สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ข้อควรปฏิบัติเมื่อทำงานกับสารเคมีเพื่อไม่ให้มีผลระยะยาวกับรางกาย และเมื่อมีสารเคมีเข้าสู้ร่ายการควรจะทำอย่างไรบ้าง

มีใครทราบบ้างเราควรทำอย่างไรบ้างเมือเราทำงานกับสารเคมีระยะยาวและเมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกายเราควรจะทำอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุคคลที่ทำงานกับสารเคมี เพื่อเราทำงานมาทั้งชีวิตแล้วจะได้ไม่ต้องมารักษาตัวเองตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ครับ ขอบคุณครับ

โดย:  คนที่ทำงานกับสารเคมี   [10 พ.ย. 2550 14:47]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การจัดการความปลอดภัย  /  สารเคมีในสถานประกอบการและความปลอดภัยในการทำงาน
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ในเบื้องต้น ก็น่าจะปฏิบัติตาม SDS ครับ

ใน SDS จะมีข้อปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากสารเคมีครับ เช่นให้สวมถุงมือ หน้ากาก เป็นต้น

ควรขอ SDS (ที่ถูกต้อง) ทุกครั้งจากผู้ขายนะครับ

โดย:  ปั๊ป ทีมงาน ChemTrack  [10 พ.ย. 2550 20:56]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

ครับ ปัญหาความกังวลในด้านของผลกระทบของสารเคมีต่อผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีนั้น ดูเหมือนกับว่าเป็นปัญหาที่ทุกคนให้ความสนใจนะครับ ก็อย่างที่คุณปั๊บได้จอบนะครับ ก็ให้ขอ SDS จากผู้ขายแล้วก็ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการใช้สารเคมีซึ่งมีอยู่หลายวิธีการครับ วิธีหนึ่งก็คือวิธีการใช้เครื่องป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกายซื่งมีได้หลายทางไม่ว่าจะเป็นการซึมเข้าสู่ผิวหนังจากการสัมผัส การสูดดมเอาไอระเหยเข้าไป ผมเชื่อว่าทางสถานประกอบการแต่ละแห่งคงมีคำแนะนำและอุปกรณ์ที่ค่อนข้างพร้อมเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานเองครับ แต่สิ่งที่พบเห็นกันส่วนมากก็คือตัวผู้ปฏิบัติการเองที่เป็นผู้ที่เพิกเฉยไม่ใช้เครื่องมือป้องกันเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น ถุงมือ แว่นตากันสารเคมี ผ้าปิดปากหรือจมูก ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆเป็นต้นว่า คนอื่นเขาก็ทำกันอย่างนี้ไม่เห็นเป็นอะไร การใส่เครื่องป้องกันทำให้รู้สึกเกะกะรำคาญทำงานไม่สะดวก หรือไม่ก็ที่ทำอยู่ก็มีสติระวังตัวตลอดเวลาอะไรประมาณนี้ แต่อุบัติเหตุจากสารเคมีหรือการที่สารเคมีมีการปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายอาจเกิดได้ตลอดเวลาที่เราไม่คาดคิดครับ ดังนั้นการปฏิบัติตามวิธีการป้องกันที่กำหนดไว้จึงเป็นหนทางที่ช่วยลดความเสี่ยงของการได้รับอันตรายจากสารเคมีได้อย่างดีทีเดียวครับ

โดย:  ดร.สนธยา กริชนวรักษ์  [11 พ.ย. 2550 22:28]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

คิดว่าการป้องกันอันตรายจากสารเคมีในการทำงานต้องเป็นความร่วมมือกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนะ โดยเฉพาะผู้ประกอบการหรือนายจ้างต้องให้ความสำคัญและเอื้ออำนวยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ สร้างจิตสำนึก ให้กับลูกจ้างหรือคนงานเกิดความตระหนัก ตื่นตัว เห็นความสำคัญในการป้องกันด้วย และทั้งสองฝ่ายต้องช่วยกันทำถึงจะไปถึงเป้าหมายได้คะ หลักการทั่วๆ ไปในการป้องกันอันตรายจากสารเคมี ลองอ่านดูในลิงก์คะ http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=10

ในแง่ของคนงานที่ทำงานกับสารเคมี เราคงต้องรู้ว่าเราทำงานอยู่กับสารเคมีอะไรบ้าง สารแต่ละชนิดมีคุณสมบัติอย่างไร จากนั้นก็พิจารณาว่าสภาพในการทำงานมีการป้องกันอันตรายหรือป้องกันการที่เราจะได้รับสารเคมีทั้งทางหายใจเข้าไป โดนผิวหนังเรา หรืออาจกินเข้าไป เช่นมันจะปนเปื้อนลงอาหารที่เรากินได้หรือไม่ มาก น้อย อย่างไร ถ้าพิจารณาดูแล้วพบว่ามันไม่น่าจะปลอดภัยนะ เรา (คนงาน) ต้องขอให้มีมาตรการป้องกันเพิ่มขึ้น ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้สถานประกอบการต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) เป็นผู้ที่ต้องดูแลในเรื่องนี้ (ทั้งการจัดสภาพการทำงานและการเฝ้าระวังสุขภาพคน การปนเปื้อนสารเคมีในบรรยากาศที่ทำงาน) นอกจากนี้ เราคงต้องเฝ้าระวังตัวเองด้วยเช่นกัน หากมีข้อกำหนดให้ใช้อุปกรณ์ป้องกัน (ซึ่งตามหลักการแล้วอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลจะใช้เมื่อไม่มีมาตรการอื่น ๆ ที่เหมาะสมแล้วคะ) ในการทำกิจกรรมนั้น ๆ เราก็ต้องใช้คะ และควรสังเกตุว่าในการทำงานกับสารเคมีร่างการเราเกิดความผิดปกติอย่างไรหรือไม่ จดบันทึกไว้ ถ้าเห็นผิดปกติควรตรวจเช็คร่างกายและสภาพการทำงานว่ายังป้องกันได้ดีอยู่หรือไม่

โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [12 พ.ย. 2550 07:35]
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

ในกรณีทีทำงานกับสารเคมีระยะยาว และสารเคมีได้ดูดซึมเข้าไปในร่างกายแล้ว วิธีที่ดีที่สุดก็คือต้องกำจัดออกจากร่างกาย สารเคมีสามารถถูกขับออกจากร่างกายได้หลายทาง เช่น ทางลมหายใจออก เหงื่อ น้ำตา น้ำนม น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ ดังนั้นการออกกำลังกายให้เพียงพอและสม่ำเสมอ และกินอาหารที่มีประโยชน์ จะสามารถช่วยกำจัดสารเคมีที่ตกค้างออกจากร่างกายได้บ้าง อย่างไรก็ตามให้ปฏิบัติตามขั้นตอนใน SDS (Safety Data Sheet) หรือการป้องกันทำได้โดย
- ใช้สารเคมีที่มีค่าความเป็นพิษที่น้อยกว่า
- ลดระยะเวลาในการสัมผัส
- ปรับปรุงระบบระบายอากาศให้เพียงพอ
- ทำการตรวจวัดสารเคมีในบรรยายกาศเพื่อควบคุมระดับค่าความเข้มข้นของ
 สารนั้นๆไม่ให้เกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดไว้
- ตรวจสุขภาพประจำปี
- วิธีสุดท้ายที่สุดก็คือการสวมใส่หน้ากาก ถุงมือ ชุดป้องกันสารเคมี ที่ถูก
 ประเภท และถูกวิธีครับ  
www.esafetythailand.com

โดย:  Mr.Esafety  [3 พ.ค. 2553 15:10]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้