สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

สารเร่งตกตะกอน PAC และ Polymer

การใช้สารเร่งการตกตะกอนในการผลิตน้ำประปา โดยใช้ PAC, Polymer จะทำให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภคไหมครับ
และลักษณะการทำปฏิกริยาอย่างไรจึงทำให้เกิดการตกตะกอน

โดย:  rot   [14 มี.ค. 2551 11:17]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กระบวนการผลิตและการใช้ประโยชน์  /  การจัดการความปลอดภัย  /  การวิเคราะห์ ทดสอบ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

ปกติแล้วการใช้ PAC จะใช้งานเหมือนสารส้ม คือเป็นสารโคแอกกูแลนท์ (ทำลายเสถียรภาพของคอลลอยด์, ความขุ่น) ซึ่ง PAC มักใช้ปริมาณน้อยกว่าสารส้ม แต่ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีการใช้งานมากในการผลิตน้ำประปา

polymer มักใช้เพื่อเป็นสารช่วยรวมตะกอนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น บางกลุ่มเป็นสารอินทรีย์ที่มีความอันตราย (มีข้อกำหนดในการใช้งาน) และราคาค่อนข้างสูง การใช้งานจึงต้องหาปริมาณที่เหมาะสมเพื่อช่วยตกตะกอน จึงไม่ค่อยมีกรณีที่ใส่ polymer ปริมาณมากๆ เพื่อช่วยตกตะกอนความขุ่น    

ส่วนกระบวนการและขั้นตอนต่างๆในการผลิตน้ำประปาโดยละเอียด ผมแนะนำว่าสามารถอ่านได้จากหนังสือ วิศวกรรมการประปา อ.มั่นสิน ตัณทุลเวศม์

โดย:  อ.บุณยฤทธิ์ ปัญญาภิญโญผล  [18 มี.ค. 2551 09:55]
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

ขอบคุณครับ

โดย:  rot  [20 มี.ค. 2551 16:53]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

อยากทราบอัตราการใช้งานของ PAC กับ Polymer คะ ใครทราบรบกวนตอบทีนะคะ

โดย:  PooKa  [3 พ.ย. 2551 22:16]
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

ตอนนี้กำลังประสบปัญหาในการใช้งานระบบประปาที่ใช้การบำบัดน้ำเสียด้วยPACและPOLYMERใช้งานได้ประมาณ1 เดือนพบปัญหาน้ำที่ออกมาขุ่นมากและมีตะกอนตกค้างมากอยากทราบวิธีการใช้งาน สารPAC และ POLYMER ในการบำบัดน้ำทำประปาด้วยครับช่วยตอบทีครับ

โดย:  capt.hab  [6 พ.ย. 2551 15:18]
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

เมื่อผสมสารPACและPOLYMERในน้ำแล้วจะเกิดลักษณะเป็นวุ่นเหนียวๆจับตัวเป็นก้อนอยากทราบว่าผิดปรกติหรือเปล่าคับ

โดย:  capt.hab  [6 พ.ย. 2551 15:22]
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

ลองสอบถามตัวแทนที่จำหน่ายสารให้นะค่ะ หรืออาจทดลองหาปริมาณสารตกตะกอนและความเร็วที่ใช้กวนที่เหมาะสมดูอีกครั้งค่ะ

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [6 พ.ย. 2551 17:31]
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

จากการทดลอง ค่าของน้ำดิบTURBIDITY 50-100 ntu  กำลังผลิตน้ำประปา300ลบ.ม./ชม. อัตราส่วน น้ำ500ลิตร/ POLYMER 100 g  stroke pump 60 %   ทดลองใช้ร่วมกับ ALUM  10 % stroke pump 100 %
ตะกอนจะโตรวมตัวได้ดีมาก วัดค่า URBIDITY  ได้ 0.56 NTU

