฐานความเข้มข้นเท่าไหร่ถึงจะเป็นอันตรายน่ะค่ะ

โดย:  บีบี  [30 ส.ค. 2557 01:34]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 45:60

อยากทราบค่ามาตรฐานของโลหะหนักในพืชค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดย:  เด้กวิทย์  [25 ก.ย. 2557 11:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 46:63

WywZZp You completed certain good points there. I did a search on the matter and found the majority of people will have the same opinion with your blog.

โดย:  crork alise  [7 มี.ค. 2558 07:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 47:65

อยากทราบว่าปริมาณเท่าไรของ Nickel ที่จะเป็นอันตรายต่อเซลล์ของแบคทีเรีย

โดย:  sunarat  [9 เม.ย. 2559 12:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 48:74

อยากทราบค่ามาตรฐานโบรอนในนำ้ และค่าแคลเซียม โซเดียม และกำมะถันในนำ้

โดย:  JAMES  [4 เม.ย. 2560 13:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 49:75

อยากทราบว่าโลหะหนัก (ตะกั่ว)สามารถเข้าไปปนเปื้อนในสัตว์น้ำ เช่น ปลา หอย ได้อย่างไร เข้าไปทางไหนของสัตว์น้ำ

โดย:  Moo  [17 เม.ย. 2560 03:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 50:80

รับปรึกษาปัญหา เรื่องปรอท การวิเคราะห์สารปรอท
ไม่ว่าจะเป็น ปรอทใน สิ่งแวดล้อม อาหาร ปิโตรเลียม อากาศ แก๊ส และอื่นๆ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายครับ
0804316231 กิติชัย ครับ

โดย:  Kitichai  [24 ก.ค. 2561 09:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 51:86

ดีมากเลยค่ะ

โดย:  นาว  [31 ม.ค. 2565 10:05]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น