สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การเชื่อมสแตนเลสด้วยอาร์กอนเนี่ยมันมีอันตรายหรือไม่ครับ

คือจากที่ผมเคยได้ยินคนที่เคยทำมาเค้าบอกว่า  แสงจากอารกอนทำให้เกิดเป็นมะเร็งที่ผิวหนัง และมะเร็งในเม็ดเลือด
แม้จะป้องกันโดยการใช้ถุงมือหรือเสื้อผ้าที่แน่นหนายังงัย
แสงจากการเชือ่มก็สามารถลอดผ่านเข้าไปได้
ทีนี้ผมลองค้นจากเวปนี้ดู
ปรากฎว่าการเชื่อมอารกอนไม่มีอันตรายใดๆ
นอกจากทำให้ระคายเคืองเท่านั้น
ซึ่งผิดกับที่ผมได้ยินได้ฟังมา
จึงขอความกระจ่างและยืนยันอย่างชัดเจนมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ขอบคุณครับ

โดย:  พงศ์สรรค์   [30 พ.ค. 2551 21:02]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด พิษวิทยา  /  สารเคมีในสถานประกอบการและความปลอดภัยในการทำงาน
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ก่อนอ่านคำตอบนี้  โปรดไปอ่าน คำถามที่  192  ( ซึ่งมีการอ่านแล้ว ไม่ต่ำกว่า 1,500 ครั้ง )  และ คำตอบที่ ตอบจริงๆ ในคำถามนั้น  ( ไม่ต้องสนใจ คำตอบ แบบชื่นชม หรือ ล้อกันเล่น หรือ ถามเพิ่ม )    
สำหรับ คุณ พงศ์สรรค์    ถ้าคำตอบนี้ ไม่ตรงกับ ข้อมูลจากทั้ง สองฝ่าย ที่คุณ ได้ยิน ได้ค้นและอ่านมา  ( จนเกิดเป็น สภาพ ข้อมูล สาม ฝ่าย ที่ไม่ตรงกัน )  คุณจะทำอย่างไร    ((  คนที่เคยทำมา  ( คนที่ เค้าบอกว่า นั่นแหละ )  ได้เป็นมะเร็งที่ผิวหนัง และ มะเร็งในเม็ดเลือด ไปแล้วโดยพิสูจน์ว่าเกิดจาก   การทำงานเชื่อมโลหะโดยใช้ก๊าซอาร์กอน แล้วหรือ  หรือได้ตรวจพบสิ่งบ่งชี้หรืออาการเริ่มต้นของมะเร็ง แล้วหรือ  ))    ((  เว็บนี้ ที่บอกว่า “ การเชื่อมอาร์กอนไม่มีอันตรายใดๆ  นอกจากทำให้ระคายเคืองเท่านั้น “  เขาบอกอย่างนั้นจริงหรือ  คุณอ่านถี่ถ้วนแล้วหรือ ))    (( คำตอบนี้   ที่จะได้อ่านต่อไป  ได้มาอย่างไร  มีแหล่งอ้างอิงไหม  แหล่งอ้างอิงเชื่อถือได้ไหม  ))
สำหรับ ผู้อ่าน และ ผู้สนใจอื่นๆ    คำตอบนี้ สามารถนำไปใช้ ในการประเมินความเสี่ยง ได้  
ผมขอบอกบ้าง ว่า  [  ก๊าซอาร์กอน มีอันตรายน้อยมาก  ( อันตรายน้อยกว่าก๊าซไนโตรเจนด้วยซ้ำไป )   แต่  “ การทำงานเชื่อมโลหะโดยใช้ก๊าซอาร์กอนที่บรรจุในถังก๊าซภายใต้แรงดันสูง  มีความเสี่ยงและอันตราย  ที่ต้องป้องกันและควบคุม “  ]    ความเสี่ยงและอันตราย เหล่านี้  ได้แก่        