โดย:  โรงผลิตน้ำ  [10 ธ.ค. 2551 12:34]
ข้อคิดเห็นที่ 7:8

จากการทดลอง ค่าของน้ำดิบTURBIDITY 50-100 ntu  กำลังผลิตน้ำประปา300ลบ.ม./ชม. อัตราส่วน น้ำ500ลิตร/ POLYMER 100 g  stroke pump 60 %   ทดลองใช้ร่วมกับ ALUM  10 % stroke pump 100 %
ตะกอนจะโตรวมตัวได้ดีมาก วัดค่า URBIDITY  ได้ 0.56 NTU

โดย:  โรงผลิตน้ำ(ศิริราช)  [10 ธ.ค. 2551 12:35]
ข้อคิดเห็นที่ 8:9

จำหน่าย PAC และ POLYMER ANION , CATION
บริการวิเคราะห์น้ำ
ติดต่อ ปอง (086)653-9721

โดย:  ปอง  [30 พ.ค. 2552 18:47]
ข้อคิดเห็นที่ 9:10

ถ้าใช้สารส้ม ปูนขาว และโพลิเมอร์ ปั๊มจ่ายเข้า Line ท่อพร้อมกันแล้ว Mixer
ก่อนเข้าถัง Clarifier ได้ไหม เห็นบางที่แยกจ่าย คือ Polymer จ่ายหลัง Mixer
แล้วเข้าถังClarifier

โดย:  rot  [9 มิ.ย. 2552 11:51]
ข้อคิดเห็นที่ 10:11

อยากทราบราคาวิธีการใช้งาน คุณสมบัติและผลดีผลเสียครับ พอดีทำประปาอยู่
ค่อนข้างที่จะมีปัญหาเรื่องน้ำดิบครับ

โดย:  คนทำน้ำ  [18 พ.ย. 2552 09:27]
ข้อคิดเห็นที่ 11:12

การที่เราจะรู้ปริมาณในการใช้ PAC และ Polymer นั้น

เราต้องนำตัวอย่างน้ำมาทำ๋ Jar Test เพื่อหาอัตราส่วนและจุดที่ทำให้

น้ำตกตะกอน


หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณา ติดต่อ

ศุภมาส ศิริอักษร 083 - 5109317

โดย:  รู้เรื่องเล็กน้อย  [9 ธ.ค. 2552 09:12]
ข้อคิดเห็นที่ 12:13

การที่จะเลือกใช้สารทั้งสองตัวนั้น หน้าที่หลักคือช่วยให้ตะกอนแขวนลอยมากับน้ำจับตัวกัน ทำให้น้ำที่ได้ใส่ แต่ต้องหาปริมาณการใช้ให้เหมาะสม โดยวิธีการทดสอบ Jartest หากไม่มีเครื่อง ก็ให้ลองปรับเครื่องจ่ายสารเคมี  แล้วสังเกตการจับตัวของตะกอน ครับ  หรือต้องการความรู้เพิ่มเติมเข้าชมได้ที่ www.mwater.in.th

โดย:  Mwater  [12 ม.ค. 2553 13:50]
ข้อคิดเห็นที่ 13:15

สาร pac บรรจุไว้ในถังพลาสติกทำไมมีตะกอนสีขาวจับกันเป็นก้อนที่ก้นถัง  มันเสียหรือเปล่าครับ

โดย:  อยากรู้  [18 มิ.ย. 2553 09:33]
ข้อคิดเห็นที่ 14:16

ที่ว่าใส่ PAC and Polymer แล้วเกิดเป็นวุ้นเหนียว ลองปรัค่า pH ดูก่อนว่าเหมาะสมไหม และ บางทีPolymerที่ใช้ต้องดูประจุด้วย

โดย:  ืnut ผู้ควบคุมระบบบำบัด  [16 ก.ค. 2553 15:27]
ข้อคิดเห็นที่ 15:18

ขอบคุณ

โดย:  เสธ  [9 ก.ย. 2553 17:03]
ข้อคิดเห็นที่ 16:19

อยากทราบวิธีการเตรียม polymer ที่ใช้ในการตกตะกอนว่าต้องเตรียมอย่างไรใครทราบช่วยตอบหน่อยนะ

