สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ตัวทำละลายอินทรีย์ ที่เหมาะสม กับ วิธีทางกายภาพ ในการรีไซเคิลพลาสติก

หวัดดีครับ ผมกำลังทำโครงงาน รร อยู่
แต่ผมกำลังประสบปัญหา กับการ หาวิธีในการขึ้นรูปพลาสติกพวกนี้ใหม่ ช่วยตอบผมหน่อย

ผมต้องการเอาเศษเหลือใช้พวก

HDPE
PP
PETE

>>>มาละลายด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ เพื่อขึ้นรูปใหม่
แต่ผมไม่รู้ว่าจะใช้ตัวทำละลายตัวไหนดีใครทราบช่วยบอกผมที

ที่ผมต้องการคือ เอาเศษของพลาสติกชนิดเดียวกัน ให้กลายเป็นแผ่นใหม่

>>>แล้ว ถ้าใช้ความร้อน  หรือเอาไปหลอม ต้อง ทำยังไงบ้าง ใครรู้บอกที โดยเฉพาะ PP กับ HDPE

>>> ผมอยากได้วิธีที่เหมาะที่สุดที่จะเอาของพวกนี้มา ขึ้นรูปใหม่น่ะครับ ช่วยตอบที.....

โดย:  archa   [17 ธ.ค. 2551 21:23]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การวิเคราะห์ ทดสอบ  /  สารตัวทำละลาย  /  สารเคมีในอุตสาหกรรม
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

วิธีที่ดีที่สุด คือ  
คัดแยกพลาสติกเหล่านีก่อนทิ้ง    
หรือ    
คัดแยกตามรหัสพลาสติก  
HDPE    รหัส 2
PP    รหัส 5    
PETE    รหัส 1    

การมาพยายาม แยก ด้วยวิธีทางกายภาพ หรือ ด้วยวิธีทางเคมี  
หลังจากปะปนกัน ( จนเละเทะ ) แล้ว
เป็นวิธี ที่ โง่เขลา ที่สุด

โดย:  นักเคมี  [17 ธ.ค. 2551 23:07]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

โอ้ ผู้เชียวชาญ

แต่ผมหมายถึงจะ ทำการรีไซเคิลเองที่บ้านน่ะครับ เป็นโครงงาน รร.

เอาแต่ละชนิดมาใช้ใหม่ โดยเอาพวกเศษเล็กเศษน้อย ที่แยกแล้วของแต่ละอัน มา ใช้ใหม่โดย วิธีการทางกายภาพ หรือ ทางเคมีที่เหมาะสมน่ะครับ

ผมจึงอยากถามว่า เอามา หลอมแล้วขึ้นรูปใหม่ได้ไหมต้องใช้อุณหภูมิเท่าไร

- ถ้าทางเคมี ต้องใช้ตัวทำละลายแบบไหนที่เหมาะสมกัน กับแต่ละชนิดของ พลาสติกแต่ละประเภท

- แล้วจะขึ้นรูปมันใหม่ยังไงหลังจากเป็น สารละลายแล้ว

ผมขอวิธีปฏิบัติเอง แบบ home made หน่อยครับ

โดย:  archa  [18 ธ.ค. 2551 13:08]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ไม่แน่ใจเลยนะ แต่ถ้าเริ่มจากตัวง่ายๆอย่าง Polyethylene (พวกถุงก็อบแก๊บ,เม็ดโฟม) เอาไปลองทำปฏิกิริยากับตัวทำละลายบางชนิดที่ไม่มีขั้ว(เฮกเซนหรือโทลูอีน)ก็น่าจะละลายได้นะ ถ้าPE ละลายได้ก็ค่อยนำไปประยุกต์กับตัวอื่น แต่ที่ยกมานี่มีแต่พวกที่พอจะทนสารเคมีได้ทั้งนั้นเลย -*- PETE นี่คงจะยากที่สุดละมั้งต้องหลอมอย่างเดียว อืมอย่าเชื่อเรานะต้องรอคอมเม้นต่อไป ^^"

โดย:  'jojosha  [19 ธ.ค. 2551 00:36]
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

ขอบคุณที่มาตอบครับ

จะถามว่าทินเนอร์ หรือ น้ำมันสนใช้ได้ป่ะ


รอ..............

