GUIDE 163 สารกัมมันตรังสี (รังสีระดับต่ำถึงระดับสูง)

English

อันตรายที่อาจเกิดได้
สุขภาพ
- เมิ่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่ง รังสีทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยมากต่อคนงาน บุคลากรโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน และประชาชนทั่วไป ความทนทานของหีบห่อ เพิ่มขึ้นเมื่อศักยภาพการแผ่รังสีและอันตรายถึงจุดวิกฤตของวัตถุกัมมันตรังสีที่เพิ่มขึ้น
- หีบห่อที่ไม่ชำรุดจะปลอดภัย สิ่งบรรจุภายในหีบห่อชำรุดอาจส่งรังสีถึงภายนอก และแผ่รังสีมากขึ้นทั้งภายนอกและภายในถ้าสิ่งบรรจุภายในถูกปลดปล่อยออกมา
- หีบห่อชนิด A (กล่อง หีบ ถัง ชิ้น ฯลฯ) ที่มีการระบุบนภาชนะ หรือในเอกสารการขนส่ง ที่ไม่บรรจุสารในปริมาณที่เป็นอันตรายถึงชีวิต อาจมีการปลดปล่อยเล็กน้อย หากภาชนะชนิด A ชำรุดโดยอุบัติเหตุ
- หีบห่อชนิด B และชนิด C (ใหญ่และเล็ก มักเป็นโลหะ) บรรจุสารอันตรายปริมาณสูงสุดจะมีการระบุด้วยเครื่องหมายบนภาชนะ หรือในเอกสารการขนส่ง สภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตอาจยังมีอยู่ในกรณีที่สารรั่วไหลออกมาหรือตัวป้องกันหีบห่อเสียหาย ด้วยการออกแบบ การประเมิน
- การขนส่งทางเรือแบบพิเศษมักเกิดขึ้นไม่บ่อยนักสำหรับหีบห่อประเภท A,B หรือ C ประเภทของหีบห่อจะปรากฏบนหีบห่อและรายละเอียดการขนส่งจะอยู่ในเอกสารการขนส่งทางเรือ
- ฉลาก Radioactive White-I บ่งชี้ว่าระดับรังสีภายนอกหีบห่อเดี่ยวที่ไม่ชำรุดว่าต่ำมาก (น้อยกว่า 0.005 mSv/h (0.5 mrem/h)
- หีบห่อติดฉลาก Radioactive Yellow-II และ Yellow-III มีระดับรังสีสูงกว่า ดัชนีขนส่ง (TI) บนฉลากแสดงระดับรังสีสูงสุดเป็น mrem/h ที่ระยะ 1 เมตรจากหีบห่อเดี่ยวที่ไม่ชำรุด
- สารกัมมันตรังสีบางตัวไม่อาจใช้เครื่องมือที่มีอยู่ตรวจสอบได้
- น้ำจากการดับไฟสินค้าอาจก่อให้เกิดมลพิษ
ไฟไหม้หรือระเบิด
- สารบางประเภทอาจไหม้ไฟ แต่ส่วนใหญ่ไม่ลุกติดไฟทันที
- กัมมันตรังสีไม่เปลี่ยนความไวไฟหรือคุณสมบัติอื่น ๆ ของสาร
หีบห่อประเภท B ได้รับการออกแบบและตรวจประเมินว่าทนไฟได้ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส (1475 องศาฟาเรนไฮท์) เป็นเวลานาน 30 นาที
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทร. 911  จากนั้นโทรหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุไว้ในเอกสารชิปปิ้ง ถ้าเอกสารชิปปิ้งไม่มีหรือติดต่อไม่ได้ ให้ติดต่อเบอร์โทรที่เหมาะสมตามรายการที่ให้ไว้บนปกในของหนังสือ
- การช่วยชีวิต ปฐมพยาบาล และการควบคุมไฟ รวมทั้งอันตรายอื่นสำคัญกว่าการวัดระดับรังสี
- ต้องรายงานอุบัติเหตุต่อหน่วยงานรับผิดชอบเกี่ยวกับรังสี ซึ่งปรกติจะรับผิดชอบต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับผลที่เกิดตามมา และการยุติภาวะฉุกเฉิน
- อยู่เหนือลม บนที่สูง และ/หรือต้นน้ำ
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- กักตัวหรือแยกผู้ที่ไม่ได้รับอันตราย หรืออุปกรณ์ที่สงสัยว่าจะปนเปื้อน อย่าทำความสะอาดจนกว่าจะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านรังสี
ชุดป้องกัน
- เครื่องช่วยหายใจแบบมีแรงดันบวก SCBA และชุดผจญเพลิงจะป้องกันการแผ่รังสีภายในได้เพียงพอ แต่ไม่ป้องกันรังสีภายนอก
การอพยพ
มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันที
- กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 เมตร (75 ฟุต)
หกรั่วไหลมาก
- อันดับแรกพิจารณาอพยพประชาชนที่อยู่ใต้ลมออกไปอย่างน้อย 100 เมตร (330 ฟุต)
ไฟไหม้
- เมื่อไฟไหม้สารจำนวนมากทำให้เกิดไฟไหม้ใหญ่ ให้พิจารณาอพยพประชาชนโดยรอบ 300 เมตร (1000 ฟุต)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
- การมีสารกัมมันตรังสีจะไม่มีผลต่อกระบวนการควบคุมไฟและไม่ควรมีอิทธิพลต่อการเลือกเทคนิค
- ถ้าทำได้อย่างปลอดภัย เคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์ที่เสียหายออกจากบริเวณโดยรอบกองไฟ
- อย่าเคลื่อนย้ายภาชนะชำรุด; ควรเคลื่อนย้ายภาชนะที่ไม่ชำรุดออกจากบริเวณไฟไหม้
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
- ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ ฉีดน้ำเป็นฝอย หรือ โฟมแบบธรรมดา
ไฟไหม้ขนาดใหญ่
- ฉีดน้ำเป็นฝอย หรือเป็นหมอก (ใช้น้ำปริมาณมาก)
- กักเก็บน้ำชะจากการควบคุมเพลิงเพื่อบำบัดภายหลัง
หกหรือรั่วไหล
- ห้ามสัมผัสหีบห่อชำรุด หรือสารที่หกรั่วไหล
- พื้นผิวที่ชื้นบนหีบห่อที่ไม่ชำรุดหรือชำรุดเล็กน้อย มักเป็นเครื่องชี้ว่า หีบห่อชำรุด หีบห่อส่วนใหญ่สำหรับบรรจุของเหลวจะมีภาชนะภายในและ/หรือวัสดุดูดซับอยู่ภายใน
- คลุมของเหลวที่หกรั่วไหลด้วยทราย ดิน หรือวัสดุดูดซับที่ไม่ติดไฟ
การปฐมพยาบาล
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง
- ปัญหาทางการแพทย์สำคัญกว่าปัญหาทางรังสีวิทยา
- ปฐมพยาบาลตามธรรมชาติของการบาดเจ็บ
- อย่าชักช้าในการดูแลและนำส่งผู้ได้รับอันตรายรุนแรง
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- กรณีสัมผัสกับสาร ให้รีบล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที
- ผู้ที่ป่วยจากการสัมผัสสารที่ปล่อยออกมาไม่เป็นอันตรายต่อบุคลากรอื่น หรือต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