สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

โครเมียม(อยากได้ข้อมูล)

อยากได้ข้อมูลของโครเมียมน่ะคับไม่ทราบว่าไคมีช่วยส่งไปให้หน่อยคับต้องการด่วน
เกิดจาก
คืออะไร
ปรโยชน์
ข้อมูลโดยทั่วไปอะไรก็ได้

โดย:  อิสรา   [6 มิ.ย. 2547 09:49:00]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด โลหะหนัก  /  ฐานข้อมูล แหล่งสารสนเทศ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

รายละเอียดของโครเมี่ยมในเว็บเรามีรวบรวมไว้แล้วค่ะ ที่
http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=00556

ท่านสามารถคลิกต่อ เพื่อเข้าไปดูในส่วนของเอกสารความปลอดภัยต่างๆได้ค่ะ

โดย:  ขนิษฐา ทีมงาน ChemTrack  [9 มิ.ย. 2547 09:50:00]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=00556

โดย:  คลิกตรงนี้ก็ได้ค่ะ  [9 มิ.ย. 2547 09:50:00]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

อยากได้ของมูลโครเมียม กรุณจัดส่งให้หน่อยนะคะ
เช่น โคเมียมกับอุตสาหรกรรมเครื่องสำอาง มีส่วนประกอบของโครเมียมหรือเปล่าและสามารถประกอบได้หรือเปล่า ประโยชน์และโทษของโครเมียม มีอะไรบ้าง

โดย:  เมทินี ริจนา  [20 มิ.ย. 2547 13:44:00]
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

อยากทราบว่าโครเมียมมีฤทธิ์เผาผลาญมากจริงหรือเปล่า และถ้าทายในรูปยาลดความอ้วนทุกวัน วันละ 1 เม็ดก่อนนอน จะมีผลข้างเคียงอย่างไร กรุณาส่ง mail มาให้ด้วยนะคะ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

โดย:  ปิยธิดา  [8 ส.ค. 2547 12:40:00]
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

อยากได้ข้อมูลของโครเมียมว่าปริมาณเท่าใดเกิดโรคอะไรต่อคน และตะกั่วด้วยจะหาได้ที่ไรค่ะ

โดย:  นุกนิก  [24 ส.ค. 2547 11:40:00]
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

อาชีพที่เสี่ยงจากการเป็นโรคโครเมียม  อาการและวิธีป้องกัน  ขอบคุณค่ะขอข้อมูลมากๆค่ะ

โดย:  วลัยกร  [30 ธ.ค. 2549 15:36]
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

ต้องการข้อมูลของโครเมียมโปรดส่งมาที่เว็บนี้ด้วย


โดย:  kob  [23 ม.ค. 2550 18:56]
ข้อคิดเห็นที่ 8:8

ธาตุโครเมียม
พบในเปลือกโลกประมาณ 0.02% โดยมวล พบในรูปของแร่โครไมต์ (FeO•Cr2O3) การถลุงแร่โครเมียมทำได้โดยการเผาแร่โครไมต์กับโพแทสเซียมคาร์บอเนตในอากาศ จะเกิดโพแทสเซียมโครเมต แล้วนำไปเผารวมกับคาร์บอนและอะลูมิเนียมจะได้โครเมียมซึ่งเป็นโลหะสีขาวเงิน มีความมันวาว และแข็งมาก ต้านทานการผุกร่อนและคงความเป็นมันเงาได้นานในอากาศ
สารประกอบของโครเมียมที่พบมักอยู่ในรูปโครเมียมออกไซด์ชนิดต่างๆ เช่น โครเมียม (III) ออกไซด์ (Cr2O3) โครเมียม (II) ออกไซด์ (CrO) โครเมียมเกิดสารประกอบเชิงซ้อนได้หลายชนิดและมีสีต่างๆกัน เช่น K2Cr2O7 มีสีส้ม K2CrO4 สีเหลือง KCr(SO4)2•12H2O สีม่วงแดง
ประโยชน์ของโครเมียมใช้เคลือบผิวเหล็กหรือโลหะอื่นๆโดยการชุบด้วยไฟฟ้าเพื่อป้องกันการผุกร่อนและมีผิวเป็นเงางาม เป็นส่วนผสมในเหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งมีสมบัติทนต่อการผุกร่อนและทนสารเคมีชนิดต่างๆได้ดี เป็นส่วนประกอบในเหล็กกล้าผสมที่ใช้ทำตู้นิรภัย เครื่องยนต์ เกราะกันกระสุน เป็นโลหะเจือโคบอลต์ใช้ทำกระดูกเทียมเพราะมีความแข็งแรงและมีปฏิกิริยาต่อร่างกายน้อย

