สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษ

ผู้เขียน: กรมแพทย์ทหารเรือ
วันที่: 19 พ.ย. 2561

สารพิษ  ( Poisons)

สารพิษ หมายถึง  สารเคมีที่มีสภาพเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายโดย การรับประทาน การฉีด การหายใจ หรือการสัมผัสทางผิวหนัง แล้วทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย ด้วยปฏิกิริยาทางเคมี อันตรายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติ ปริมาณ และทางที่ได้รับสารพิษนั้น

ชนิดของสารพิษ

      สารพิษที่ทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์มาจากหลายแหล่งด้วยกัน อาจเป็นพิษจากสัตว์ เช่น  งูพิษ ผึ้ง แมลงป่อง  พิษจากพืช เช่น เห็ดพิษ ลำโพง  พิษจากแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว ฟอสฟอรัส สารหนู และพิษจากสารสังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช ยาอันตราย รวมทั้งสารสังเคราะห์ที่ใช้ในครัวเรือนเช่น น้ำยาฟอกขาว น้ำยาขัดห้องน้ำ เป็นต้น

สารพิษสามารถจำแนกตามลักษณะการออกฤทธิ์ได้ ๔ ชนิด ดังนี้

  • ชนิดกัดเนื้อ (Corrosive ) สารพิษชนิดนี้จะทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้  พอง ได้แก่  สารละลายพวก กรดและด่างเข้มข้น  น้ำยาฟอกขาว
  • ชนิดทำให้ระคายเคือง  (Irritants ) สารพิษชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน และอาการอักเสบในระยะต่อมา ได้แก่ ฟอสฟอรัส  สารหนู  อาหารเป็นพิษ  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  • ชนิดที่กดระบบประสาท (Narcotics ) สารพิษชนิดนี้จะทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุกไม่ตื่น ม่านตาหดเล็ก ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน พิษจากงูบางชนิด
  • ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท (Dililants) สารพิษชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง ใบหน้าและผิวหนังแดง ตื่นเต้นชีพจรเต้นเร็ว ช่องม่านตาขยายได้แก่ ยาอะโทรปีน ลำโพง

 

การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ

       การได้รับสารพิษ เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการปฐมพยาบาลที่รีบด่วน และเฉพาะเจาะจง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องประเมินจำแนกให้ได้ว่าอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยนั้น  ว่าเกิดจากสารพิษใด นอกจากประเมินอาการแล้ว ยังจำเป็นต้องสังเกตสภาพการณ์ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยร่วมด้วย ดังนี้

  • การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก หรือมีรอยไหม้นอกบริเวณริมฝีปาก มีกลิ่นสารเคมีบริเวณปาก
  • เพ้อ ชัก หมดสติ  มีอาการอัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป  ขนาดช่องม่านตาผิดปกติ อาจหดหรือขยาย
  • หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก มีอาการเขียวปลายมือปลายเท้า  หรือบริเวณริมฝีปาก   ลมหายใจมีกลิ่นสารเคมี
  • ตัวเย็น  เหงื่อออกมาก  มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง

สภาพการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่บ่งชี้ถึงภาวะการได้รับสารพิษ

  • เกิดอาการผิดปกติขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน โดยที่ผู้ป่วยเป็นคนที่แข็งแรงสมบูรณ์มาก่อน
  • เกิดอาการขึ้นกับคนหลาย ๆ คน  หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน
  • ในบริเวณที่พบผู้ป่วยมีภาชนะบรรจุสารพิษ  หรือเป็นแหล่งของสัตว์มีพิษ  เช่น งูพิษ  แมงป่อง แมงกะพรุนไฟ
  • มีปัญหาทางด้านจิตใจ ได้แก่  เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย มีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย ผิดหวังในชีวิต หรือการทำงาน มีศัตรูปองร้าย

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษ

จำแนกตามวีถีทางที่ได้รับ  ๓  ทาง ดังนี้

  • การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
  • การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
  • การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางผิวหนัง

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก

ผู้ช่วยเหลือต้องทำการประเมินผู้ที่ได้รับสารพิษก่อน  แล้วจึงพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ  ดังนี้

