สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ขอความรู้ การตกตะกอนโลหะหนักในน้ำ เช่น ตะกั่ว

ผมมือใหม่ล่าทองจากขยะ ผมมีน้ำกรด จากการ สกัดทอง แต่ผมเอาทองออกมาเป็นอย่างเดียว  ในน้ำกรดนั้น ยังมี โลหะอื่นอีกซึ่งอันตรายกับสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่กล้าทิ้งลง ท่อระบายน้ำ
คำถาม
ข้อ 1 จะสามารถตกตะกอน แร่ตะกั่ว ในกรด ด้วยเคมีใด หรือ ใช้วิธี แทนที่เหล็ก ต้องใช้แร่ใด
ข้อ.2 จะสามารถ เตกตะกอน แร่ทองแดง ในกรด ด้วยเคมีใด หรือ ใช้วิธี แทนที่เหล็ก ต้องใช้แร่ใด
ข้อ.3 จะสามารถ ตกตะกอน แร่เงิน ในกรด ด้วยเคมีใด หรือ ใช้วิธี แทนที่เหล็ก ต้องใช้แร่ใด

..                                                                    ขอบพระคุณครับอย่างสูง
                                                                              ซูโม่สำออย

โดย:  ซูโม่สำออย   [15 พ.ย. 2557 09:20]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กระบวนการผลิตและการใช้ประโยชน์  /  การวิเคราะห์ ทดสอบ  /  อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เรียน คุณซูโม่ฯ

สวัสดีครับ คุณซูโม่ฯ ผมเห็นความตั้งใจจริงของท่านและความมุ่งมั่นในการ"คิดดี ทำดี" ซึ่งผมขอสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งครับ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ท่านต้องทำนั้นจำเป็นต้องใช้พื้นความรู้ทางเคมี"ที่ถูกต้อง"พอสมควรเลยนะครับ ท่านอาจหาความรู้ในเชิงปฏิบัติจากผู้ประกอบการประเภทนี้ในรายอื่นๆได้มากมาย แต่ ท่านจำเป็นต้องทราบอย่างแท้จริงว่า ข้อเท็จจริงนั้นคืออะไรด้วยนะครับ

ในเบื้องต้น ผมพอจะแนะนำได้ว่า ท่านสามารถหาข้อมูลทางinternet ได้ และท่านก็ต้องมาประกอบกับความรู้อื่นๆที่ท่านค้นคว้ามาได้ด้วยนะครับ

ผมขอเสนอข้อมูลเบื้องต้นบางส่วนให้ท่านไว้ศึกษา และพิจารณาด้วยนะครับ ท่านจะได้เข้าใจได้มากขึ้น (แต่ ขออภัยด้วยนะครับที่เป็นข้อมูลภาษาอังกฤษนะครับ)
http://cpe.njit.edu/dlnotes/CHE685/Cls06-2.pdf

ลองพิจารณาดูนะครับ และขอให้ประสบความสำเร็จนะครับ

ขอแสดงความนับถือ
Prasit

โดย:  Prasit  [17 พ.ย. 2557 10:14]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

เรียนท่าน  Prasit  
ผมใช้ H2O2+HCI ปริมาณ 200ml และผสมน้ำ 100ml ผมได้ นำ NaOH เติมลงไป 40 mg ได้พบปัญหา เพิ่ม ในการ ตกตะกอน คือ ไม่ทราบว่า ตะกอนที่ตกมา คือธาตุอะไรบ้าง ตะกอนเรียงเป็นชั้นๆ(ตะกอนที่แห้งแล้ว) มีน้ำตาล - เขียวแก่-เขียวอ่อน น้ำเงินฟ้า น้ำกรดยังเป็นสีเขียวอ่อน ผมได้นำ  Na2S2O5  เติมลงไป 20 mg ได้ตะกอน สีเขียวอ่อนเกือบจะขาว และที่สำคัญ น้ำเป็นสีใส(เก่งจังทำน้ำสีใสได้ พร้อม เทลงต้นไม้ หรือ ท่อน้ำ)  
คำถามคือ
ข้อ1 ตะกอนสีเขียวแก่ คือธาตุอะไร
ข้อ 2 ตะกอนสีเขียวอ่อเกือบขาว คือธาตุอะไร
ข้อ3 ตะกอนน้ำเงินฟ้า คือธาตุอะไร
(ชิ้นงานที่ผมใช้คือ แผงวงจร อิเล็ก ซึ่งมี ธาตุ เงิน ทองแดง ตะกั่ว นิเกิล เหล็ก ทอง)
                                                                  แสดงความขอบพระคุณอย่างสูง
                                                                                  ซูโม่สำออย