ที่มา : หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม "เคมี เล่ม ๑"

โดย:  Mars  [29 ม.ค. 2550 20:48]
ข้อคิดเห็นที่ 9:9

อยากได้ข้อมูลโครเมียมมากๆๆเลยค่ะ
หาดูหลายเว็บแล้วได้นิดเดียวเอง  ช่วยหนูหน่อยนะค่ะ
จะต้องส่งแล้วค่ะ


โดย:  ใหม่ค่ะ  [10 ก.พ. 2550 19:08]
ข้อคิดเห็นที่ 10:10

ต้องการทราบว่าโครเมียม 6+ และ3+ ต่างกันอย่างไรครับมีมวลเท่าไหร่ครับ  ขอบคุณครับที่ตอบ

โดย:  เด่น  [16 มี.ค. 2550 12:19]
ข้อคิดเห็นที่ 11:11

โทษของโครเมียมคืออะไร


โดย:  ออยค่ะ  [13 มิ.ย. 2550 18:49]
ข้อคิดเห็นที่ 12:12

ลองดูที่ http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=78 นะ

โดย:  ;]ypri  [20 มิ.ย. 2550 12:40]
ข้อคิดเห็นที่ 13:95

Chromium
(Cr)
โครเมียม

--------------------------------------------------------------------------------


เลขอะตอม 24 เป็นธาตุแรกของหมู่ VIB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและโลหะ ทรานซิชัน
น้ำหนักอะตอม 51.996 amu  
จุดหลอมเหลว 1875 ํc  
จุดเดือด  2199 ํc
ความหนาแน่น  7.19 g/cc ที่ 20 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ +2, + 3 และ + 6  


การค้นพบ



ธาตุนี้ค้นพบโดย Vauguelin ในปี ค.ศ. 1797 ในแร่ crocoite (PbCrO4) จาก ไซบีเรีย ซึ่งเป็นแร่ตะกั่วมีสีแดง

ในปีต่อมา Vauguelin สามารถสกัดโครเมียมจาก Cr2O3 โดยดีดิวซ์ Cr2O3 โดยผงถ่าน

ในปี ค.ศ. 1893 Moissan สกัด Cr ได้เช่นกัน โดยรีดิวซ์ Cr2O3 ด้วยถ่านหินในเตาไฟฟ้า

ในปี ค.ศ. 1898 Goldschmidt สกัด Cr อิสระปราศจากคาร์บอนเจือปน โดยนำ Cr2O3 มารีดิวซ์ด้วย A1

เริ่มมีการใช้แร่ของโครเมียมในอุตสาหกรรมประมาณปี ค.ศ. 1800 โดยนำผลิตเคมีภัณฑ์สำหรับใข้ในอุตสาหกรรมหนังสัตว์และสี

ชื่อของธาตุนี้มาจากคำกรีก "Chromos" แปลว่าสีเนื่องจากสารประกอบของโครเมียมหลายชนิดมีสี
การใช้ประโยชน์  


1. ใช้ทำโลหะเจือโดยผสมกับโลหะอื่น ๆ เช่น กับ Fe และ Ni ทำเหล็กปลอดสนิม (stainless steel)
2. ใช้เคลือบโลหะ พลาสติกต่าง ๆ เช่น เหล็กและเหล็กกล้า เพื่อป้องกันการผุกร่อนของโลหะเหล่านั้น กระบวนการการเคลือบหรือชุบโลหะเรียกว่า electroplating
3. ทำ refractory brick
4. ใช้ในงานวิจัยทางนิวเคลียร์และปฏิกิริยาที่เกิด ณ อุณหภูมิสูง
ความเป็นพิษ  