โดย:  archa  [19 ธ.ค. 2551 10:04]
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

วิธีปฏิบัติเอง แบบ home made  แนะนำได้เพียงวิธีเดียว  คือ  หลอมให้ละลายในแบบที่เตรียมไว้    
ส่วนวิธีใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมกับพลาสติกแต่ละประเภท  ขอเตือนว่า    
ถ้ารู้ตัวว่า ไม่มีความรู้จริง อย่าทำ  และ  อย่าทำ  เพราะมีโอกาส ทำไฟไหม้บ้าน  มากกว่า  โอกาสทำโครงงานสำเร็จ

โดย:  นักเคมี  [20 ธ.ค. 2551 10:50]
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

HDPE ,  PP ,  PETE  ไม่ละลาย ใน  ทินเนอร์ หรือ น้ำมันสน  


โดย:  นักเคมี  [20 ธ.ค. 2551 10:55]
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

แล้วใช้อะไรดีครับ
อะซิโตน เบนซีน เฮกเซน บอกผมที

โดย:  ARCHA  [21 ธ.ค. 2551 10:08]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :8

การตั้งโจทย์โครงงาน นอกจากดูว่าจะทดลองอย่างไรแล้ว ต้องถามว่าทำไปทำไม และมีความคุ้มค่า ความปลอดภัย และความเป็นมลภาวะหรือไม่ จะช่วยให้เรารู้จักมองปัญหาได้อย่างรอบด้าน พลาสติชนิดthermosetting จะเอามาหลอมใหม่ไม่ได้ ดังนั้น ควรเรียนรู้ชนิดของพลาสติกก่อน การคัดแยกจึงเป็นเรื่องแรกที่ควรทำ จากนั้นก็หาความรู้เกี่ยวกับพลาสติกแต่ละชนิด แล้วตั้งโจทย์ที่น่าสนใจ กรณีนี้ ไม่ทราบว่าหัวข้อและวัตถุประสงค์คืออะไร ถ้าเป็นเรื่องการ re-use recycle ก็ช่วยเพิ่มมุมมองด้านอื่นประกอบด้วย ดังที่แนะนำข้างต้น

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [22 ธ.ค. 2551 07:49]
ข้อคิดเห็นที่ 8:9

หัวข้อคือการลดการใช้ทรัพยากรพลาสติก ที่ไม่จำเป็นหรือฟุ่มเฟือย
โดยวิธีทุกอย่างที่ปฏิบัติได้ ในหน่วยย่อย(ครัวเรือน) และ หน่วยใหญ่(พวกโรงงานแปรรูป-รีไซเคิล ฯลฯ)

วัตถุประสงค์ หาวิธีการทุกอย่างในทางปฏิบัติ
ใช้ซ้ำ รีไซเคิล ใช้อย่างอื่นแทน ลด นำมาใช้ใหม่ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แปรรูป

ในหน่อยใหญ่ได้หมดแล้ว ไม่ว่าจะ แปรรูป นำม่ใช้ใหม่ ฯลฯ

เหลือแต่หน่อยย่อย อยู่หัวข้อนี้ล่ะ การนำมา รีไซเคิล-แปรรูป ฯลฯ เองที่บ้าน หรือ ชุมชน (หน่อยย่อย)
การขายซาเล้ง ก็รู้อยู่ละว่าคือการนำไปรี"ซเคิล แต่ นั่นมัน หน่ยใหญ่

โดยวิธีปฎิบัติ  กับ พวกเทอร์โมพลาสติก  (เทอร์โมเซต ได้คำตอบแล้ว)
พวกนี้ล้ะ PE HDPE PP PET  ล่ะ เพื่อ การนำมา รีไซเคิล-แปรรูป ฯลฯ เองที่บ้าน หรือ ชุมชน (หน่อยย่อย)

นี่คือคำถามที่ผมจะถาม ( -... )

-วิธีนำมาหลอม ได้คำตอบแล้ว

-วิธีทางเคมี ว่า ใช้ตัวทำละลายอันไหน ละลายใคร
แล้ว ทำไมต้องใช้ตัวทำละลายนั้น กับตัวนี้ ทำไมไม่ใช้ตัวโน้น
-พอละลายแล้ว จะนำไปขึ้นรูป เพื่อทำเป็นอะไรได้บ้าง
นำไปทำอะไรได้บ้าง ขึ้นรูปเป็นแผ่น อุดรูรั่ว ทำพื้น ทำโต๊ะ ฯลฯ

-พอทำเสร็จก็สรุปว่า วิธี นี้-นั้น  คุ้มไหมที่จะทำ ในหน่อยย่อย
(คุ้มไหม = อันตราย ดี เลว แพง ถูก ฯลฯ เอามาประมวลผล)
คุ้มเพราะอะไร ไม่คุ้มเพราะอะไร

-ถึงยังไง วิธี ที่ทำจริงได้ ผมก็ต้องลงมือทำ เก็บรายละเอียดเป็นขั้น-ตอน
ทำ VDO ทำ รูป ก่อน ทำข้อมูลประกอบ ก่อน เขียน รายงานอยู่ดี
-ส่วนวิธีที่ทำไม่ได้ ผมก้ต้องหา เหตุผล ทางวิชาการ และ ทางปฏิบัติ
ก็ต้อง ทำข้อมูลประกอบ ก่อน เขียน รายงานอยู่ดี เช่นกัน
อย่างว่า
-อันตราย ยังไง ทำไมอันตราย ... ที่ว่า อย่า ทำที่บ้าน น่ะ
-แพงไป แพงยังไง ทำไมแพง ...


