สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

เรื่องสารเคมีทำอย่างไรให้พนง.ทุกคนตระหนัก

เนื่องจากเรื่องสารเคมี + ขยะฯ เดี่ยวนี้มีการรณรงค์กันมากขึ้น และความเข้าใจก็ยังพื้นๆ ฉนั้นเราจะทำอย่างไรให้มีการเข้าถึง และเข้าใจได้มากขึ้นค่ะ
ให้ตระหนักถึงอันตรายก็แล้ว(อบรมก็มากพอประมาณ)
อีกข้อหากเราจะหาว่าอะไร เป็นสารเคมีที่อันตราย ในโรงงานหรือบ้าน จะมีวิธีการแยกหรือดูอย่างไรบ้างค่ะ
หวังว่าจะได้คำตอบนะค่ะ  (เข้าใจคำถามเปล่าค่ะ)

โดย:  นา   [14 พ.ย. 2550 10:34]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การจัดการความปลอดภัย  /  ของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว  /  ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป  /  สารเคมีในสถานประกอบการและความปลอดภัยในการทำงาน  /  สารเคมีในอุตสาหกรรม  /  ฐานข้อมูล แหล่งสารสนเทศ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

คำถามดีค่ะ แต่ตอบยาก คงต้องช่วยกัน สิ่งที่เว็บนี้พยายามทำคือ ทำให้เกิดความรู้เพื่อเอาไปใช้ได้กว้างขวาง ใครจะเอาส่วนไหนไปปรับให้เหมาะกับกลุ่มและสถานการณ์ก็ได้ เบื้องต้นขอแนะนำว่า ทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์ในบ้านเรือนก่อน เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ ล้างกระจก ทำความสะอาดครัว ฯลฯ โดยดูจากฉลากที่ภาชนะบรรจุ เขาจะบอกว่ามีส่วนประกอบสำคัญอะไร ใช้อย่างไร และคำเตือนเรื่องความปลอดภัย ถ้าจะลงลึกกว่านั้น ก็เอาชื่อสารเคมีที่บอกบนฉลาก มาลองค้นหาเอกสารความปลอดภัย MSDA จากเว็บนี้ก็ได้ จะได้รู้ว่าอันตรายและข้อควรระวังคืออะไร  สำหรับโรงงานนั้น สมควรที่จะมี MSDS ของสารที่ใช้ จัดระบบความปลอดภัย เช่นด้านสถานที่ อุปกรณ์ป้องกัน กฏระเบียบ เช่น ใส่เครื่องป้องกันฯลฯ ก็ช่วยได้บ้าง อันตรายแบบเรื้อรังมักไม่ได้รับความสนใจ เพราะมองไม่เห็นทันตา แต่น่าจะให้ความรู้ได้  การรณรงค์อย่างเดียวได้ผลเฉพาะหน้าแต่ไม่ยั่งยืน ต้องทำอย่างไรให้เขาเห็นด้วยข้อมูลจริง สถานการณ์จริง

โดย:  รศ.สุชาตา ชินะจิตร  [14 พ.ย. 2550 12:42]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

การที่จะทำให้พนักงานทุกคนตระหนักและเข้าถึงเรื่องของสารเคมีและขยะผมคิดว่าน่าจะอยู่ที่การให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมนะครับ เช่นการให้พนักงานมีการแยกขยะก่อนทิ้งโดยทางสถานประกอบการณ์ก็จัดหาถังขยะแล้วให้มีการแยกทอ้งขยะแต่ละประเภทลงในถังแต่ละชนิด อาจแยกเป็นกระดาษ โลหะ พลาสติก หรือพวกขยะอันตรายเช่นแบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนส์ครับ ในช่วงแรกๆอาจมีความรู้สึกว่ายุ่งยากวุ่นวายครับ แต่เมื่อพนักงานทุกคนมีส่วนร่วมแล้วและเห็นว่าไม่เป็นเรื่องยาก การดำเนินการอะไรต่อไปก็ไม่น่าเป็นปัญหาครับ

โดย:  ดร.สนธยา กริชนวรักษ์  [14 พ.ย. 2550 14:41]
ข้อคิดเห็นที่ 3 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

ลองเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_municipal.html ของกรมควบคุมมลพิษ มีข้อมูลมากมายที่น่าสนใจ

โดย:  นางสาวไอลดา จิตจะกูล  [15 พ.ย. 2550 13:35]
ข้อคิดเห็นที่ 1:4

การจะทำให้คนเกิดจิตสำนึกจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและทุ่มเททรัพยากรลงไปอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าหยุดการให้ความรู้ การรณรงค์ ไม่ได้ ในหลาย ๆ เรื่องเราใช้เวลาเป็น 10 ปี กว่าที่สังคมจะเปลี่ยนทัศนคติได้ ยิ่งเรื่องสารเคมีเราอาจต้องใช้เวลายาวนานกว่านั้นเพราะเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในความสนใจของสังคม ส่วนวิธีการคงต้องคิดสร้างสรรกันต่อไป

ส่วนประเด็นจะรู้ได้อย่างไรว่าสารเคมีในโรงงานหรือในบ้านเป็นสารอันตรายหรือไม่ ที่ง่ายและรวดเร็วน่าจะดูได้จากฉลากที่ติดกับภาชนะบรรจุสารเคมี ถ้าเป็นสารอันตรายบนฉลากจะมีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย ลองดูรูปสัญลักษณ์ที่ลิงก์คะ http://203.157.72.102/csnet/FileDownload/GHS/สรุปรูปสัญลักษณ์GHS.doc


โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [15 พ.ย. 2550 19:02]
ข้อคิดเห็นที่ 2:5

ขอนำเสนอ คำขวัญ  ซึ่งดัดแปลงจากคำขวัญด้านความปลอดภัย  

ศึกษาให้ดีก่อนใช้  เต็มใจใส่อุปกรณ์ป้องกัน  ไม่หวาดหวั่นวิตกจริต  สร้างจิตสำนึกให้ทุกคน  กระทำตนเป็นแบบอย่าง  มุ่งหาทางใช้แบบประหยัด  ตรวจวัดให้รู้ว่าปลอดภัย        ฯลฯ  


โดย:  นักเคมี  [4 พ.ค. 2551 00:21]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้