สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

แอลกอฮอล

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
ชื่อ “แอลกอฮอล” (Alcohol) นี้น่าจะเป็นที่คุ้นเคยมาก น่าจะมาความรู้จักถึงคุณและโทษของมัน เพราะ “ความไม่รู้” นี่เองที่เป็นสาเหตุของอันตราย แอลกอฮอลเป็นชื่อเรียกกลุ่มสารกลุ่มหนึ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ที่รู้จักกันมากที่สุดคือ “เมทานอล” (Methanol) และ “เอทานอล” (Ethanol) หรือที่เรียกกันว่า “เอทิล แอลกอฮอล” (Ethyl) และ “เมทิล แอลกอฮอล” (Methyl) ตามลำดับ

สารทั้ง 2 สามารถละลายในน้ำได้ดีเหมือนกัน ละลายไขมันได้ มีที่ใช้ต่างกันแต่อาจจะใช้แทนกันได้ในบางกรณี ขณะที่บางกรณีถ้าใช้แทนกันจะเกิดอันตรายถึงตายได้ ดังเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า

เวลาเราพูดถึงแอลกอฮอลมักจะนึกถึงเหล้า แอลกอฮอลในเหล้าคือเอทานอลซึ่งเป็นตัวเดียวกับแอลกอฮอลล้างแผล และแอลกอฮอลในของหมักดองต่าง ๆ ถ้าต้องการซื้อเอทานอลก็ไปที่ร้านขายยา ส่วนเมทานอลนั้นใช้เป็นตัวทำละลาย เช่นใช้ผสมในทินเนอร์ ดังนั้นถ้าจะซื้อเมทานอลก็จะได้จากร้านขายวัสดุก่อสร้าง ลักษณะการใช้งานเพื่อเป็นตัวทำละลายจึงใช้แทนกันได้

สารทั้งสองจะมีอะไรหลาย ๆ อย่างคล้ายกัน แต่ความเป็นพิษต่อร่างกายต่างกันมาก โรคพิษสุราเรื้อรังและตับอักเสบ เป็นอาการพิษของผู้เสพสุราเป็นระยะเวลานาน นั่นคืออาการพิษเรื้อรังที่เกิดจากเอทานอล แต่พิษเฉียบพลันที่เกิดจากการกินเข้าไปมาก ๆ ในครั้งเดียวก็คืออาการเมานั่นเอง

แต่สำหรับเมทานอลพิษจะรุนแรงกว่า ผู้ป่วยอาจถึงขั้นตาบอดและตายได้ถ้าดื่มเข้าไป ข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีการหามผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพราะไปกินเหล้าที่เติมเมทานอลลงไป ซึ่งส่วนมากเกิดในงานเลี้ยง บางงานเจ้าภาพต้มเหล้าเถื่อนเองและต้องการจะเพิ่มดีกรีของเหล้าให้แรงสะใจโดยวิธีลัด การหมักจะเกิดเอทานอลขึ้นตามธรรมชาติ คนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์จะเติมแอลกอฮอลเพื่อเพิ่มความแรงของเหล้าให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจริง ๆ ไม่ควรทำอยู่แล้ว ซ้ำร้ายนึกว่าเติมเอทานอลแต่จริง ๆ ไปได้เมทานอลมาจากร้าน เพราะเวลาซื้อบอกแต่ว่าขอซื้อแอลกอฮอล คนขายมีตัวไหนก็หยิบตัวนั้น ถ้าบังเอิญไปถามหาร้านที่ขายส่งสิ่งก่อสร้างก็จะได้เมทานอลมา

ดังนั้นถ้าเรามีความรู้สักนิดว่าแอลกอฮอลหมายถึงอะไร ? เจาะจงตัวไหน ก็จะไม่เกิดโศกนาฏกรรมเช่นนี้ อย่างไรก็ตามการผสมเหล้าด้วยการเติมแอลกอฮอลก็ไม่สมควรอยู่แล้ว กรณีนี้จะเห็นได้ว่า “ชื่อนั้นสำคัญไฉน” ไม่ได้ เพราะผลของมันต่างกันไกลทีเดียว

หมายเหตุ

Methanol

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม

 

 

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Ethyl alcohol
Methanol
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

อยากรู้มากกวานี้


โดย:  แทน?  [28 พ.ย. 2550 12:23]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

