สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

คาร์โบฟูแรน อันตรายสำหรับชาวนา-ชาวไร่

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
คาร์โบฟูแรน (Carbofuran) เป็นยาฆ่าแมลง ซึ่งใช้กันแพร่หลายทั่วไป แต่อาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดถึง คูราแทร์ 3% จี หรือฟูราดาน แล้วทุกคนจะต้องร้องอ๋อทันที โดยเฉพาะชาวนาน ชาวสวน ชาวไร่ เนื่องจากชื่อดังกล่าวเป็นชื่อทางการค้าของคาร์โบพูแรน

ชาวนาใช้คาร์โบฟูแรนกำจัดแมลงบั่วในนาข้าวหลังการหว่านข้าว หรือหลังการปักดำ ขณะที่ชาวสวน-ชาวไร่ ใช้คาร์โบฟูแรนกำจัดพวกหนอนและด้วงหลายชนิดที่ทำลายพืชไร่ของพวกเขา เช่น หนอนกระทู้ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนเจาะยอดข้าวฟ่าง หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเหลืองและถั่วฝักยาว ด้วงงวงมันเทศ ด้วงหลอดยาวมันสำปะหลัง เป็นต้น

วิธีการใช้ส่วนมากจะใช้หยอดหลุม หรือโรยตามร่องตอนปลูก ที่สำคัญต้องพยายามอย่าทำให้ผงเกิดการฟุ้งกระจาย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีขายอาจผสมคาร์โบฟูแรนอยู่ในตัวทำละลาย ที่อาจไวไฟได้

อย่างไรก็เมื่อเกิดไฟไหม้ตัวมันเองจะให้ควันพิษ รวมทั้งไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซพิษตัวหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างการโดยการสูดดม หรือกลืนกินเข้าไป จะเกิดอาการวิงเวียน เหงื่อแตก อาเจียน กล้ามเนื้อเกร็ง น้ำลายฟูมปาก และอาจหมดสติได้ ดังนั้นเวลาใช้คาร์โบฟูแรนจึงควรระมัดระวัง อย่าสูดเข้าไป อย่ากินอาหารหรือดื่มน้ำและเครื่องดื่มต่าง ๆ ระหว่างการใช้สารตัวนี้ ต้องล้างมือก่อนกินหรือหยิบอะไรใส่ปาก อีกประการหนึ่งในการขนส่งจะต้องไม่ขนส่งไปพร้อมกับอาหารและของกินได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากอาจเกิดอุบัติเหตุปนเปื้อนได้...

หมายเหตุ

คาร์โบฟูแรน

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตร

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbofuran
Nitrous oxide
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขอปรึกษาหน่อยครับ คือตอนนี้ประสบปัญหา กิ้งกื้อเดินพาเรดกันเยอะมาก ๆ กำลังหาวิธีกำจัดที่ได้ผล 100 % มีคนแนะนำให้ใช้ ฟูราดาน ไม่ทราบว่า สามารถใช้ได้กับปัญหานี้ หรือเปล่า และ 100 % หรือไม่ มีผลเสียอย่างไรบ้าครับ

โดย:  สุรศักดิ์ ปิงยศ  [1 พ.ย. 2550 11:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

คาร์โบฟูราน จะใช้กำจัดกิ้งกือได้หรือไม่ คงต้องรอผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรมาตอบอีกที
ส่วนในด้านความเป็นพิษนั้น คาร์โบฟูรานจัดเป็นสารพิษพวกคาร์บาเมต ซึ่งมีฤทธิ์
ยับยั้งการทำงานของระบบประสาทที่รวดเร็วและรุนแรง แต่ก็หายเร็ว และไม่ใช่สารก่อมะเร็ง
อาการเป็นพิษประกอบด้วย น้ำลายไหลฟูมปาก หัวใจและการหายใจช้าลง โคม่า
ถ้าคุณสุรศักดิ์จะใช้ต้องระวังให้มากๆ โดยเฉพาะการที่เด็ก คนในครอบครัว และสัตว์เลี้ยง อาจสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์  [3 พ.ย. 2550 08:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

เนื่องจากกิ้งกือไม่ใช่ศัตรูพืช ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรอาจไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ อย่างไรก็ตามคาร์โบฟูรานอาจใช้กับกิ้งกือได้เช่นเดียวกับในแมลง เนื่องจากลำตัวกิ้งกือมีส่วนประกอบของไคตินเช่นเดียวกับแมลง สารเคมีจะสามารถผ่านผนังลำตัว แบบ contact insecticidal effect ออกฤทธิ์ต่อการยับยั้งระบบประสาทของแมลง

