สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

เอทานอล กับ แอลกอฮอล  เป็นสารชนิดเดียวกันหรือเปล่าครับ

ต้องการทราบเพื่อจะได้ใช้ให้ถูกต้อง

โดย:  ทรงพร   [16 ก.ย. 2557 13:58]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เรียน คุณทรงพร

เอทานอล (Ethanol) ก็คือ แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งครับ

เปรียบว่า เอทานอล คือโตโยต้า แอลกอฮอล์คือ รถญี่ปุ่น
โตโยต้า กับ รถญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นชนิดเดียวกัน แต่ โตโยต้าเป็นรถญี่ปุ่นชนิดหนึ่งครับ

ขอแสดงความนับถือ
Prasit

โดย:  Prasit  [16 ก.ย. 2557 15:43]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

Alcohol    http://en.wikipedia.org/wiki/Alcohol

โดย:  Yangsonar  [16 ก.ย. 2557 22:29]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

แอลกอฮอล์ เป็นสารอินทรีย์กลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วยสายโซ่ไฮโดรคาร์บอน (เขียนโดยย่อว่า "R") ต่อกับหมู่ -OH  ส่วน เอทานอล เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง สมัยก่อนมีชื่อเรียกว่า เอทิลแอลกอฮอล์
    นอกจากนี้ ในบางกรณีก็ใช้คำว่าแอลกอฮอล์แทนเอทานอลด้วย เช่น "เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ปน" ก็จะแปลว่า ในเครื่องดื่มนั้นมีเอทานอลปนอยู่
    คำเปรียบเทียบของคุณ Prasit ข้างต้นใช้ได้ค่ะ เห็นภาพดีมาก

โดย:  ผศ.ดร.ลัดดาวัลย์ ผดุงทรัพย์  [17 ก.ย. 2557 22:17]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :4

เพิ่มเติมอีกนิด ว่าชื่อเรียกสำคัญมาก เพราะสมบัติอาจคล้ายกันใช้แทนกันได้ แต่อันตรายต่างกัน เช่นเมทานอล เป็นแอลกอฮอลกลุ่มเดียวกับเอทานอล แต่พิษแรงกว่า คือทำให้ตาบอดได้ อ่านต่อที่เมนูเรียนรู้จากข่าวได้ค่ะ

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [18 ก.ย. 2557 21:14]
ข้อคิดเห็นที่ 3:5

ต้องขอขอบคุณท่านผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสองทั้งไว้ ณ ที่นี้ ที่กรุณาให้ความรู้เพิ่มเติมต่อสาธารณะครับ

พร้อมกันนี้ ผมก็ขออนุญาติขยายความเพิ่มเล็กน้อยนะครับว่า การทำงาน หรือใช้งานใดๆกับสารเคมี ต้องใช้ความระมัดระวังมากๆ เนื่องจากสารเคมีที่เราๆท่านๆพบในชีวิตประจำวันมักไม่มีอันตรายกว่าที่ควรเป็น เราก็เลยคิดว่าสารเคมีอื่นๆ ก็ไม่น่าจะอันตรายในระดับเดียวกัน ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด และอันตรายมากๆ

ตัวอย่างเช่น น้ำยาขัดพื้น น้ำยาล้างห้องน้ำ(ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สูตรที่เป็นกรดก็ตาม) วิธีการใช้ข้างๆขวด ผู้ผลิตจะระบุเสมอว่าต้องสวมถุงมือเมื่อจะใช้น้ำยานี้ แต่ความจริง มีกี่ท่านที่ทำแบบนี้ครับ? และเมื่อท่านใช้มันโดยไม่ใส่ถุงมือ แต่ก็ไม่เกิดอะไรขึ้นกับท่าน ท่านเองก็เลยคิดว่าไม่เป็นไร ใช่ไหมครับ

แต่ ในโลกความเป็นจริงของสารเคมีอื่นๆ อันตรายร้ายแรงของมันมีอยู่จริง และบางชนิด ก็อันตรายมากๆตามข้อมูลความปลอดภัย(SDS)ของมันจริงๆซะด้วย

ดังนั้น อย่าประมาทครับ การใช้งานกับสารเคมีต้องตระหนักให้มากๆ เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว การตามมาแก้ไขอาจไม่ได้ผล หรืออาจเสียใจและมาตำหนิตัวเองว่า "รู้งี้ ระวังให้มากดีกว่า" แต่ ก็สายไปแล้วนะครับ

ขอแสดงความนับถือ
Prasit


โดย:  Prasit  [19 ก.ย. 2557 09:59]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้