สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

สารจับใบในการเกษตร

อยากทราบว่าสารจับใบที่มีขายกันในท้องตลาดเหมือนกันกับน้ำยาล้างจานหรือไม่ แล้วถ้าคุณสมบัติเหมือนกันแล้วใช้อัตราส่วนเท่าไรครับ

โดย:  hero   [2 ก.ย. 2551 14:49]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและผลิตภัณฑ์บ้านเรือน  /  สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สารเคมีทางการเกษตร
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

มีทั้ง  
แบบที่เหมือนกันกับน้ำยาล้างจาน        
และ
แบบที่ไม่เหมือนกันกับน้ำยาล้างจาน

โดย:  นักเคมี  [2 ก.ย. 2551 14:55]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

สารจับใบที่ใช้ในภาคเกษตร เป็นสารที่ช่วยลดแรงตึงผิวของใบพืช เมื่อผสมสารจับใบแล้ว ส่วนผสมของสารเคมีเกษตรกรที่มีสารจับใบอยู่ด้วยจะไม่เกาะตัวเป็นหยดน้ำ และไหลหล่นจากใบพืช แต่สารเคมีเหล่านี้จะกระจายไปทั่วทั้งใบ ทำให้มีประสิทธิภาพในการแทกซึมเข้าไปในใบพืชมากขึ้น สารจับใบอาจผสมจาก สาร surfactant (น้ำยาล้างจ้านก็มีสารประเภทนี้ผสมอยู่) และอาจมีการเติมสารเพิ่มประสิทธิภาพ ที่เรียกว่า adjuvant เข้าไป

อย่างไรก็ตามถ้าหาซื้อไม่ได้ การใช้ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจางผสมลงไปในสารเคมีเกษตร ก็สามารถช่วยให้สารเคมีติดกับใบพืชมากขึ้น

โดย:  รศ. ดร.อรพิน เกิดชูชื่น  [19 ก.ย. 2551 13:35]
ข้อคิดเห็นที่ 2:4

สารจับใบ นี้ เป็นสารเคมี ใช่มั้ย ค่ะ
แล้วไม่ทราบว่า มีที่เป็น แบบชีวภาพมั้ย เพราะว่าเราไม่นิยมสารเคมี ค่ะ กลัวมากๆๆๆๆ

โดย:  คุณ สุ ปากช่อง  [13 ก.ค. 2552 13:17]
ข้อคิดเห็นที่ 3:10

ทุกอย่างบนโลกใบนี้เป็นสารเคมีทั้งหมด แม้กระทั่งน้ำที่คุณดื่มเข้าไปก็เป็นสารเคมีเพราะน้ำมีสูตรทางเคมีเช่นกัน ดังนั้นการที่คุณบอกว่าไม่นิยมสารเคมีก็หมายความรวมถึงคุณไม่นิยมดื่มน้ำด้วยใช่หรือไม่ ถ้าจะให้ดีขอแนะนำว่าคุณควรใช้อย่างระมัดระวังและถูกวิธี แค่นี้ก็ไม่มีปัญหาแล้ว

โดย:  นักศึกษาเกษตร  [17 ก.พ. 2553 00:45]
ข้อคิดเห็นที่ 4:11

สารพันปัญหาเรื่องสารปราบศัตรูพืชเชิญทางนี้ ปรึกษาฟรีๆ

ความรู้ดีๆ วิธีถูกต้อง ราคาถูก เชิญทางนี้โพสไว้ อาจารย์น่าจะตอบให้ได้

http://www.kasetcity.com/



โดย:  นักศึกษาเกษตร  [17 ก.พ. 2553 01:16]
ข้อคิดเห็นที่ 5:66

สารจับใบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดมีลักษณะอย่างไร

โดย:  nongrak  [8 มี.ค. 2554 15:05]
ข้อคิดเห็นที่ 6:68

จับใบชื้ออยู่ที่ใหน ใครก็ได้ช่วยบอกที

โดย:  คนชอบค้นคว้า  [29 ก.ย. 2554 12:28]
ข้อคิดเห็นที่ 7:69

จำหน่ายสารเพิ่มประสิทธิภาพ เกรด A
ท่านใหนสนใจ สามารถติดต่อสอบถามได้นะครับ ขายทั้งปลีกและส่ง


