|
ข้อคิดเห็นที่
1: อาจใช้เคมีกลุ่ม thiocarbamate ซึ่งมีคุณสมบัติในการเป็น metal precipitation โดย: ตูน [24 เม.ย. 2552 22:08] |
ข้อคิดเห็นที่
2: จากการหาข้อมูลเรื่องนี้มาเหมือนกันนะคะ ก็พอรู้ว่า ถ้าใช้ สารส้มกับFeCl3 จะส่งผลให้ค่า COD ลดลงประมาณ 90% โดยสภาวะที่เหมาะสมอยู่ที่ 400mg/น้ำเสีย 500 ml FeCl3 เป็นตัวทำลายเสถียรภาพของ colloid ค่ะ ปล.ลองทำการทดลองดูนะค่ะเพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมค่ะ โดย: electron [22 ต.ค. 2552 10:58] |
ข้อคิดเห็นที่
3: มันก็ต้องขึ้นกับว่าต้องการกำจัดอะไรในน้ำเสียครับ ระบบที่ใช้อยู่นี่เป็นวิธีกำจัดโลหะหนักโดยใช้วิธีทำให้มันตกตะกอน ที่ pH สูง จนกลายเป็นสารประกอบไฮดรอกไซด์ และกำจัดตะกอนโดยตกตะกอนร่วมกับ FeCl3 โดยมี Polymer เป็นตัวช่วยให้ตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งวิธีนี้ไม่ลด BOD แต่ COD จากโลหะหนักอาจลดไปบางส่วน ถ้าน้ำที่ออกจากกระบวนการนี้มี BOD สูงต้องบำบัดต่อด้วยวิธีอื่นเช่นระบบ Activated Sludge ที่กำจัด BOD โดยเฉพาะนะครับ ที่ทำงานผมก็ใช้ FeCl3 กำจัดโลหะหนักอยู่เหมือนกัน โดย: กอล์ฟ [27 พ.ค. 2553 10:07] |
ข้อคิดเห็นที่
4: อยากได้ความรู้ครับพอดีอยากจะศึกษาการชุบอลูมิเนียมครับ จำพวกอโนไดซ์ครับ แต่เมื่อศึกษาแล้วจะพบว่าต้องใช้กรดหลายประเภทเช่น ซัลฟูริก โบรมิค ไฮโรคลอริก ครับ ผมอยากศึกษาวิธีการบำบัดเองก่อนปล่อยสู่สาธารณะ (เพราะเรารักสิ่งแวดล้อม) ว่าถ้าเราทำที่บ้านเรา เราจะทำถังบำบัดอย่างไรดี เพื่อให้ กระทัดรัด ง่ายต่อการดูแลรักษาครับ รบกวนกูรู ช่วยสอนหน่อยนะครับ เมื่อก่อนทำงานโรงเหล็กและชุบ ของญี่ปุ่นแต่ไม่ได้อยู่ส่วนนั้นเลยไม่มีความรู้ครับ รบกวนด้วยครับ โดย: ฑศพล [9 ต.ค. 2553 16:01] |
ข้อคิดเห็นที่
5: เมื่อบำบัดน้ำเสียโดยใช้ FeCl3 กับ polymer แล้วน้ำที่บำบัดออกมามีการคืนตัวของ FeCl3และมีตะกอน อยากทราบว่าพอจะมีวิธีไหนบ้างค่ะที่ทำให้น้ำใสขึ้น โดย: water [27 ม.ค. 2555 10:10] |
ข้อคิดเห็นที่
6: อยากรู้ ข้อมูล คร่าวๆ ว่า COD และ BOD ประมาณเท่าไหร่ครับ โดย: Growup [13 มิ.ย. 2561 18:27] |