สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

อยากทราบฃ้อดีข้อเสียของ อิมัลชั่นชนิด น้ำในน้ำมัน (W/O Emulsion)กับ อิมัลชั่นชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W emulsion)และแตกต่างกันยังไงค่ะ

อยากทราบฃ้อดีข้อเสียของ อิมัลชั่นชนิด น้ำในน้ำมัน (W/O Emulsion)กับ อิมัลชั่นชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W emulsion)และแตกต่างกันยังไงค่ะ

(ถ้าเป็นไปได้ขอเป็นเนื้อหาภาษาไทยนะค่ะเพราะภาษาอังกฤษอ่านไม่เข้าใจค่ะขอบคุณค่ะ)

โดย:  ผู้สนใจ   [1 ก.พ. 2552 17:32]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การวิเคราะห์ ทดสอบ  /  ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

http://www.cosmecs.com/emusion.php        อิมัลชั่น    Emulsion

โดย:  นักเคมี  [1 ก.พ. 2552 21:38]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับ อิมัลชั่น
อิมัลชั่น  ( Emulsion )  หมายถึง  ผลิตภัณฑ์รูปแบบหนึ่ง ที่ประกอบด้วย ของเหลวอย่างน้อย 2 ชนิด ซึ่งไม่เข้ากัน หรือ ไม่ละลายในกันและกัน ( เช่น น้ำและน้ำมัน ) ซึ่งนำมารวมกัน ในลักษณะที่ผสมผสานเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน โดยใช้ ตัวทำอิมัลชั่น ( Emulsifier) เป็นตัวผสานของเหลวทั้งสองเข้าด้วยกัน    อิมัลชั่นที่เกิดขึ้น ถ้ามองด้วยตาเปล่า จะเห็นลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ถ้ามองด้วยกล้องจุลทรรศน์ ก็จะเห็นเป็น 2 วัฏภาค คือ เห็นเป็น หยดเล็กๆ ของ ของเหลวชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า วัฏภาคภายใน ( Internal or Dispersed Phase ) กระจายตัวแทรกอยู่ใน ของเหลวอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า วัฏภาคภายนอก ( External or Continuous Phase )    โดยทั่วไป หยดของวัฏภาคภายใน อาจมีขนาดต่างๆกัน ตั้งแต่ ขนาดที่เล็กกว่า 0.05 ไมครอน จนถึง 25 ไมครอน ซึ่งขนาดอนุภาคของวัฏภาคภายในมีผลต่อการกระจายแสงได้ต่างกัน จึงทำให้อิมัลชั่นมีลักษณะภายนอกที่มองเห็นได้แตกต่างกัน  

ขนาดหยดอนุภาควัฏภาคภายใน  และ  ลักษณะอิมัลชั่น ที่มองเห็น
เล็กกว่า 0.05 ไมครอน        โปร่งใส  ( Transparent )  
0.05  -  0.10 ไมครอน        ขุ่นหรือโปร่งแสง  ( Translucent )  
0.10  -  1.00 ไมครอน        สีขาวอมฟ้า    
ใหญ่กว่า 1.00 ไมครอน        ขุ่นขาวทึบ    

ผลิตภัณฑ์อิมัลชั่น ที่พบโดยทั่วไป มักมีลักษณะขาวขุ่นคล้ายน้ำนม แต่ความจริงแล้วอิมัลชั่นอาจมีลักษณะโปร่งใสก็ได้

