สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การคำวณค่าความถ่วงจำเพาะของกรดซัลฟิวริก 70%

เจือจางกรดซัลฟิวริก 98% เป็นสารละลายกรดซัลฟิลริกความเข้มข้น 70% และ 50%
 อยากทราบวิธีคำนวณหาค่าความหนาแน่นและค่าความถ่วงจำเพาะของสารละลายทั้งสองความเข้มข้นค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดย:  ananda   [22 ม.ค. 2558 17:25]
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เรียน คุณananda,

ความหนาแน่นของของผสม = ผลรวมของน้ำหนักของสารแต่ละชนิดที่มาผสมกัน / ผลรวมของปริมาตรของสารแต่ละชนิดที่มาผสมกัน

ความถ่วงจำเพาะของของผสม = ความหนาแน่นของของผสม / ความหนาแน่นของน้ำ โดยต้องกำนดด้วยว่าพิจารณาที่อุณหภูมิเท่าไร (ความหนาแน่นของน้ำจะเปลี่ยนเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนครับ)

Prasit

โดย:  Prasit  [23 ม.ค. 2558 10:30]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

density of sulfuric acid solutions

-->  search in google.com  -->  

http://wissen.science-and-fun.de/chemistry/chemistry/density-tables/density-of-sulfuric-acid-and-sulfur-trioxide/

โดย:  evolution  [23 ม.ค. 2558 17:50]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ไม่มีวิธีคำนวณ  
เพราะเมื่อนำกรดซัลฟิวริกเข้มข้นมาเจือจางโดยผสมกับน้ำ
ปริมาตรรวมจะเปลี่ยน
ไม่เท่ากับ ( ปริมาตรกรดเข้มข้น + ปริมาตรน้ำที่ใช้เจือจาง )
และไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆที่จะช่วยคำนวณว่า ปริมาตรรวมจะเปลี่ยนแปลงเท่าไร

โดย:  Munsai  [23 ม.ค. 2558 17:56]
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

น่าสนใจมากครับ ผมก็เข้าใจว่าปริมาตรรวมน่าจะเท่ากับปริมาตรของสารตั้งต้นมารวมกันครับ

ขอความกรุณาจากคุณ Munsai ช่วยชี้แนะหน่อยครับว่าผมจะหาReferenceเรื่องนี้ได้จากที่ไหนครับ

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

โดย:  Prasit  [23 ม.ค. 2558 18:30]
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

ขอบคุณทุกความคิดเห็นนะค่ะ
แสดงว่าไม่มีวิธีคำนวณหรอค่ะ

โดย:  ananda  [26 ม.ค. 2558 13:53]
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

จากข้อคิดเห็นที่2 ของคุณevolution ที่ได้แนะนำ link http://wissen.science-and-fun.de/chemistry/chemistry/density-tables/density-of-sulfuric-acid-and-sulfur-trioxide/ นั้น

ผมลองเข้าไปดูแล้ว และสังเกตุเห็นว่า ค่าความหนาแน่ของ Sulfuric acid ไล่ตั้งแต่1% ถึง 100%

ผมสงสัยว่า
1. เราสามารถผลิตกรดนี้ให้เข้มข้น 100% ได้เลยหรือ
2. การวัดค่าตั้งแต่ 1-100% นั้น (โดยเพิ่มค่าทีละ1%) จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติหรือครับ
3. ถ้าข้อ2 เป็นไปไม่ได้ นั่นหมายถึงค่าความหนาแน่นที่รายงานมานั้น เป็นค่าที่ไม่ได้เกิดจากการวัดค่าจริง หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นค่าที่เกิดจากการคำนวณ

ผมก็เลยไม่แน่ใจแล้วว่า ตรรกะ3ข้อนี้ ใช้ได้หรือไม่ เป็นจริงหรือไม่ครับ

รบกวนทุกท่าน กรุณาช่วยผมด้วยครับ อยากทราบจริงๆว่าความจริงคืออะไร

ขอแสดงความนับถือ
Prasit

โดย:  Prasit  [26 ม.ค. 2558 15:20]
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

จากข้อคิดเห็นข้อ 2 เช่นกันค่ะ ลองคำนวณจากความเข้มข้น70% และจากเนื้อสารที่มีในสารละลายดูแล้ว ปรากฏว่าค่าความหน้าแน่นไม่เป็นดังตารางเลยค่ะ ลองที่ความเข้มข้นต่างๆ ก็เช่นกันค่ะ ขอรบกวนท่านผู้ที่มีความรู้ทางด้านนี้อธิบายด้วยนะค่ะ
   ขอแสดงความนับถือ
         ananda