โดย:  JiraAgro  [4 ต.ค. 2554 23:59]
ข้อคิดเห็นที่ 8:70

ถ้าสนใจในข้อมูลของสารจับใบหรือสารเสริมประสิทธิภาพ
สามารถติดต่อได้ 0860514909

โดย:  ศักดิ์  [16 ม.ค. 2555 00:14]
ข้อคิดเห็นที่ 9:71

ถ้าอยู่ทางเหนือ ลองติดต่อ บริษัทนี้ดูนะคะ เวิลด์เคมีคอลฟาร์อีสท์ จังหวัดเชียงใหม่่
เค้ามีจัดเป็น เซ็ต ใ้ห้ไปผสม เอง ด้วยค่ะ ราคาถูกมาก ๆ โทร 053-204446-7

โดย:  เกษตรกรบอกต่่อ  [9 ก.พ. 2555 15:12]
ข้อคิดเห็นที่ 10:72

มีสาร เร่งการทำงานของปุ๋ยและยาฆ่าแมลงจำหน่ายนะครับ มีทั้งขายปลีกและขายส่ง สนใจติดต่อได้ 0818120616

โดย:  นิวัฒน์  [11 ก.ค. 2555 22:29]
ข้อคิดเห็นที่ 11:74

ข้อคิดเห็นที่ 3 ไม่ควรตอบเช่นนั้น การที่เรามีความรู้ไม่พอหรอกต้องรู้ใจคนถามด้วยนะ เขาหมายความว่า(สารเคมีที่เป็นวัตถุอันตราย) คงไม่ต้องแยกประเภทอีกว่ามีกี่ชนิด ตอบไปเลยว่า สารจับใบส่วนมากนิยมใช้วัตถุอันตรายเป็นสารตั้งต้นครับ แต่แบบชีวภาพก็มี ซึ่งราคาอาจสูงกว่าเมื่อเทียบความสามารถครับ

โดย:  เซียนเกษตร  [12 มิ.ย. 2556 15:43]
ข้อคิดเห็นที่ 12:76

คุณเวียนเกษตรตอบดีมากเคมีที่เขากลัวกันมันอันตรายส่วนมากเขาใช้เกินขนาดกันคืออยากเห็นผลไว้กันละนะเลยใช้เยอะเข้าไว้

โดย:  นิตา  [29 ก.ค. 2557 08:08]
ข้อคิดเห็นที่ 13:77

ข้อคิดเห็นที่ 3 พูดแบบนั้นไม่ถูก
สะสารมี อินทรีย์ กับ อนินทรีย์
ก็เคมี กับ ธรรมชาติ

โดย:  bio  [16 ก.ย. 2557 10:07]
ข้อคิดเห็นที่ 14:78

จากกระทู้​ ผมเห็นคำตอบหนึ่ง​ ว่าทุกสิ่งล้วนเป็นเคมี​ เพราะมีสูตรเคมี​ ยกตัวอย่าง​ น้ํา​ เป็นต้น​ น้ำน่าจะเป็นสารเคมีธรรมชาติไหม​ เพราะอันที่จริง​ น้ํา​ มีมาก่อนมนุษย์จะบัญญัติตารางเคมี​ หลายล้านปี​ แล้วจึงนำวิชาเคมีมาศึกษาอธิบายสารธรรมชาติว่ามีองค์ประกอบทางเคมีเช่นไร
แต่หากเราพูดสารเคมีจากการ​สังเคราะห์​ขึ้นมานั้น​  เช่น​ สารคลอรีน​ ที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคในน้ำทำให้น้ำสะอาด​ เป็นต้น

โดย:  เกษตรกรบ้านนอก  [21 ส.ค. 2562 17:20]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้