การใช้ควรระวังเนื่องจากเป็นสารที่มีพิษแบบถูกตัว หรือ contact ดังนั้นการสัมผัสโดยตรงจะส่งผลต่อคนด้วย

หรืออาจใช้วิธีการอื่นๆ แทนการใช้สารเคมีอันตราย เช่น โรยด้วยผงที่เป็นฝุ่น เช่น แป้ง ปูนขาว อาจจะช่วยลดปริมาณก้งกอทางอ้อม เพราะอาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของกิ้งกือได้


โดย:  รศ. ดร.อรพิน เกิดชูชื่น  [8 พ.ย. 2550 15:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:4

คาร์โบฟูแรน (Carbofuran)ตัวนี้ในประเทศยังมีการขายสารตัวนี้อยู่หรือเปล่าครับและปริมาณอัตราส่วนผสมในการใช้กำจัดหนอนกอในไร่อ้อยปริมาณเท่าไรครับ

โดย:  ชาวไร่อ้อยชุมแพครับ  [24 มิ.ย. 2551 10:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:5

รายชื่อผลิตภัณฑ์ที่มีคาร์โบฟูแรนที่มีขายในประเทศไทยดูได้ที่ http://www.chemtrack.org/Chem-Product.asp?ID=07641

การป้องกันและกำจัดหนอนกออ้อย

การสุ่มเพื่อสำรวจดูความเสียหายและประชากรของหนอนกออ้อย
Ø     เมื่ออ้อยอายุ 1-1.5 เดือน ให้สุ่มนับอ้อย 100 กอ โดยนับในจำนวน 20 แถว แถวเว้นแถว จำนวน 5 กอต่อแถว

Ø  เมื่ออ้อยอยุ 2-4 เดือน ให้สุ่มนับ 50 กอ โดยนับในจำนวน 10 แถว แถวเว้นแถว  จำนวน 5 กอต่อแถว และจะต้องทำการป้องกันกำจัดเมื่อพบว่ามีการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยสูงกว่า 10% ของการสุ่มในพื้นที่ 1 ไร่เท่านั้น

ปลูกอ้อยพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อหนอนกอ เช่น เอฟ156, อู่ทอง1 และ เค84-200 และหลีกเสี่ยงการปลูกอ้อยพันธุ์ที่อ่อนแอในขณะที่มีการระบาดของแมลงเช่น มาร์กอส, คิว, ฮาวาย, ฟิลิปปินส์ และไตรตัน
ในอ้อยตอให้ใช้ใบอ้อยคลุมแปลงไว้ ไม่ควรเอาจะทำให้สามารถลดการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยในฤดูถัดไปได้
ถ้าต้องไถตออ้อยทิ้งให้ทำลายตออ้อยให้หมด เพื่อกำจัดหนอนหรือดักแด้ที่อยู่ในตออ้อย
ลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะเริ่มปลูก เพราะหนอนจะชอบหน่ออ้อยที่มีความอวบอ้วน และเมื่อมีการกำจัดหนอนให้มีจำนวนน้อยกว่า 10% จึงค่อยเร่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจนได้
ใช้สารเคมีกำจัด
Ø      ใช้สารเคมีเมื่อพบว่าหนอนกออ้อยมีการระบาดมากกว่า 10%

Ø      การใช้สารเคมีในดินจะมีความปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติมากกว่าการใช้สารเคมีชนิดน้ำในการฉีดพ่น

Ø   หากจำเป็นต้องมีการใช้สารเคมีให้ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นถึงค่ำ จะเป็นการช่วยกำจัดตัวเต็มวัยซึ่งจะบินไปมาในช่วงเวลากลางคืนด้วย

Ø   หลังพ่นสารเคมีแล้วจะต้องทิ้งระยะห่าง 10-15 วัน จึงจะปลอดภัยสำหรับการปล่อยแตนเบียนหนอนหรือแตนเบียนไข่และแมลงหางหนีบ

Ø   ในที่ที่มีความชื้นในดิน (ฤดูฝนหรือต้นฝน) ให้ใส่คาร์โบฟูแรน (ชื่อการค้าคือฟูราดาน3%จี หรือคูราทาร์3%จี) ในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่อใส่ฟูราดานแล้วสามารถปล่อยแตนเบียนไข่หรือแตนเบียนหนอนได้พร้อมกันได้