โดย:  ซูโม่สำออย  [19 พ.ย. 2557 09:06]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

เรียน คุณซูโม่ฯ

น่าสนใจมากครับ

ผมเองก็เรื้อ Analytical Lab. มามากกว่า30ปีแล้ว แต่ผมจะหาคำตอบให้นะครับ (ขอโทษครับ ตอนนี้ไม่สะดวกเลยจริงๆ)

ขอแสดงความนับถือ
Prasit

โดย:  Prasit  [19 พ.ย. 2557 10:08]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :4

ลองเติม เกลือ NaCl ไปทำปฏิกิริยาดูครับ โดยปกติเกลือของ Ag และ Pb จะไม่ละลายน้ำ ได้เป็นตะกอนสีขาว ส่วนปริมาณ NaCl ที่เหมาะสมอาจต้องทำการทดลองศึกษาดูครับ

โดย:  บุณยฤทธิ์ ปัญญาภิญโญผล  [20 พ.ย. 2557 13:14]
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

เรียน คุณซูโม่ฯ

ขอโทษด้วยครับ ผมก็ยังคงไม่มีเวลาพอที่จะค้นข้อมูลโดยตรงให้คุณซูโม่ฯ เอาเป็นว่าผมแนะแนวทางให้คุณซูโม่ฯลองค้นเพิ่มเติมดูนะครับ

1. คำถามแรก ที่ถามเกี่ยวกับการตกตะกอนของอิออนของโลหะบางชนิด เช่น ตะกั่ว เงิน ทองแดง ฯลฯ นั้น คุณซูโม่ฯต้องดูว่า อิออนของโลหะเหล่านั้นสามารถตกตะกอนเมื่อจับกับประจุลบกลุ่มไหน หรือ ดูค่าการละลาย(ในน้ำ)ของเกลือของโลหะเหล่านั้น ว่าเป็นอย่างไร และที่สภาวะความเป็นกรด-ด่างเท่าไร
จากข้อมูลดังกล่าว จะทำให้คุณซูโม่ฯพอทราบได้ว่าต้องเติมอะไรลงไปเพิ่ม และต้องปรับสภาวะกรด-ด่าง เท่าไร ดังตัวอย่างเช่นที่ท่านบุณยฤทธิ์เสนอแนะไว้ คือ เกลือ Chloride ของเงิน(Ag) และตะกั่ว(Pb) จะเป็นตะกอนสีขาว ที่ไม่ละลายน้ำ ดังนั้น ถ้าคุณซูโม่ฯเติม Chloride ion ลงไป เงินและตะกั่ว ก็จะตกตะกอนลงมา แต่นิเกิลจะยังไม่ตกตะกอน เนื่องจาก Nickel Choride สามารถละลายน้ำได้(ในสภาวะของกรด HCl) เป็นต้น

แต่ อย่างไรก็ตาม ปฏิกริยาเคมีนั้น มันไม่ได้เลือกว่าจะต้องเกิดกับเฉพาะ ion ที่เราต้องการอย่างเดียว มันยังทำหน้าที่ของมันอย่างซื่อสัตย์ ในการที่จะไปเกิดปฏิกริยากับสารอื่นๆที่พร้อมจะทำปฏิกริยากันได้เสมอด้วย และผลลัพธ์ของมัน อาจเกินคาดก็ได้ ซึ่งกรณีนี้ คุณซูโม่ฯอาจได้รับอันตรายจาก by product ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ เช่น เกิดแก๊สคลอรีน แก๊สไซยาไนด์ ความร้อน การระเบิด เกิดสารพิษ เกิดสารก่อมะเร็ง ฯลฯ (ผมเชื่อว่า ชีวิตและสุขภาพของคุณซูโม่ฯ มีค่ามากกว่าทองหรือโลหะอื่นๆที่พยายามแยกออกมาอย่างแน่นอน) ดังนั้น พึงระมัดระวังให้มาก เตรียมความพร้อม และป้องกันให้ดี รวมถึงป้องกันการรั่วไหล อันอาจนำภัยไปสู่คนอื่น(หรือคนที่ท่านรักก็ได้) การศึกษาหาความรู้ให้แน่ชัดก่อนจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งนะครับ