เมื่อผลิตก๊าซธรรมชาติจากมูลสุกรได้ ทำไมรัฐไม่ส่งเสริม
ให้ฟาร์มสุกรผลิตก๊าซ เจ้าของฟาร์มจะได้ขายทั้งสุกรและ
ก๊าซ

โดย:  นัด  [11 ก.ค. 2551 11:00]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:6

http://en.wikipedia.org/wiki/Alcohol        Alcohol        
http://en.wikipedia.org/wiki/Ethanol        Ethanol    ( Ethyl alcohol )

โดย:  นักเคมี  [14 ธ.ค. 2551 08:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:7

http://en.wikipedia.org/wiki/Ethanol_fuel        Ethanol Fuel

โดย:  นักเคมี  [14 ธ.ค. 2551 08:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:9

อยากรู้ชื่อโดยละเอียดอ่ะค่ะ หมายถึงรู้ชื่อแอลกอฮอลทุกชนิดอ่ะค่ะว่ามีอะไรบ้าง



โดย:  Soul Mate  [31 พ.ค. 2552 18:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:15

ผมอยากรู้ว่า เราจะหาปริมาตรของเเอลกอฮอร์ในไวท์ได้อย่างไร...

โดย:  pepo  [21 พ.ย. 2552 10:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:16

เป็นประโยชน์มาก เพราะหนูต้องทำการทดลองเกี่ยวกับเอทานอลก็ยังเลือกไม่ถูกว่ามันแตกต่างอย่างไรขอบคุณมากค่ะ

โดย:  buji  [4 ม.ค. 2553 20:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:17

ถึงคุณ Pepoไม่แน่ใจนะคะว่าคำตอบที่แนะนำไปจะถูกต้องหรือเปล่ายังไงก็รบกวนผู้รู้ตรวจสอบให้อีกทีนะคะ
การจะหาปริมาณแอลกอฮอล์ในไวท์มีหลายวิธีการนะคะ
ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีเครื่องมือในการตรวจวัดที่ต่างกัน
แต่ดิฉันจะขอแนะนำวิธีการหาแอลกอฮอล์
โดยใช้เครื่องGC แก๊สโครมาโตกราฟี
ซึ่งเครื่องมือนี้จะเป็นการแยกสารผสมออกจากกัน โดยอาศัยการกระจายตัวของสารในสองเฟส
คือเฟสคงที่และเฟสเคลื่อนที่ เฟสคงที่อาจเป็นของแข็งหรือของเหลว
และเฟสเคลื่อนที่เป็นแก๊สเรียกว่าตัวพา
หลักการก็คือเมื่อตัวอย่างได้รับความร้อนจะกลายเป็นไอ แก๊สพาจะพาสารตัวอย่างเข้าสู่คอลัมน์ องค์ประกอบของสารจะถูกแยกออกจากกันภายในคอลัมน์ซึ่งบรรจุด้วยเฟสคงที่และเข้าสู่เครื่องตรวจวัดสัญญาณ
ก็ประมาณนี้นะคะ
พอดีเป็นprojectที่ต้องทำตอนปี4น่ะคะก็เลยกำลังเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่
ยังไงก็แนะนำมาได้นะคะ

โดย:  เด็กchem  [7 ม.ค. 2553 15:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:22

แล้วจะเตรียมสารตัวอย่างทีึ่่ทำการหมักเพื่อจะหาปริมาณเอทานอลอย่างไรคะก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์โดยเครื่องgc ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

โดย:  nunat  [21 ม.ค. 2554 17:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:34

ขอบมากคุณคับ กำลังทำเรื่องนี้พอดี

โดย:  cc  [6 ม.ค. 2555 16:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:36

อยากรู้ว่าถ้าเราผสมทินเนอร์100%2ส่วนกับแอลกอฮอล์100%1ส่วนเข้าด้วยกันแล้วจะเกิดอันตรายอะไรหรือไม่

โดย:  ธนกร กันทะปริง  [10 ก.ย. 2557 16:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:37

ขอสอบถามว่าแอลกอฮอล์ในร้านขายยายา และแอลกอฮอล์ในร้านว้สดุก่อสร้างสามารถนำมา ใช้ฉีดมือฆ่าเชื้อโรคได้เหมือนกันหรือไม่ครับ สงสัยมากๆครับ

โดย:  วิชัย จริยสุขสกุล  [12 ก.พ. 2564 12:47]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น