ชนิด ของ อิมัลชั่น

การแบ่งชนิดของอิมัลชั่น อาจมีได้หลายลักษณะ ดังนี้

ก. แบ่งตาม  ลักษณะภายนอกที่มองเห็น ได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. แมคโครอิมัลชั่น ( Macroemulsion ) คือ อิมัลชั่นลักษณะขุ่นขาวที่พบโดยทั่วไปนั่นเอง อนุภาคของวัฎภาคภายในของอิมัลชั่นชนิดนี้ มักมีขนาดตั้งแต่ 0.25 – 10 ไมครอน ( โดยทั่วไปจะใหญ่กว่า 1 ไมครอน ) จึงทำให้เกิดความแตกต่างในค่าดัชนีการหักเหของแสงของวัฏภาคทั้งสอง และเกิดการกระจายแสง ทำให้ดูมองขุ่นขาว  อิมัลชั่นนี้ อาจแบ่งย่อยได้เป็น  อิมัลชั่นเนื้อหยาบ (Coarse emulsion) ซึ่งมีอนุภาคค่อนข้างใหญ่  และ  อิมัลชั่นเนื้อละเอียด (Fine emulsion) ซึ่งมีอนุภาคค่อนข้างเล็กหรือเล็กกว่า 5 ไมครอนลงไป  แมคโครอิมัลชั่น เป็น อิมัลชั่นชนิดที่พบมากที่สุด  ทั้งใน  อาหาร  ยา  และ เครื่องสำอาง  ( เช่น  ไอศกรีม  สลัดครีม  ครีมรักษาโรคผิวหนัง  ครีมกันแดด  โลชั่นทาผิว  ฯลฯ )  
2. ไมโครอิมัลชั่น ( Microemulsion ) มีลักษณะโปร่งใส เนื่องจากอนุภาคของวัฎภาคภายในเล็กมาก ประมาณ 10 –75 นาโนเมตร  ( 0.01 - 0.75 ไมครอน ) ซึ่งมีค่าน้อยกว่า หนึ่งในสี่ของความยาวคลื่นแสงที่มองเห็นได้ (Visible light) จึงไม่หักเหหรือกระจายแสง  แสงจึงสามารถทะลุผ่านได้  ทำให้ดูโปร่งใส  หยดของวัฏภาคภายใน มีลักษณะกลม ถูกล้อมรอบด้วยฟิล์มของตัวทำอิมัลชั่น    มีทั้ง ชนิด O/W และ W/O

ข. แบ่งตาม  ชนิดของของเหลว ที่เป็นวัฏภาคภายใน และ วัฏภาคภายนอก  ได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. อิมัลชั่น ชนิด น้ำในน้ำมัน ( W/O Emulsion ) อิมัลชั่นชนิดนี้มีวัฏภาคภายในเป็นน้ำ วัฏภาคภายนอกเป็นน้ำมันพบอิมัลชั่นชนิดนี้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น  ครีมล้างหน้า ( Cleansing Cream)  ครีมทากลางคืน ( Night Cream )  ครีมนวดหน้า ( Massage Cream ) และ  ครีมฮอร์โมน ( Hormone Cream ) เป็นต้น เนื่องจากอิมัลชั่นชนิดนี้ค่อนข้างเหนอะหนะและล้างน้ำออกยาก จึงเป็นที่นิยมใช้น้อย
2. อิมัลชั่น ชนิด น้ำมันในน้ำ ( O/W Emulsion ) อิมัลชั่นชนิดนี้กลับกันกลับชนิดแรก คือ มีวัฏภาคภายในเป็นน้ำมัน วัฏภาคภายนอกเป็นน้ำ จึงมีความเหนอะหนะน้อย ทาแล้วกระจายดี ล้างน้ำออกง่าย เป็นที่นิยมมาก ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น  ครีม และ โลชั่นทาผิว ( Body Cream and Lotion )  ครีมทาหน้า ( Vanishing Cream )  ครีมกันแดด ( Sun Screen Cream )  ครีมรองพื้น ( Foundation Cream )  เป็นต้น
3. อิมัลชั่นเชิงซ้อน ( Multiple Emulsion ) เป็นอิมัลชั่นที่มีวัฏภาคภายในซ้อนกันอยู่ ซึ่งเป็นของเหลวต่างชนิดกัน เช่น W/O/W หรือ O/W/O  อิมัลชั่นเชิงซ้อนเหล่านี้ สามารถกลับกลายเป็นอิมัลชันชนิดธรรมดาได้ เช่น W/O/W ซึ่งมีน้ำเป็นวัฏภาคภายนอก แต่วัฎภาคภายในเป็นน้ำมัน จะมีหยดเล็กๆของหยดน้ำซ้อนอยู่อีกที เมื่อกลับกลายเป็นอิมัลชั่นธรรมดาจะกลายเป็นชนิด O/W  พบ อิมัลชั่น ชนิดนี้ บ้าง ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น  Cold Cream ซึ่งเป็นชนิด O/W/O เป็นต้น