โดย:  tangmopun  [13 ก.ย. 2553 14:29]
ข้อคิดเห็นที่ 17:20

อยากทราบว่าอันตรายที่เกิดจากPolymer   และนำที่จะนำไปใช้มีอันตรายหรือไม่  ช่วยตอบที่ครับ กำลังศึกษาอยู่

โดย:  chatchai  [15 พ.ย. 2553 11:07]
ข้อคิดเห็นที่ 18:21

ความอันตรายจากตัว PAC นั้นน้อยกว่าสารส้มมาก ด้วยค่า pH ที่ 1% w/w ของสาร PAC จะอยู่ที่ 3.5-5.5 ตามมาตรฐาน JIS  และด้วยด้วยปริมาณการใช้นั้นน้อยกว่าสารส้มอยู่ 2-3 เท่าตัวนั้น ทำให้โอกาสที่จะให้มีสารตกค้างลงในน้ำนั้นน้อยกว่า โดยส่วนมากหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับค่าคอนลอยในน้ำนั้น จะทำให้ตัว PAC ตกลงมาอยู่ในรูปของตะกอนทั้งหมดครับผม

โดย:  Warut  [31 พ.ค. 2554 11:17]
ข้อคิดเห็นที่ 19:22

ในปัจจุบัน โรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดส่วนใหญ่ก็จะใช้ สาร PAC นี้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนจะ เข้าสู่ระบบ RO และ UV ต่อไป หรือแม้กระทั่ง การประปานครหลวงที่ผลิตน้ำประปาให้เราใช้ อุปโภคบริโภคนั้น ก็ใช้สาร PAC นี้เป็นการตกตะกอนแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำอื่นๆและจ่ายมายังประชาชน

โดย:  Warut  [31 พ.ค. 2554 11:22]
ข้อคิดเห็นที่ 20:23

ลอง สอบถามที่นี่สิจ้ะ 083-540-4728 ,081-687-3028


โดย:  ผู้ผลิต PAC  [8 ก.ค. 2554 15:55]
ข้อคิดเห็นที่ 21:24

ตะกอนของpac เวลาโดนตัวเราแล้วทำไมจึงเกิดการทำให้ผิวแห้งเป็นขุยแลมีอาการคันมากจนต้องกินยาแก้แพ้

โดย:  ประปา  [17 ก.พ. 2555 14:46]
ข้อคิดเห็นที่ 22:25

ราคาแพงกว่าสารส้มทำไมยังใช้ pac อีกก็ไม่รู้แพงกว่าถึง 2 เท่าเวลาใช้มีแต่ฝุ่นคลุ้งกระจายเต็มห้องทำไมประปาภูมิภาคและนครหลวงยังใช้อันตรายก็เยอะใครทราบช่วยตอบทีครับผม

โดย:  ประปา  [17 ก.พ. 2555 14:52]
ข้อคิดเห็นที่ 23:26

ปัจจุบันในการบำบัดน้ำเสีย(น้ำเสียจากสีพิมพ์กล่อง)ใช้สารส้มกับโพลิเมอร์ และโซดาไฟ อยากทราบว่าหากจะเปลี่ยนจากสารส้มมาใช้ PAC แทนจะตกตะกอนดีไหมครับ