  • ทำให้สารพิษเจือจาง  ในกรณีรู้สึกตัวและไม่มีอาการชัก  โดยการดื่มน้ำชาซึ่งหาได้ง่าย แต่ถ้าได้นมจะดีกกว่า เพราะว่าจะช่วยเจือจางสารพิษแล้ว ยังช่วยเคลือบและป้องกันอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร
  • นำส่งโรงพยาบาล  เพื่อทำการล้างท้องเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
  • ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน  เพื่อเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร ในกรณีที่ต้องใช้เวลานานในการนำส่งผู้ป่วย  เช่น  ใช้นิ้วล้วงคอ ใช้ไม้พันสำลีกวาดคอซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ รู้สึกอยากขย้อน อยากอาเจียน

ข้อห้ามในการทำให้ ผู้ป่วยอาเจียน

  • หมดสติ
  • ได้รับสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด ด่าง
  • รับประทานสารพิษพวก น้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด เบนซิน
  • มีสุขภาพไม่ดี  เช่น โรคหัวใจ

๔. ให้สารดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร  เพื่อลดปริมาณการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สารที่ใช้ได้ผลดี คือ Activated charcoal มีลักษณะเป็นผงถ่านสีดำ ใช้ ๑ ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ ๑ แก้ว ให้ ผู้ป่วย ดื่ม  ถ้าหาไม่ได้ อาจใช้ไข่ขาว ๓ - ๔ ฟอง ตีให้เข้ากันให้ ผู้ป่วยรับประทาน  ซึ่งควรใช้ในกรณีดังต่อไปนี้

  • รับประทานสารพิษเข้าไปเกินครึ่งถึง ๑ ชั่วโมง เพราะสารพิษผ่านกระเพาะอาหารลงไปยังลำไส้แล้ว การให้อาเจียนอาจไม่ได้ผล
  • หลังจากทำให้อาเจียนแล้ว ไม่แน่ใจว่าสารพิษจะถูกขับออกมาหมดโดยการอาเจียน
  • ไม่สามารถทำให้ ผู้ป่วยอาเจียนได้
  • นำส่งโรงพยาบาล เมื่อให้การปฐมพยาบาลแล้ว  ขณะนำส่งให้สังเกต อาการและอาการแสดง ตลอด เวลาและให้การช่วยเหลือถ้า  ผู้ป่วยหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น โดยการนวดหัวใจและการผายปอด

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารกัดเนื้อ (Corrosive substances )

กรด ด่าง เป็นสารเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน  นำมาใช้ในครัวเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม เช่น กรดซัลฟริก  กรดไฮโดรคลอริก  โซเดียมคาร์บอเนต

อาการและอาการแสดง

ไหม้พอง  ร้อนบริเวณริมฝีปาก  ปาก  ลำคอและท้อง  คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ และมีอาการภาวะช็อค ได้แก่ ชีพจรเบา ผิวหนังเย็นชื้น

การปฐมพยาบาล

  • ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มนม
  • อย่าทำให้อาเจียน
  • รีบนำส่งโรงพยาบาล

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพวกน้ำมันปิโตเลียม

เป็นผลิตภัณฑ์ที่พบได้ทั้งในบ้านและโรงงานอุตสาหกรรม สารพวกนี้ได้แก่ น้ำมันก๊าด เบนซิน ยาฆ่าแมลงชนิดน้ำมัน เช่น DTT.

อาการและอาการแสดง

แสบร้อนบริเวณปาก คลื่นไส้ อาเจียน  ซึ่งอาจสำลักเข้าไปในปอดทำให้หายใจออกมามีกลิ่นน้ำมัน หรือมีกลิ่นน้ำมันปิโตเลี่ยม อัตราการหายใจและชีพจรเพิ่ม อาจมีอาการขาด ออกิเจน ซึ่งอาจรุนแรงมากมีเขียวตามปลายมือ ปลายเท้า ( Cyanosis )

การปฐมพยาบาล

  • รีบนำส่งโรงพยาบาล
  • ห้ามทำให้อาเจียน
  • ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยอาเจียน ให้จัดศีรษะต่ำ เพื่อป้องกันการสำลักน้ำมันเข้าปอด

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับ ยาแก้ปวด ลดไข้

ยาแอสไพริน และพาราเซตามอล พบบ่อย ในเด็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ

อาการและอาการแสดง ของผู้ที่ได้รับ ยาแอสไพริน

หูอื้อ เหมือนมีเสียงกระดิ่งในในหู การได้ยินลดลง เหงื่อออกมาก ปลายมือปลายเท้าแดง ชีพจรเร็ว คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็ว ใจสั่น

