สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
นาโนเทคโนโลยี และความปลอดภัย

นาโนเทคโนโลยีกับความปลอดภัย

ผู้เขียน: ดร. สุพิณ แสงสุข
หน่วยงาน: นักวิจัยสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ และฐานการจัดการความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนับสนุนโดย สกว.)
วันที่: 26 มิ.ย. 2550

            ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำมาซึ่งความสะดวกสบายและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของมนุษย์ในหลายหลายด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขนส่ง  การเดินทางหรือการติดต่อสื่อสาร เหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากการคิดค้นและพัฒนาของมนุษย์ทั้งสิ้น  และทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไป  จากสังคมเกษตรสู่สังคมอุตสาหกรรม  จากการผลิตเพียงเพื่อการดำรงชีพสู่การผลิตเพื่อการค้า   และจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมสู่ยุคของนาโนเทคโนโลยี   จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมนุษย์ได้ผ่านช่วงของการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลายาวนานถึงผลกระทบจากการพัฒนาและการใช้สารเคมีบางอย่างที่ก่อให้เกิดโทษในวงกว้างในภายหลังไม่ว่าจะเป็นสารคลอโรฟูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon; CFC) ซึ่งทำลายชั้นโอโซน  หรือสารฆ่าแมลงอย่าง DDT ซึ่งนอกจากจะฆ่าแมลงแล้วยังเป็นสารก่อมะเร็งสำหรับมนุษย์  ดังนั้นจึงไม่มีข้อยกเว้นสำหรับอนุภาคนาโนที่ยังต้องเฝ้าระวังในเรื่องของความปลอดภัย  แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วอนุภาคนาโนมิใช่เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนเลยในโลก  แต่จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของนาโนเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วอาจทำให้มนุษย์มีโอกาสได้รับอนุภาคนาโนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  สำหรับที่มาของอนุภาคนาโนนั้นมาได้จาก 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ จากธรรมชาติ  จากกิจกรรมของมนุษย์โดยมิได้ตั้งใจให้เกิดอนุภาคนาโน และจากการเตรียมขึ้นด้วยนาโนเทคโนโลยี (1) สิ่งที่น่าสังเกตสำหรับอนุภาคนาโนคือส่วนใหญ่เป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มของสารที่ไม่เป็นพิษ  เช่น โลหะเงิน ไทเทเนียมไดออกไซด์ และซิลิกา อาจเป็นเพราะจุดนี้เองที่ทำให้นักวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีมิได้ตระหนักถึงโทษภัยหรือความเป็นพิษของมัน  แต่หากนึกย้อนกลับไปว่าสารเหล่านี้ยังให้สมบัติใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยพบในระดับอนุภาคใหญ่ๆ ได้  สารเหล่านี้ก็อาจเปลี่ยนจากที่ไม่เป็นพิษเป็นสารที่มีพิษได้เช่นกัน  ดังนั้นจึงมีนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งที่คำนึงถึงขนาดที่เล็กมากจนไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่า ความเป็นพิษของอนุภาคนาโนอาจเกิดจากขนาดที่เล็กจิ๋วนั่นเอง  มีตัวอย่างงานวิจัยด้านพิษวิทยาหลายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นแล้วว่าหากอนุภาคนาโนเข้าสู่ร่างกายทางหนึ่งทางใดแล้ว เช่น จากการหายใจ  การรับประทาน หรือผ่านทางผิวหนัง  อนุภาคเหล่านั้นก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสัตว์ทดลองได้ไม่ว่าจะเป็นความเป็นพิษต่อตับ  ไต และม้าม เนื่องจากอนุภาคนาโนมีขนาดเล็กจึงเคลื่อนตัวไปตามกระแสเลือดสู่อวัยวะต่างในร่างกายได้ (2-6)  

            เมื่อผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความเป็นพิษจากอนุภาคนาโน  จึงมีหลายหน่วยงานในต่างประเทศเร่งสร้างมาตรฐานความปลอดภัยของนาโนเทคโนโลยี ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 27  ก.พ. 2550  Innovation Society เป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านนาโน ที่ประเทศสวิตเซอแลนด์ และ TÜV   SÜD (เมืองมิวนิค  ประเทศเยอรมนี) บริษัทที่ให้การรับรองด้านเทคโนโลยีทั่วโลก ได้พัฒนาสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า ระบบการติดตามและจัดการความเสี่ยงเฉพาะด้านนาโนที่ได้รับการรับรองขึ้นเป็นครั้งแรก (Certifiable nanospecific risk management and monitoring system, CENARIOS ) เป็นการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยตั้งแต่การผลิต  การขนส่ง จนถึงผู้บริโภค (7)

