อบรม - การจัดทำเอกสาร SAFETY DATA SHEET (SDS)

สถานที่: ห้องประชุม 2 ชั้น 3 สำนักวิทยทรัพยากร (หอกลาง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่: 29 - 30 พฤษภาคม 2568 เวลา 08:30 - 17:00 น.

ค่าลงทะเบียนต่อคน: 5,600.00 บาท

การอบรมหลักสูตร  “การจัดทำเอกสาร SDS (Safety Data Sheet)”

โดย

หน่วยปฏิบัติการวิจัยหลักการจัดการสารเคมี

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ตารางอบรม:  รอบที่ 2 วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2568

ระยะเวลา:  บรรยายและฝึกปฏิบัติรวม 12 ชั่วโมง (2 วัน)

ค่าลงทะเบียนต่อท่าน: 5,600 บาท  ** กรุณาชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2568

วัตถุประสงค์:   

  1. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในระบบ GHS และสามารถจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบ GHS ได้
  2. เพื่อให้สามารถตรวจสอบความถูกต้อง สอดคล้องกันของข้อมูลใน เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) ได้
  3. เพื่อให้สามารถจัดทำ SDS ได้อย่างถูกต้องตามระบบ GHS

เหมาะสำหรับ: ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ส่งออก สารเคมี ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่มีสารเคมี ซึ่งต้องจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS)

เนื้อหาการอบรม:

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)

  • ความเป็นมา
  • องค์ประกอบของระบบ GHS
  • เอกสารอ้างอิง GHS

2. การจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมี – Chemical hazards classification –

  • ประเภทความเป็นอันตราย
  • การจำแนกความเป็นอันตรายและฉลากของสารเคมีตามระบบ GHS

3. การจัดทำ SDS

  • SDS คืออะไร มีลักษณะอย่างไร
  • แหล่งสืบค้นข้อมูล

4. ฝึกปฏิบัติการจัดทำ SDS

คณะวิทยากร:

  • ดร. ขวัญนภัส สรโชติ          ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จุฑามาศ ทรัพย์ประดิษฐ์     ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชนัญญา เพิ่มชาติ               ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วลัยพร มุขสุวรรณ               ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กำหนดการอบรม: 

วันที่ 29 พฤษภาคม 2568
8.30-9.00 น.
ลงทะเบียนอบรม
9.00-9.30 น.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
โดย นางสาววลัยพร มุขสุวรรณ
      หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยหลักการจัดการสารเคมี
      ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย
9.30-12.00 น.
การจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมี – Chemical Hazard Classification
โดย ดร. ขวัญนภัส สรโชติ
      หัวหน้ากลุ่มภารกิจพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย
      ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.00-13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.
ฝึกปฏิบัติ “จำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมี”
โดย ดร. ขวัญนภัส สรโชติ, จุฑามาศ ทรัพย์ประดิษฐ์ และ ชนัญญา เพิ่มชาติ 

สรุปกิจกรรม


วันที่ 30 พฤษภาคม 2568
8.30 -9.00 น.
ลงทะเบียนอบรม
9.00-12.00 น.
ทำความรู้จัก SDS (Safety Data Sheet) 
โดย ดร. ขวัญนภัส สรโชติ
      หัวหน้ากลุ่มภารกิจพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย
      ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.00-13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.
ฝึกปฏิบัติ “การจัดทำ SDS (Safety Data Sheet)”
โดย ดร. ขวัญนภัส สรโชติ, จุฑามาศ ทรัพย์ประดิษฐ์ และ ชนัญญา เพิ่มชาติ 

สรุปกิจกรรม


ONSITE Course: SDS (Safety Data Sheet) Authoring

Center of Excellence on Hazardous Substances Management.

Training Schedule: Round 2, 29-30 May 2025

Duration: 12 hours of lecture and practice (2 days)

Registration fee per person: 5,600 baht ** Please pay the registration fee by 23 May, 2025

Objective:

1. To enhance understanding of the GHS and to be able to classify the hazards of chemicals according to the GHS.

2. To be able to examine the accuracy of data in Safety Data Sheets (SDS).

3. To be able to create SDS correctly according to GHS.

Suitable for: 

manufacturers, importers, distributors or exporters of chemicals, mixtures or products containing chemicals who must provide safety data sheets (SDS) to their customers.

Training content:

1. Introduction to the Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals (GHS)

  • Background
  • Components of the GHS system
  • GHS reference documents

2. Hazardous chemical classification

  • Chemical hazards classification
  • Hazard Classes Hazard classification and chemical label according to GHS

3. SDS authoring

  • What is SDS?
  • What does it look like?
  • Information sources

4. Practice in SDS authoring

Lecturer Team:

Kwannapat Sorachoti, Ph.D.,  Center for Safety, Health and Environment of Chulalongkorn University.

Jutamas Suppradid, Center for Safety, Health and Environment of Chulalongkorn University.

Chanunya Permchati, Department of Environmental Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University

Walaiporn Mooksuwan, Center of excellence on Hazardous Substance Management.