2. คำถามเกี่ยวกับสารที่ตกตะกอนลงมา ซึ่งมีสีต่างๆกันนั้น มันก็คือเกลือของโลหะที่คุณซูโม่ฯแยกออกมาด้วยวิธีทางเคมีนั่นแหละครับ แต่ว่าเป็นเกลืออะไรนั้นคุณซูโม่ฯก็ใช้ technic เดียวกับข้อ1ข้างต้น แล้วก็พอจะอนุมานได้ว่ามันคือเกลืออะไรได้ครับ

3. เมื่อคุณซูโม่ฯ ทำการตกตะกอน ion อื่นๆออกแล้ว แล้วทำการตกตะกอนสารที่เหลือ ด้วยสารเคมีชนิดอื่น สุดท้าย ก็อาจทำการแยกion โลหะออกได้หมดแล้ว สารละลายสุดท้ายที่ไม่มีion เหลือ จึงใสครับ
อย่างไรก็ตาม น้ำใสๆนั้น ไม่ได้หมายความว่าไม่มีionใดๆ หรือ สารพิษใดๆหลงเหลืออยู่นะครับ เทใส่ต้นไม้ ต้นไม้อาจไม่ตายในทันที แต่อาจค่อยๆตาย(หรืองอกงาม)ก็ได้ เทลงท่อ อาจโดนจับในวันหน้าก็ได้ ถ้าน้ำที่ทิ้งมีค่าปนเปื้อนต่างๆ เกินค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง (แต่...ไม่รู้จะยาก/ง่ายขนาดไหนนะครับ ที่จะโดนจับ มันมีประเด็นอื่นๆอีกเยอะครับ)

ก็ ขอสรุปไว้เท่านี้ก่อนนะครับ ผมหวังว่าคุณซูโม่ฯ จะดำเนินการด้วยความรอบครอบ และมีความรับผิดชอบนะครับ

ขอแสดงความนับถือ
Prasit


โดย:  Prasit  [21 พ.ย. 2557 11:07]
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

ขอบพระคุณท่าน บุณยฤทธิ์ และ ท่าน Prasit สำหรับความรู้

เรียนท่าน Prasit
เป็นประโยช์น มหาศาล ที่ได้ท่านมาชี้แนะความรู้เคมี และ ความปลอดภัย และเพื่อสิ่งแวดล้อม
ตะกอนเกลือ ที่ผมได้มาจากกรด นำไปตากแดด จนของเหลวระเหยหมด(ผมทิ้งไว้ 3วันแล้ว) ตะกอนสีจะจางลงไปมาก
เลขไอออน ผมไม่สามารถค้นพบได้ด้วยตัวเอง ที่ปรากฎ ในตารางฐานนั้น มีแต่เลขอะตอม และ Oxidation Number ซึ่ง เลขออกซิเดชั่นนัมเบอร์นั้น บางธาตุ มีเครื่องหมาย บวกและลบ ในตารางเดียวกัน ผมจึงไม่แน่ใจ ว่าธาตุใด เป็น บวก หรือเป็นลบ
ผมพบความรู้ที่อ่านในเนต คือ การแลกเปลี่ยนโลหะ หมายถึง การที่โลหะตัวหนึ่งเสียอิเลกตรอนให้กับโลหะอีกตัวหนึ่ง
ที่มีค่าอิเลกตรอนที่สูงกว่า และโลหะที่สูญเสียอิเลกตรอน จะเกิดการผุกร่อนลงไป
และโลหะที่มีค่าอิเลกตรอนสูงกว่าจะมาแทนที่ในส่วนที่ผุกร้อนลงไป
ยกตัวอย่างเช่น การจับทองแดงที่เป็นของเหลวด้วยเหล็ก เหล็กมีค่าอีเลกตรอนน้อยกว่าทองแดง จึงถูกทองแดงมาเกาะ
ท่าอยากรู้อะไรต่ำกว่าอะไร ดูได้ที่หมายเลขอะตอมจากตารางธาตุ
(อิเล็กตรอน จะมีค่าเป็น2เท่า ของเลขอะตอม ผมกำลังจำแบบนี้)
แต่ยังไม่ทราบ สูตร คำนวญ หา ไอออน ของธาตุ (เคยไปอ่นในตำราชั้นม.5 ก็ยังไม่เข้าใจ)
(น้ำใสๆ ผมยังไม่ได้เททิ้งทั้งหมด ได้ลองเอาล้างห้องน้ำ สามารถกัดคราบดำๆ ได้อย่างดี ... และยังเหลือเหลืออีก 200 ml จะลองแช่ ชิ้นงานอีกครั้ง)  
...จึงเรียนให้ท่าน Prasit ทราบถึงผลงานปัจจุบัน
                                                                            ด้วยความเคารพอย่างสูง
                                                                                     ซูโม่สำออย

