สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

คูปราวิต หรือ คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
โรคราน้ำค้างที่ระบาดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เกิดจากเชื้อรา ทำให้ผักตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงไทย แตงโม ฯลฯ มีใบเหลืองแห้ง อาการระยะแรกจะมีจุดสีขาวก่อน แล้วกลายเป็นสีเหลืองและน้ำตาล ชาวไร่จะฉีดพ่นคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์เมื่อแตงอายุได้ 20 วัน ตัวยาเดียวกันนี้ใช้พ่นใบอ่อนหรือผลอ่อนของมะนาว เพื่อป้องกันโรคแดงเคอร์ด้วย โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดแผลตกสะเก็ดที่ใบ กิ่งและผล อาการบนใบเกิดฉ่ำน้ำขนาดเท่าหัวเข็มหมุด และขยายใหญ่ขึ้น อาการรุนแรงทำให้ใบและผลร่วง

คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์เป็นผงสีน้ำเงินแกมเขียว ไม่ละลายในน้ำหรือตัวทำละลายส่วนใหญ่ แต่จะละลายได้ในกรดเจือจาง สลายเมื่อถูกความร้อนประมาณ 220 องศาเซลเซียส กลายเป็น คอปเปอร์ออกไซด์และไอของกรดไฮโดรเจนคลอไรด์ เวลาใช้ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากาก ถุงมือ เสร็จงานแล้วอาบน้ำให้สะอาด อย่านำเสื้อมาใส่ซ้ำถ้ายังไม่ได้ซัก

หมายเหตุ

คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตร

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Copper(II) chloride dihydrate
Copper chloride hydroxide
Copper oxychloride
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขอบคุณครับอาจารย์ที่ให้ความกระจ่างเรื่องโรคพืช

โดย:  tanindejdee  [10 มี.ค. 2552 22:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ยารูปแบบเดิม

โดย:  สำราญ อ่อนลำเนา  [21 ก.ค. 2563 07:42]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ควรพ่นช่วงเช้าหรือเย็นครับ

โดย:  ชยุต  [5 ม.ค. 2566 13:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

ผมปลูกกระท่อม
ตอนนี้ใบเป็นเชื้อราสนิมควรพ่นช่วงเช้าหรือเย็นดีครับ
แต่ตอนเช้าช่วงนี้มีน้ำค้างจับที่ใบครับ

โดย:  ชยุต  [5 ม.ค. 2566 13:49]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น