อาการและอาการแสดง ของผู้ที่ได้รับ ยาพาราเซตามอล ( ไทรีนอล )

ยานี้จะถูกดูดซึมเร็วมาก โดยเฉพาะในรูปของสารละลาย  ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตต่ำ สับสน เบื่ออาหาร

การปฐมพยาบาล

  • ทำให้สารพิษเจือจาง
  • ทำให้อาเจียน
  • ให้สารดูดซับสารพิษ ที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
  • ให้กำลังใจ เพื่อให้ ผู้ป่วยสงบ
  • นำส่งโรงพยาบาล


การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ

สารพิษที่เข้าสู่ทางการหายใจ ได้แก่ ก๊าซพิษ ซึ่ง แบ่งออกเป็น  ๓  ประเภท  ดังนี้

  • ก๊าซที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เกิดอาการ วิงเวียน หน้ามืด เป็นลมหมดสติ ถึงแก่ความตายได้  เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ปัจจุบันพบว่าก๊าซที่ทำให้เกิดปัญหาค่อนข้างบ่อย ได้แก่ คาร์บอนมอนนอกไซด์ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีปัญหาการจราจรคับคั่ง อากาศเป็นพิษ คาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อหายใจเข้าไปในร่างกาย ก๊าซนี้จะแย่งที่กับออกซิเจนในการจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถไปยังเนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้ ร่างกายจึงมีอาการของการขาดออกซิเจน ซึ่งถ้าช่วยเหลือไม่ทันจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เช่น ในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตในรถยนต์
  • ก๊าซที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ คอ หลอดลม และปอด ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้ตายได้ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไม่มีสีแต่มีกลิ่นฉุน พบได้ในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้ทำกรดกำมะถัน
  • ก๊าซที่ทำให้อันตรายทั่วร่างกาย ได้แก่ ก๊าซอาร์ซีน ไม่มีสีกลิ่นคล้ายกระเทียม พบได้ในโรงงานอุตสาหกรรมใช้ทำแบตเตอรี่ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ปัสสาวะเป็นเลือด ดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง

การปฐมพยาบาล

  • กลั้นหายใจและรีบเปิดประตูหน้าต่าง ๆ เพื่อให้อากาศถ่ายเท มีอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในห้อง ปิดท่อก๊าซ หรือขจัดต้นเหตุของพิษนั้น ๆ
  • นำผู้ป่วย ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่มีอากาศบริสุทธิ์
  • ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ผายปอดและนวดหัวใจ
  • นำส่งโรงพยาบาล

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางผิวหนัง

สารพิษที่สามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่พบบ่อยเกิดได้แก่ สารเคมี และสารพิษที่เกิดจากการถูกสัตว์มีพิษกัดหรือต่อย  เช่น ต่อ แตน ผึ้ง ตะขาบ แมงป่อง แมงกะพรุนไฟ  งูพิษ

การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีถูกผิวหนัง

  • ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  อย่างน้อย ๑๕ นาที
  • อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี  เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
  • บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
  • ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล

การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา

  • ล้างตาด้วยน้ำนาน ๑๕ นาที่ โดยการ เปิดน้ำก๊อกไหลรินค่อย ๆ
  • อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
  • บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
  • ปิดตา  แล้วนำส่งโรงพยาบาล

 

ที่มา : กรมแพทย์ทหารเรือ

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Arsenic
Atropine
Mercury bichloride
Phosphorus
Sulfur dioxide
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:3

สูดดมยาฉีดมดแก้ไขอย่างไรคะ

โดย:  สมใจ  [1 เม.ย. 2563 05:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:4

ลูกเผลอกินยาสอดเป็นอะไรไหมคะ

โดย:  Sai  [7 ก.พ. 2564 02:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:5

ด่างทับทิมเข้าจมูกจะเป็นอันตรายไหมค่ะ

โดย:  แบม  [28 มี.ค. 2564 23:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:6

สูดดมน้ำยาฆ่าเชื้อเดทตอลตอนพ่น  แสบคอมากเลย  กินน้ำเยอะก็ไม่หาย

โดย:  เนย  [22 เม.ย. 2564 19:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:7

