สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ปฏิกิริยาทางเคมี กระหว่าง pressure oxcygen and oil

เรียน ถามผู้เชียวชาญ

กระผมได้อ่านรายงานอุบัติเหตุฉบับหนึ่ง
ซึ่งมีสาเหตุดังนี้ มือของพนักงานเชื่อมเปื้อนน้ำมันและจารบี แล้วไปปรับอุปกรณ์ควบคุมการไหลของแก็สออกซิเจนบรรจุแรงดัน ในขณะนั้น ขั้นแก็สเกิดรั่ว และเกิดการทำปฏิกิริยาระหว่าง ออกซิเจนและน้ำมันที่มือ ทำให้เกิดไปลุก และพนักงานได้รับบาดเจ็บ  
ซึ่งผมได้อ่านรายงานการวิเคราะห์อุบัติเหตุดังกล่าวแล้วก็ยังมีข้อสงสัย
จึงอยากเรียนถามผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ชำนาญการ เกี่ยวกับเคมี อธิบายปรากฎการณ์ดังกล่าว พอจะอธิบายเป็นวิทยาทานได้หรือเปล่าครับ

ขอบพระคุณครับ

โดย:  ธนากร สีงาม   [12 ก.พ. 2552 14:28]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การจัดการความปลอดภัย  /  สารเคมีในสถานประกอบการและความปลอดภัยในการทำงาน  /  ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี  /  สารเคมีในอุตสาหกรรม
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

การเกิดไฟลุกขึ้นได้ จะมี 3 องค์ประกอบ คือ ตัวเชื้อเพลิง (ในกรณีนี้คือน้ำมันที่ไวไฟ) สองคือออกซิเจน หรืออากาศที่มีส่วนผสมของออกซิเจน สาม คือความร้อน ถ้าส่วนประกอบทั้งสามพอเหมาะพอดี ประกายไฟ เช่น บุหรี่ ไม้ขีด ก็ทำให้ไฟลุกได้ ถ้าความร้อนสูงพอ ไฟอาจลุกได้โดยไม่มีการจุด เช่น สารไวไฟบางอย่างมีจุดลุดติดไฟ หรืออุณหภูมิที่เรียกว่า auto-ignition point ไม่สูงมาก ก็ลุกติดไฟได้เอง เช่น auto-ignition point ของ diethyl ether คือ 180 ซ แปลว่า ถ้าไอของสารนี้ลอยไปถุกของร้อนที่อุณหภูมิประมาณนี้ มีอากาศพอ ไฟก็ลุกได้

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [13 ก.พ. 2552 17:44]
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

ขอบคุณสำหรับคำตอบที่ 1
แต่ข้อสงสัย จากเหตุการณ์นี้ก็คือ
เชื้อเพลิงต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังกล่าวข้างต้น แต่เหตุ  การที่เกิดขึ้น มีเพียงออกซิเจนที่บรรจุอยู่ในถังที่มีแรงดัน มาสัมผัสโดยตรงกับมือที่เปื้อนน้ำมัน

ดังนั้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวมี 2 องค์ประกอบ คือ Height pressure(O2) and Fuel(oil)
ข้อสงสัย ก็คือ องค์ประกอบอื่นๆของแก็ส เช่น Pressure ทำให้เกิดความร้อนถึง  ระดับ 30 deg c หรือเปล่า


โดย:  ธนากร สีงาม  [16 ก.พ. 2552 09:15]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

( คำแนะนำ )        

ควรลองใช้ความรู้ และ หลักเหตุผล ที่ผู้ถามมี  พิจารณา รายงานอุบัติเหตุ อย่างละเอียด  แล้ว ตัดสินใจ - สรุป ว่า  รายงานนั้น เชื่อถือได้หรือไม่    ( ไม่จำเป็นต้องย้อนกลับมาถามอีก  เพราะหลักเกณฑ์ที่ผู้ทรงคุณวุฒิให้ไว้ ก็ใช้ได้แล้ว )

โดย:  นักเคมี  [17 ก.พ. 2552 06:32]
ข้อคิดเห็นที่ 3:15

หนูเองก็ไม่ค่อยเเน่ใจมากหรอกคะแต่ก็พอรู้มาบ้างแต่หนูเห็นด้วยกับผู้ทรงคุณวุฒินะคะ   แต่ก็แล้วจะตัดสินใจของทุกคนค่ะ

โดย:  นักเรียนชั้นมัธยมตอนต้น  [23 ก.ย. 2552 19:21]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้