ความเสี่ยงและอันตราย  จากใช้ก๊าซอาร์กอนที่บรรจุในถังก๊าซภายใต้แรงดันสูง    - - >  การป้องกันและควบคุม  - - >  ขอใช้คำตอบ ที่มีผู้ตอบไว้ ในคำถามที่  192  ดังนี้    [[  Argon เป็นแก๊สเฉื่อย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ทำปฏิกิริยากับสารใดๆ  ไม่เป็นพิษ  ;  ถ้าใช้ในงานเชื่อม  อันตรายที่เกิดจากไอแก๊ส ไม่มี  ;  แต่ให้ระวังในเรื่องแรงดัน เพราะแก๊สอาร์กอนจะมีแรงดันสูง  ให้เน้นความปลอดภัยเรื่องการใช้งานท่อแก๊สที่ถูกวิธี ทุกครั้งที่ใช้งาน ท่อแก๊สจะต้องตั้งตรง คล้องโซ่ และที่สำคัญให้ห่างจากแหล่งที่มีความร้อน แก๊สอาร์กอนไม่ไวไฟ แต่ความร้อนจะเป็นตัวที่ก่อให้เกิดแรงดันขึ้นภายในท่อ ประกอบกับเป็นแก๊สที่มีแรงดันสูงอยู่แล้ว อาจทำให้ท่อเกิดการระเบิดได้ ]]    - - >  และ  ขอเสริมด้วยการให้ใช้รองเท้านิรภัยและหมวกนิรภัย รวมทั้งข้อบังคับในการทำงาน  เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทั่วไปที่อาจเกิดในระหว่างการเคลื่อนย้ายและใช้ถังก๊าซ  ( ถังก๊าซ  กับ  ท่อแก๊ส  ในคำตอบ ของ คำถามที่  192  คือ  ของเดียวกัน  แต่เรียกต่างกัน )        
ความเสี่ยงและอันตราย  จาก รังสีอุลตร้าไวโอเลต  ( รังสียูวี )  แสงจ้า  ความร้อน  ไอโลหะ  ( ฟูมโลหะ )  ที่เกิดขึ้นในการทำงานเชื่อมโลหะโดยใช้ก๊าซอาร์กอน    ( ผลกระทบ ต่อ  ตา  หน้า  ผิวหนัง  ระบบทางเดินหายใจ  และ  ผลกระทบต่อสุขภาพ ในระยะยาว )    - - >  การป้องกันและควบคุม  - - >  [ การใช้ หน้ากากสำหรับงานเชื่อมโลหะ  สามารถ ป้องกัน  รังสีอุลตร้าไวโอเลต  ( รังสียูวี )  แสงจ้า  ความร้อน  ;  การใช้หน้ากากแบบมีตลับบรรจุสารดูดซับสำหรับกรองไอสารเคมี  สามารถ ป้องกัน  ไอโลหะ  ( ฟูมโลหะ )  แต่จะใช้งานร่วมกับ หน้ากากสำหรับงานเชื่อมโลหะ ได้ยาก  มักต้องดัดแปลงเป็นการใช้หน้ากากสำหรับกรองไอสารเคมีแบบมีสารดูดซับในชั้นผ้าของหน้ากาก ร่วมกับการระบายอากาศที่ดี  ;  การสวมใส่ชุดกันรังสีความร้อนและถุงมือ  สามารถ ป้องกัน  รังสีอุลตร้าไวโอเลต  ( รังสียูวี )  และ  ความร้อน ]    
ผมมีความเห็นว่า  การป้องกันอันตรายแบบเข้มงวดมาก ตามที่อธิบายไป ( รวมทั้งที่ขอนำคำตอบจากคำถาม ที่ มาช่วยอธิบาย )  จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันอันตราย จาก  การทำงานเชื่อมโลหะโดยใช้ก๊าซอาร์กอนที่บรรจุในถังก๊าซภายใต้แรงดันสูง  ได้ครอบคลุมแทบทุกกรณีความเสี่ยง        
ดังนั้น  ขอให้ใช้วิจารณญาณ  ในการตัดสินใจ  ว่า ควรเชื่อข้อมูลใดบ้าง  และ  ควร  สรุปได้ว่า       ก๊าซอาร์กอน  มีอันตราย อย่างไร    และ  การทำงานเชื่อมโลหะโดยใช้ก๊าซอาร์กอน  มีอันตราย อย่างไร

โดย:  นักเคมี  [1 มิ.ย. 2551 13:17]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

http://en.wikipedia.org/wiki/Gas_tungsten_arc_welding        
( Gas Tungsten Arc Welding  ;  GTAW  -  using Argon Gas )

โดย:  นักเคมี  [22 พ.ย. 2551 12:17]
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

