สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ดูแลเข้มการใช้สารแอมโมเนีย หวั่นเหตุสารเคมีรั่วไหลจากโรงน้ำแข็งพบสถิติเสี่ยงสูง

ผู้เขียน: พิมพ์ไทย
วันที่: 12 พ.ค. 2558
กรมโรงงานอุตสาหกรรม รณรงค์ความปลอดภัยดูแลเข้มการใช้สารแอมโมเนียในโรงงานอุตสาหกรรม รุกจัดทำข้อควรระวังในการใช้ระบบทำความเย็นที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น พร้อมองค์ความรู้ในการจัดการเมื่อเกิดเหตุแอมโมเนียรั่วไหลอย่างถูกต้องแก่ 2,716 โรงงานทั่วประเทศเพื่อป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนของอุบัติเหตุแอมโมเนียรั่วไหลจากการเร่งการผลิตและการใช้งานระบบทำความเย็นอย่างหนักในช่วงหน้าร้อน ทั้งนี้จากสถิติพบว่ามักจะเกิดอุบัติเหตุแอมโมเนียรั่วไหลในเดือนเมษายนและพฤษภาคมของทุกปี โดยปี 2557 เกิดอุบัติเหตุแอมโมเนียรั่วไหลสูงกว่าปี 2556 ถึง 67% สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1564

ดร.พสุ  โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวแสดงความห่วงใยว่า  ปัจจุบันประเทศไทยใช้ประโยชน์จากแอมโมเนียเป็นสารทำความเย็นในอุตสาหกรรมหลายชนิด เนื่องจากมีราคาถูก อีกทั้งไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ซึ่งหากมีการรั่วไหลในขั้นตอนการผลิต ไอระเหยของแอมโมเนียจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการเจ็บหน้าอก ชัก หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมของทุกปีมักจะเกิดอุบัติเหตุแอมโมเนียรั่วไหล เนื่องจากจะมีการเร่งการผลิตและการใช้งานระบบทำความเย็นอย่างหนักประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดส่งผลทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ทำงานหนัก โดยสถิติ 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า โดยปี 2556 มีสถิติอุบัติเหตุรั่วไหลของแอมโมเนีย  3 ครั้งในปี 2557  เกิดอุบัติเหตุรั่วไหล  5  ครั้ง สูงขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 67% อีกทั้งในปี 2558 จนถึงสิ้นเดือนเมษายน เกิดการรั่วไหลไปแล้ว ถึง 2 ครั้ง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุแอมโมเนียรั่วไหลในโรงงานเกิดจากการเลือกใช้อุปกรณ์ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน อุปกรณ์ชำรุด ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยและขาดการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี

ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)   โดยได้ขอความร่วมมือกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด แจ้งผู้ประกอบการโรงงานผลิตน้ำแข็ง 1,815 โรง และ โรงงานห้องเย็น 901 โรง ทั่วประเทศไทย ให้ทราบถึงข้อควรระวังดังกล่าวและใช้เป็นแนวทางในการกำกับดูแลและให้คำแนะนำต่อไป  ดร.พสุ กล่าวสรุป

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Ammonia
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น