นี่ก็... ทั้งหมดคร่าวๆ ของโครงงานที่ทำละ (ตอบ rep บน)
ยังไงๆ ก็เพิ่มเติม ความคิดเห็น ไร เพิ่มเติม หน่อย...
ผมจะได้ทำหัวข้ออื่นๆ ต่อ ได้อย่างถูกต้อง

โดย:  archa  [22 ธ.ค. 2551 17:24]
ข้อคิดเห็นที่ 9:10

http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=14        HDPE  ( High Density Polyethylene )        
http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=17        PP  ( Polypropylene )        
http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=13        PETE  ( Polyethylene terephthalate )

โดย:  นักเคมี  [24 ธ.ค. 2551 00:42]
ข้อคิดเห็นที่ 10:11

HDPE ,  PP ,  PETE  ไม่ละลาย ใน  อะซิโตน  เบนซีน  เฮกเซน

อะซิโตน  เบนซีน  เฮกเซน  เป็นสารไวไฟ

โดย:  นักเคมี  [24 ธ.ค. 2551 00:44]
ข้อคิดเห็นที่ 11:12

การหาความรู้  และ  การใช้ความคิด    ถ้าทำร่วมกัน  จะดีกว่า ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

โดย:  นักเคมี  [24 ธ.ค. 2551 00:49]
ข้อคิดเห็นที่ 12:13

หน่วยย่อย (ครัวเรือน)   ทำเฉพาะ  ใช้เท่าที่จำเป็น  ใช้ซ้ำ  ( Re-Use )  และ คัดแยกก่อนทิ้ง    ก็พอ

และ ปล่อยให้  หน่วยใหญ่  ทำการ รีไซเคิล  แปรรูป    ฯลฯ

โดย:  นักเคมี  [24 ธ.ค. 2551 00:57]
ข้อคิดเห็นที่ 13:14

http://en.wikipedia.org/wiki/Plastic_recycling        Plastic Recycling        

http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=18

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 09:54]
ข้อคิดเห็นที่ 14:15

ความคิดเห็น        

รู้มาก  แต่  คิดไม่เป็น    - - - -    ไม่มีประโยชน์        

คิดได้มาก  แต่  ขาดความรู้    - - - -    เป็นอันตราย ระดับต่ำ ถึง ปานกลาง        

รู้มาก  คิดเป็น  แต่  ขาดคุณธรรม     - - - -    เป็นอันตรายอย่างยิ่ง

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 10:03]
ข้อคิดเห็นที่ 15:16

น้ำมันที่ได้จากการกลั่นนั่นเอง เหมือนน้ำมันเกียรไงครับ เอาไปทาสีเคลือบรถก็จะพองตัวบิดเบี้ยวไป แบบว่ายิ่งแรงยิ่งละลายได้ดี

โดย:  ก้อง  [7 ก.พ. 2556 21:25]
ข้อคิดเห็นที่ 16:17

ชอบนะครับกับการขอความช่วยเลือ ที่คนรุ่นใหม่ หรืออาจจะเป็นครู อาจารย์ ถึงแม้จะอันตราย แต่คนเหล่านี้ ก็เป็นแนวหน้า ที่ได้ลงมือทำ บางคนเห็นคิดแบบนี้ ก็เกิดความไม่เข้าใจ ความรู้สึกที่เป็นลบ หรือถึงขั้น ไม่อยากให้ทำได้ เพราะเป็นงานขั้นสูงก็ตามที แต่ต่างประเทศเขาจะไม่ปิดกั้น แถมสนับสนุนการคิดการแก้ไข ป้องกัน ช่วยเหลือ คนไทยเติบโตมาแบบ เห็นใครเกินหน้าไม่ได้

โดย:  TEAN  [28 มิ.ย. 2562 17:37]
ข้อคิดเห็นที่ 17:18

การหลอมขวด hdpe ปล่อยสารอะไรบ้าง ครับ

โดย:  Mix  [27 มิ.ย. 2564 15:12]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้