สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ข้อสอบที่ไม่เข้าใจ

การกระทำใดทำให้ค่าpHเดิมเปลี่ยนแปลงมากที่สุด.                                                                    
1.หยดสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตลงในกรดไนตริก
2.หยดกรดคาร์บอนิกลงในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
3.หยดกรดซัลฟิวริกลงในสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต
4.หยดกรดคาร์บอนิกลงในสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต

โดย:  กฤตภัค   [28 มี.ค. 2557 21:20]
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เรียน คุณกฤตภัค,

ผมก็ผ่านมานานจนเกือบลืมไปหมดแล้ว ขอตอบตามความรู้ที่พอหลงเหลืออยู่ ถ้าท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาชี้แนะเพิ่มด้วยนะครับ

ปกติแล้ว การทำปฏิกริยาของกรด+ด่างนั้น ถ้าตัวใดตัวหนึ่งเป็นประเภท "กรดอ่อน" หรือ "ด่างอ่อน" มันจะประพฤติตัวเป็น "Buffer" ซึ่งหมายความว่า มันจะทำให้การเปลี่ยนแปลงของค่า pH ไม่มากเท่าที่ควรเป็นครับ

เท่าที่ดูแล้ว ปฏิกริยาของ Na2CO3 + 2HNO3 จะกลายเป็น 2 NaNO3 + H2O + CO2 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากรูปกรดมาเป็นเกลือ(ที่เป็นกลาง)ได้มากที่สุด การเปลี่ยนแปลงนี้ น่าจะทำให้ pH เพิ่มขึ้น จากต่ำกว่า 7 มากๆ (ขึ้นกับความเข้มข้นของกรดด้วย) กลายมาเป็น pH 7 ได้ครับ

ขอแสดงความนับถือ
Prasit

โดย:  Prasit  [31 มี.ค. 2557 11:21]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ผมว่านะครับ น่าจะตอบ ข้อ 3
เนื่องจากว่า
ข้อ 1หยดโซเดีมคาร์บอเนต (เกลือของกรดอ่อน แต่มีฤทธิ์เป็นด่าง) ลงในกรดไนตริก (กรดแก่) // ในตอนนี้ pH จะเปลี่ยนน้อยมาก เพราะว่า ตัวโซเดียมคาร์บอเนตจะให้ OH- ที่น้อย แต่ในสารละลายของเรามี H+ ที่เยอะมากกกกก
ข้อ 2 หยดกรดคาร์บอนิกลงในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ // ก็คล้ายๆ กับตอนต้นครบ กรดคาร์บอนิก เป็นกรดอ่อน แตกตัวให้ H+ น้อย แล้วหยดใน NaOH เป็นเบสแก่ OH- มากกก เกิดเกลือ Na2CO3 แตกตัวให้ OH- ดังนั้น ถ้าอยู่ในสารละลายเบส อีก pH ก็จะเปลี่ยนแปลงน้อยเช่นกัน
ข้อ 3 หยดกรดซัลฟิวริกลงในสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต // สารละลายของเราเป็น เกลือของกรดอ่อน แต่ให้ OH- น้อย เมื่อเติม H2SO4 เป็นกรดแก่ ให้ H+ มากก จึงทำให้ pH เปลี่ยนแปลงได้เยอะครับ
ข้อ 4 หยดกรดคาร์บอนิกลงในสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต // สาระลาย 2 ตัวนี้ เมื่อผสมกันแล้วจะเกิดสารละลาย บัฟเฟอร์ขึ้น ทำให้การเปลี่ยนแปลง pH ของสารละลายน้อยครับ
หากมีอะไรผิดพลา่ด กรุณาให้คำแนะนำด้วยครับ


โดย:  ป๊อด ป๊อด  [8 พ.ค. 2557 16:39]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

เรียน คุณป๊อด ป๊อด

ขอบคุณครับสำหรับคำตอบเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตามถ้าพิจารณาแค่ "แนวทางคำตอบ" ผมกลับพบว่า คำตอบของคุณป๊อด ป๊อด นั้นทั้งข้อ1 และ ข้อ3 ให้คำตอบเหมือนกันเลย (คือ สารx ให้OH- น้อย แต่สารy ให้H+มาก) ดังนั้น แนวทางของคำตอบนี้ น่าจะไม่ถูกนะครับ

ทีนี้ ถ้ามาพิจารณาเฉพาะข้อ 1 และ 3 จะพบว่าสุดท้าย เราจะได้เกลือชนิดหนึ่งออกมา พร้อมทั้ง CO2 + H2O เหมือนกัน (เนื่องจากเป็นปฏิกริยาต่อเนื่อง และทำให้กรดคาร์บอนิกสลายตัวกลายเป็นCO2 + H2O เหมือนกันทั้ง2กรณี)

เอาล่ะสิ ทีนี้ใครจะเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าpH ได้มากกว่ากันล่ะ

ผมว่านะ เราก็ต้องกลับมาดูที่ค่า "Acid dissociation constant (pKa)" กันแล้วล่ะ กรณีที่กรดเกิดการแตกตัวได้ 100% ความสัมพันธ์ของ pH กับ pKa คือ pH = pKa +2
pKa ของกรดไนตริก = -1.4
pKa ของกรดซัลฟิวริก = 1.99

ดังนั้น pHของกรดไนตริก = -1.4+2 = 0.6
           pH ของกรดซัลฟิวริก = 1.99+2 = 3.99

ก็น่าจะสรุปได้ว่า กรดไนตริกมีค่าความเป็นกรด มากกว่ากรดซัลฟิวริก

การเปลี่ยนแปลงจากกรดมาเป็นกลางของกรดไนตริก จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่านะครับ (เห็นด้วยไม๊ครับ)

สรุปคือ คำตอบก็น่าจะเป็นข้อ 1 ครับ

(อ้างอิง http://en.wikipedia.org/wiki/Acid_dissociation_constant
            http://www.chembuddy.com/?left=BATE&right=dissociation_constants )

ท่านอื่นมีความเห็นต่างอย่างไร กรุณาช่วยกันแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยนะครับ

ขอแสดงความนับถือ
Prasit



โดย:  Prasit  [16 พ.ค. 2557 16:17]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้