ผมเป็นช่างเชื่อมอาร์กอนคับทํางานมาแปดปี  ยังไม่รู้สึกว่าเป็นอะใรเลย(เวลาเชื่อมผมจะใช้พัดลมดูดอากาศออกจากตัว)ผมว่าอันตรายรึป่าวนั้น มันขึ้นอยู่กับการป้องกันมากกว่าคับ   ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด หาผ้ามาปิดจมูก ร้อนหน่อยแต่ก็มั่นใจคับ อ้อ อย่าลืมใส่หน้ากากล่ะ มันแสบมากเคยโดนแล้ว5555555


โดย:  aekargon  [16 ต.ค. 2553 20:16]
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

ผมเชื่อมวันละไม่ต่ำกว่า20jiont ต้องใส่ชุดที่เปนฟอยตะกั่วครับจะช่วยได้ดีกว่าชุดหนังครับถ้าโดนแสงบ่อยๆมีโอกาสเปนมะเล็งผิวหนังคับ

โดย:  ช่างเชื่อมเนสเล่ส์  [30 ต.ค. 2553 22:02]
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

ผมคิดว่า ถ้าเราป้องกันดีๆ เชฟตี้หน่อย ก็ดีขึ้นเยอะครับ เเต่เรื่องสารนั้น โดยส่วนตัวคิดว่า ป้องกันดีอย่างไร มันก้ออาจเล็ดลอดได้บ้างเหมือนกัน โดยเฉพาะทางหายใจ ถึงก๊าชอาร์กอนจะไม่มีกลิ่น(เมื่อบรรจุอยู่ในถัง) เเต่เมื่อเชื่อมไปเเล้วรู้สึกมีกลิ่นเหม็น จนเวียนหัวเรยทีเดียว(ถ้าสูดดมบ่อยครั้ง)...

โดย:  prapas  [28 มี.ค. 2554 18:44]
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

เชื่อมสแตนเลสระยอง 080-0999808
รอยรั่ว ถังน้ำสแตนเลส

โดย:  ธนกร ศรีจันทร์  [5 มิ.ย. 2554 18:25]
ข้อคิดเห็นที่ 7:8

เป็นหมอ แต่สนใจมากอยากหัดเชื่อมสแตนเลสซื้อของไว้เพียบแต่ยังไม่ลงมือครับ ขอความรู้หน่อยว่าต้องใช้ปริมาณอาร์กอนเท่าไหร่ครับ ใช้แรงดันเท่าไหร่ผมจะเชื่อมสแตนเลสกล่อง6หุน หนา 1.2 มิลใช้ทังสเตน 1.6 ลวดป้อน 2.0  ชี้แนะด้วยนะครับ ไม่เคยทำเลยจริงๆ

โดย:  หมอขอลอง  [13 ส.ค. 2554 22:52]
ข้อคิดเห็นที่ 8:9

ถ้าเชื่อมโดยไม่บ้องกันโดยแสงจากการเชื่อมผิวหนังไหมลอกเบ็นแผ่นเลยผมก็เป็นอยู่5555

โดย:  คนเคย  [25 ก.ย. 2554 12:12]
ข้อคิดเห็นที่ 9:10

ถ้าเชื่อมโดยไม่บ้องกันโดยแสงจากการเชื่อมผิวหนังไห้มลอกเบ็นแผ่นเลยผมก็เป็นอยู่5555

โดย:  คนเคย  [25 ก.ย. 2554 12:12]
ข้อคิดเห็นที่ 10:11

ผมคิดว่าหน้าจะมีอุปกรณ์ป้องกันนะคับผม

โดย:  วิทย์  [15 ธ.ค. 2554 20:37]
ข้อคิดเห็นที่ 11:12

ขอความรู้และความคิดเห็นจากผู้รู้หน่อยคะ คือดิฉันอยากจะทราบว่าการเชื่อมอารกอนในกรณีซ่อมรอยแตกและรอยร้าวกับแม็กรถยนต์มีข้อดีและข้อเสียยังงัยคะ และที่เค้าพูดกันว่าสารตัวนี้เสี่ยงกับการตาบอดบ้างและเป็นมะเร็งบ้างจริงรึเปล่าคะและมีวิธีป้องกันยังงัยคะ ขอข้อมูลที่ถูกต้องหน่อยนะคะดิฉันอยากทราบจริงๆคะ กรุณาตอบทางอีเมล์ได้ไหมคะ หรือโทรมาบอกหน่อยคะ เบอร์ 086-7687675 ขอบคุณคะ

