สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

สารปรอท

ตอบให้ผมทีครับ วันหนึ่งที่มหาลัยเป็นช่วงเวลาของการทำแล็บ เพราะผมเรียนเอกเคมีอาจารย์อนุญาตให้ไปเอาสารมาทำแล็บ ผมก็ไปเอา ผมก็เห็นขวดสารปรอทผมก็เลยเทใส่มือประมาณเท่าก้อนลูกแก้ว  มันมีสีเงินกลิ้งไปมาบนมือผม หนักมากเหมือนกันผมก็เล่นได้ประมาณ 10 นาทีแล้วผมก็ทิ้งไปที่หน้าต่างรู้สึกปวดมือยังไงบอกไม่ถูก ช่วยตอบหน่อยครับว่ามันอันตรายมากไหมครับ

โดย:  สุวิชา ชาพิทักษ์   [4 ก.ค. 2551 12:56]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด พิษวิทยา
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ปรอทเป็นสารพิษที่อันตรายมาก มีผลข้อมูลจากเอกสารความปลอดภัยของปรอทบอกว่า
การสัมผัสทางผิวหนัง:   ทำให้เกิดความระคายเคืองผิวหนัง.
การดูดซึมทางผิวหนัง:   เป็นพิษเมื่อถูกดูดซึมผ่านทางผิวหนัง.
การสัมผัสทางตา:   ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อดวงตา.
การสูดดม:   เป็นพิษเมื่อสูดดม.  สารนี้ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน.
การกลืนกิน:   เป็นพิษเมื่อกลืนกิน.

ข้อมูลของอวัยวะเป้าหมาย คือ  ไต.

สภาวะที่ร้ายแรงขึ้นจากการได้รับสาร คือ  อาจรบกวนระบบประสาท.

การเกิดพิษขึ้นกับปริมาณที่ได้รับเข้าไปด้วยค่ะ
ต่อ

โดย:  เบนซ์  [4 ก.ค. 2551 13:15]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

ปรอทเป็นโลหะที่เป็นอันตรายได้เมื่อเข้าสู่ร่างกายปริมาณมาก ปกติ ไอระเหยเป็นอัตรายกว่าของแข็ง เพราะเราอาจสูดไอเข้าไปได้ การซึมเข้าสู่ผิวหนังเมื่อสัมผัสระยะสั้น ไม่น่าจะมาก ขอให้ผู้รู้  หรือหมอช่วยเข้ามาตอบด้วยค่ะ แต่การทิ้งทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมแน่ๆ ถ้าหกโดยบังเอิญก็ควรเก็บใส่ภาชนะ โดยการโปรยผงกำมะถัน เพื่อเปลี่ยนสภาพของปรอท ไม่ให้ไอปรอทออกมา การเก็บปรอทในขวดจะมีน้ำใส่อยู่ด้วย เพื่อปกคลุมผิวไม่ให้ไอระเหยออกมา และไม่ควรวางเรี่ยราดให้ใครๆเข้าไปหยิบเล่นได้ กรณีของคุณน่าจะให้เบอร์โทรติดต่อกับทีมไว้ เผื่อมีคำแนะนำเร่งด่วนให้ได้

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [4 ก.ค. 2551 13:21]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

ปรอทเป็นสารที่มีพิษค่อนข้างมากและสามารถดูดซึมทางผิวหนังได้
แต่เท่าที่ผมรับฟัง การสัมผัสของคุณเกิดขึ้นแค่ครู่เดียว น่าจะไม่มีผล
ระยะยาว
ผลระยะยาวเกิดได้ทั้งต่อสมอง ไต
ถ้าคุณไม่สบายใจให้ไปเจาะเลือดดู ผลเลือดไม่ควรเกิน
0.3 ug/100 ml บางตำราให้ถึง 08 ug/100 ml
ทีหลังต้องระวังอย่าสัมผัสบ่อยๆ

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ กรมควบคุมโรค  [8 ก.ค. 2551 07:12]
ข้อคิดเห็นที่ 2:4

วันที่  22  มีนาคม  2522        

หลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่จำหน่ายในประเทศไทย ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเขียว จะมีปริมาณปรอทไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อหลอด

ดังนั้น  การนำ ปรอท หนัก  หนึ่ง กรัม  มาเล่นบนมือ    ( สาม คน  มี่มาถาม ใน เว็บ นี้  ทำแบบนี้กันทั้งนั้น )  จึง มีโอกาส ได้รับไอปรอท สูงสุด  เท่ากับ  อยู่ใน บริเวณ ที่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ 100 หลอด แตก พร้อมกัน        

