สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

โมโนโครโตฟอส

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
ประเทศไทยเริ่มนำเข้าโมโนโครโตฟอสครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2508 แต่อาจจะรู้จักกันในชื่ออื่น เช่น อะโซดริน โมโนครอน หรือนูวาครอน เป็นต้น สำหรับประเทศผู้ผลิตนั้นมีหลายแห่ง ได้แก่ ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น อิสราเอล สหรัฐอเมริกา อิตาลี และสวิตเซอร์แลนด์ โมโนโครโตฟอสใช้เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น พวกไร แมลงปากดูด แมลงปีกแข็งพวกกัดกินใบ ที่เป็นอันตรายต่อพืชตระกูลส้ม กล้วยไม้ องุ่น ฝ้าย ถั่วเหลือง พริก หอม กระเทียม เมื่อเป็นสารบริสุทธิ์จะเป็นผลึกไม่มีสี ดูดความชื้นได้ง่าย 74ส่วนที่เป็นผลิตภัณฑ์ขายในท้องตลาด จะมีสารนี้ประมาณ 74 % ระเหยเป็นไอและสูญสลายได้ประมาณ 85 % ภายใน 2 วัน จุลินทรีย์ในดินก็ย่อยสลายได้ แต่ย่อยได้น้อยถ้าความเข้มข้นสูง เมื่อถูกความร้อนจะปลดปล่อยก๊าซพิษพวกออกไซด์ของไนโตรเจน และฟอสฟอรัสออกไซด์ออกมา ตัวของมันเองเป็นพิษเมื่อกลืนกินเข้าไปมากกว่าเมื่อสัมผัส อาการพิษที่แสดงออกคือ อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง น้ำลายและเหงื่อมากผิดปกติ อาจถึงเป็นอัมพาตและตายได้ภายใน 24 ชั่วโมง การใช้สารฆ่าแมลงอย่างกว้างขวาง เป็นการทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำไปด้วย ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สารตัวนี้ถูกกำหนดให้เป็นสารอันตรายชนิดที่สาม หมายความว่า การผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครอง ต้องได้รับอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร

หมายเหตุ

โมโนโครโตฟอส

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตรและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Monocrotophos
Phosphoric acid
Phosphoric acid, (Z)-dimethyl-1-methyl-3-(methylamino)-2-oxo-1-propenyl ester
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น