สูดดมยาฉีดมด แล้วมึน เวียนศรีษะ กินอะไรแล้วอ้วก  ม่านตามัว หนักๆ ค่ะ  มีวิธีแก้มั๊ยคะ

โดย:  Fon  [9 ส.ค. 2564 21:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:8

ลูกกินยาทาเล็ยเข้าไปต้องทำยังไงคะตอนนี้ให้กินนมไปแล้ว

โดย:  เจี๊ยบ  [1 ต.ค. 2564 21:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:9

ได้กลิ่นยาฆ่าแมลงแล้วปวดท้องแบบจุกๆค่ะ

โดย:  Ammp252525@gmail.com  [7 ต.ค. 2564 15:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:10

หนูเผลอไปดมน้ำยาล้างห้องน้ำเเล้วรู้สึกมีอาการระคายเคืองคอ เเล้วก็หัวใจเต้นเร็วอ่ะค่ะ ไม่กล้าบอกพ่อเเม่เพราะพ่อเเม่จะซ้ำเติมควรทำยังไงคะ

โดย:  น้องเเก้ม  [21 ต.ค. 2564 20:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:11

ผมถายากันยุงแล้วต่องใช้มือรับประถานข้าวจะเป็นอะไรไหมครับ

โดย:  คนหน้าตาดี  [17 พ.ย. 2564 18:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:12

สูดดมยาล้างห้องน้ำผสมกับไฮเตอร์จะเป็นไรมั้ยค่ะ

โดย:  อิงฟ้า  [1 ธ.ค. 2564 18:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:13

เอายูนิเรน สเปรย์มาฉีดลงคอ เพราะคิดว่าเป็นเมาท์สเปรย์ จะมีอันตรายมากมั้ยคะ และควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นยังไงบ้างคะ

โดย:  ไอริน เข็มโคตร  [10 ธ.ค. 2564 22:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:14

ผมเผ่าถ่ายไฟฉายแล้วยูไก้ลๆจะมีอันตรา ต่อผมเปล่าคับ

โดย:  นาย  [24 ธ.ค. 2564 22:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:15

ลูกกินยาจุดกันยุงอวกออกมาเท่าหัวไม้ขีดแต่ต้มรางจืดไห้กินแล้วลูกก็ยังคงร่าเริงปกติจะเป็นอะไรไหมแล้วต้องไปหาหมออีกหรือเปล่า

โดย:  เหมียว  [4 ม.ค. 2565 21:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:16

กินผลไม้ตามรถขายผลไม้กินข้าวไปรู้สึกเหมือนมียาฆ่าแมลงด้วย หลังจากนั้นก็มีอาการเวียนหัวปวดท้อง

โดย:  ปีใหม่  [6 ม.ค. 2565 17:59]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:17

สูดดมสเปร์ฆ่าเชื้อเดสดอลแสบคอมากจะเป็นไรไหมมีวิธีแก้ไขไหม

โดย:  อภิญญา  [24 ม.ค. 2565 12:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:18

ข้างบ่้านทำสารเคมีอะไรหลายอย่างเช่นยาฆ่าแมลง ยาที่สูดหายใจเข้าไปแล้วแสบจมูก ลิ้นชา เพดานปากก็ชา และบางครั้งก็มีหมอกเต็มบ้านและทำให้ผิวหนังเวลาโดนน้ำจะรู้สึกหนืดและที่สำคัญหมือนมียางที่ริมฝีปากเวลาเปิดปิดปาก...เราต้องย้ายจากชั้น3ลงมานอนกับแม่ที่ชั้น2 แต่ก็ยังไม่วายต้องแสบตัว/จมูก/ปากอยู่...นี่ก็ทนอยู่มาร่วม 2 เดือนกว่าแล้ว ตั้งแต่ครอบครัวนี้เข้ามาอยู่...เคยคุยว่าทำสารเคมีรึเปล่า...เค้าก็ไม่ยอมรับ..แบบนี้จะทำยังไงดีคะ..ตอนนี้สุขภาพเราแย่มาก...ไม่รู้จะทำยังไงดี..พ่อแม่อายุ80กว่า90แล้วยอกให้เราอดทน..เพราะไม่อยากมีปัญหากับเพื่อนบ้าน..แต่เราว่าขืนทนต่อไปพวกเราคงต้องตายผ่อนส่งโดยไม่มีใครรู้แน่นอน...ไม่ทราบว่าจะทำยังไงดีคะ.. ใครเคยมีประสบการณ์แบบนี้ช่วยแนะนำด้วยนะคะ..ขอบคุณค่ะ

