สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี

ชื่อสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: Sulfur dioxide
CAS Number: 7446-09-5
กลุ่มสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: ก๊าซกัดกร่อน (Corrosive Gases)
แหล่งกำเนิด/การใช้ประโยชน์: เป็นผลพลอยได้จากการเผาไหม้วัสดุที่มีซัลเฟอร์ประกอบอยู่ด้วย ใช้สำหรับฟอกขาว ฆ่าเชื้อ และรมรักษาสภาพ [ACGIH] ใช้ถนอมรักษาคุณภาพผลไม้และอาหารอื่นๆ ผลิตโมลาส ไวน์ และเบียร์ ฟอกขาวเส้นใยสิ่งทอ ฟอกหนัง ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมและกระจก บำบัดน้ำเสีย กลั่นแยกน้ำมันและโลหะ [HSDB]
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
  1. เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2535 ที่ชาวบ้านใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ได้รับสารมลพิษฝุ่นและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ ทำให้ชาวบ้านและพนักงานการไฟฟ้ามีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ สัตว์เลี้ยงล้มตาย พืชพันธุ์ของชาวบ้านและสวนสักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เกือบทั้งสวนที่อยู่ใกล้เคียงถูกฝุ่นกรดทำให้ใบหุบและหงิกงอ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กลุ่มคนที่อ่อนแอ ได้แก่ คนที่ได้รับสารพิษเป็นเวลานาน เด็ก คนชรา คนเป็นโรคหัวใจ ภูมิแพ้ หรือโรคระบบทางเดินหายใจ มีอาการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลัน ในจำนวนผู้ป่วยกว่า 1,000 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยใน 30 คน ที่เหลือเป็นผู้ป่วยนอก วัวควายล้มตาย 27 ตัว สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วย 87 ตัว ต้นไม้ถูกละอองกรดไหม้หงิกงอ และในระหว่างปี 2546-2548 ราษฎรที่อาศัยอยู่รอบบริเวณโรงไฟฟ้าฯ ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ เรียกร้องค่าเสียหายจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยอ้างว่าโรงไฟฟ้าฯ มีการใช้ถ่านหินคุณภาพต่ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า จนทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของราษฎร และเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2552 ศาลปกครองเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษาสั่งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจ่ายค่าเสียหายรายละ 2.4 แสนบาท พร้อมอพยพชาวบ้านออกจากรัศมีผลกระทบ 5 กิโลเมตร
    แหล่งอ้างอิง:สมุดปกขาวทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2536 อากาศเป็นพิษที่แม่เมาะ: ทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า ออนไลน์บนเว็บไซต์ http://www.tdri.or.th/library/quarterly/white-pp/wb1.htm

ค่าเฝ้าระวังด้านการสัมผัส

แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [hazmap.nlm.nih.gov].