โดย:  tiew  [9 มี.ค. 2556 14:08]
ข้อคิดเห็นที่ 24:27

ในประปา PAC หมายถึง Powder Activated Carbon เรียกง่ายง่ายว่าผงถ่าน ตัวนี้แพงใช้ในการกำจัดกลิ่น สี หรือช่วงน้ำดิบผิดปรกติอย่างมากครับ สำหรับโพลีเมอร์เป็นสารสังเคราะห์โมเลกุลยาวช่วยในการรวมตะกอนที่เกิดจากการใช้สารส้ม ส่วนPACl ไม่ใช่ PAC เป็นสารที่ใช้แทนสารส้ม ใช้สดวกกว่าสารส้มเพราะมีค่าความเป็นด่างในตัว(Alkalinity)สูงและมีความเป็นโพลิเมอร์ด้วย ทั้งหมดที่ใช้งานไม่เป็นสารอันตรายร้ายแรง คือต้องสะสมกว่าจะเกิดอันตรายน่ะครับ ปริมาณการใช้ควรทำjar test เพราะสารเคมีแพง และใช้มากไปจะทำให้น้ำมีสารละลายมากเกินมาตรฐาน
การใช้สารส้มควรเข้มข้นไม่เกิน 1% ที่จุดผสม การจ่ายที่ความเข้มข้นสูงมักผสมไม่ดีจนต้องเพิ่มการจ่าย สำหรับโพลีเมอร์ควรเข้มข้น 0.1% ที่จุดผสม โดยเตรียมราว 0.5% จางมากแต่จุ่มนิ้วแล้วเหมือนเมือกจับ โพลีเมอร์ถ้าผ่านstatic mixer ไม่ดี ควรผสมห่างจากสารส้ม ใส่ตรงที่ปั่นป่วนน้อยกว่าเพราะโมเลกุลยาวจะขาด สำหรับ PACl จะทนกว่าโพลีเมอร์จ่ายเหมือนสารส้มได้เลย
ปัจจุบัน PACl นิยมเพราะไม่ยุ่งยาก เป็นเม็ดขาวขาว บางทีเป็นผง ตอนผสมให้ใส่ทีละน้อยน้อย ไม่งั้นจะไม่ละลาย ลงไปกองเกาะก้นถัง ห้ามกวนแรง ปรกติเขามีคู่มือการใช้งานครับ เป็นไปได้พยายามเลือกแบบเม็ดสดวกกว่าผง กรณีเป็นแมงกระพุนก็มาจากใส่แยะไป หรืออาจใช้ผิดประจุเลยผสมกับของเดิมในถังกลายเป็นแมงกระพรุน อันนี้ผิดกันประจำครับ เพราะการกำจัดตะกอนมีการใช้โพลีเมอร์คนละประจุ
ข้อควรจำคือห้ามทุกสารเข้าตา ห้ามกลืนน้ำลายหรือกินน้ำในห้องเคมี ออกมาต้องถุยน้ำลายและล้างปากและหน้าครับ
หวังว่าเป็นประโยชน์ครับ

โดย:  กิตติพงษ์  [12 พ.ค. 2556 04:16]
ข้อคิดเห็นที่ 25:28

ผมลืมไปนิด โพลีเมอร์ผสมแล้วต้องกทิ้งเวลาไว้หน่อยนึงให้มันคลายตัวครับ ขึ้นกับชนิดโพลีเมอร์นั้นนั้น ห้ามใช้เกิน 24 ชม เดี๋ยวมันบูดครับ อีกอย่างจุดผสมหมายถึงตรงที่สารเคมีไปเจอกับน้ำดิบครับ ปรกติเช่นสารส้มเราเตรียมทั่วไปจากก้อนที่ซื้อมา ก็เตรียมไว้ราว 5-10% จากนั้นก็ควรมีการเจือจาง dilution ด้วยน้ำสะอาดซึ่งจะพาสารเคมีที่ถูกเจือจางแล้วมาจ่ายที่จุดผสม
สำหรับระบบเล็ก ก็มักจะไม่ค่อยมีระบบน้ำเจือจาง ก็พยายามผสมให้จางเข้าไว้ครับถ้าทำได้
ปริมาณการใช้ควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำ jar test แล้วก็มาเก็บน้ำในจุดที่เหมาะสมเพื่อตรวจสอบโดยการทำ cascade test อีกหน(ถ้าสดวก) เกือบลืมโพลีเมอร์แพ้ความร้อน แพ้น้ำกระด้าง แพ้คลอรีน โอยเพียบ คือมันมีฤทธิ์น้อยลง ต้องเพิ่มครับ อีกอย่างให้สังเกตขนาดตะกอนที่เกิด(ถ้าทำได้) เปรียบเทียบกับแผ่นขนาดตะกอน พอเราดูแลระบบนานซักนิด เดี๋ยวดีเองครับ