Ø   ในกรณีที่ไม่มีความชื้นในดิน และไม่มีแตนเบียนจะปล่อย ให้ใช้สารเคมีฆ่าแมลงแบบพ่น สารเคมีที่แนะนำคือ เดลต้ามีทรีน (ชื่อการค้าคือ เดซีส 3%อีซี, ดัสโต้ 3%อีซี หรือซิสรีน 2.5%อีซี เป็นต้น) อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้งห่างกันครั้งละ 15 วัน หรือไซเปอร์เมทริน(ชื่อการค้า เช่น ซิมบุช 25%อีซี, นอคทริน 25% อีซี, มาแตง 25%อีซี, แชมป์ 25%อีซี นูเรล 25%อีซี, มิกซ์ 25%อีซี และริคาด 15%อีซี) อัตรา 15-30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นหรือหยอดยอดด้วย

Ø   สารไวท์ออยล์ใช้ได้ผลดี ไม่เป็นพิษต่อผู้ฉีดพ่นและสิ่งแวดล้อม ควรใช้ก่อนการปล่อยแตนเบียนหนอนหรือไข่ประมาณ 10-15 วัน เพราะหากจากใช้หลังจากปล่อยแตนเบียนไข่ 1-8 วัน จะทำให้ไข่หรือหนอนของหนอนกออ้อยที่ถูกแตนเบียนทำลายตายในทันที และแตนเบียนก็จะตายไปด้วย

การใช้ศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ คือแมลงด้วยกันเองที่มีบทบาทเป็นตัวห้ำ (predator) และตัวเบียน (parasite) ซึ่งเหล่านี้ล้วนแมลงที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ และสามารถกำจัดหนอนกออ้อยหรือแมลงศัตรูอ้อยอื่น ๆ ได้อยู่แล้ว ในปัจจุบันนี้เกษตรกรชาวไร่อ้อยก็สามารถที่จะเพาะเลี้ยง ผลิตและขยายได้เองก่อนที่จะปล่อยในธรรมชาติได้ ซึ่งตัวห้ำและตัวเบียนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและประสบความสำเร็จในปัจจุบันประกอบด้วย

1. แตนเบียนหนอนโคทีเซีย ( Cotesia flaviopes Cameron ) เป็นแตนเบียนที่จัดว่าเป็นการเบียนภายในร่างกายของเหยื่อ  (endo-parasite) กล่าวคือ ตัวเมียจะมุดเข้าไปในรูที่หนอนกออ้อยเจาะและจะวางไข่ไว้ในตัวหนอนกออ้อย ตัวอ่อนของแตนเบียนที่เกิดในตัวหนอนกออ้อย จะเจริญเติบโตและดูดกินภายในหนอนกออ้อย เพื่อเข้าดักแด้ ตัวหนอนกออ้อยจะอ่อนแอและตายไปในที่สุด
2. แตนเบียนไข่ตริโคแกรมม่า (Trichogramma spp.) แตนเบียนไข่ ตริโคแกรมม่า เป็นแตนที่จะมีการวางไข่ไว้ในไข่ของหนอนกออ้อย นอกจากช่วยทำลายไข่ของผีเสื้อหนอนกออ้อยได้เป็นจำนวนมากแล้ว ยังช่วยทำลายไข่ผีเสื้อหนอนกอข้าว ไข่ผีเสื้อหนอนม้วนใบข้าว ไข่ผีเสื้อเจาะลำต้นข้าวโพด ไข่ผีเสื้อหนอนเจาะสมอฝ้าย และไข่ผีเสื้ออื่น ๆ ที่ไปทำลายไม้ผลและป่าไม้ต่าง ๆ มีรายงานจากประเทศอินเดีย และบาร์บาโดส ว่า การปล่อยแตนเบียนตริโคแกรมม่าในไร่อ้อย สามารถที่จะควบคุมการระบาดของหนอนกออ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงนับว่าเป็นแมลงที่มีประโยชน์อย่างกว้างขวาง
3. แมลงหางหนีบ (Proreus simulans stallen) แมลงหางหนีบเป็นแมลงที่ตั้งแต่ระยะตัวอ่อนจนถึงตัวแก่มีผลช่วยควบคุมจำนวนประชากรไข่ และหนอนของแมลงต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกว้างขวาง หนอนศัตรูพืชที่แมลงหางหนีบสามารถดำเนินการควบคุมได้เช่น หนอนกออ้อย หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนกระทู้ข้าวโพด หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนชอนเปลือกลำต้นลองกอง และเพลี้ยอ่อนชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
การเลี้ยงเพื่อการผลิตให้ได้แมลงหางหนีบจำนวนมากนั้น ภาชนะแต่ละใบจะต้องมีใบไม้หรือปุ๋ยหมักรองพื้นอยู่ และอาจจะให้อาหารจำพวกอาหารแมวได้ โดยในแต่ละกล่องจะทำให้ได้แมลงหางหนีบหลายร้อยตัว  (ที่มา : http://www.ipmthailand.org/images/Natural_enemies/P/earwigs.htm)
แมลงหางหนีบจะออกหากินในช่วงเวลากลางคืน ในช่วงกลางวันแมลงหางหนีบจะซ่อนตัวอยู่ในที่มืดและมีความชุ่มชื้น ฟางข้าว และถังพลาสติกให้น้ำซึมออกมาจึงมีความจำเป็นสำหรับการปล่อยแมลงหางหนีบ

