สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การจัดเก็บสารเคมีที่ใช้แล้ว

อยากทราบว่าอาคารสำหรับจัดเก็บสารเคมีที่ใช้แล้วคุณสมบัติต้องเหมือนกันหรือแตกต่างกันกับอาคารเก็บสารเคมีทั่วไปยังไงบ้างคะ

แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าสารเคมีตัวนี้เป็นสารประเภทไหน เช่น ของเหลวไวไฟ สารพิษฯ ดูจากส่วนไหนของMSDSคะ


ขอบคุณค่ะ

โดย:  น้ำฝน   [8 ต.ค. 2554 16:01]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การจัดการความปลอดภัย  /  ของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว  /  เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

1. กรณีที่เป็นของเสียเคมีใช้แล้วอาจอยู่ในข่ายเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (ตามอนุสัญญาบาเซล) ก็ต้องปฏิบัติตาม พรบ.วัตถุอันตราย
2. กรณีที่เป็นสารเคมีทั่วไปที่ไม่ได้เป็นวัตถุอันตราย น่าจะต้องเป็นไปตาม พรบ.โรงงาน กับประกาศกระทรวงมหาดไทย
(เป็นความเห็นส่วนตัวนะ คนอื่นอาจมีความเห็นไม่ตรงก็ได้ ลองคอยดูคำตอบจากคนอื่นๆด้วย)

โดย:  นายอนุชิต พราวพันธุ์  [11 ต.ค. 2554 14:43]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

ลืมตอบอีกข้อคือเรื่องว่าสารเคมีตัวนี้เป็นสารประเภทไหน เช่น ของเหลวไวไฟ สารพิษฯ นั้นให้ดูตาม MSDS ข้อ 14 Transport Information ที่จะมีการระบุ UN No. ไว้ หรือหมายเลข IMDG ที่บอกระดับความเป็นอันตรายออกเป็น 9 class



โดย:  นายอนุชิต พราวพันธุ์  [11 ต.ค. 2554 15:21]
ข้อคิดเห็นที่ 1:3

กรณี สารเคมีใช้แล้ว จะต้องพิจารณา เป็นกากของเสียครับ (อย่าสับสนกับ ประกาศกรม เรื่องสถานที่การจัดเก็บวัตถุอันตราย) การจัดเก็บต้องดูกฏหมายด้านกากของเสียประกอบ อาจต้องประเมินความเสี่ยง หรืออันตราย ใหม่ เพราะหลังการใช้ เคมีนั้นๆ อาจเปลี่ยนสภาพอันตรายจากเดิมไป

โดย:  ชินวุฒิ  [12 ต.ค. 2554 14:05]
ข้อคิดเห็นที่ 2:4

น้ำมันหล่อลื่นมสูตรทางเคมีว่าอย่างไร ใครรู้ช่วยบอกเราที

โดย:  กุ๊ก  [4 มี.ค. 2555 14:56]
ข้อคิดเห็นที่ 3:5

น้ำมันหล่อลื่นมีสูตรทางเคมีว่าอย่างไร ใครรู้ช่วยบอกเราที

โดย:  กุ๊ก  [4 มี.ค. 2555 14:58]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้