สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

นักวิชาการระบุ น้ำฝนไม่เหมาะแก่การดื่มอีกต่อไป

ผู้เขียน: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
วันที่: 11 พ.ย. 2552

            นักวิชาการระบุน้ำฝนอาจไม่เหมาะกับการบริโภคอีกต่อไป สาเหตุเพราะการขยายตัวของเขตเมือง และอุตสาหกรรมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ส่งผลให้น้ำฝนมีสภาพเป็นกรด เป็นด่าง อีกทั้งยังมีสารปนเปื้อนสูงอีกด้วย
       
            ผศ. สุนทรี ขุนทอง นักวิชาการจากคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เปิดเผยว่า จากการเก็บตัวอย่างน้ำฝนตลอดระยะเวลา 12 เดือน ในเขตพื้นที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่แหลมฉบัง พบว่า น้ำฝนที่เก็บได้มีค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 4 กว่าๆ จากค่าความเป็นกรดด่างของน้ำฝนที่ มีค่าเฉลี่ยที่ 5.6
       
            ทั้งนี้ ค่าความเป็นกรดของน้ำฝนที่สูงขึ้น เนื่องจากบริเวณที่เก็บตัวอย่างเป็นพื้นที่ล้อมรอบด้วยอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อาทิ นิคมแหลมฉบัง โรงกลั่นน้ำมันบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ นิคมอุตสาหกรรมสหพัฒน์ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง เป็นต้น ประกอบกับแถวถนนสุขุมวิทมีการจราจรคับคั่งในช่วงเช้าและเย็นด้วย จึงมีส่วนที่น้ำฝนจะเป็นกรดสูง
       
            ส่วนการเก็บตัวอย่างน้ำฝนในพื้นที่มาบตาพุด หลังจากมีการร้องเรียนปัญหาน้ำฝนในพื้นที่บริโภคไม่ได้ และพืชผลที่เสียหายจากน้ำฝนที่ตกลงมาจนทำให้ใบหงิกงอ เพื่อนำมาวิเคราะห์ หาตัวอย่างของสารที่ปนเปื้อนในน้ำฝน ต้องใช้ระยะเวลา 1 ปี จึงจะวิเคราะห์และประมวลผลได้ โดยผลที่ออกมาจะใช้เป็นข้อมูลเฝ้าระวังเพื่อใช้ในการควบคุม และการวางแผนขยายโรงงานในพื้นที่ต่อไป
       
            ผศ. สุนทรี ขุนทอง กล่าวอีกว่า หลายพื้นที่ทั่วประเทศของไทย พบว่า น้ำฝนไม่เหมาะสมกับการนำมาใช้ดื่มกินได้อย่างบริสุทธิ์เหมือนในอดีตแล้ว เนื่องจากมีการขยายตัวของอุตสาหกรรม และความเจริญเติบโตของเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำฝนทั่วประเทศไม่เพียงแต่มีแนวโน้มที่มีค่าความเป็นกรดสูงเท่านั้น แต่ยังมีมลพิษอื่นๆ อยู่ในน้ำอีก เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำฝนมีค่าความเป็นด่างมากผิดปกติ เพราะอยู่ใกล้โรงปูนซีเมนต์ ส่วน จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณฝุ่นละอองสูงเพราะต้องเจอกับปัญหาหมอกควันอย่างต่อเนื่อง ขณะที่พื้นที่เกษตรกรรม มีการตรวจพบสารฟอสเฟตในน้ำ และแอมโมเนียสูง เช่น กรณีจังหวัดสงขลา จะมีการปนเปื้อนของแอมโมเนียสูง เพราะมีอุตสาหกรรมน้ำยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้ เชื่อว่าในอนาคตสังคมชนบทที่เคยรองน้ำฝนเก็บไว้บริโภคในโอ่ง คงจะต้องเลิกไปในที่สุด

ที่มาของข้อมูล : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2552

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Ammonia
Ammonium dihydrogen phosphate
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขออบคุณผู้ให้ความรู้มา ในที่ออยก้เคยดื่มน้ำฝนมาก่อน เเต้ว่านานมากว่า8ปีมาเเล้วออยเลยหาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำฝนว่าทุกวันน้ยังสมารถดื่มได้อย่าวที่เคยหรือไม่ เเต่ก็ได้ทราบเเล้วว่าน้ำฝนนั้นที่เเท้จริงดื่มได้ เเต่ปัจุบันไมสามารถดื่มได้อีกต่อไป ขอบคุณจริงๆ น่ะค่ะ


โดย:  ออย คัเซน  [19 พ.ค. 2554 12:43]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

แล้ทำไมเว็บนี้บอกว่าน้ำฝนดีที่สุด
http://www.rain.pantown.com/

โดย:  K  [10 ก.ย. 2554 01:37]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

v2bGgP Received the letter. I agree to exchange the articles.

โดย:  OEM software online  [30 ก.ย. 2554 07:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

ผมคิดว่าน้ำฝนดีที่สุดนะ ถ้าน้ำฝนมีสารเคมีเจอปน แล้วน้ำตกลงพื้นหรือเพิ่มสารเพื่อทำความสะอาดน้ำไม่เพิ่มสารเคมีขึ้นอีกหรอครับ

โดย:  DarkOnStep  [16 ก.พ. 2556 16:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:8

น้ำลงจากฟ้า ลงเขื่อน ลงมาที่สถานีประปา แล้วการประปาจะมีวิธีการใดเอาสารเหล่านี้ออกจากน้ำครับ ถ้าไม่มีคงไม่ต่างจากที่เรากินน้ำฝน

โดย:  Nu  [26 ก.ย. 2561 14:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:9

ตอนนี้เก็บน้ำฝนไส้กิน เก็บใรถ้งแล้วติดป้ำ เอาน้ำเข้าเครื่องกรอง ดื่มใช้ ไม่ต้องซื้อน้ำให้เสียเวลา

โดย:  Som  [6 ส.ค. 2562 09:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:10

ผมอยู่ดอยสะเก็ด น้ำฝนดีที่สุด ช่วงนี้สะอาดดีมาก เก็บไว้ดื่มได้เลยครับ ชื่นใจมาก อย่าไปจ่ายค่าน้ำผิวดินที่นำมากรองบรรจุขวดพลาสติก ราคาแพงๆ และสร้างความสกปรกให้อากาศจากอุตสาหกรรมผลิตขวดพลาสติกอีกต่อไปเลบครับ


โดย:  พล  [11 ก.ค. 2563 08:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:11

ทำไมฉันดื่มน้ำฝนทีาเก็บใหม่จะปวดหัวมาก แต่ถ้าเก็บไว้นานๆก็ไม่เป็นไรไม่ปวดหัว

โดย:  พร  [6 ก.ย. 2565 09:59]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น