โดย:  ซูโม่สำออย  [11 ธ.ค. 2557 21:50]
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

เรียน คุณซูโม่ฯ

การจะพิจารณารายละเอียดตามที่คุณซูโม่ฯกล่าวมานั้น ค่อนข้างใช้ความรู้ทางเคมีที่ลึกขึ้นอีก

ในฐานะที่คุณซูโม่ฯเองอาจสนใจในเชิงการพานิชย์มากกว่าเชิงวิชาการ ผมก็อยากเสนอแนะให้คุณซูโม่ฯลองๆดูใน Link นี้นะครับ ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อคุณซูโม่ฯนะครับ
http://www2.diw.go.th/I_Standard/Web/pane_files/Industry26.asp

ขอให้ประสบความสำเร็จนะครับ
Prasit

โดย:  Prasit  [15 ธ.ค. 2557 13:37]
ข้อคิดเห็นที่ 7:8

ผมอยากเรียนถามว่าผมสั่งซื้อกรดลอกทองมาโดยมาผสมกับโปแตสเซียมไซยา น้ำ 1 ลิตร กรดลอกทอง 10  กรัม โปรแตสเซียมไซยาไนเป็นที่เรียบร้อยแล้วการตกตะกอนใช้สารประกอบซัลไฟล์ตกใช่ไหมเขาบแกว่าใช่ผมเลยใช่สารดังกล่าวผสมลงไปผลปรากฏว่ามันไม่ใช่กลายเป็นนำ้สีส้มตอนนัเผมจะเอาสารละละทองกลับได้อน่างไรครับเพราะคนขายเคมีกลดลอกทองไม่ยอมบอกเขาให้ไปเรียนเสียเงินเยอะมากครับ

โดย:  จีระพัฒน์ พูลละผลิน  [8 พ.ค. 2560 18:06]
ข้อคิดเห็นที่ 8:9

อยากทราบว่าลอกทองด้วยกรอบกองแก้วใช้เคมีอะไร ที่ทำให้ทองตกตะกอนได้ครับ. ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ. ขอให้รวยๆๆครับ

โดย:  แดง  [7 ส.ค. 2560 19:02]
ข้อคิดเห็นที่ 9:11

อยากทราบในกรณีเดียวกับความเห็นที่7เลยครับผสมกรดลิกทองผสมกับโปรเตสเซี่อมไซยาไนผสมลงไปแล้วไม่ใช่อะครับกรณีเดียวกันเลยคับอยากทราบว่าที่จริงแล้วต้องใช้สารอะไรหรอครับรบกวนผู้รู้หน่อยนะครับขอบคุนมากๆคับ

โดย:  อิม  [19 พ.ค. 2561 04:35]
ข้อคิดเห็นที่ 10:12

1.ถ้าคุณทำทองผสมกรดไนตริก+ไฮโดคลอริก สกัดทองออกแล้ว
2.น้ำที่เหลือเป็นสีเขียว มีความเป็นกรดที่ละลายโลหะอื่นๆ
3.เติมโซดาแอด (ด่างแก่)ลงไปในน้ำสีเขียวนั้น
4.กรด+ด่าง น้ำจะเป็นกลาง เติมจนกว่าน้ำสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
5.กรองผงโลหะสีน้ำตาลออก
หมายเหตุ ผมเคยทำครับ  

โดย:  อรัญ  [6 ก.ย. 2562 23:30]
ข้อคิดเห็นที่ 11:13

ขอทราบตามหัวข้อที่7ด้วยครับ

โดย:  มือใหม่  [10 มี.ค. 2563 12:00]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้