โดย:  หนึ่งคะ  [17 ม.ค. 2555 11:57]
ข้อคิดเห็นที่ 12:13

ผมสนใจอย่ากเรียนเชื่อมอาร์ก้อนบ้าง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นเรียนที่ใหนดี ช่วยเเนะนำผมหน่อยคับ


โดย:  หนุ่มคูโบต้า  [8 เม.ย. 2555 19:56]
ข้อคิดเห็นที่ 13:14

  พึ่งหัดเชื่อมครับวันแรกเลยทำเอาผมต้องร้องไห้ขี้มูกโป่งเลยทีเดียวอะครับ...แต่ต้องทนต่อไปครับให้จบงาน.
 ขอบคุณครับสำหรับความรู้ใหม่ๆและคำแนะนำต่างมีประโยชน์มากทีเดียวครับจากที่ไม่เคยรู้เรื่องแบบนี้มาก่อนเลยอะครับ

โดย:  คน ตจว.  [14 ก.ค. 2555 09:29]
ข้อคิดเห็นที่ 14:15

ต้องการคนทำงานเชื่อมอาร์กอนไม่เป็นจะสอนให้ติดต่อ0847682855

โดย:  เมฆินทร์  [27 ก.ค. 2555 00:45]
ข้อคิดเห็นที่ 15:16

ผมเป็นช่างซ่อม ช่างเชื่อมมาหลายปีหลายบริษัทและก็ดูแลช่างเชื่อมมาหลายปีเหมือนกันความเชื่อที่ผิดๆมักจะยึดติดกับคนที่ไม่ยอมศึกษาหาความจริง คือเค้าเล่ามาว่าจะเป็น...ไม่ผิดหรอกครับตอนผมเป็นช่างใหม่ๆผมก็คิดแบบนั้นเหมือนกัน  สนใจเรื่องเทคนิคการใช้งานหรือซ่อมแซมเครื่องเชื่อม TIG MIG-MAG PLASMA STUD ARC ช่างดร 089-0144464

โดย:  อุดร จันทะผล  [11 ส.ค. 2555 16:27]
ข้อคิดเห็นที่ 16:17

สำหรับคุณหมอถ้ายังไม่มีพื้นฐานอะไรเลย  อยากแนะนำว่าให้ระวังเรื่องความร้อนจากการเชื่อมครับ อาร์กอนถ้าเป็นสถานทีปิด ไม่มีลมโกรก เปิดเกจย์แรงดันแค่5ก็คงน่าจะพอครับ ถ้าลมพัดแรงจนอารืกอนไม่สามารถคลุมแนวเชื่อมได้ก็เร่งเพิ่มขึ้นครับแต่อย่าแรงมาก

โดย:  ช่างโอ อุบล  [19 ส.ค. 2555 23:05]
ข้อคิดเห็นที่ 17:18

เชื่อว่าคุณหมอข้อคิดเห็นที่7 คงอ่านภาษาอังกฤษได้ ลองเข้าไปดูตามlink นี้ครับ
http://www.mig-welding.co.uk/tig-setup.htm ผมก็ศึกษาด้วยตัวเองจากเว็ปนี้ครับละเอียดดีมากสำหรับเบสิค สำหรับผู้ชำนาญแล้วก็ดัดแปลงไปจากนั้นจากความถนัดของแต่ละคน

โดย:  ไสว นิลพรหม  [8 ก.พ. 2556 21:03]
ข้อคิดเห็นที่ 18:19

ผมเชื่อมอาร์กอนมาประมาณ5-6ปีถือว่ายังมือใหม่วันไหนผมผมลืมหน้ากาก3เอ็มแล้วเชื่อมประมาณ60-70จ้อย1-2นิ้วพอนอนวันถัดไปรู้สึกได้เลยว่าไม่มีแรงข้อและเอ็นไม่ส่งกำลังต่างจากเชื่อมไฟฟ้าถ้าเชื่อมเต็มวันเท่ากันผมจะไม่รู้สึกอะไรเลย

โดย:  ช่างโรจน์  [3 มี.ค. 2556 22:38]
ข้อคิดเห็นที่ 19:20

ขนาดแค่ช่วยช่างจับเวลาเชื่อมผมจะเอียงหน้าหนี   รุ่งขึ้นตาเจ็บ   สามสี่วันหน้าเริ่มลอกไปซีกนึงเป็นอาทิตย์กว่าจะลอกหมด   เจ้ากรรมช่างก้อไม่บอกก่อน