โดย:  ananda  [26 ม.ค. 2558 16:29]
ข้อคิดเห็นที่ 8:8

70 % w/w Sulfuric acid  หมายความว่า

ใน สารละลายกรด 100 g  มี  H2SO4  70 g  

หรือ พูดกลับกัน ว่า        มี H2SO4  70 กรัม  ใน  สารละลายกรด  100  กรัม

ถ้า ดู ตาม ตาราง  ( ซึ่ง เขา ทำมาให้ดู และ ใช้ประโยชน์ได้เลย -- ไม่ต้องไปคำนวณอะไรอีกแล้ว )

สารละลายกรดซัลฟิวริก ซึ่งมี H2SO4  70 %  โดยน้ำหนัก  ( 70 % w/w )

จะ มี  ความหนาแน่น 1.6105 กรัม ต่อ มิลลิลิตร

และ มี ปริมาณ H2SO4  1127 กรัม ต่อ ลิตร    

คิดเป็น ความเข้มข้น ของ  H2SO4  11.49 โมล ต่อ ลิตร

ข้อมูลในตาราง เป็นข้อมูลจาก ของจริง  

เช่น นำ สารละลาย 70 % w/w Sulfuric acid ไปหาค่า ความหนาแน่น  ได้ค่า  1.6105 กรัม ต่อ มิลลิลิตร  ก็เอามาใส่ใน ตาราง

ข้าพเจ้า ไม่เห็นว่า ต้องอธิบายอะไรอีก หรือต้องไปคำนวณอะไรอีก  

แต่ ถ้ายังอยากให้ตอบ มากกว่านี้  
ก็จะตอบว่า  วิธีคำนวณ ของ  ananda ผิด  และ/หรือ  ข้อมูลที่ ananda นำไปคำนวณ ผิด


ความเข้มข้น ของ  70 % H2SO4  =  ( 70 กรัม  ต่อ  100 กรัม )  x  ( 1000 มิลลิลิตร  ต่อ  1 ลิตร )  x  ( 1.6105 กรัม  ต่อ  1 มิลลิลิตร )  /  ( 98.08 กรัม  ของ  H2SO4  ต่อ  1 โมล  ของ  H2SO4 )  

=  ( 70 / 100 )  x  ( 1000 / 1 )  x  ( 1.6105 / 1 )  /  ( 98.08 / 1 )  

=  ( 70 / 100 )  x  ( 1000 / 1 )  x  ( 1.6105 / 1 )  x  ( 1 / 98.08 )

=  11.4942  โมล ของ H2SO4  ต่อ  1 ลิตร ของ สารละลายกรด

โดย:  evolution  [27 ม.ค. 2558 22:37]
ข้อคิดเห็นที่ 9:9

ความเข้มข้น ของ  50 % H2SO4  =  ( 50 กรัม  ต่อ  100 กรัม )  x  ( 1000 มิลลิลิตร  ต่อ  1 ลิตร )  x  ( 1.3951 กรัม  ต่อ  1 มิลลิลิตร )  /  ( 98.08 กรัม  ของ  H2SO4  ต่อ  1 โมล  ของ  H2SO4 )  

=  ( 50 / 100 )  x  ( 1000 / 1 )  x  ( 1.3951 / 1 )  /  ( 98.08 / 1 )  

=  ( 50 / 100 )  x  ( 1000 / 1 )  x  ( 1.3951 / 1 )  x  ( 1 / 98.08 )

=  7.1121  โมล ของ H2SO4  ต่อ  1 ลิตร ของ สารละลายกรด

โดย:  evolution  [27 ม.ค. 2558 22:40]
ข้อคิดเห็นที่ 10:10

http://www.authorstream.com/Presentation/capteisha-1385140-presentation-sulphuric-acid/


โดย:  evolution  [28 ม.ค. 2558 18:25]
ข้อคิดเห็นที่ 11:11

http://www.infoplease.com/encyclopedia/science/sulfuric-acid-production-sulfuric-acid.html

โดย:  evolution  [28 ม.ค. 2558 18:36]
ข้อคิดเห็นที่ 12:12

( คำถาม )  
ผมสงสัยว่า
1. เราสามารถผลิตกรดนี้ให้เข้มข้น 100% ได้เลยหรือ
2. การวัดค่าตั้งแต่ 1-100% นั้น (โดยเพิ่มค่าทีละ1%) จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติหรือครับ
3. ถ้าข้อ2 เป็นไปไม่ได้ นั่นหมายถึงค่าความหนาแน่นที่รายงานมานั้น เป็นค่าที่ไม่ได้เกิดจากการวัดค่าจริง หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นค่าที่เกิดจากการคำนวณ

ผมก็เลยไม่แน่ใจแล้วว่า ตรรกะ3ข้อนี้ ใช้ได้หรือไม่ เป็นจริงหรือไม่ครับ

รบกวนทุกท่าน กรุณาช่วยผมด้วยครับ อยากทราบจริงๆว่าความจริงคืออะไร


(( คำตอบ ))

1. สามารถ ผลิต กรดซัลฟิวริก ให้เข้มข้น 100 % ได้  ( 100 % H2SO4 ) หรือ  ต้องการ มากกว่า  100 % ก็ยังได้  ( คือ เป็นสารละลาย ของ SO3 ใน H2SO4  โดยไม่มี น้ำ ปน อยู่เลย -- เรียกสารนี้ว่า Fuming Sulfuric acid หรือ Oleum

