สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

หลักการทำ Blank

หลักการทำก็คือทำทุกขั้นตอนตามวิธีหรือ method ที่ให้มาแต่เปลี่ยนจาก SAMPLE เป็นน้ำใช่หรือไม่ค่ะ ช่วยตอบด้วยด่วนค่ะ

โดย:  mayura   [8 พ.ย. 2550 13:08]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เท่าที่เข้าใจ มันไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ ทุกครั้ง ขึ้นกับปฏิกริยาไม่ใช่หรือครับ

โดย:  ปั๊ป  [8 พ.ย. 2550 14:22]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอบคุณนะคะปั๊บ

โดย:  mayura  [8 พ.ย. 2550 16:17]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

คำตอบของคุณปั๊บถูกต้องค่ะ เคยสอนหนังสือมาก่อน และรู้ดีว่าหลายคนเข้าใจผิดอย่างคุณ ขออธิบายเพิ่มเติมว่า blank test คือ การทดสอบที่เราคุมตัวแปรต่างๆ ดังนั้น ในหลอดแบล็งค์จะมีน้ำยาทดสอบ(รีเอเจนต์) และอื่นๆ (เช่น ตัวทำละลาย) ยกเว้นสารตัวที่เราจะทดสอบ เมื่อทดลองพร้อมๆกัน แปลว่าเราได้คุมตัวแปรทั้งหมดให้เหมือนกันแล้ว ผลที่ออกมา สรุปได้ว่าเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากสารตัวที่ต้องการทดสอบ  ความเข้าใจว่าใช้น้ำทดสอบแทนนั้น บางครั้งอันตรายด้วยซ้ำ (ไม่ทราบว่าคุณเรียนอยู่ระดับไหน) เช่น ในการทดสอบคุณสมบัติความเป็นแอลกอฮอล์ เขาให้ใช้โซเดียม ถ้าสารตัวนั้นเป็นแอลกอล์ มันจะเกิดฟองแก๊สเล็กๆให้เห็น ถ้าในหลอดแบล็งค์ใส่น้ำละก็ ระเบิดเลยค่ะ เพราะน้ำทำปฏิกริยารุนแรงกับโซเดียม เพราะฉะนั้น ตั้งคำถามอย่างที่คุณถามนั่นแหละ ว่าในหลอดแบล็งค์ควรใช้อะไรก่อนลงมือ และต้องไม่เป็นตัวที่จะทำปฏิกริยากับรีเอเจนต์ที่ใช้ทดสอบ

โดย:  รศ.สุชาตา ชินะจิตร  [13 พ.ย. 2550 08:19]
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

ขอขอบคุณ รศ.สุชาดา ด้วยนะคะที่ช่วยตอบคำถามเรื่อง แบล็งค์และอยากถามต่ออีกค่ะว่าทำไมต้องใช้น้ำ  ที่ใช้น้ำเป็นแบล็งค์เพราะว่าน้ำไม่ทำปฎิกิริยากับสารอื่นใช่หรือไม่คะ และนอกจากน้ำ ,โซเดียมแล้วยังมีตัวไหนบ้างที่นิยมมาทำเป็นแบล็งค์คะ   และอยากจะขอเบอร์โทรศัพท์ รศ.สุชาดา จะได้ไหมคะ เผื่อว่ามีอะไรสงสัยอีกค่ะ

โดย:  mayura  [14 พ.ย. 2550 04:46]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :5

คำถามต่อเนื่องของคุณทำให้สงสัยว่าคุณเข้าใจถูกต้องหรือไม่ เพราะโซเดียมที่ใช้ในคำอธิบายก่อนหน้านี้ เป็นรีเอเจนต์เพื่อทดสอบไม่ใช่ตัวทำละลายในแบล็งค์ ลองทบทวนให้เข้าใจว่าหลักการของแบล็งค์คือการคุมตัวแปรให้เหมือนหลอดทดลองทุกอย่าง การเติมน้ำหรือตัวทำละลายใดๆ ก็เพื่อทำให้ปริมาตรเท่ากับในหลอดทดลอง มิฉะนั้นเวลาเทียบสีที่เกิดจากปฏิกริยาระหว่าง 2 หลอดที่มีปริมาตรของสารละลายไม่เท่ากัน ก็จะแปลผลได้ยาก อย่างที่บอกว่าต้องพิจารณาให้ดีว่าจะใช้อะไรเป็นตัวทำละลายในหลอดแบล็งค์ ตัวทำละลายนั้นต้องสามารถละลายสารได้แต่ต้องไม่ทำปฏิกริยา จึงจะแน่ใจได้ว่า เกิดจากการทำปฏิกริยาของตัวที่เราสงสัย

โดย:  รศ.สุชาตา ชินะจิตร  [16 พ.ย. 2550 08:28]
ข้อคิดเห็นที่ 4:6

Blank ทำเพื่ออะไรค่ะ

โดย:  แนน  [12 ก.ค. 2556 15:56]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้