ค. แบ่งตาม  ความหนืดของอิมัลชั่น  ได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. โลชั่น ( Lotion ) เป็นอิมัลชั่นที่มีความหนืดต่ำ (เหลว) เพราะมีวัฏภาคภายในปริมาณที่สูง วัฏภาคภายในมักมีไม่เกิน 35% โลชั่นอาจเป็นทั้งชนิด O/W และ W/O หรือมีชื่อเรียกต่างออกไป ว่า น้ำนม (Milk or milky lotion) เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุดในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทาผิว โดยเฉพาะผิวหนังที่มีบริเวณกว้าง เพราะทาแล้วชุ่มชื้น ไม่เหนอะหนะ ดูดซึมดี ให้ความรู้สึกสบาย และล้างออกได้ง่าย เช่นโลชั่นทาผิว โลชั่นป้องกันแสดงแดด เป็นต้น โลชั่นชนิด W/O มีการใช้บ้าง แต่ไม่เป็นที่นิยม เพราะ เมื่อทาแล้ว จะรู้สึกเหนอะหนะผิว เช่นโลชั่นป้องกันแดดชนิดที่มีคุณสมบัติกันน้ำ ที่ใช้ทาก่อนลงเล่นน้ำเป็นต้น คุณสมบัติเช่นนี้อิมัลชั่นชนิด O/W ไม่สามารถทำได้เพราะ จะถูกน้ำชะล้างออกหมด เป็นต้น โลชั่นนี้อาจใช้สารเพิ่มความหนืด (Thickener agent) ในวัฏภาคน้ำเพื่อให้หนืดขึ้นได้ แต่ยังคงเป็นของเหลวที่ไหลได้
2. ครีม ( Cream ) เป็นอิมัลชั่นที่มีความหนืดสูง (ลักษณะกึ่งแข็ง) เพราะมีส่วนประกอบของสารพวกไขแข็ง (Waxes) และไขมัน (Fatty acid or Fatty alcohol) ซึ่งช่วยเพิ่มความหนืดและเนื้อครีมที่ผสมอยู่กับน้ำมัน (Oils) ในวัฏภาคน้ำมัน ครีมมีทั้งชนิด O/w และ W/O ครีมมีความหนืดกว่าโลชั่น เพราะมีปริมาณวัฏภาคภายในสูงกว่า คือประมาณ 35 – 75 % แล้วแต่ความหนืดที่ต้องการโดยมีการใช้สารเพิ่มเนื้อครีม (Bodying or stiffening agent) เช่นไขมันและไขแข็งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้กรณีของครีมชนิด O/W อาจมีการใส่สารเพิ่มความหนืด (Thickener agent) ร่วมด้วยในตำรับเช่น Acacia, Veegum, Methylcellulose เป็นต้น ซึ่งช่วยความหนืดให้แก่วัฏภาคน้ำ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นครีมชนิด O/W ได้แก่  ครีมทาผิว  ครีมบำรุงถนอมผิว  ครีมแต่งผม  ครีมโกนหนวด  ครีมทากันแดด  ครีมระงับเหงื่อและกลิ่นตัว  ครีมทาแก้สิว  ครีมทาแก้ฝ้า เป็นต้น    ครีม ชนิด W/O ได้แก่  ครีมฮอร์โมน  ครีมล้างหน้า  ครีมนวดหน้า  ครีมแต่งผม  เป็นต้น
นอกจากนี้  ยังมี อิมัลชั่นชนิดพิเศษ คือ Anhydrous emulsion ซึ่งไม่มีน้ำอยู่เลย ประกอบด้วย น้ำมันและสาร Polyols เช่น Glycerin, Propylene glycol, PEG 400 เป็นต้น  อิมัลชั่นที่ได้ อาจมีลักษณะใสหรือขุ่นขาว