โดย:  กิตติพงษ์  [12 พ.ค. 2556 05:54]
ข้อคิดเห็นที่ 26:29

พิมพ์ผิด คือโพลีเมอร์เป็นเม็ด หรือ ผงสีขาวครับ ส่วน PACl เป็นสีเหลือง บางยี่ห้อก็ขาว

โดย:  กิตติพงษ์  [19 พ.ค. 2556 04:07]
ข้อคิดเห็นที่ 27:30

ต้องการทราบว่าเกิดอันตรายกับผู้บริโภคไหม ถ้าดื่มน้ำประปาที่ใช้สารเร่งตกตะกอนเป็นประจำ

โดย:  jiang  [19 พ.ค. 2556 12:40]
ข้อคิดเห็นที่ 28:32

เคยฝึกงานที่การประปาค่ะ
ปกติที่นี่ การตกตะกอนจะทำโดยวัดจาก jar test เท่านั้น วันละหลายรอบ
เพื่อให้ใช้ปริมาณตัวตกตะกอนน้อยสุด ประหยัดสุด
ไม่มีเหตุผลที่จะใส่ไปให้เกิน
ผู้บริโภคน้ำประปามั่นใจได้ค่ะ

โดย:  Bellamalt  [5 มิ.ย. 2557 17:47]
ข้อคิดเห็นที่ 29:33

เอส ไรคส์ จำหน่าย เครื่องสูบเคมี เครื่องจ่ายเคมี เครื่องจ่ายสารละลาย จ่ายน้ำยา จ่ายสารส้ม เติมปูนขาว จ่ายโพลิเมอร์ PAC สารโคแอกกูแลนท์ จ่ายแอนตี้สเกล จ่ายน้ำยาล้างคราบตะกรัน จ่ายโซดาไฟ เติมกรดเกลือ ปั๊มเคมี ปั๊มคลอรีน ปั๊มน้ำยา แบรนด์ EMEC ผลิตที่อิตาลี สำหรับ บำบัดน้ำเสีย ระบบน้ำดี ปรับสภาพน้ำ ควบคุมสภาพน้ำ ฆ่าเชื้อ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-2618818 หรือ info@sreichcompany.com ฝ่ายการตลาด

โดย:  เอส ไรคส์  [20 มิ.ย. 2557 15:24]
ข้อคิดเห็นที่ 30:34

อยากทราบอัตราการใช้งานของ PAC กับ Polymer คะ

โดย:  เด็กฝึกงาน  [23 ต.ค. 2557 11:45]
ข้อคิดเห็นที่ 31:35

อยากทราบอัตราการใช้งานของ PAC กับ Polymer สำหรับ บำบัดน้ำเสียจากโรงงาน

โดย:  เด็กฝึกงาน  [23 ต.ค. 2557 11:46]
ข้อคิดเห็นที่ 32:36

รบกวนสอบถามด้วยค่ะ ถ้าเรรมีการ Poly Alumonium Chloride มากเกินไปจะส่งกระทบในด้านใดบ้างค่ะ เนื่องจากตอนนี้พบปัญหาว่า ตัวอย่างน้ำหลังจากผ่าน clarify มีค่าคลอไรด์สูงมากกว่าน้ำดิบถึงที่ 1 เท่า เช่นน้ำดิบมีค่าคลอไรด์ 28 ppm แต่น้ำที่ออกจาก clarify มีค่าค่าคลอไรด์ถึง 77 ppm ค่ะ โดยได้ตั้งสมมติฐานไว้ 2 สาเหตุ คือ
1.การเติม Poly Alumonium Chloride มากเกินไป
2.คุณภาพของ Poly Alumonium Chloride มีความผิดปกติ

