สนับสนุนโดย
สนับสนุนโดย
สนับสนุนโดย
หน้าแรก
ข้อมูลวิชาการ
GHS - SDS
UN Class - UN Number - UN Guide
การจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี
ข้อมูลสถิติ
นานาสาระ
ศัพท์น่ารู้
ข้อมูลสารควบคุม
บัญชีวัตถุอันตราย
สารอันตราย (แรงงาน)
ขีดจำกัดความเข้มข้นของสาร
ยาเสพติด
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ยุทธภัณฑ์
PICs (อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ)
POPs (อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ)
Basel (อนุสัญญาบาเซล)
Montreal (พิธีสารมอนทรีออล)
EU REACH
บริการ
เอกสารเผยแพร่
จัดทำ SDS
In-House Training Courses
สิ่งพิมพ์ที่จัดจำหน่าย
เกี่ยวกับเรา
แนะนำหน่วยงาน
ติดต่อเรา
ถาม-ตอบ
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี
<< โรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี
ชื่อโรค:
สารทำละลาย, พิษเฉียบพลัน (Solvents, acute toxic effect)
กลุ่มโรค:
พิษเฉียบพลัน (Acute Poison)
เฉียบพลัน/เรื้อรัง:
เฉียบพลัน - ปานกลาง (Acute-Moderate)
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
ปี 2546 นลินี ศรีพวงและคณะ ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารทำละลายในประเทศไทยพบว่า สารเคมีอันตรายประเภทสารทำละลายเป็นปัญหาหลักในพื้นที่ 62 จังหวัด โดยในเขตอุตสาหกรรมในภาคกลางและภาคตะวันออกพบว่า สารทำละลายจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาหลัก คือ สารทำละลายอินทรีย์ใน 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ได้แก่ เบนซีน โทลูอีน ไซลีน และสไตรีน 2) กลุ่มอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน ได้แก่ ไตรคลอโรเอทธิลีน ไฮโดรควิโนน อะครีโลไนไตรล์ เฮ็กเซน ฟอร์มัลดีไฮด์ คลอโรฟอร์ม เมทธิลีนคลอไรด์ และเอทธิลีนคลอไรด์ 3) กลุ่มอะลิไซคลิก ได้แก่ ไซโคลเฮ็กเซน และ 4) กลุ่มอื่นๆ ได้แก่ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ อะซีโตน เมทธิล-เอทธิลคีโตน อีเธอร์ โพรเพน และแนพธา กิจการที่มีความเสี่ยงสูงจากสารทำละลายอินทรีย์ ได้แก่ การชะล้าง การสกัด การผลิตเคมีภัณฑ์ การบริการน้ำมัน กิจการซ่อมรถยนต์ กิจการโรงพิมพ์ ผลิตสี ตลอดจนการผลิต การสะสมและจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว์
แหล่งอ้างอิง:
สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรม
http://www.hiso.or.th/hiso/analystReport/picture/5_lesson3.doc
การรายงานพิษจากสารทำละลาย พบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2540-2550 มีผู้ป่วยรวม 1,161 ราย เฉลี่ยปีละ 106 ราย โดยมีรายงานสูงสุดในปี พ.ศ.2542 จำนวน 151 ราย และต่ำสุดปี พ.ศ.2545 จำนวน 58 ราย มีแนวโน้มสูงขึ้นระหว่างปี 2546-2548 ลดลงเล็กน้อยในปี 2549 และมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2550 สำหรับปี 2550 จากการรายงานของโรงพยาบาลของรัฐ พบว่าเป็นผู้ป่วยจากภาคกลาง 55 ราย (ร้อยละ 41.15) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 40 ราย (ร้อยละ 30.08) ภาคเหนือ 21 ราย (ร้อยละ15.79) และภาคใต้ 17 ราย (ร้อยละ 12.78) จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา แพร่ อ่างทอง และภูเก็ต กลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี และกลุ่มอายุ 55-64 และ 25-34 ปี ผู้ป่วยเป็นนักเรียน ร้อยละ 38.35 รับจ้าง ร้อยละ 20.30 เกษตรกรรม ร้อยละ 18.05 ทั้งหมดได้รับการวินิจฉัยการได้รับพิษจากสารทำละลายอินทรีย์ โดยจำแนกชนิดได้เป็น เบนซีน ร้อยละ 8.27 ไซลีนร้อยละ 3.01 อื่นๆ ร้อยละ 10.53 และไม่ทราบ ร้อยละ 78.20 ตัวอย่างที่พบคือผู้ป่วยจากโรงงานผลิตสายนาฬิกา อาการที่พบคือ มีไข้ ผื่นขึ้นตามตัว ตาเหลือง มีอาการไอ ไม่มีเสมหะ เวลาแปรงฟันจะมีเลือดติดออกมาตามไรฟัน แพทย์วินิจฉัย พบว่าผู้ป่วยมีอาการเนื่องจากได้รับพิษจากสารทำละลายชนิดหนึ่ง คือ trichloroethylene
แหล่งอ้างอิง:
สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2550 สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข (ISSN 0857-6521
http://epid.moph.go.th),สรุปรายงานการประชุมวิชาการกรมการแพทย์
วันที่ 2 สิงหาคม 2550
อาการ/ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง
การไม่ประสานกัน
ความสามารถในการพูดบกพร่อง
ง่วง
ปวดศีรษะ
ผลการตรวจการทำงานของตับไม่ปกติ
ผิวหนังอักเสบ
ภาวะเงียบงันและโคม่า
ภาวะหัวใจเสียจังหวะ
เมา
ไม่มีสมาธิ
ล้า
เวียนศีรษะ
สับสน
หงุดหงิด
งานเสี่ยงอันตรายที่เกี่ยวข้อง
การทำเรซินโพลีเอสเตอร์เสริมแรงโดยใช้สไตรรีนด้วยระบบ "ใช้มือทา"
ใช้สารทำละลายในการพิมพ์ (ทำเพลต หรือการใช้หมึกที่มีสารทำละลายเป็นส่วนประกอบหลัก)
ทำความสะอาดอุปกรณ์ด้วยสารทำละลาย
ทำงานกับสารเคมีที่เป็นพิษที่สามารถหกรั่วไฟลหรือระบายออกมาได้
ทำงานกับสารทำละลายกาว
ทำงานในพื้นที่ปิด
ล้างคราบไขมันที่ติดโลหะ
ล้างแห้งด้วยสารละลายอินทรีย์
สีหรือสารชักเงามีน้ำมันเป็นส่วนประกอบหลัก
สารเคมี/สิ่งที่สัมผัสที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล
แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [
hazmap.nlm.nih.gov
].