สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

พิธีสารมอนทรีออลบังคับให้เลิกใช้สาร CFC และHCFC

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
วันที่: 8 ก.ย. 2551

            กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งเป้าปีหน้าบังคับเลิกใช้สาร CFC ที่ทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนได้หมด 100% ตามข้อกำหนดของพิธีสารมอนทรีออล พร้อมเตือนผู้ประกอบการเครื่องทำความเย็น หลังปี 2553 จะต้องเริ่มกระบวนการยกเลิกการใช้สาร HCFC ที่ปัจจุบันใช้ทดแทนสาร CFC กันอีก

            นายสุดสาคร พุทโธ ผู้อำนวยการสำนักสนธิสัญญาและยุทธศาสตร์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงความคืบหน้าการดำเนินการลดและเลิกการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ภายใต้พิธีสารมอนทรีออลว่า จากปี 2545 ถึงปัจจุบันประเทศไทยสามารถลดการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (CFC) ได้แล้วถึง 95% เหลืออีกประมาณ 5% หรือคิดเป็นปริมาณ 1,200 ตัน ซึ่งภายในปี 2553 จะต้องลดและเลิกใช้ให้หมดได้ 100%

            ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาเวียนนา ว่าด้วยการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความตกลงในรูปแบบของสนธิสัญญาระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาการทำลายชั้นบรรยากาศ แรกเริ่มมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกทั้งสิ้น 28 ประเทศ มีการให้สัตยาบันที่เมืองเวียนนาในปี 2528 แต่เนื่องจากอนุสัญญาไม่ได้มีข้อกำหนดในการปฏิบัติ จึงได้จัดทำ "พิธีสารมอนทรีออล" ขึ้นเพื่อเป็นข้อกำหนดให้ประเทศสมาชิกดำเนินการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ปรากฏว่ามีประเทศที่ให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกพิธีสารมอนทรีออลทั้งหมด 190 ประเทศ ที่ต้องปฏิบัติการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนให้หมดสิ้นภายในปี 2553

            ทั้งนี้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนจะใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ เครื่องทำความเย็น, เครื่องปรับอากาศ, กระป๋องสเปรย์และโฟม ซึ่งมีสารทั้งสิ้นหลักๆ 5 รายการ ได้แก่ สาร CFC-11, CFC-12, CFC-113, CFC-114 และCFC-115 สารทั้งหมดนี้ประเทศไทยไม่สามารถผลิตเองได้ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ จีน และอินเดีย ตั้งแต่ปี 2546 ประเทศไทยได้มีการกำหนดปริมาณการนำเข้า สาร CFC ลดลงเรื่อยๆ จนถึงปี 2553 ที่จะไม่ยอมให้มีการนำเข้าอีก (ตามตาราง) แต่ให้นำเข้าสารประเภท HFC 134a หรือ HCFC ซึ่งเป็นสารทดแทน CFC

            สำหรับการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศให้เป็นไปตามพันธกรณีของพิธีสารมอนทรีออลนั้น ประเทศไทยได้มีประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดปริมาณการนำเข้าสาร CFC, ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำเข้าตู้เย็น ตู้ทำน้ำเย็น ตู้แช่ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำความเย็นที่ใช้สาร CFC, กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก กำหนดห้ามเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ใช้สาร CFC, การเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตของผลิตภัณฑ์ที่ใช้สาร CFC จาก 15% เป็น 30% และการนำเข้าสารทดแทน CFC ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า เป็นต้น

            อย่างไรก็ตามหลังจากปี 2553 ที่ครบกำหนดการลดและเลิกใช้สาร CFC แล้ว ในการประชุมพิธีสารมอนทรีออลครั้งล่าสุดเมื่อปี 2550 ที่ประชุมได้มีมติให้ขยายผลการลดและเลิกใช้สาร HCFC ซึ่งปัจจุบันใช้ทดแทนสาร CFC ด้วย เนื่องจากมีการค้นพบว่า สาร HCFC ยังมีคุณสมบัติเป็นสารที่ยังทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนอยู่ แม้จะไม่มากเท่ากับ CFC ก็ตาม ดังนั้นที่ประชุมจึงตกลงให้กำหนดระยะเวลาการเลิกใช้สาร HCFC ให้เร็วขึ้นอีก 10 ปี จากเดิมที่กำหนดให้เลิกใช้ภายในปี 2583 เป็นปี 2573 ซึ่งตรงนี้ผู้ประกอบการไทยที่ผลิตสินค้าส่งออกก็ต้องตระหนักไว้ตั้งแต่วันนี้ว่า กรณีของสาร CFC ที่มีผลบังคับตั้งแต่ปี 2532 ต้องใช้เวลาเกือบ 20 ปี ดังนั้นหากมีการขยายผลยกเลิกใช้สารตัวใหม่ (HCFC) อีก ก็คงต้องใช้เวลาใกล้เคียงกัน