2. ถ้าต้องการวัด ค่าความหนาแน่น ของ กรด ตั้งแต่ 1 % จนถึง 100 %  อาจมีทั้งใครที่พยายามเตรียมสารละลายกรด โดยเพิ่มค่ากรด ทีละ 1 % ( ซึ่งจะยุ่งยากมาก เสียเวลามาก -- แต่ก็ยังทำได้ ) และ ใครที่เตรียมสารละลายกรดมา 100 ตัวอย่าง ( โดยมีค่า % H2SO4 ตั้งแต่ 1 2 3 .. .. .. ไปจนถึง 100 )  และ หรือ คนที่ใช้ทั้ง 2 วิธี ผสมผสานกัน ( เช่น เตรียมเป็น 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 -- รวม 10 ตัวอย่าง -- วัดความหนาแน่นแล้ว ก็นำแต่ละตัวอย่าง มาปรับลด % กรด ทีละ 1 % -- เช่น จาก 70 เป็น 69 69 67 66 65 64 63 62 61 )

3. ถ้า ข้อ 2 เป็นไปได้ ( หรือมีวิธีอื่นๆในการหาข้อมูลจริงมาได้ -- ซึ่งก็มีมานานนับหลายร้อยปีมาแล้ว ) นั่นหมายถึง ค่าความหนาแน่นที่ ใครต่อใคร รายงานมานั้น เป็นค่าที่ได้ จาก การวัดค่าจริง  (( หรือ อีกนัยหนึ่งคือ ไม่ใช่ ค่าที่เกิดจากการคำนวณ ))

โดย:  Munsai  [28 ม.ค. 2558 19:00]
ข้อคิดเห็นที่ 13:13

ตัวอย่าง  

เรา สามารถ คำนวณ ว่า  จะ นำ สารละลายกรด H2SO4  80 % ( w/w )  เท่าไร  มา เจือจาง เป็น สารละลายกรด H2SO4  50 % ( w/w )  

นำ สารละลายกรด H2SO4  80 % ( w/w )  มา
[ 50 x ( 100 / 80 ) กรัม ]   --  [ ซึ่งก็คือ 62.5 กรัม ]  
มาเติม  น้ำ  อีก  37.5  กรัม
ก็จะได้  สารละลายกรด H2SO4  50 % ( w/w )

แต่ เราจะไม่สามารถ คำนวณ ความหนาแน่นได้ เพราะ เราไม่รู้ว่า
สารละลายกรด H2SO4  80 % ( w/w )  62.5 กรัม  กับ  น้ำ  37.5  กรัม  เมื่อรวมกันแล้ว ปริมาตรรวม จะกลายเป็น กี่ มิลลิลิตร

โดย:  Munsai  [28 ม.ค. 2558 19:16]
ข้อคิดเห็นที่ 14:14

ดังนั้น เมื่อ เจือจาง ( ผสม ) เสร็จแล้ว และ สารละลาย มี อุณหภูมิ ตามต้องการแล้ว  มา ( วัด / หา ) ค่าความหนาแน่น จะตรงไปตรงมา กว่า

โดย:  Munsai  [28 ม.ค. 2558 19:20]
ข้อคิดเห็นที่ 15:15

ขอขอบคุณทุกความคอดเห็นนะค่ะ


โดย:  ananda  [29 ม.ค. 2558 09:21]
ข้อคิดเห็นที่ 16:16

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของคุณMunsai และการแบ่งปันข้อมูลของคุณevolution ครับ

โดย:  Prasit  [29 ม.ค. 2558 11:40]
ข้อคิดเห็นที่ 17:17

เป็นถาม-ตอบที่สนุกมากค่ะ

โดย:  moosan  [2 ก.พ. 2558 09:38]
ข้อคิดเห็นที่ 18:18

ดีครับ

ขอให้เป็นการถามตอบที่ท่านอื่นๆได้รับประโยชน์ด้วย ผมก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

ขอแสดงความนับถือ

Prasit

โดย:  Prasit  [2 ก.พ. 2558 10:35]
ข้อคิดเห็นที่ 19:19

 p = M/V

p = density of the Solution.
M = Mass of Molcular Solution = Molarity (gram).
V = Volume of the Mass.
It was very an Easy.

โดย:  Engineer  [31 พ.ค. 2558 18:37]
ข้อคิดเห็นที่ 20:20

ผมสงสัยว่าคำว่าสารละลายใน้ำหมายถึง​สารนี้เมือผสมนำ้แล้วตัวสารที่เป็นกรดก็จะเจือจางหรือถูกทำลายใช่หรือไม่หรือยังคงสภาพความเป็นกรด

โดย:  สุรศักดิ์​  [17 มี.ค. 2563 16:51]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้