สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

MSDS UN 1950

รบกวนขอ msds ของ UN1950ด้วยครับ

โดย:  MANOP   [19 ต.ค. 2556 14:11]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เรียน คุณ  MANOP
msds นั้น คือเอกสารคู่มือความปลอดภัยของสารเคมี
ส่วน UN นั้น เป็นเลขอ้างอิง 4 หลัก แสดงสมบัติของสารอันตราย
ในการที่คุณMANOPจะขอ msds ของ UN 1950 นั้นมันกว้างไปค่ะ อาจจะต้องระบุชื่อสารที่มี UN 1950 นั้นอาจจะหาง่ายกว่า ตอนนี้บอกได้แค่ว่า UN 1950 นั้นคือ AEROSOLS  และขอแนะนำว่า การขอ msds นั้นให้ขอจากผู้ผลิตหรือผู้ขายโดยตรงจะดีที่สุดค่ะ


โดย:  อิศรา ทีมงาน ChemTrack  [22 ต.ค. 2556 16:00]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอตอบละเอียดนิดนึงนะครับ  ผมเข้าใจว่าผู้ถามอาจจะยังไม่ทราบเชิงลึกเกี่ยวกับ UN 1950 ครับ

โดยปกติแล้วสารเคมีที่เป็น Aerosols หรือเราเรียกภาษาไทยว่าละอองลอย นั้น  ถ้าเรียกบ้าน ๆ พวกเรามักจะเรียกว่า สเปรย์กระป๋อง จัดเป็นสินค้าอันตราย ประเภท Class 2 หรือ ก๊าซ ครับ  ซึ่ง UN 1950 จะใช้กับสารที่เป็นละอองลอยทุกประเภท  แต่มักจะอัดก๊าซใส่ไว้ในกระป๋องขนาดเล็ก ๆ เพื่อการใช้ในบ้านเรือนเป็นหลัก  ตัวอย่างสารเหล่านี้คือ สเปรย์ปรับอากาศ สเปรย์สีพ่น สเปรย์ยาฆ่าแมลง โฟมโกนหนวด  และอื่น ๆ อีกเพียบ

UN 1950 มีการแบ่งย่อย ประเภทความเป็นอันตรายได้หลายตัว ขึ้นอยู่กับก๊าซที่อัดเข้าไปเป็นก๊าซขับดัน  ในระบบสากลแบ่งตามลักษณะอันตรายดังนี้

Division 2.1 ก๊าซไวไฟ เช่น สเปรย์สีพ่น
Divisiion 2.1 (6.1) ก๊าซไวไฟที่เป็นพิษ เช่น สเปรย์ยาฆ่าแมลง
Division 2.1 (8) ก๊าซไวไฟที่กัดกร่อน
Division 2.1 (6.1, 8) ก๊าซไวไฟที่เป็นพิษและกัดกร่อน
Division 2.2 ก๊าซอัด (ไม่ไวไฟ) (ไม่มีอันตรายอื่น ๆ นอกจากแรงดัน)
Division 2.2 (6.1) ก๊าซอัด (ไม่ไวไฟ) แต่เป็นพิษ เช่น ก๊าซน้ำตา
Division 2.2 (8) ก๊าซอัด (ไม่ไวไฟ) แต่กัดกร่อน
Division 2.2 (6.1, 8) ก๊าซอัด (ไม่ไวไฟ) แต่เป็นพิษและกัดกร่อน
Division 2.2 (5.1) ก๊าซอัดที่ให้ออกซิเจน
Division 2.3 ก๊าซพิษ เช่น สเปรย์ยาฆ่าแมลงครับ แต่ไม่ไวไฟ
Division 2.3 (2.1) ก๊าซพิษ ที่ไวไฟ

จะเห็นได้ว่ามีลักษณะอันตรายเยอะครับ  คงต้องทำความชัดเจนกับสารที่เราอยากจะหาข้อมูลก่อนถึงจะได้มากซึ่ง MSDS ที่ถูกต้องครับ    ถ้าคิดไม่ออกให้โทรหาผู้ผลิตเพื่อของ MSDS เลยดีกว่าครับ  ชัวร์ และตรงกับลักษณะอันตรายของสารมากที่สุดครับ





โดย:  เฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์  [31 ต.ค. 2556 10:55]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้