โดย:  ผู้ผลิตน้ำประปา  [31 ต.ค. 2557 08:53]
ข้อคิดเห็นที่ 33:37

เปลี่ยนเบอร์ติดต่อ
0935693519
0942324514


โดย:  ผู้ผลิต PAC  [25 ส.ค. 2558 13:31]
ข้อคิดเห็นที่ 34:38

บริษัทไฮโดรไบโอ จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายคลอรีนไดออกไซด์บริสุทธิ์พร้อมใช้งาน  โดยไม่ต้องลงทุนเครื่อง Generator

คลอรีนไดออกไซด์เป็นสารฆ่าเชื้อในน้ำที่ทรงประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับจาก U.S. (FDA) และ U.S. (EPA ) ไม่มีสารพิษตกค้าง  ปลอดภัยต่อมนุษย์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

10 เหตุผล  ทำไมต้องใช้คลอรีนไดออกไซด์
1. มีฤทธิ์ออกซิไดซ์มากกว่าคลอรีน 2.6 เท่า
2. ใช้งานได้ในช่วง pH กว้าง pH 4-10 เหมาะกับการใช้งานหลากหลาย
3. คลอรีนไดออกไซด์ ไ้ด้รับการรับรองจาก U.S EPA ให้เป็นสารที่ดีเยี่ยมในการฆ่าเชื้อราและสารต้านจุลชีพ ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคและสารฆ่าเชื้อพื้นผิวที่สัมผัสกับอาหาร
4. FDA และ U.S. Departmet of Agriculture (USDA)  อนุญาตให้ใช้ในโรงงานแปรรูปอาหารเพื่อฆ่าเชื้อและควบคุมแบคทีเรียและเชื้อรา
5.คลอรีนไดออกไซด์สามารถกำจัดเชื้อ E.coli และ Samonella
ุ6.คลอรีนไดออกไซด์สามารถกำจัดและควบคุมการเกิดใหม่ของไบโอฟิลม์ได้
7.คลอรีนไดออกไซด์สามารถใช้สัมผัสกับอาหารได้ ใช้เพียงเล็กน้อยแต่ทรงคุณภาพในการกำจัดเชื้อได้มาก ดังนั้นจึงสามารถประหยัดต้นทุนได้มาก
8.เชื้อโรคไม่สามารถพัฒนาในการดื้อยากับสารคลอรีนไดออกไซด์ จึงเป็นเครื่องมือที่ดีเหมาะในการฆ่าเชื้อที่ควรมีใช้ประจำ
9.คลอรีนไดออกไซด์สามารถใช้ในการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในน้ำ สามารถใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อบำบัดน้ำในโรงผลิตน้ำดื่ม น้ำประปา
10.ไม่เหมือนกับคลอรีน   คลอรีนไดออกไซด์ไม่มีสารพิษตกค้าง เช่น สาร Carcinogenic THM , HAA mutegent X ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง การแท้งบุตร หรือ พิการแต่กำเนิด

สนใจสอบถามเพิ่มเติม
คุณเยาวลักษณ์  จงโชติชัชวาลย์
086-3408033
Email : angiehydrobio@gmail.com


โดย:  www.hydro-bio.com "Superior in Water Disinfection"  [16 พ.ค. 2559 18:44]
ข้อคิดเห็นที่ 35:41

ขาย pac polymer คลอรีน และเคมีอุตสาหกรรมอื่นๆ
รัยปรึกษาปัญหาเรื่องน้ำขุ่น การผลิตน้ำประปา บำบัดน้ำเสีย
โทร 081-7937533 (หนุ่ม)

โดย:  ผู้จำหน่าย pac ในภาคอีสาน  [26 ส.ค. 2559 21:15]
ข้อคิดเห็นที่ 36:42

ใช้สารpac10%  กวนน้ำใส่เยอะไปเป็นอะไรไหมคะ  ใช้ภายในบ้านไม่มีเครื่องทดสอบ jar test  รบกวนช่วยแนะนำด้วยคะ

โดย:  เด็กบ้านนอก  [15 พ.ย. 2559 19:30]
ข้อคิดเห็นที่ 37:43

 การจ่ายสารคอร์ลีน และสาร pac ควรจ่ายสารเคมีตัวใหนก่อนและควรจ่ายมีระยะห่างกันเท่าใด ระบบประปาหมู่บ้านครับ