โลหะ Cr, chromite และสารประกอบที่ Cr มีเลขออกซิเดชัน + 3 ไม่ปรากฎเป็นพิษต่อร่างกาย แต่สารประกอบของโครเมียมที่ Cr มีเลขออกซิเดชัน + 6 ทำให้เกิดอาการคันที่ผิวหนัง เป็นพิษต่อร่างกายการหายใจฝุ่นของโครเมตหรือไอของกรดโครมิก เป็นอันตรายต่อระบบหายใจได้ ระดับการทนได้ของฝุ่นของโครเมตในอากาศคือ 1 mg/m3 ของอากาศ

โดย:  *-*  [12 ธ.ค. 2552 17:51]
ข้อคิดเห็นที่ 14:96

โครเมียม

โครเมียมเป็นโลหะสีขาวเงินเป็นมันวาว และแข็งมาก ในธรรมชาติไม่พบธาตุโครเมียมในรูปธาตุอิสระแต่จะพบในรูปของแร่ต่าง ๆ ที่พบมากคือแร่ไครไลต์ (FeO•Cr2O3) สารประกอบหรือไอออนต่าง ๆ ของธาตุโครเมียมมีสี เช่น K2CrO4 หรือ CrO4 2-มีสีเหลือง K2Cr2O7 หรือ Cr2O72- มีสีส้ม KCr (SO4) 2•12H2O มีสีม่วงแดง

วิธีเตรียม เตรียมได้โดยการเผาแร่ไครไลต์กับคาร์บอน



FeO•Cr2O3(s) + 4C(s) -----> Fe + 2Cr(s) + 4CO(g)

Fe และ Cr ที่เกิดขึ้นจะอยู่ในรูปโลหะเจือโดยมี Fe : Cr = 1 : 2 ถ้าต้องการโครเมียมบริสุทธิ์

สามารถเตรียมได้โดยเผาแร่ไครไลต์กับ K2CO3 ในอากาศจะได้ K2CrO4 ซึ่งละลายน้ำได้จึงสามารถแยก

ออกจาก FeO ได้



K2CO3 + O2



FeO•CrO3(s) -----------> K2CrO4(s) + FeO(s)



เติม H2O

K2CrO4(aq) + FeO(s)



กรอง K2CrO4 ออกจาก FeO ระเหยน้ำออกจะได้ K2CrO4(s) จากนั้นนำมาเผากับคาร์บอน (C) จะ

ได้ Cr2O3 และเมื่อเผา Cr2O3 กับ Al จะได้ Cr

C เผา



K2CrO4(s) ---------> Cr2O3(s)



เผา



โดย:  *-*  [12 ธ.ค. 2552 17:56]
ข้อคิดเห็นที่ 15:97

โครเมียม..แร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกาย

โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตที่มีสุขภาพที่ดี
มันมีความจำเป็นต่อขบวนการแตกของโมเลกุลโปรตีน ไขมัน และ คาร์โบไฮเดรต รองจาก แคลเซียม ...
โครเมียม ยังเป็นแร่ธาตุที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนอเมริกันที่รับประทานเป็นประจำ
และยังเป็นที่ร่างกายต้องการ โครเมียม ในปริมาณ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน
โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต)
ในงานวิจัยพบว่า โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose tolerance factor)
โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโน อีกหลายชนิด นอกจากนั้น โครเมียม
อาจมีบทบาทในการเพิ่ม HDL หรือ คลอเรสเตอรอล ชนิดดี และ ลดระดับ คลอเรสเตอรอล ทั้งหมด

โครเมียม จะกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน
และขบวนการสังเคราะห์กรดไขมัน และ คลอเรสเตอรอล จึงดูเหมือนว่า โครเมียม จะเพิ่มประสิทธิภาพของอินซูลิน
และการจัดการกับน้ำตาลกูลโคส ป้องกันการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ(เพราะว่ามีอินซูลินมากเกินไป) หรือโรคเบาหวาน(เพราะว่ามีอินซูลินน้อยเกินไป)

