สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

SDS ของสารผสม ควรพิจารณาจากอะไร

กรณีที่มี SDS ของสารเดี่ยว (เช่น สาร A และ สาร B) เมื่อนำสาร2ชนิดนี้มาผสมกัน (เป็นสารผสม แต่ ไม่เกิดปฏิกิริยาเป็นสารใหม่) ผมสามารถอ้างอิงให้สารผสมนี้ มี SDS เทียบเท่ากับของ สาร A และสาร B โดยตรงเลยได้หรือไม่ครับ หรือว่าผมต้องเลือกเอาสมบัติที่เด่นชัดของสารต้น (เช่น A หรือ B) เพื่อมาแสดงเป็น SDS ของสารผสมนี้ครับ

โดย:  Prasit   [20 มิ.ย. 2556 14:47]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

คำถามที่ให้มานั้นกว้างเกินไปครับ. จริงๆแล้วจำเป็นจะต้องดูลงลึกถึงรายละเอียดความเป็นอันตรายโดยเฉพาะซึ่งมีทั้งอันตรายทางกายภาพ ต่อสุขภาพและต่อสิ่งแวดล้อม

แนะนำให้ทำตามหลักGHS ครับ ซึ่งมีการกำหนดกรอบกาทดสอบรวมถึงการคำนวณไว้อย่างชัดเจน อันนี้ต้องเรียนลึกๆครับถึงจะเข้าใจ ไม่สามารถอธิบายสั้นๆได้ครับ

สรุปสั้นๆคือทำไม่ได้ครับ ต้องทดสอบคุณสมบัติสารผสมในกรณีความเป็นอันตรายทางกายภาพ ต้องนำค่าความเป็นอันตรายของสารเดี่ยวทั้งสองตัวมาคำนวณสำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมครับ



โดย:  เฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์  [27 มิ.ย. 2556 20:48]
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

ขอบคุณครับ คุณเฉลิมศักดิ์
เนื่องจากสารผสมที่ผมกล่าวถึงนั้น มีหลายประเภทครับ บางประเภทก็อยู่ในกลุ่มสารระเหยไวไฟมาผสมกับกาว (คือ ทำการเจือจางกาวด้วยสารระเหยไวไฟ) บางกลุ่มก็อยู่ในประเภท monomer ที่นำมาหลายๆชนิดผสมกันก่อนที่จะนำไปใช้งานจริงครับ ผมจึงระบุกว้างๆไว้
ณ ขณะนี้ ผมพอเข้าใจแล้วครับว่าคงต้องใช้วิธีคำนวณเอา แต่ผมคิดว่าจะลองใช้วิธีสอบถามทางเจ้าของสูตรผสมสารเคมีก่อนครับ เนื่องจากผมก็ไม่แน่ใจว่าถ้าผมคำนวณแล้วได้ข้อมูลออกมา จะสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวได้เลยหรือไม่ เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้กำหนดสูตรผสมเองครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับ

โดย:  Prasit  [1 ก.ค. 2556 10:27]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

ok

โดย:  ok  [3 ก.ค. 2556 23:41]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้