โดย:  วรวุฒิ  [17 ก.ค. 2560 08:51]
ข้อคิดเห็นที่ 38:44

ถ้ามีปัญหา เรื่องการใช้pac ,polymer คลอรีน ในระบบประปา ปรึกษาได้ครับ
0816873028

โดย:  อนุชา  [26 ก.ค. 2560 09:59]
ข้อคิดเห็นที่ 39:46

ขาย pac สารส้ม คลอรีน ดพลิเมอร์ กรดเกลือ โซดาไฟ จัดส่งทั่วประเทศ สนใจติตต่อ 081-7937533 (หนุ่ม)

โดย:  หนุ่ม  [9 ต.ค. 2560 22:36]
ข้อคิดเห็นที่ 40:47

การบำบัดน้ำและสารเคมีกระบวนการขนถ่ายของเหลว เอส ไรคส์ S Reich
#วิธีเลือกปั๊ม ให้เหมาะกับงานของท่านโดยเน้นคุณภาพ ความทนทานต่อการใช้งาน และประหยัด #ค่าบำรุงรักษา#
ทุกอุตสาหกรรมมีลักษณะของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการบำบัดน้ำและสารเคมีกระบวนการขนถ่ายของเหลว เอส ไรคส์ S Reich เข้าใจและเลือกเครื่องปั้มให้ตรงตามการใช้งาน โดยทีมงาน S Reich ผู้เชี่ยวชาญสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม ทั้งที่เน้น การขนถ่าย Transfer ของเหลว สารเคมี TAPFLO pumps และโซลูชั่นการจ่ายกรด เติมเบส เติมเคมีในระบบบำบัดน้ำ โทรหาเรา 022618818 หรือ info@sreichcompany.com หรือ LINE ID : sreich

โดย:  Sreich  [10 ต.ค. 2560 10:48]
ข้อคิดเห็นที่ 41:48


THAI PAC INDUSTRY COMPANY LIMITED
+ ผู้ผลิต PAC รายแรกในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9000, มอก. 18001, มอก. 2150 - 2546
+ ผู้นำเข้าและจำหน่ายเคมีอุตสาหกรรม เคมีบำบัดน้ำเสีย และ เคมีอุตสาหกรรมทุกชนิด
- พีเอซี ( PAC ) น้ำ,  ผง   - สารส้ม  น้ำ,  ผง,  ก้อน   - โพลิเมอร์   - เฟอร์ริคคลอไรด์
- กรดเกลือ   - คลอรีน   - โซดาไฟ   - กรดกำมะถัน   - กรดไนตริก   - เกลือ
- ปูนขาว   - ฯลฯ

สอบถามเพิ่มเติม 081-9329786 โบนัส

โดย:  bonus บ.Thai PAC  [22 พ.ย. 2560 13:41]
ข้อคิดเห็นที่ 42:49

บริษัท หลานสิน จำกัดจำหน่าย polymer ในราคาปลีกและส่ง ของ BASF มีทั้ง Anionic และ Cationic
สอบถามเพิ่มเติม นีรนุช 081-6000055


โดย:  neeranuch  [15 มี.ค. 2561 14:45]
ข้อคิดเห็นที่ 43:51

ปริมาณและความเข้มข้นของ PAC และ Polymer นั้น ขึ้นอยู่คุณภาพน้ำดิบของแต่ละที่ครับ ไม่สามารถบอกได้ว่าปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม แต่สามารถหาได้ ด้วยวิธีการ Jar test โดยต้องใช้ PAC มากกว่า Polymer ข้อนี้ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ครับ แต่ต้องดูด้วยครับว่าน้ำดิบมีค่า pH เท่าไหร่ เพราะ PAC จะตอบสนองดี่ที่ชวง 5-8 ครับ เมื่อได้ความเข้มข้น (ppm) ที่เหมาะสมของ PAC และ Polymer แล้ว ค่อยนำมาคำนวณหา Dose pump เป็นเปอร์เซ็นต์อีกครับ

