สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

อยากทราบวิธี ละลายกระเบื้อง แก้ว เซรามิก ด้วยเคมี

เรียนท่านผู้มีความรู้ทุกท่าน
ข้อ1 จะใช้สารเคมี ชนิดใด หรือหลายชนิดรวมกันเพื่อ ละลาย กระเบื้อง แก้ว และเซรามิก ให้ละลายเป็นน้ำได้หรือไม่
ข้อ 2 จะใช้สารเคมี ชนิดใด ที่สามารถ ตกตะกร แร่ธาตุในน้ำ ข้อที่ 1 (ยังไม่ทราบว่า ในกระเบื้อง มีธาตุอะไรบ้าง ท่านกรุณาจินตนาการ ตามเราด้วย)

                                                                       ขอบพระคุณอย่างสูง

                                                                            ซูโม่สำออย

โดย:  ซูโม่สำออย   [10 ต.ค. 2557 22:28]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การวิเคราะห์ ทดสอบ  /  สารตัวทำละลาย
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

น่าจะเป็นสารเคมี ออกซิเจน ความร้อน และ เชื้อเพลิงที่ให้อุณภูมิสูงพอ

ปล. คุณซูโม่สำออย สนใจเรียนเคมีพื้นฐานก่อนมั๊ยคะ

โดย:  อุ๊  [12 ต.ค. 2557 19:52]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

เรียน คุณซูโม่ฯ

คำถามแต่ละคำถามของท่านนั้น สุดยอดเลยจริงๆ

ผมไม่รู้ว่าท่านจะต้องการละลายกระเบื้อง แก้ว เซรามิก ไปเพื่ออะไร แถมละลายแล้วยังจะไปตกตะกอนมันอีก

สารประเภทกระเบื้อง แก้ว เซรามิก มักเป็นประเภท Silicone Dioxide, Alumina Oxide, Aluminosilicate, เป็นต้น อาจมีโลหะหนักบางชนิดผสมลงไป เพื่อปรับแต่งคุณสมบัติบางประการด้วย

พันธะเคมีของสารประเภทนี้แข็งแรงเป็นอย่างยิ่ง การที่ท่านจะละลายมันนั้น ท่านต้องใช้ตัวทำละลายที่มีความสามารถในการทำลายพันธะเคมีของมันออกก่อน มันจึงจะละลายได้ ซึ่งหมายความว่าตัวทำละลายนั้นๆ ก็ต้องมีคุณสมบัติที่รุนแรงมากๆๆๆๆๆเช่นกัน

ในเบื้องต้นที่ผมพอจะตอบได้คือ กรดกัดแก้วครับ (Hydrofluoric acid)

แต่ กรดกัดแก้วนั้น มีความเป็นพิษสูงมาก ไอของมันทำลายเนือเยื่อปอด เลนส์แก้วตาได้อย่างรุนแรง และถาวร ตัวมันเองก็มีความสามารถทำลายเนื้อเยื่อต่างๆได้อย่างรุนแรง และอันตรายเป็นอย่างยิ่ง

ผมขอแนะนำให้เข้าใจ ไม่ต้องการให้ใช้โดยไม่มีความพร้อมหรือการป้องกัน/การเตรียมการที่เหมาะสม ดังนั้นคุณซูโม่ฯ ควรศึกษาให้ดีๆก่อนใช้ หรือทำการใดๆกับสารเคมีนะครับ

ส่วนเรื่องการตกตะกอนนั้น ผมยังไม่ได้ค้นเพิ่มเติม ณ ขณะนี้ ก็ขออภัยครับที่ไม่ได้ให้คำตอบ

ขอแสดงความนับถือ
Prasit


โดย:  Prasit  [13 ต.ค. 2557 11:41]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ขอบพระคุณ ท่าน อุ๊ และท่าน Prasit ที่เน้นความรู้ให้

เรียนท่าน Prasit (เป็นพิเศษ)
จุดประสงค์หลัก ที่ละลายเซรามิกคือ มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกค์ ที่สร้างโดยมีส่วนผสมเซรามิก โครงสร้างถายใน มันมี แร่มีค่า ครับ
เทคนิคปัจจุบัน ที่ผมทราบคือ เผาและมาทุบให้ละเอียด และตกตะกอนเอา แร่มีค่าออกมา
ส่วนกรดแก้วที่ท่านแนะนำ ได้มีการทดลอง ในวงการแล้ว ไม่สะเทือน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์เลยครับ   ข้อมูลที่ผมหาได้คือ เซรามิค ไม่ทนกรดกัดแก้วและด่าง (ผม มโนเองว่า ด่างแก่ น่าจะให้ได้ แต่ยังไม่ได้ลองเลย ผมไม่มีความรู้เรื่องเคมีเลย จึงไม่ทราบว่าจะเอา สารเคมีใด มาเร่ง ด่างแก่ ให้เพิ่มพลัง กัด เซรามิค ผม ได้เร็วขึ้น) ในวงการ มีข่าวว่า ได้มีการคิดค้น น้ำยาละลาย ได้แล้ว แต่ยังไม่มีจำหน่าย....
.......และขอบพระคุณท่าน Prasit ... เรื่อง..ความปลอดภัย ที่แนะนำ ....(จากข้อมูลที่ผมค้นได้ในอินเทอเนต น้อยคนนักที่จะให้ความรู้ และความปลอดภัยมาด้วยกัน ท่านสมควร รับการ คาระวะ จากผม ซูโม่สำออย )
มีเรื่องรบกวนท่าน Prasit (ผม มโน ว่า ท่านต้องกลับมาอ่านอีกครั้งแน่) ผมมีกรดไฮโรคลอลิก 35 % ผมต้องการให้มัน เป็นกรด 1% ผมต้องใช้ กรด 35% ในปริมาณ 1 ml  ผสมกับน้ำ 99 ml  ก็จะได้ กรด 1 % ใช่หรือไม่ครับ