จากการศึกษาพบว่า โครเมียม แบบที่เรียกว่า โครเมียมพิกโคลิเนต (Chromium Picolinate)
มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงปริมาณของไขมันในร่างกาย โดยพบว่า โครเมียมพิกโคลิเนต อาจจะลดปริมาณไขมัน
และกระตุ้นการสร้างมวลกล้ามเนื้อ โดยมีงานวิจัยที่ทดลองให้โครเมียมพิกโคลิเนต
ขนาด 400 ไมโครกรัมต่อวันกับอาสาสมัครเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่ามีการลดลงของปริมาณไขมันในร่างกาย
และ น้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ตาม การศึกษาอื่นก็ไม่สามารถยืนยันผลของ โครเมียมพิกโคลิเนต ต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ได้

ประโยชน์ของโครเมียม

คนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมโครเมียมเลย หากสามารถรับประทานได้จากอาหารได้อย่างเพียงพอ
แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันอาหารที่เรารับประทานมักจะผ่านกรรมวิธีมามากจนทำให้สารอาหารต่างๆ รวมทั้ง โครเมียม
ถูกขจัดออกไปจากอาหารทำให้ในบางรายอาจจะจำเป็นต้องพิจารณารับประทาน โครเมียม เป็นอาหารเสริมเหมือนกับวิตามินตัวอื่นๆ

ลดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย

จากหลักฐานการศึกษาวิจัยพบว่า โครเมียม (ทั้งในรูปแบบพิกโคลิเนตและอื่นๆ) พบว่ามีผลในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย
โดยการมีบทบาทไปเพิ่ม HDL หรือ คลอเรสเตอรอล ชนิดดี และ ลดระดับ คลอเรสเตอรอล ทั้งหมด

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน

ในผู้ป่วยโรค เบาหวาน แบบที่ 2 โครเมียมมีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่
(ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ในงานวิจัยพบว่าอินซูลินที่หลั่งจากตับอ่อนจะมีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด
แต่ปัญหาคือเซลร่างกายผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose tolerance factor)
โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโน อีกหลายชนิดจะไปช่วยกระตุ้นให้เซลร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดียิ่งขึ้น
ช่วยให้ระดับน้ำตาลเข้าสู่ระดับปกติ มีการทดลองซึ่งเป็นการทดลองแบบที่ทั้งผู้ทดสอบและผู้ถูกทดสอบจะไม่มีใครทราบเลยว่า
ได้ยาที่มีส่วนผสมของโครเมียม หรือไม่มี เพื่อตัดตัวแปรด้านความรู้สึกของผู้เข้าการทดลองที่อาจะมีผลต่อการวัดผลในประสิทธิภาพของโครเมียม
ซึ่งผลการทดลองสนับสนุนสรรพคุณด้านการลดน้ำตาลในเลือดของ โครเมียม

เนื่องจาก โครเมียม ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยในการทำให้ glucose tolerance ดีขึ้น
ดังนั้นการได้รับ โครเมียม จึงมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรค เบาหวาน ชนิดที่ 2
คนที่มีอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำก็มีอาการดีขึ้น เมื่อได้รับ โครเมียม 200 ไมโครกรัมต่อวัน

ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก

มีเพียง โครเมียมพิกโคลิเนต ที่แสดงผลในเรื่องนี้คือมันไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายและไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
มีการศึกษาเมื่อปี 1998 โดยมีอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 122 คนที่เป็นสมาชิกของเฮลท์คลับต่างๆ ในเทกซัส
ได้รับโครเมียม จำนวน 400 ไมโครกรัมต่อวันของ โครเมียมพิกโคลิเนต หรือยาหลอกเป็นระยะเวลติดต่อกัน 3 เดือน
คนที่ได้รับ โครเมียม มีไขมันในร่างกายลดลง 6 ปอนด์(2.7 กิโลกรัม) ขณะที่คนที่ได้รับยาหลอกลดลงเพียง 3 ปอนด์(1.3 กิโลกรัม)

