สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การจัดการสารเคมีในแผนกทันตกรรม

ในแผนกทันตกรรมของโรงพยาบาลที่ดิฉันทำงานอยู่ มีสารเคมีอันตรายดังนี้คือ
1.monomer
2. 2.5% NaOCl
3. Alcohol จุดไฟ
4. Formocresol ปริมาณน้อย

อยากทราบวิธีจัดเก็บ เอกสารกำกับของสารเคมีแต่ละชนิด และวิธีการจัดการเมื่อมีสารดังกล่าวหกเลอะเทอะ โดยที่แผนกจะจัดเก็บแต่ละชนิดจำนวนไม่มากนัก คือ ไม่เกิน 3 ลิตรค่ะ ปัจจุบัน เอาสารทั้งหมดรวมเก็บในตู้หนึ่งใบที่ไม่โดนแสงและห่างจากวัตถุไวไฟ ส่วนเวลามีสารดังกล่าวหกบนพื้นก็เช็ดตามปกติค่ะ อยากทราบวิธีการดำเนินการที่ถูกต้อง ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

โดย:  กลุ่มงานทันตกรรม   [27 ม.ค. 2557 08:40]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การจัดการความปลอดภัย  /  สารเคมีในสถานประกอบการและความปลอดภัยในการทำงาน  /  เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขออนุญาตตอบในมุมมองของผู้ให้บริการจัดการสารเคมีอันตรายนะครับ

สิ่งแรกที่จำเป็นที่สุดที่จะต้องทำคือ identify ความเป็นอันตรายของสารแต่ละตัวออกมาก่อนครับว่ามีอันตรายอย่างไรมากน้อยแค่ไหน แล้วหาเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีมาอ่านครับ  ดีที่สุดคือร้องขอเอกสารจากผู้ขายครับ  

ขอตอบกว้าง ๆ ตามนี้นะครับ

ตัวแรก monomer ผมไม่แน่ใจว่าเป็น monomer ตัวไหน รบกวนแจ้งรายละเอียดที่เฉพาะมากกว่านี้ถึงจะหาข้อมูลให้ได้ครับ

ตัวที่สอง 2.5% NaOCl ผมลองหา MSDS ให้น่าจะเป็นตัวนี้
http://www.iclfertilizers.com/Fertilizers/Knowledge%20Center/Sodium_Hypochlorite_Solution.pdf
ซึ่งเป็นสารกัดกร่อน

การจัดเก็บให้อ่านข้อ 7 การจัดการหกรั่วไหลอ่านข้อ 6 ครับ

ตัวที่สาม แอลกอฮอล์ ข้อมูลตามนี้ครับ
http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=00847&CAS=&Name=alcohol

MSDS ครับ
http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Merck/msdst/1009/100971.htm

ตัวที่ 4 Formocresol
เอกสารตามนี้ครับ
http://www.keystoneind.com/sites/all/files/Deepak%20-%20Formocresol.pdf
สารตัวนี้อันตรายค่อนข้างสูง เป็นพิษ กัดกร่อน และมีอันตรายต่อสุขภาพ คงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังครับ

ส่วนการจัดการในแผนกผมแนะนำให้จัดการตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการซึ่งทางศูนย์ความเป็นเลิศการจัดการสารและของเสียอันตรายกำลังผลักดันมาตรฐานของห้องปฏิบัติการใหม่ขึ้นมาครับ  ลองติดตามข่าวดูครับ  

ความคิดเห็นขอผมแบบกว้าง ๆ ควรเก็บในตู้เก็บสารเคมีทนไฟ อยู่ในที่ร่มไม่โดนแดด ระบายอากาศได้ดี ปิดล็อคได้  เก็บให้ห่างจากความร้อน และ ประกายไฟ เฝ้าระวังการรั่วไหลของสาร มีอุปกรณ์ดับเพลิงประจำจุดเก็บ การใช้สารควรใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลตาม MSDS แนะนำ  โดยเฉพาะสารที่มีอันตรายต่อสุขภาพในระดับสูง สารเหล่านี้หากเก็บในปริมาณไม่มากเก็บในตู้เดียวกันได้ แต่ควรแยกชั้นวางตามสารเพื่อง่ายต่อการจัดการและหยิบใช้งานครับ

ลองหาเอกสารและข้อมูลเพิ่มเติมดูครับ  และอ่านข้อมูลในเว็บไซด์ที่ให้ไปด้วยครับ  

หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ

โดย:  เฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์  [10 ก.พ. 2557 12:05]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้