โดย:  :ซูโม่สำออย  [15 ต.ค. 2557 21:07]
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

 เรื่องเคมีพื้นฐาน ผมอยากแนะนำ คลิฟ ท่านอาจารย์ บิ๊ก

http://www.youtube.com/watch?v=9Xy0GKLi-p8

ท่านมีเทคนิค สอน ให้จำ ตารางธาตุ ได้ใน  1 ชั่วโมง และ จำไปตลอดชีวิต
ควรให้เด็กๆ ที่เริ่มการเรียนเคมี ดู เป็นอย่างยิ่ง  ขณธที่ผม ลงข้อความ กำลังเรียนคลิฟ ของ่ทานอาจารย์บิ๊ก เรื่อง เคมี ม 4เทอม 1อยู่
http://www.youtube.com/watch?v=UjEZJKymzHE&list=UUhEb4rcugSqnII-ph1KKzfg

                                                                       ขอบพระคุณอย่างสูง
                                                                            ซูโม่สำออย

โดย:  ซูโม่สำออย  [15 ต.ค. 2557 21:15]
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

เรียน คุณซูโม่ฯ

ขอบคุณสำหรับ Credit ที่ให้ครับ แต่ผมเห็นว่าการแบ่งปันความรู้ที่ถูกต้อง จะยิ่งทำให้เราเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นครับ

สำหรับเรื่องการสกัดแร่มีค่าออกมานั้น ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นทองคำ หรือไม่ก็แร่หายากชนิดอื่นๆที่อยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นๆใช่ไหมครับ ผมพอทราบมาว่ามีคนทำอยู่หลายรายแ้ว ซึ่งคุณซูโม่ฯก็ต้องสืบค้นเพิ่มเติมด้วยครับว่าเขาทำอย่างไร

เรื่องการละลายCeramicsนั้น ผมหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ แต่คุณซูโม่ฯเองก็ต้องแปลด้วยนะครับ ลองหาดูจากใน www.researchgate.net นะครับ คงต้องใช้ความพยายามหน่อยครับ เบื้องต้นเท่าที่อ่านคร่าวๆคือ มีการใช้ด่างและปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมครับ

สำหรับเรื่องการใช้กรด1% จากกรด35%นั้น ผมพอจะแนะนำให้ท่านได้ โดยที่ไม่ต้องเป็นนักเคมี แต่ท่านต้องเข้าใจนิยามอย่างถ่องแท้ก่อนนะครับ

ในที่นี้ ผมขอถือว่ากรด35%นั้นหมายถึง มีเนื้อกรดแท้ๆอยู่35ส่วน ในสารละลายรวม100ส่วน (กล่าวคือ วัดในหน่วยเดียวกัน และผมขอถือว่าเป็น ปริมาตรต่อปริมาตรเหมือนๆกันครับ)

ในเมื่อท่านต้องการกรด1%ในปรืมาตร100ml. ก็จะหมายถึง ท่านต้องการเนื้อกรดแท้ๆอยู่1ส่วน ในสารละลาย100ส่วน (ถูกไม๊ครับ)

ทีนี้ ท่านก็เอาเนื้อกรดมา 1 ส่วน จากเนื้อกรด 35 ส่วนสิครับ โดยการเทียบบัญญัติไตรยางค์ว่า ในกรด35% ปริมาตร100ml จะมีเนื้อกรดแท้ๆอยู่ 35ml. นั่นคือ

ท่านจะได้เนื้อกรด 35ml. จากการนำกรด35% มา 100ml.
ถ้าท่านต้องการกรด 1ml. ท่านก็ต้องนำกรด35% มาเพียง 100x1/35ml. = 2.86 ml.
(กล่าวคือ สารละลายกรด35%นี้ ถ้านำมันมาเพียง2.86ml. จะเทียบได้ว่ามันมีเนื้อกรดแท้ๆอยู่1ml. ครับ น้ำไม่เกี่ยว)

แล้วท่านก็นำกรด 2.86ml.(เทียบเท่ากับเนื้อกรดแท้ๆ 1ml.) นี้ไปเจือจางให้เป็นปริมาตรรวม 100ml.ครับ

เท่านี้ ท่านก็ได้กรด1% ตามที่ท่านต้องการครับ

แต่ จะมานั่งคิดยาวๆแบบนี้ เสียเวลา เขาก็เลยเขียนเป็นสูตรว่า
C1V1 = C2V2 ครับ
(C1 = ความเข้มข้นตั้งต้น
V1 = ปริมาตรตั้งต้น
C2 = ความเข้มข้นสุดท้าย
V2 = ปริมาตรสุดท้าย)

C1V1 = C2V2 : 35%xV1 = 1%x100
V1 = 100/35 = 2.86 ml. ครับ

อ้อ เพิ่มเติมเล็กน้อยครับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรด HCl ท่านลองดูตามlink นี้นะครับ
http://www.jsia.gr.jp/data/handling_02e.pdf

และขอบคุณสำหรับการนำเสนอClip ที่น่าสนใจครับ ดีครับ ถือว่าเป็นการแบ่งปันความรู้กันครับ

ขอแสดงความนับถือ
Prasit

โดย:  Prasit  [17 ต.ค. 2557 11:31]
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

ขอบพระคุณท่าน
    Prasit
www.researchgate.net เป็นเวป ที่ดีจังครับ ผมพยาบาท ใช้ กลูเกิ้นแปลภาษาอยู่  เป็นการพยายาม มากที่สุดเลยครับ



โดย:  ซูโม่สำออย  [19 ต.ค. 2557 07:44]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้