นอกจากนี้จากผลการทดลองดังกล่าวจึงมีการใช้โครเมียมพิกโคลิเนต ในกลุ่มผู้รักการออกกำลังกายเพื่อที่จะช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
และลดไขมันในร่างกาย เมื่อรับประทาน โครเมียมพิกโคลิเนต ร่วมกับการออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ

แหล่งที่พบโครเมียม

แหล่งที่พบโครเมียมที่ดีที่สุดคือ ในยีสต์ (Brewer’s yeast) นอกจากนั้นก็ยังพบใน เมล็ดธัญพืช และ ซีเรียล
ซึ่งปรกติจะถูกทำลายไปในระหว่างกระบวนการผลิต เบียร์บางยี่ห้อก็อาจจะมี โครเมียม ในปริมาณมาก

ใครที่จะขาดโครเมียม

เนื่องจากคนทั่วไปได้รับ โครเมียม ในปริมาณที่ต่ำกว่าที่ US RDA ได้แนะนำไว้คือ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน
และประมาณ 3 % ของ โครเมียม ในอาหารที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย คนทั่วไปควรได้รับ โครเมียม เป็นอาหารเสริม
การที่รับประทานอาหารประเภทน้ำตาล และอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูง
ก็อาจจะทำให้เกิดการขาดโครเมียม และเร่งให้เกิดโรคเบาหวานได้

พบว่าคนในกลุ่มผู้สูงอายุ นักกีฬา และหญิงมีครรภ์ เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาด โครเมียมมากที่สุด
เมื่อร่างกายขาด โครเมียม จะมีอาการต่อไปนี้ คือ มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรค
เช่น impaired glucose tolerance, glycosuria, อาการระดับน้ำตาลสูงเมื่ออดอาหาร fasting hyperglycemia,
ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น และ การทำงานของอินซูลินลดลง (ซึ่งเหล่านี้ล้วนอาการเริ่มต้นของโรคเบาหวาน)
ขนาดที่แนะนำ ปริมาณที่แนะนำโดยแพทย์ทั่วไป คือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน

อาการข้างเคียง

ในปริมาณที่ โครเมียม วางขายทั่วไป(50 – 300 ไมโครกรัมต่อวัน) ไม่พบว่าก่อให้เกิดอาการเป็นพิษต่อร่างกาย(toxicity)
อาหารเสริมโครเมียม อาจจะเพิ่มหรือเข้าไปช่วยการทำงานของยารักษาโรคเบาหวาน (เช่น อินซูลิน หรือยาลดน้ำตาลอื่นๆ)
และอาจทำให้เกิดอาการระดับน้ำตาลต่ำได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่จะทานอาหารเสริมโครเมียม

ผลต่ออาหารชนิดอื่นๆ

จากการศึกษาพบว่า วิตามินซี เพิ่มการดูดซึมของโครเมียม
จึงได้มีการแนะนำให้รับประทานร่วมกันระหว่างวิตามินซี และ โครเมียม หรือทานร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซีสูงๆ

ข้อระวังในการใช้


ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการรับประทาน
เนื่องจาก โครเมียม อาจจะไปมีผลทำให้ความต้องการอินซูลินหรือยาลดน้ำตาลในเลือดลดน้อยลงได้

อย่ารับประทานพร้อมๆ กับแคลเซียมคาร์บอเนต
หรือยาลดกรดต่างๆในเวลาเดียวกันเพราะมันอาจจะไปรบกวนการดูดซึมของโครเมียมได้

การรับประทาน โครเมียม ในปริมาณสูงๆอาจจะไปรบกวนการดูดซึม สังกะสี (Zinc)
ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มปริมาณการรับประทาน สังกะสี ให้เพิ่มมากขึ้นแทน