โดย:  หมู  [3 ก.พ. 2565 17:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:19

กินยาแดงแล้วอาการจะเป็นยังไงหรอค่ะ(อยากรู้)นะ

โดย:  มิ้น  [16 ก.พ. 2565 17:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:20

ยาแดงอันตรายมั้ยคะ
(เราอยากรู้นะ)

โดย:  ลูกหมี  [16 ก.พ. 2565 17:31]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:21

ลูกกินนำยาล้างตาทำยังไงค่ะ

โดย:  รัชนีกร  [28 ก.พ. 2565 12:42]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:22

เผลอไปดมน้ำยาล้างห้องน้ำ ผสมไฮเตอร์ เเล้วรู้สึกมีอาการระคายเคืองคอ เเล้วก็หัวใจเต้นเร็วอ่ะค่ะ ควรทำยังไงคะ

โดย:  Ann  [19 มี.ค. 2565 23:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:23

สูดดมน้ำ้ยาพ่นฆ่าเชื้อพื้นผิวแสบคอ คอแห้งจะเป็นอะไรมั้ยค่ะ

โดย:  จรรยาณัฏฐ์  [28 มี.ค. 2565 22:58]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:24

สูตรเลี้ยงดื่มน้ำส้มเคมีจะเป็นอะไรไหม
:ควรรักษายังไงครับ!!

โดย:  ธนาศักดิ์  [29 เม.ย. 2565 18:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:25

ช่วยด้วยค่ะ ฉันถูกทำร้ายร่างกาย ในทุกวัน ฉันนั่งหลับไม่รู้ตัวว่าหลับไปเมื่อไหล่ เมื่อรู้สึกตัวได้สติขึ้นมาในแต่ละวันก็มีอาการดังนี้
1.ง่วงซึม มึนหัว 2.บางวันระคาย,คอแห้งมาก,บางวันเจ็บคันยิบๆตามผิวหนังแขนขา บางวันแสบปากรูจมูกมากจนมีเลือดซิบๆออกมา 3.ระคายเคืองในตา บางวันหนังตาบวม มองไม่ชัด 4.บางวันพอได้สติตื่นมาก็มีแผลเหมือนรอยเข็มฉีดยาที่หน้าขา, รอยเข็มทึ่หน้าท้อง และตรงท้องน้อยใต้สะดือ เจ็บ+คัน แข็งเป็นไต ตามแขนขาก็มีรอยเข็ม ตรงหนวดเป็นไตและขอบปากบวมเล็กน้อย บางวันมีรอยเข็มที่กลางหนัาผาก,หัวคิ้ว ปวดกลางกระหม่อม 5.มีฝุ่นผงสีเหลืองครีมสัมผัสดู มันสากกว่าแป้งฝุ่น พอตื่นมาก็เห็นมันฟุ้งทัวห้องนอน สูดดมไปแล้วมีอาการปลายลิ้นชา ระคายเคืองดวงตา จมูกไม่รับรู้กลิ่น จุกแน่นหน้าอก ตอนนี้เริ่มอาการไอกรนแล้วค่ะ พอออกไปขอความช่วยเหลือในหน่วยงาน เขากลับใช้คำว่า...ฉันเลอะเลือน
*พอวันรุ่งขึ้น ตื่นมาก็ระบบตามแขนขามีรอยช้ำ *
ทนทรมานมา 6ปีแล้ว ทนไม่ไหวแลัวค่ะ ช่วยด้วย

โดย:  093-1938714  [11 พ.ค. 2565 16:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:26

แฟนกินผักที่ผึ่งฉีดยาค่าแมลงไปแแค่1ช.ม.