หรือ  เมื่อทำปรอทตกลงพื้น และ เก็บกวาดไม่หมด  จะเท่ากับ ทำหลอดฟลูออเรสเซนต์   ตกแตก หลายหลอด    ส่วนในกรณี ที่ ผู้ถามคนหนึ่ง  ทิ้ง ปรอท ที่เล่น ในมือ ไปทั้งหมด  ก็เท่ากับทำ หลอดฟลูออเรสเซนต์  กว่า 100 หลอด แตก ที่ บริเวณ นั้น    และ ส่งผล ต่อ ผู้คน ใน บริเวณ นั้น  อีกหลายคน

โดย:  นักเคมี  [22 มี.ค. 2552 14:30]
ข้อคิดเห็นที่ 3:5

ผมว่าถ้ากังวลก็ลองไป รพ. หรือกระทรวงสาธารณสุข ดูนะครับ เท่าที่รู้มาเดี๋ยวนี้เค้ามีการวัดปริมาณปรอทในกระแสเลือดด้วยนะครับ

โดย:  term  [14 ก.ค. 2552 23:07]
ข้อคิดเห็นที่ 4:6

ปรอท กับ ผงปรอท เป็นสารเคมีอย่างเดียวกันหรือเปล่าค่ะ

โดย:  คนธรรมดา  [17 ส.ค. 2554 11:31]
ข้อคิดเห็นที่ 5:7

หนูทำกระจกเงาแตก แล้วก็เก็บเศษกระจกโดยมือเปล่า เมื่อประมาณ 4โมง แล้วไปล่างมือก็ยังไม่มีอาการอะไร  แต่พอประมาณ3 ทุ่มครึ่ง มีอาการคันในมือมากเหมือนคันในเนื้อค่ะ  ตื่นเช้ามาก็เหมือนยังมีอาการอยู่บ้าง อันตรายมากไหมค่ะ
เเล้วในกระจกมีสารปรอทมากหรือเปล่า  เผอิญกระจกที่แตกเป็นกระจกที่เก่าแล้วค่ะ

โดย:  ถิรดา  [24 มี.ค. 2555 09:27]
ข้อคิดเห็นที่ 6:8

Mercury compounds สารปรอท
ถ้ามีอยู่ในครีมทาผิว แล้วใช้ไปนาพอควร แล้วเมื่อรู้ควรทำไงดีคะ
มีคนบอกให้หยุดใช้เลย บางคนบอกค่อยๆๆ เลิกใช้ค่ะ

โดย:  สงสัย  [1 ต.ค. 2555 20:12]
ข้อคิดเห็นที่ 7:9

ที่ทำงานผมมีน้องที่ต้องสัมผัสกับปรอทที่แตก(ที่วัดความดัน)แต่เราเตือนแล้วเขาก็ไม่ค่อยเชื่อผมกลัวว่าสารพิษจากไอระเหยของปรอทจะเป็นอันตรายกับคนอื่นไปด้วย ขอผู้รู้ช่วยแนะนำถึงอันตรายหน่อยครับ

โดย:  nabameshtha  [22 ต.ค. 2556 15:37]
ข้อคิดเห็นที่ 8:10

ผมทำปรอทแตกในหม้อต้มน้ำครับอยากรู้วิธีแก้ครับ

โดย:  อยากรู้  [21 ก.พ. 2560 00:13]
ข้อคิดเห็นที่ 9:11

ดิฉันได้ทำปรอทวัดไข้ตกแตกเมื่อวานนี้(17 พค 63)  ความรู้ที่มีคือต้องรีบทำความสะอาดเลยเอาไม้กวาดมากวาดแต่มันแตกเป็นเม็ดเล็กๆๆๆกระจายไปหมด พยายามกวาด และเอาผ้ามาถู  แต่คิดว่ามันต้องมีหลงเหลืออยู่ วันนี้มีแต่ความกังวลใจและมาเปิดหาข้อมูลพบว่ามันมีพิษมากมายและมันจะระเหยไปในอากาศ ซึ่งดิฉันคงได้รับพิษไปเต็มที่     อยากทราบว่าดิฉันพอจะทำอะไรได้อีกบ้างเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในบ้าน    มีอีกเรื่องที่ข้องใจทำไมจึงปล่อยให้มีการใช้เครื่องมืออันตรายเหล่านี้ จะมีชาวบ้านสักกี่คนที่มีความรู้เรื่องพวกนี้ค้นหาข้อมูลดูบางประเทศเขาเลิกใช้ไปแล้ว     ประเทศไทยก็ควรจะยกเลิกบ้างและแนะนำให้ใช้อุปกรณ์อื่นที่ปลอดภัยแทน

โดย:  narak  [18 พ.ค. 2563 16:58]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้