ส่วนประกอบ ของ อิมัลชั่น  
ผลิตภัณฑ์รูปแบบอิมัลชั่น  มีส่วนประกอบหลักสำคัญ 3 ส่วน  คือ
1. วัฏภาคน้ำ ( Water Phase ) ได้แก่  น้ำและสารต่างๆ ซึ่งอาจเป็นของแข็งหรือของเหลวที่ละลายได้ในน้ำ  อาจเป็นสารเพิ่มความหนืด เช่น  Acacia, Veegum, Methylcellulose, Carbopol  สารฮิวเมกแตนต์ เช่น  Glycerin, propylene glycol หรือ glycol ทั้งหลาย  สารกันเสีย เช่น  Methylparaben, Sodium benzoate  สารลดแรงตึงผิว เช่น  Tween, Sodium lauryl sulfate  สีที่ละลายน้ำ  สารต้านอ๊อกซิเดชั่น เช่น  Sodium metabisulfite  นอกจากนี้ อาจเป็นสารออกฤทธิ์อื่นที่ละลายน้ำได้ เช่น Cetyl pyridinium chloride, Benzalkonium chloride เป็นต้น  สารต่างๆ เหล่านี้ อาจเติมลงในวัฏภาคน้ำได้ทั้งสิ้น แล้วแต่ส่วนประกอบของสูตรในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท
2. วัฏภาคน้ำมัน ( Oil Phase ) ได้แก่  น้ำมันต่างๆ เช่น  Olive oil, Mineral oil, Castor oil  ไขมัน เช่น Stearyl alcohol, Stearic acid, Cetyl alcohol, Lanolin  ไขแข็ง เช่น  Bee wax, Paraffin wax, Carnauba wax  สีที่ละลายในน้ำมัน  น้ำหอมต่างๆ  สารกันหืน เช่น  BHT, BHA  สารลดแรงตึงผิว เช่น  Span, Emulgin C 1000  หรือ  สารออกฤทธิ์ต่างๆ เช่น  ฮอร์โมน วิตามิน เป็นต้น  แล้วแต่ส่วนประกอบในสูตรของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทเช่นกัน
3. ตัวทำอิมัลชั่น ( Emulsifier ) ได้แก่  สารลดแรงตึงผิว เช่น  Tween, Span, Sodium lauryl sulfate  คอลอยด์ที่ชอบน้ำ เช่น  Acacia, Gelatin  ของแข็งอนุภาคละเอียด เช่น Bentonite, Colloidal magnesium aluminium silicate เป็นต้น  ตัวทำอิมัลชั่น เป็นตัวสำคัญในการผสมผสานให้วัฏภาคน้ำและน้ำมันเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้

จากส่วนประกอบของอิมัลชั่น ซึ่งมองดูแล้วการผลิตอิมัลชั่นน่าจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย แต่พบว่า การผลิตอิมัลชั่นให้ได้ดีคือมีลักษณะสวยงามน่าใช้ เนื้อเนียนเรียบ มีความคงตัวโดยไม่แยกชั้น มีความหนืดและได้ชนิดที่ต้องการนั้น เป็นสิ่งที่ยุ่งยากพอสมควร  ต้องคำนึงถึงปัจจัยใหญ่อย่างน้อย 2 ประการ  คือ
1. มีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐาน เกี่ยวกับ  กลไกการเกิดอิมัลชั่น  ตัวทำอิมัลชั่น  และ  คุณสมบัติต่างๆของอิมัลชั่น
2. มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ  เทคนิคที่ถูกต้องในการผลิตอิมัลชั่น  เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต  การผสมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความสม่ำเสมอและคงตัวดี  ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาสูตรตำรับ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด

กลไกการเกิดอิมัลชั่น
ปกติของเหลวสองชนิดซึ่งไม่เข้ากันเมื่อถูกนำมารวมจะแยกกันอยู่เป็น 2 ชั้น เนื่องจากเกิดแรงตรึงระหว่างผิวขึ้น แต่เมื่อมีการเขย่าซึ่งเป็นการเพิ่มพลังงานแลเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างของเหลวทั้งสอง จะทำให้ของเหลวนั้นกระจายตัวเป็นหยดเล็กๆ ในกันและกันได้ และมีลักษณะของอิมัลชั่นเกิดขึ้น แต่เป็นเพียงเ

โดย:  ANS  [24 ก.พ. 2553 20:55]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้