สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนัง (Moisturizer)

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 2 มิ.ย. 2549
ปกติผิวหนังจะมีการปกป้องการสูญเสียน้ำตามธรรมชาติอยู่แล้ว โดยมีผิวหนัง ขี้ไคล ซึ่งเป็นแผ่นใสคลุมผิวอยู่ นอกจากนั้นยังมีน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวหนังซึ่งช่วยเก็บความชุ่มชื้นของผิวไว้อีกชั้นหนึ่ง แต่บางคนหรือบางสถานการณ์ เช่น โรคหนังแห้งจากพันธุกรรม การชำระล้างเกินความจำเป็น หรือในภาวะอากาศแห้งในฤดูหนาว หรือการทำงานในห้องปรับอากาศ น้ำจะระเหยจากผิวหนังเพิ่มมากขึ้น ผลิตภัณฑ์เพิ่มเพื่อความชุ่มชื้นจึงเป็นที่นิยม จนกลายเป็นความจำเป็นขึ้นมา ลักษณะของผลิตภัณฑ์มีทั้งชนิดครีม โลชันขุ่น โลชั่นใส เจล สเปรย์ หลักการทำงานของมันก็คือ เพื่อให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น องค์ประกอบมีทั้งสารช่วยเพิ่มน้ำในชั้นผิวหนัง เช่น กรดอะมิโน โซเดียมพีซีเอ (Sodium Pyrrolidone Carboxylic Acid) โพลิเพปไทด์ ยูเรีย แลคเตต เป็นต้น ส่วนสารป้องกันการระเหยของน้ำจากชั้นผิวก็เป็นพวกน้ำมันและขี้ผึ่ง ไขสัตว์ ซิลิโคน บางผลิตภัณฑ์จะเติมสารดูดความชื้นจากบรรยากาศเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำจากเนื้อครีม เช่น กลีเซอรีน น้ำผึ้ง กรดแลกติค

ที่มาของข้อมูล:
ดร.จิราภรณ์ เชาวลิต แมกาซีนเคมีน่ารู้ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2547
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
N-(2-Aminoethyl-3-aminopropyl)trimethoxysilane
Glycerine
Lactic acid
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ดีมากเลยค่ะ

โดย:  o-chin  [8 พ.ค. 2550 13:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:4

น่าจะมีข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี พร้อมประโยชน์และโทษของมันด้วยนะค่ะจะดีที่สุดเลย จะรอวันนั้นนะ

โดย:  สบายๆ  [22 ม.ค. 2551 19:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:5

ดีเลยคะสุดยอด...............ถ้ามีเนื้อหามากกว่านี้คงจะดีมากนะคะ

โดย:  คนน่ารัก  [22 พ.ย. 2551 15:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:6

http://en.wikipedia.org/wiki/Moisturizer        Moisturizer        

http://www.mayoclinic.com/health/moisturizers/SN00042        Find out what moisturizers can and can't do for your skin and how to select a moisturizer that suits your needs.

โดย:  นักเคมี  [14 ธ.ค. 2551 09:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:7

แนะนำ  เว็บไซต์  เรื่อง  สารเคมีในชีวิตประจำวัน     ที่  เนื้อหาสาระดี  รูปแบบสวยงาม  วิธีการนำเสนอน่าสนใจ  สื่อสารได้ดี  ฯลฯ        

http://www.pharm.su.ac.th/Chemistry-in-Life/room01.html        

จัดทำโดย  คณาจารย์ภาควิชาเภสัชเคมี  คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย:  chemist  [22 ม.ค. 2552 18:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:9

ดีจังเลยค่ะ  กำลังหาข้อมูลอยู่พอดี  
ขอบคุณมากๆ ค่ะ

โดย:  นักเรียน  [27 ก.ค. 2552 20:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:10

แก้ไข ลิงค์ ใน  ความคิดเห็นที่ 7          

แนะนำ  เว็บไซต์  เรื่อง  สารเคมีในชีวิตประจำวัน     ที่  เนื้อหาสาระดี  รูปแบบสวยงาม  วิธีการนำเสนอน่าสนใจ  สื่อสารได้ดี  ฯลฯ        

http://oldweb.pharm.su.ac.th/Chemistry-in-Life/room01.html        

จัดทำโดย    คณาจารย์ภาควิชาเภสัชเคมี  คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย:  นักเคมี  [28 ส.ค. 2552 23:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:17

Umm, are you really just giving this info out for ntoihng?

โดย:  Susan  [6 มี.ค. 2556 18:14]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:18

You've hit the ball out the park! Inrecidble!

โดย:  Ali  [6 มี.ค. 2556 18:14]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น