สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี

ชื่อสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: Acrylonitrile
CAS Number: 107-13-1
กลุ่มสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: ไนไตรท (Nitriles)
แหล่งกำเนิด/การใช้ประโยชน์: ใช้ในกระบวนการผลิตของอะคริลิกไฟเบอร์ อะคริโลไนไตรท์-บิวทาไดอีน-สไตรีนเรซิน และไนไตรท์เรซิน และในอดีตใช้เป็นสารรมควัน [ACGIH] ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก สารเคลือบผิวและสารยึดเกาะ [Merck Index]
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
  1. วันที่ 5 ก.ย. 2544 เกิดกรณีรถบรรทุกสารอะคริโลไนไตรล์ สำหรับผลิตในสังเคราะห์ จำนวน 24 ตัน ประสบเหตุพลิกคว่ำบริเวณทางด่วนขั้นที่ 2 ช่วงเยื้องโรงพยาบาลรามาธิบดี ทำให้สารเคมีรั่วไหลออกมาเป็นจำนวนมาก และวันที่ 6 ก.ย. 2544 ทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กองระบาดวิทยา และเจ้าหน้าที่จากกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย ร่วมกันดำเนินการสอบสวนโรค ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจหาสารพิษในร่างกายของผู้ที่สัมผัสหรือสูดดมสารอะคริโลไนไตรล์โดยแบ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประชาชนที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในบริเวณทางด่วนที่เกิดอุบัติเหตุและกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือในอุบัติเหตุครั้งนี้  ผลการสอบสวนกลุ่มประชาชนที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในบริเวณทางด่วนที่เกิดอุบัติเหตุ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่และเด็กบ้านเด็กอ่อนพญาไท บ้านพักฉุกเฉินพญาไท และเจ้าหน้าที่และเด็กจากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ พบ 60 รายที่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังจากการสูดดมสารเคมี โดยส่วนใหญ่มีอาการแสบตา แสบคอ ผื่นแดงตามลำตัว และมีเจ้าหน้าที่จากบ้านเด็กอ่อนพญาไท 1 รายมีอาการหายใจลำบาก ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 1 คน สำหรับกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่กู้ภัยบนท้องถนน เจ้าหน้าที่กองป้องกันฝ่ายพลเรือนกรุงเทพมหานคร และอาสาสมัครกู้ภัยของหน่วยงานเอกชน รวมทั้งสิ้น 91 ราย

    มีการสอบสวน ซักประวัติ ตรวจร่างกาย เก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ พบว่าในส่วนกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานบนทางด่วนมีทั้งสิ้น 61 ราย  มี 48 รายที่เกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังจากการสัมผัสหรือสูดดมสารเคมี อาการที่พบมากที่สุดคือ แสบตา 23 ราย แสบจมูก 21 ราย และคอแห้ง 19 ราย ส่วนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านล่างทางด่วน จำนวน 27 ราย โดย 19 ราย มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสหรือสูดดมสารเคมี ลักษณะอาการที่พบคือ ผื่นคันตามผิวหนัง 9 ราย และคอแห้ง 5 ราย จากผลการตรวจร่างกาย พบอาการแสดงผิดปกติประมาณ 10% ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่สัมผัสหรือสูดดมสารเคมี โดยส่วนใหญ่พบเป็น eczama conjunctivitis rhinitis และ aphthrus ulcer
    แหล่งอ้างอิง:สำนักพัฒนาข้อมูลข่าวสารสุขภาพ  http://www.hiso.or.th/hiso/analystReport/picture/5_lesson6.doc และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์ กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย

ค่าเฝ้าระวังด้านการสัมผัส

แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [hazmap.nlm.nih.gov].