            สำหรับประเทศไทยความตื่นตัวในแง่ของโทษภัยของนาโนเทคโนโลยียังมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับการวิจัยและพัฒนาด้านการใช้ประโยชน์จากนาโนเทคโนโลยี  ดังจะเห็นได้จากการวิจัย  หลักสูตรการเรียนการสอนด้านนาโนเทคโนโลยีในระดับมหาวิทยาลัย  หรือสินค้าซึ่งใช้คำว่านาโนที่เพิ่มขึ้นมาก  ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นความเสี่ยงของประเทศไทยเป็นอย่างมาก  ที่ทั้งงานวิจัยและการใช้ผลิตภัณฑ์จากนาโนเทคโนโลยีเกิดการแพร่กระจายเป็นอย่างมากในวงกว้างโดยไม่มีมาตรการในการควบคุมด้านความปลอดภัยให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยีทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นนิสิต  นักศึกษา  นักวิจัย  คนงานในโรงงาน หรือแม้แต่ผู้บริโภค และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือการแพร่กระจายสู่อากาศ แหล่งดิน และแหล่งน้ำสาธารณะ  ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียที่ตามมาอีกมากมายคือการปนเปื้อนของอนุภาคนาโนในสิ่งแวดล้อม (8-9)  ผลที่ตามคือการกระทบต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตโดยรวม เช่น  การปนเปื้อนของอนุภาคนาโนในแหล่งน้ำจะทำให้การผลิตน้ำเพื่อการบริโภคเป็นไปได้ยากขึ้น  เนื่องจากระบบปัจจุบันยังไม่รองรับกับการปนเปื้อนจากอนุภาคที่มีขนาดเล็กอย่างอนุภาคนาโน หรืออาจเกิดการปนเปื้อนของอนุภาคนาโนในผลิตผลทางการเกษตร  เนื่องจากพืชดูดน้ำที่มีอนุภาคนาโนไปเลี้ยงลำต้นและใบ   หากเป็นเช่นนี้สินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือผลไม้อาจขายไม่ได้ถ้าสินค้าเหล่านี้มีการปนเปื้อนจากอนุภาคนาโน

            เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหลายสิ่งหลายอย่างมีทั้งคุณและโทษไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากโรงงาน ผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์  ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ดีแหล่งหนึ่ง   แต่หากมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีก็จะก่อให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิตได้มาก  ส่วนการใช้พลังงานจากน้ำมันแม้ว่าจะไม่มีความเสี่ยงจากสารกัมมันตรังสี  แต่พลังงานที่ได้จากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง ก็ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศในปริมาณมาก  ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนตามมา  ในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้

  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
นาโนเทคโนโลยี และความปลอดภัย - ซิลเวอร์นาโน
นาโนเทคโนโลยี และความปลอดภัย - ไทเทเนียมไดออกไซด์
นาโนเทคโนโลยี และความปลอดภัย - จับตาสินค้านาโน
นาโนเทคโนโลยี และความปลอดภัย - นาโนเทคโนโลยีปลอดภัยหรือไม่
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

นาโนเทคโนโลยีเป็นสิ่งดีและอำนวยความสะดวกมากมาย
อนุภาคที่เล็กก็คงอาจจะทำสิ่งใหญ่ได้ ควรระวังจริงๆ ด้วย

โดย:  ดวงพร  [19 ก.ค. 2550 09:00]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

กลับสู่จดเริ่มต้น ดี ที่สุด 5 5 5


โดย:  um  [18 ส.ค. 2550 22:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ในอนาคตจะมี pico-, femto-, and/or atto- technology ตามมาใหม ?
แล้วเมื่อไหร่จะจบ ?

โดย:  unknown  [10 มิ.ย. 2551 21:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :4

อาจมีได้ถ้ามนุษย์สามารถสร้างเครื่องมือที่ตรวจสอบอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่านาโนได้  เพราะความเป็นจริงหลายสิ่งหลายอย่างมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น อนุภาคขนาดนาโน ต่อเมื่อมีเครื่องสอบตรวจสอบจะทราบว่ามีสิ่งนั้นอยู่

โดย:  สุพิณ แสงสุข  [23 มิ.ย. 2551 11:40]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

นาโนเทคโนโลยีของคุณเนื้อหายังไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไร


โดย:  อิมรอน  [8 ส.ค. 2551 18:42]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

ขอความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีเพิ่มเติมที่สมบูรณ์กว่านี้จากคุณอิมรอนด้วยค่ะ เพื่อจะได้ช่วยกันให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับสาธารณชน

โดย:  Timmy  [19 พ.ย. 2551 11:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:8

ทำให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น

โดย:  โรงเรียนสันทรายหลวง  [19 ส.ค. 2552 16:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:10

อยากทราบว่า ZnO ผลิตมาจากอะไร และมีกระบวนการผลิตอย่างไร???

โดย:  นักศึกษา  [16 พ.ค. 2554 12:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:20

We need more insights like this in this treahd.

โดย:  Nurcan  [25 ส.ค. 2555 08:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:24

KXF9tg A round of applause for your article post. Will read on...

โดย:  canary wharf  [23 มิ.ย. 2557 16:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:25

w4oV2g Thanks again for the blog article.Really looking forward to read more. Want more.

โดย:  Best secondary schools in Port-Harcourt  [24 มิ.ย. 2557 15:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:26

g1dYZk Thank you ever so for you article post. Cool.

โดย:  canary wharf  [27 มิ.ย. 2557 22:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:27

Really informative post.Much thanks again. Much obliged.

โดย:  Top schools in Port-Harcourt  [30 มิ.ย. 2557 15:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:28

Hey, thanks for the blog article. Will read on...

โดย:  Top boarding schools in Port-Harcourt  [1 ก.ค. 2557 18:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:29

BD9PVe Major thanks for the blog.Thanks Again. Will read on...

โดย:  Corrlinks Login  [16 ก.ค. 2557 14:59]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:30

aq93hw Really informative post.Really looking forward to read more. Want more.

โดย:  cheap backlinks  [17 ก.ค. 2557 19:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:31

I appreciate you sharing this article.Thanks Again. Fantastic.

โดย:  Best primary schools in Port-Harcourt  [18 ก.ค. 2557 15:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:42

Im obliged for the blog. Awesome.

โดย:  Stream video marketing for Nigerian websites  [11 พ.ย. 2557 04:31]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:59



โดย:  name  [7 ม.ค. 2558 08:22]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น