สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

สอบถามข้อมูลการจัดเก็บสารเคมี

เรียน

ดิฉันมีความสงสัยเรื่องการจัดเก็บสารเคมีค่ะ สมมุติว่าดิฉันมี nitric acid 65% ซึ่งมีสัญลักษณ์อันตราย คือ มีคุณสมบัติกัดกร่อน และไวไฟด้วย  (แต่สัญลักษณ์ไวไฟขึ้นก่อน กัดกร่อน)
จะจัดเก็บยังไงคะ เนื่องจากดิฉันมีตู้เก็บสารเคมีแยกกัน คือ ตู้เก็บสารเคมีประเภทกัดกร่อน และตู้เก็บสารคมีประเภทไวไฟ จึงสับสนว่าควรเก็บตู้ไหน
และถ้ามีสัญลักษณ์หลายอย่างอยู่บนฉลาก  ควรดูยังไงคะ ว่าคุณสมบัติไหนอันตรายที่สุด และจัดเก็บยังไงคะ


โดย:  ปภาวรินญ์   [12 เม.ย. 2559 09:47]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การจัดการความปลอดภัย  /  การตอบโต้เหตุฉุกเฉิน  /  สารเคมีในสถานประกอบการและความปลอดภัยในการทำงาน
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

nitric acid 65 % ควรมีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายเป็นสารออกซิไดซ์ (รูปเปลวไฟบนวงกลม) และสารกัดกร่อน ในการเก็บรักษาจะให้ความสำคัญกับสมบัติพวกระเบิดได้ ไวไฟ ออกซิไดซ์ก่อนกัดกร่อน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://eis.diw.go.th/haz/hazard/pdf/pagad-kep-2550.pdf

สำหรับข้อมูลในฐาน chembase ที่แสดงรายละเอียดของ nitric acid ที่หน้า http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=01425&NAME=Nitric%20acid%20%3E15%%20w/w มีแสดงข้อมูลประเภทการจัดเก็บด้วย ซึ่งประเภทการจัดเก็บจะขึ้นกับสมบัติของสารด้วย ประเภทที่แสดงในหน้าเว็บเป็นการแสดงประเภทการจัดเก็บที่เน้นในเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ จึงแสดงประเภทจัดเก็บที่เข้าข่ายที่เข้มงวดที่สุดค่ะ


โดย:  ทีมงาน chemtrack  [12 เม.ย. 2559 10:36]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

1. สารนี้ไม่ใช่สารไวไฟครับ เป็นสารกัดกร่อน และสารออกซิไดซ์ โดยมีความสามารถในการกัดกร่อนเป็นอันตรายหลัก และความสามารถออกซิไดซ์เป็นอันตรายรอง
2. เวลาจัดเก็บจะต้องพิจารณาทั้ง 2 ความเป็นอันตรายครับ
- การกัดกร่อน ให้เก็บในตู้ที่เหมาะกับสารกัดกร่อน
- ออกซิไดซ์ ห้ามเก็บกับสารไวไฟและสารติดไฟได้ทุกประเภท รวมถึงวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ติดไฟได้ง่ายเช่น กระดาษ เป็นต้น
3. ตามตารางของกรมโรงงานจะเก็บร่วมกับสารที่ไม่อันตรายได้เท่านั้น (และไม่ไวไฟหรือติดไฟได้) หรือเต็มที่สามารถเก็บร่วมกันกับสารกัดกร่อนหรือสารออกซิไดซ์ร่วมกันได้ครับ

โดยรวมๆประมาณนี้ครับ


โดย:  เฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์  [12 เม.ย. 2559 12:00]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

และขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ Glacial Acetic acid มีสัญลักษณ์อันตราย คือ มีคุณสมบัติกัดกร่อน และไวไฟด้วย
อย่างนี้ ควรจัดเก็บที่ตู้เก็บสารเคมีประเภทไวไฟ ใช่หรือเปล่าคะ เนื่องจากจะให้ความสำคัญกับสมบัติพวกไวไฟก่อน

โดย:  ปภาวรินญ์  [12 เม.ย. 2559 15:09]
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

Acetic acid, glacial ตามระบบการขนส่งเป็น Class 8 (3) PG II ในระบบการขนส่งให้ความสำคัญด้านการกัดกร่อนเป็นอันตรายหลัก และ ไวไฟเป็นอันตรายรอง แต่ในด้านการจัดเก็บตามกรมโรงงานอุตสาหกรรมสารนี้จะจัดเป็นประเภท 3A เนื่องจากมีจุดวาบไฟที่ 40 c ดังนั้นตามระบบการจัดเก็บจะให้ความสำคัญกับความสามารถในการไวไฟ หรือติดไฟได้ก่อนการกัดกร่อนครับ  สรุปจัดเก็บในตู้เก็บสารเคมีประเภทไวไฟครับ

โดย:  เฉลิมศักดิ กาญจนวรินทร์  [18 เม.ย. 2559 10:33]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้