            "ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าจะนำสารตัวใดมาทดแทนสาร HCFC อาจจะเป็นสารไฮโดรคาร์บอน หรือแอมโมเนีย ซึ่งก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า แม้จะเป็นสารที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน แต่ก็เป็นสารที่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ตรงนี้ก็คงต้องใช้เวลาในการพัฒนาปรับปรุงให้ประสิทธิภาพของการนำมาทดแทน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านอื่น ซึ่งผู้ประกอบการเครื่องทำความเย็นก็ควรจะเตรียมความพร้อมในการปรับตัวด้วย"

            ทั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพิธีสารมอนทรีออล, สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน, ผลกระทบจากการที่ชั้นบรรยากาศถูกทำลาย ให้กับผู้ประกอบการหรือผู้ที่มีความสนใจ ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงได้จัดกิจกรรมวันโอโซนสากลขึ้น ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางกะปิ โปรโมชั่นสแควร์ 1 ชั้น G ในวันที่ 13 กันยายน 2551 นี้


ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ประจำวันที่ 8 กันยายน 2551

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Ammonia
Dichlorodifluoromethane
1,2-Dichlorotetrafluoroethane
Monochloropentafluoroethane
1,1,1,2-Tetrafluoroethane
Trichlorofluoromethane
1,1,2-Trichloro-1,2,2-trifluoroethane
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - อนุสัญญาสต๊อกโฮล์มกำลังพิจารณาเพิ่มสารอีก 10 ชนิด
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

กฎหมายที่บังคับการเลิกใช้สาร CFC ใครทราบตอบหน่อยขอเป็นกฎหมายที่บอกรายละเอียดการเลิกใช้และสารประกอบการที่มีสารประเภทนี้อยู่จะต้องเลิกใช้ภายในปีใดถ้าเป็นไปได้ขอตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จะขอบพระคุณอย่างย่ง


โดย:  anant  [1 ธ.ค. 2551 11:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ข้อมูลเบื้องต้นค่ะ http://www.chemtrack.org/Doc/F206.pdf

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [3 ธ.ค. 2551 11:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

อยากด้ายชื่อเต็มของสาร CFC ค่า


โดย:  น้องออยคระ  [22 มี.ค. 2552 13:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

1.อยากทราบว่ามีข้อกำหนดให้โรงงานต้องปฏฺบัติอะไรบ้างครับ?

2.ตอนนี้โรงงานใช้แอร์รุ่นเก่าที่ใช้ R22 อยู่ครับ ไม่ทราบว่าต้องทำอะไรบ้าง?

โดย:  non  [24 เม.ย. 2552 15:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

ชื่อเต็ม สาร CFC คือ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน

โดย:  non  [28 ก.ย. 2553 19:00]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

มาไม่ได้นะแก้วเดพื่อนรัก
แต่วันนี้ได้นะ

โดย:  นางสาววรรวิภา บุญเกิด  [14 พ.ย. 2554 10:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

เดี้อวส่งงานไปให่นะ

โดย:  นางสาววรรวิภา บุญเกิด  [14 พ.ย. 2554 10:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:8

huimibijhufkombihadwybuvbvkhynnucgvg
hunhgbgvbhumxihkuyyjkujir0505jknjbhbhvxgjhb
nhjnnbhnzhuifjhjunhygjhhjj0.3
5
jijyjguufhruhguhduvh

โดย:  นางสาวรรวิภา บุญเกิด  [14 พ.ย. 2554 10:37]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:9

นี้เลยhufmnjmuhnfhkjjutiymkb,j0506
fjyl
hsrj;gkd05.625ghdegnbbkhytyhjhtgxlo l  
hfhji,ijgxcfih+6871cbvbntyjzxcsdh
ythn5548fgh

โดย:  นางสาววรรวิภา บุญเกิด  [14 พ.ย. 2554 10:41]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:10

มีงานมากเลย
jhhuvibmhbfnjkhhumvnbiuxhmnnhonmg02028

2506525vygvhdfhgtxvhjdbytfgvuzfrhguygyustghgyydgytdyghdgytgygyut7ttruhitjsjt

โดย:  นางสาววรรวิภา บุญเกิด  [14 พ.ย. 2554 10:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:11

funbgvkm,viimimjhhkihjjibbmjg010150.0540

โดย:  นาวสาววรรวิภา บุญเกิด  [14 พ.ย. 2554 10:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:12

mhvnhghggruy.mbhfhr

โดย:  นางสาวรรวิภา บุญเกิด  [14 พ.ย. 2554 10:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:13

Home run! Great slugging with that aesnwr!

โดย:  Ellyanna  [16 ม.ค. 2555 09:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:16

ชอบมากค่ะ

โดย:  ไอซ์  [6 ก.พ. 2555 14:32]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น