โดย:  นาวิน  [5 มิ.ย. 2565 21:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 25:27

จริงอยู่เราอาจจะมีประวัติเข้ารับรักษาจิตเวช เราพยายามเพื่อจะรักษาในกาแพ้สารเคมีอธิบายในสิ่งที่ได้รับและผลกระทบกลับว่าเป็นการตีความคิดไปเองสุดท้ายได้รับยาวิตกกังวลอย่างนั่นเราก็เข้าหาจิตเวชแล้วซิครับ
ปัญหาคือมือเราแขนขาไม่มีแรงเวลาเวลาผิวหนังถูกความเย๋นยิ่งแย่
เหงื่ออกเหนื่อยง่าย
หายใจไม่ออกได้กลิ่นน้ำมันก๊าส/คลอรีน/กลิ่นฉุนแปลกๆ
เล็บเริ่มผุ
น้ำตาก็ไหลออกมาแสบตาตลอด
เหมือนอากาศไม่ค่อยถ่าย
แขนขาเริ่มชา
รสชาติอาหารไม่มีรส
นี่เป็นความรู้สึกส่วนตัวน่ะครับ
ไม่ได้กลัวว่าใครจะเอาอะไรมาใส่หรือทำ
แต่เล่าถึงอาการน่าจะให้ยามาทาแก้อาการแสบร้อนหรือไม่ก็ให้ยาแก้ปวด
เราก็เป็นคนเหมือนกันอย่ามองแค่ประวัติครับในอนาคตเดินไม่ได้ขึ้นมาใครจะรับผิดชอบในส่วนที่คนไข้ไปเข้ารับปรึกษา0953167526

โดย:  ภูวพล ศิษยศาสตร์  [30 มิ.ย. 2565 21:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 26:28

ดมยาฉีดเเมลงสาบ  ประมาณ2-3นาที   เป็นอะไรมั้ยค้ะ  พอดีว่าตอนฉีดไม่ได้อ่านฉลากการใช้   ตอนนี้รู้สึกเวียนหัวนิดหน่อยค่ะ

โดย:  ชมพู่  [11 ก.ค. 2565 01:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 27:29

กินน้ำยาปรับผ้านุมเข้าไปทำไงดีช่วยด้วยค่ะ

โดย:  แทมมี้  [5 ธ.ค. 2565 01:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 28:30

สูดกลิ่นน้ำยาล้่างห้องน้ำผสมไฮเตอร์เข้าไปไปอ่านในเน็ตเค้าบอกอันตรายมากๆหนูพึ่งรู้หนูควรไปหาหมอดีมั้ยคะ รู้สึกเสียงแหบๆเสมหะเยอะมากค่ะ

โดย:  Pim  [23 ก.พ. 2566 12:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 29:31

สูดดมยาฆ่า ปลวกเข้าไป 4-5 วันแล้วมีอาการ หายใจไม่เต็ม ปลอด -ไอมีน้ำมูก

โดย:  นันทพ นาคถาวร  [3 มี.ค. 2566 08:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 30:32

ช่วยด้วยค่ะเมื่อกี้เผลอเอามือจับน้ำยาซักฟอกแล้งเอามาโดนปากตอนนี้มีอาการแสบร้อนอย่างเดียวจะเป็นอะไรไหมคะ

โดย:  สมาย  [22 มี.ค. 2566 20:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 31:33

หนูขี่รถผ่านสวนที่เค้าพ่นยาเงาะแล้ว ลมแรงละอองยาเข้าปาก อาการมีคอแห้งปากแห้ง บ้วนน้ำลายบ่อย บางทีปวดหัว แต่มาล้างท้องแล้วนะคะ แต่จะเป็นอะไรมั้ยคะ หนูเครียดมากค่ะ

โดย:  ณวรา เล็กรัตน์  [3 มิ.ย. 2566 20:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 32:34

 สูดดมน้ำกรดจากแบตเตอรี่ตอนนี้มีอาการแสบโพรงจมูกต้องรักษายังไงครับ

โดย:  บอส ภูเจ  [7 มิ.ย. 2566 21:59]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 33:35

รู้สึกเหมือนยาฆ่ามะแลงจะปนเปื้อน​อยู่ในอาหารมีอาการปวดท้องมากแล้วก็ปวดหัวเล็กน้อยต้องทำใงคะ

โดย:  ผมเอง  [23 ก.ค. 2566 16:52]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 34:36

คือตอนนั้นพ่อของทายาที่ช่วยให้สิวหายแล้วประเด็นสำคัญคือมือพ่อของผมโดนยาแล้วมาโดนปากผม
อีกประเด็นนึงคือแม่ทายาที่มันให้เล็บงอกแล้วพอประมาณเที่ยงคืนผมก็เอามือที่เปื้อนยาไปแตะปาก จะเป็นอะไรไหมครับ ช่วยตอบหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ

โดย:  นัด  [9 ก.ย. 2566 19:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 35:37

