สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ปรึกษาโครงงาน (ศึกษาอัตราการละลายของโฟมในตัวทำละลายที่ต่างกัน)

เนื่องจากกลุ่มของหนูศึกษาโครงงานเรื่องเกี่ยวกับการใช้น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดละลายโฟม  แล้วหนูจะจับเวลาที่น้ำมันหอมระเหยละลายโฟม โดยจับตั้งแต่เวลาเริ่มหยดสารจนถึงเวลาที่โฟมไม่ถูกละลายต่อไปอีก  แล้วกลุ่มของหนูสังเกตการที่โฟมไม่ละลายต่อไปอีกแล้ว  จากการดูว่าโฟมไม่เป็นยางเหนียว  และมีลักษณะเหมือนแห้งแล้ว  เป็นการบอกว่าโฟมไม่ถูกละลายต่อไปอีก  วิธีสังเกตแบบนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องหรือไม่ค่ะ

โดย:  แสงตะวัน   [19 ก.ค. 2553 18:32]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การวิเคราะห์ ทดสอบ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

ลองใช้โฟมชิ้นเล็กขนาดเมล็ดถั่วเขียว หรือเล็กกว่านั้น เพื่อให้สังเกตได้ง่ายว่ามันละลายหรือไม่ หมดเมื่อไร ถึงจะเรียกว่าละลาย ถ้าทดลองกับชิ้นใหญ่น้ำมันผิวมะกรูดมีเท่าไรก็ไม่พอ สังเกตไม่ได้ การเลือกหัวข้อน่าจะมีเหตุผลที่น่ารับฟังและน่าทำด้วย

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [20 ก.ค. 2553 08:02]
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

จากการทดลองพบว่าสารน้ำมันหอมระเหยละลายได้เป็นเนื้อเดียวกัน  แต่สารอื่นไม่ละลายโฟมเป็นเนื้อเดียวกัน  อยากถามว่า  การที่น้ำมันหอมระเหยละลายโฟมได้เป็นเนื้อเดียวกันมันมีข้อดียังไงสำหรับโครงงานนี้

โดย:  แสงตะวัน  [22 ก.ค. 2553 04:00]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

เมื่อได้คำตอบแล้วว่าน้ำมันหอมระเหยละลายโฟมได้ ก็ตอบโจทย์แล้วว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ข้อดีไม่ได้อยู่ที่ตัวโครงงาน แต่การทำโครงงาน ทำให้เราได้เรียนรู้หาเหตุผล ออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์ทราบ เรียกว่าได้เรียนรู้จากการลงมือทำ ต้องถามตัวเองว่า ได้เรียนรู้อะไรบ้าง

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [4 ส.ค. 2553 09:31]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้