สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

พอดีไปขอจดเลขจดแจ้งที่ อย.มาแต่ไม่ผ่านเพราะใช้ N70เค้าบอกเปนวัตถุอันตรายประเภทที่1ทาง อย.เค้าบอกว่าให้เลี่ยงไปใช้สารตัวอื่นแทนอยากทราบว่าต้องใช้สารเคมีตัวไหนแทนคับ จดแชมพูล้างรถคับ

ทางเราไปขอเลขจดแจ้งมาทาง อย. บอกว่า N70 เปนวัตถุอันตรายแระเภทที่1 ต้องมีที่จัดเก็บที่ดีไม่งั้นไม่ผ่านและต้องรอระยะเวลาตรวจสอบประมาณ1 ปีทาง อย.แจ้งว่าถ้าไม่อยากรอนานให้ใช้สารเคมีตัวอื่นแทนแต่ไม่ได้บอกว่าตัวไหนเค้าบอกว่าเอาตัวที่ไม่เข้าข่ายวัตถุอันตรายอยากทราบว่าจะใช้สารเคมีตัวไหนแทนได้บ้างคับ

โดย:  ATOM   [2 พ.ค. 2560 15:28]
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

สำหรับประกาศวัตถุอันตรายที่ อย. ดูแล มีการประกาศควบคุมสารกลุ่มสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ไว้ 4 รายการในบัญชี 4.2 ลำดับที่

15 สารลดแรงตึงผิวชนิดที่มีทั้งประจุบวกและประจุลบ (amphoteric surfactants) เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขเพื่อประโยชน์แก่การฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่นๆ หรือการแก้ไขการอุดตันของท่อหรือทางระบายสิ่งปฏิกูล

16 สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactants) เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์แก่การทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์และวัสดุอื่นๆ หรือการแก้ไขการอุดตันของท่อหรือทางระบายสิ่งปฏิกูล ยกเว้นผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก

17 สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวก (cationic surfactants) เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขเพื่อประโยชน์แก่การฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่นๆ หรือการแก้ไขการอุดตันของท่อหรือทางระบายสิ่งปฏิกูล

18 สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ ยกเว้นสารกลุ่มโนนิลฟีนอลเอทอกซีเลต (nonionic surfactants ยกเว้น nonylphenol ethoxylate) เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์แก่การทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่นๆ หรือการแก้ไขการอุดตันของท่อหรือทางระบายสิ่งปฏิกูลยกเว้นผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก

จะเห็นว่า อย. ประกาศเป็นกลุ่มสารหมายความว่าสารในกลุ่มเหล่านี้ทุกตัวจะถูกคุมด้วยทั้งหมด ซึ่ง N70 หรือ Sodium Lauryl Ether Sulfate เป็น สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactants) จึงถูกคุมเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ในกรณีจะเปลี่ยนสารถ้าต้องใช้สารในกลุ่มสารลดแรงตึงผิวอยู่ อย่างไรก็จะเป็นวัตถุอันตราย ดังนั้นน่าจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดค่ะ

โดย:  วลัยพร  [3 พ.ค. 2560 10:43]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

อยากขอใบอนุญาติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลรถยนต์ ต้องทำอย่างไรบ้างครับ อยากทราบข้อมูล

โดย:  อานุภาพ  [16 ต.ค. 2563 09:45]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้