สูดนำยาล้างห้องน้ำ มีอาการหายใจไม่ออก ควรทำอย่างไร

โดย:  หาความรู้เบื้องต้น  [18 พ.ย. 2566 08:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 36:38

ผิวหนังโดนสารกัดขณะใช้น้ำประปา พร้อมมีสารชนิดนั้นลอยอยู่ในอากาศ แล้วเกิดแผลเป็นจั้มเลือด และมีตุ่มเหมือนแมลงกัดเกิดบริเวณเดียวกัน ตอนนี้มีอาการผิวแห้งแสบคันทั้งตัวไม่หาย และก่อนหน้ามีอาการหายใจไม่สะดวกอึดอัด แน่นหน้าอก จากการสูดดมหายใจนำสารพิษคล้ายเศษฝุ่นหรือแก๊สพิษทำให้เกิดเสมหะสูง หายใจลำบาก อาการอื่นๆ มีอาการเจ็บหูมาก หูอื้อ ได้ยินเสียงคลื่นความถี่และสัญญาณสูงใกล้ๆ เหตุการณ์นี้เริ่มตั้งแต่ 22 พ.ย. 2023 ถึงปัจจุบัน 16 ธ.ค. 2023

โดย:  수수  [16 ธ.ค. 2566 07:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 37:39

แฟนเพลอกินยาแก้คันเข้าไปต้องทำไงครับ

โดย:  ธีรศักดิ์  [28 ม.ค. 2567 05:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 38:40

สูดดมกลิ่นถุงพลาสติกรีไซเคอร์ที่มีกลิ่นเหม็นเข้าไปเป็นจำนวนมากและเป็นเวลานานเกือบเดือน โดยตอนแรกหาสาเหตุไม่เจอว่ากลิ่นเหม็นมาจากอะไร นจนตัดรื้อของในห้องทั้งหมดจนพบว่ามาจากถุงพลาสติกดังกล่าว ตอนนี้แสบปาก ลิ้น จมูก ใบหน้า มือ เท้า ตัว ลมหายใจมีกลิ่นสารเคมี  ผิวหนังมีกลินสารเคมีดังกล่าว และได้กลิ่นเหม็นแบบกลิ่นพลาสติกจากสิ่งของทุกอย่างค่ะ จะทำอย่างไรดีค่ะ ที่จะขจัดและรักษาสารพิษเคมีที่สูดดมเข้าไปค่ะ ตอนนี้ทรมารมากค่ะ

โดย:  ศิริศรี  [6 ก.พ. 2567 10:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 39:41

ถ้าได้รับพิษสารเคมี ติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เลย https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/

โดย:  m  [7 ก.พ. 2567 11:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 40:42

เผลอสูดคลอรีนที่เตรียมไว้ผสมในแท้งก์น้ำ แสบจมูก เจ็บหน้าอก ควรทำอย่างไร

โดย:  พระพี  [11 เม.ย. 2567 14:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 41:43

หนูคิดจะฆ่าตัวตายด้วยการกินไฮเตอร์เเต่พอเทเข้าปากแล้วทำให้กลืนไม่ลง ทำให้ถุ้ยทิ้ง แล้วมันเข้าจมูกด้วย ใช่น้ำล้างไปรอบเดียวแล้วนั่งถุ้ยน้ำลายทำไห้ลิ้นช้า เหงือกฟันขึ้นดำ ซึ่งไม่ได้ไปหาหมอตื่นเช้ามาลิ้น ไม่รับรสลิ้นช้า เป็นอะไรไหมถ้าไม่ได้ไปหาหมอทันที่ @ยังมีชีวิตอยู่จะมีผิดอะไรกับร่างกายไหมคะ

โดย:  พรชิตา  [16 เม.ย. 2567 16:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 42:44

หนูคิดจะฆ่าตัวตายก็เลยกินน้ำยาซักผ้าไป1ถ้วยผ่านมา1วันแล้วค่ะหนูจะเป้นไรไหมค่ะ

โดย:  จจ  [19 พ.ค. 2567 21:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 43:45

ผมหลับอยู่ดีๆผมได้กลิ่นยาสวบคนในรถมีคนสูบผมทนมาเป็นเวลา 16 นาที่ผมหายใจไม่ออกเลยเป็นไรไหมครับ


โดย:  บาส kk  [29 พ.ค. 2567 17:24]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น