โดย:  terder6  [15 เม.ย. 2556 17:45]
ข้อคิดเห็นที่ 20:21

ผมอยากทราบว่างานเชื่อมสแตนเลสมีเครื่องมืออะไรบ้างผมสนใจงานสแตนเลสมากเขาว่ารายได้ดี

โดย:  focus  [22 ก.ย. 2556 15:58]
ข้อคิดเห็นที่ 21:22

ผมเชื่อมทุกวันนี้ไม่เคยใช้หนเากากบังเลยครับผมใช้มือบังแสงครับไม่เห็นเป็นไร

โดย:  จอ้ยช่างสมุทรปราการครับ  [22 ก.ย. 2556 20:22]
ข้อคิดเห็นที่ 22:23

เครื่องเชื่อมติกเชื่อมสเตนเลสบางมากอยากทราบว่าใช้แรงดันไฟฟ้าและแรงดันลมเท่าไหร่ครับขอบทุกคำตอบล่วงหน้าครับ


โดย:  นายธวัชชัย จัตตุพรพงษ์  [13 ก.พ. 2557 14:02]
ข้อคิดเห็นที่ 23:24

ถาดสแตนเลสเชื่อมด้วยอาร์กอน
หากนำถาดใส่ตู้อบของกิน จะมีอันตรายอย่างไรบ้างไหมคะ

โดย:  คุณสุพร  [18 มี.ค. 2557 16:18]
ข้อคิดเห็นที่ 24:25

ผมเคยเรียนมาน่ะแต่ก็ทฤษฏีน่ะแต่ในทางปฏิบัติน้อยมาก มันก็คงมีทั้งคุณและโทษน่ะ สารพิษหรือสารเคมีจากกรรมวิธีการผลิตโลหะต่าง ๆ ก็ต้องมีและที่สำคัญเราต้องป้องกันตนเอง ขนาดเชื่อมไฟฟ้าเองก็ยังป้องกัน

โดย:  ทฤษฏี  [25 พ.ค. 2557 14:36]
ข้อคิดเห็นที่ 25:26

ตอนนี้มีคนต้องการซื้อเครื่องเชื่อม tig ไม่ทราบว่าถ้าเป็นเครื่องมือสองเพื่อน ๆ ท่านใดมีความเห็นเป็นอย่างไร ขอความคิดเห็นจากท่านผู้รู้ด้วย

โดย:  มือใหม่  [25 พ.ค. 2557 14:40]
ข้อคิดเห็นที่ 26:28

ของใหม่ดีกว่าคับ มีหลายยี่ห้อไม่ค่อยแพงมากหมื่นต้นๆพร้อมถังลุยงานได้เลยคับ

โดย:  ช.น.  [11 ส.ค. 2557 22:36]
ข้อคิดเห็นที่ 27:29

ผมก็อยากเรียนเชื่อมสแตนเลสครับ เอาไว้สร้างงานสร้างรายได้    ช่วยแนะนำด้วยครับ

โดย:  เอ๋  [21 ธ.ค. 2557 19:42]
ข้อคิดเห็นที่ 28:31

ผมทำงานเชื่อมมาก็ปีกว่า จนถึงวันนี้ ที่มาค้นหาว่าอันตรายไหม เป็นเพราะผมปวดหัวอย่างมาก แต่ก็ยังไม่ได้บอกนะว่าเป็นเพราะอาร์กอน แค่สงกะสัย แต่ถ้าความคิดเห็นกลุ่มใหญ่บอกว่าไม่อันตราย ผมก็สบายใจล้ะ ขอบคุณ

โดย:  ARK  [28 เม.ย. 2558 06:24]
ข้อคิดเห็นที่ 29:32

ผมเชื่อมเหล็กมา10ปี พักหลังปวดหัว(ขมับ)ทุกวันคิดว่าเกิดจากการทำงานเชื่อมและดื่มแอลกอร์ฮอ (ผมดื่มทุกวัน)ลองหยุดดื่มเป็นอาทิตย์ก็ยังปวดเป็นบางวัน ตัดสินใจไปหาหมอ หมอบอกความดันสูงนิดหน่อยขั้นเริ่มต้น ตอนนี้ผมทานยาลดความดันทุกวันเลิกดื่มเด็ดขาดอาการปวดหัวก็หายไป เพื่อนๆถ้ามีปัญหาสุขภาพควรไปพบหมอครับเพื่อตัวเราเองและคนที่เรารัก


โดย:  ช.น.  [13 พ.ย. 2558 21:57]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้