โดย:  The Dark Knight  [24 ต.ค. 2561 09:39]
ข้อคิดเห็นที่ 44:52

ผลิตภัณท์ใหม่ล่าสุด ของผงเร่งการตกตะกอน : เปลี่ยนนำ้ขุ่น เป็นนำ้ใส  เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   ปัจจุบันมีนักวิจัยไทยได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ในการนำสารโพลิเมอธรรมชาติ 100 %  มาใช้เพื่อแก้ปัญหานำ้ขุ่น ให้เป็นนำ้ใส  เป็นผลิตภัณท์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ไม่มีสารตกค้างกับผู้ใช้งาน คือ ผง SC super clear ผงเร่งการตกตะกอน เหมาะสำหรับการทำประปา , นำ้สำหรับอุปโภค  
สอบถามได้จาก 02-9511831-2  หรือ ติดตามจาก https://www.facebook.com/UMEC.NatureClean/

โดย:  จูน  [7 มิ.ย. 2562 16:47]
ข้อคิดเห็นที่ 45:53


การจ่ายสารคอร์ลีน และสาร pac ควรจ่ายสารเคมีตัวใหนก่อนและควรจ่ายมีระยะห่างกันเท่าใด จ่ายเข้าท่อเดียวกันได้ไหม

โดย:  Duang  [1 ต.ค. 2563 14:22]
ข้อคิดเห็นที่ 46:54

สอบถามครับ​ เวลาทำน้ำเต้าหู้แล้ว
ต้มเสร็จ​  ใส่น้ำตาลเข้าไป
มันจับตัว​ คล้ายวุ้น
มันจะแยกน้ำออกจากถั่ว
เขย่าปุ๊ป​ มันก็รวมกัน​ พอตั้งใว้
มันก็แยกอีก​  ย้ำว่าไม่เสีย
อยากรู้ว่ามันเกี่ยวกับสารจับตะกอนที่ปนเปื้อนมากับน้ำมั้ยครับ
ที่บ้านใช้เครื่องกลองน้ำ​ 2ขั้นตอน
มีppกับคาบอน​ กลองไม่อยู่ครับ
ต้มน้ำก่อนใช้ทำก็ไม่หาย

โดย:  ผู้อยากรู้  [7 ส.ค. 2564 13:17]
ข้อคิดเห็นที่ 47:55

อยากรู้ว่าเราสามารถใช้สารส้มเร่งการตกตะกอนไดเช่น

โดย:  สบงบสวงเกิน  [12 ก.ย. 2564 11:46]
ข้อคิดเห็นที่ 48:56

เครื่องจ่ายแพ็ค โพลิเมอร์ ปั๊มฟีดคลอรีนอัตโนมัติ เพื่อการปรับสภาพน้ำก่อนการอุปโภคและบริโภค
.
เครื่องเติมสารส้ม, เครื่องจ่ายแพ็ค โพลิเมอร์ในกระบวนการปรับสภาพน้ำ (Water Treatment process)ปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ แก้ปัญหาน้ำเป็นกรด-ด่าง เพื่อนำน้ำไปใช้ในการอุปโภคและบริโภค ปั๊มฟีดสารละลายอัตโนมัติ EMEC จากประเทศอิตาลี ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก NSF ให้ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำดื่มได้เพราะวัสดุของตัวปั๊มปลอดภัยไม่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ และมีความแม่นยำในการโดสสารละลายสูง (Accuracy+-2%)
ให้ S Reich ผู้เชี่ยวชาญด้านปั๊มจ่ายสารละลาย เลือกปั๊มที่ถูกต้องเหมาะสมกับกระบวนการปรับสภาพน้ำของท่าน โทร 02-3223188 หรือ ไลน์ sreich
Email : mkt2@sreichcompany.com
http://www.sreichcompany.com/th/index.php

โดย:  mkt2sreich  [10 พ.ย. 2564 14:42]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้