โดย:  *-*  [12 ธ.ค. 2552 18:08]
ข้อคิดเห็นที่ 16:98

อยากรุ้ว่า มันอยุใน เครื่งอสำอาง เช่นครีมลองพื้น จะเปนอะไรมั๊ย

ตอบด่วนอยากรุ้มากๆๆๆ

โดย:  ..  [14 พ.ค. 2553 12:43]
ข้อคิดเห็นที่ 17:99

โครเมียมเป็นธาตุที่พบตามธรรมชาติใน ดิน หิน พืช สัตว์ ฝุ่นขากปล่องภูเขาไฟ ในร่างการคนเราจะมีโครเมียมปริมาณน้อย และเป็นสารอาหารที่จำเป็นเพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์ การใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมนั้น ส่วนใหญ่ใช้ทำและชุบเหล็กและอัลลอยด์ อิฐในเตาเผา สารประกอบของโครเมียมใช้เป็นสีย้อม และในอุตสาหกรรมฟอกหนังกับรักษาเนื้อไม้ โครเมียมจะเข้าสู่ร่างกายของช่างประกอบรถยนต์ รถมอร์เตอร์ไซด์ ช่างเชื่อมช่างชุบ ก็เมื่อมีการสูดไอของมันเข้าไปขณะทำงาน สำหรับคนที่ทำงานในโรงฟอกหนังและโรงเลื่อยไม้ อาจสูดเอาฝุ่นสารประกอบโครเมียมหรือฝุ่นขี้เลื่อยไม้ที่ชุบน้ำยารักษาเนื้อ ไม้เข้าไป เมื่อโครเมียมปริมาณมากเข้าสู่ร่างกายระบบทางเดินหายใจและปอดจะเป็นอันตราย เกิดการระคายเคือง เจ็บคัน และอาจมีเลือดออก ทำให้ปอดเสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่นตามมา ถ้ากลืนกินปริมาณมากจะกัดกระเพาะ ท้องเดิน ชัก เป็นอันรายต่อตับและไต อาจถึงตายได้ ถ้าถูกผิวหนังจะกัดผิวหนังเป็นแผล บางคนถูกเพียงเล็กน้อยอาจเกิดอาการแพ้เป็นผื่นบวมแดงได้ เมื่อใดที่ต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวข้างบนนี้ ต้องหลีกเลี่ยงการฟุ้งกระจาย ใช้หน้ากากป้องกัน

โดย:  .........  [5 มิ.ย. 2553 13:32]
ข้อคิดเห็นที่ 18:104

อยากได้สารประกอบโครเมียมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมง่ะค่ะ
และก็สีของเปลวไฟด้วยนะ ได้มั๊ย

โดย:  0000000000  [31 พ.ค. 2554 21:01]
ข้อคิดเห็นที่ 19:105

อยากได้
-ลักษณะรูปร่าง
-คุณสมบัติของธาตุ
-สูตรโมเลกุล
-เป็นสารประกอบของอะไรที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน
ขอบคุณค่ะ

โดย:  บี  [14 ม.ค. 2555 14:15]
ข้อคิดเห็นที่ 20:106

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมโครเมี่ยมอะคับ

โดย:  เด็กหาข้อมูล  [23 ก.พ. 2555 22:38]
ข้อคิดเห็นที่ 21:107

อยากทราบข้อมูล Biotransformation ของ Cr6+อ่า ค่ะ

โดย:  สาธารณสุข  [16 ก.ย. 2555 12:47]
ข้อคิดเห็นที่ 22:110

แร่หรือโมเลกุลของโครเมียมที่ใช่้ในปัจจุบันมีความบรทสุทธิ์ยูงสุดกี่เปอร์เซ็นครับ แบบว่าอยากทราบมากๆๆๆครีับ

โดย:  สยามเจริญจักรกลหนัก  [27 มิ.ย. 2557 23:00]
ข้อคิดเห็นที่ 23:117

อยากทราบว่า โครเมียม กับ โครมิค คือตัวเดียวกันไหมค่ะ
คัยทราบช่วยตอบหน่อยนะค่ะ

โดย:  นู๋มุก  [25 มิ.ย. 2561 15:28]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้