(ที่มา : http://www.ipmthailand.org/images/Natural_enemies/P/earwigs.htm)





การใช้ตัวห้ำและตัวเบียนทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวร่วมกัน จะช่วยให้การควบคุมและกำจัดหนอนกออ้อย และควบคุมแมลงศัตรูพืชอื่น ๆ ในไร่อ้อยอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ที่มาข้อมูล http://www.ocsb.go.th/udon/ToWeb/490601_Thawath.htm


โดย:  วลัยพร  [26 ส.ค. 2551 11:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:6

อยากทราบว่า คาร์โบฟูราน 3 จี ใช้ฆ่าแมลงในฟาร์มไก่เนื้อได้มั้ยคะ และถ้าใช้ได้ต้องใช้อย่างไรคะ

โดย:  รัตติยา  [27 ส.ค. 2551 16:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:7

อยากสอบถามหน่อยค่ะว่าฟูราดาลสามารถกำจัดปลวกที่กินราก-ต้นยูคาได้หรือปล่าวค่ะ ช่วยแนะนำหน่อยค่ะว่ามีวิธีใหนบ้างที่สามารถฆ่าปลวกได้เพราะตอนนี่เพิ่งจะปลูกยูคาเสร็จใหม่ๆก็เจอปลวกกินรากซะแล้วค่ะกลุ้มใจจังไม่รู้จะแก้ปัญหาได้ยังงัยค่ะรบกวนช่วยแนะนำด้วยค่ะ

โดย:  ธิดารัตน์  [6 ต.ค. 2551 12:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:10

อยากทราบว่ามีการทำวิจัยเกี่ยวกับคาร์โบฟูรานรึเปล่าค่ะ

โดย:  อัญชลี  [29 มิ.ย. 2552 18:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:11

ฟูราดานในการกำจัดหนอนกออ้อยใช้ผสมน้ำฉีดหรือหวานในร่องอ้อยครับหนอนกออ้อยกำลังลงอ้อยเยอะเลยครับ(กาฬสินธุ์)

โดย:  ปริชญ์  [17 ม.ค. 2553 07:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:13

บริษัทไม่แน่นำให้ละลายน้ำฉีด เพราะเป็นการใช้ที่ผิดวิธี ให้ใช้หว่านลงดิน เพื่อประโยชน์และปลอดภัยสูง และใช้ได้ดีในการกำจัดหนอนกออ้อยแมลงใต้ดิน ฟูราดาน ไม่ได้เป็นอันตรายอย่างที่ทุกคนเข้าใจ ถ้าใช้อย่างถูกวิธี

โดย:  FMC  [3 มี.ค. 2553 16:00]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:14

ไม่ทราบว่าสารฟูราดานใช้กำจัดเสี้ยนดินและตัวอ่อนของด้วงหมัดผักได้รึเปล่าคะปลูกหัวไชเท้าค่ะเป็นอุปสรรคมากเลยผิวเสียขายไม่ได้เลย แล้วจะมีสารตกค้างหรือเปล่าคะ

โดย:  อภิรดี  [22 มี.ค. 2553 22:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:15

ไม่ทราบว่าฟูราดานสามารถกำจัดหนอนกออ้อยได้จริงหรือใช้ยังไงบอกที

โดย:  123  [17 เม.ย. 2553 10:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:16

ขิงแดงยอดเหี่ยวแห้งตายทั้งๆที่ความชื้นสูงใส่ฟูราดานที่โคนต้นจะช่วยได้ไหม

โดย:  kang  [21 เม.ย. 2553 15:18]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:17

สวัสดีครับอยากสอบถามว่าฟูราดาลสามารถกำจัดปลวกประเภทที่ไม้กินไม้ได้จริงหรือไม่เพราะว่ามีช่างไม้คนหนี่งเขาแนะนำมาแต่ผมไม่กล้าทดลองจึงอยากสอบผู้รู้ช่วยแนะนำให้ทีครับ

โดย:  คนเชียงใหม่  [8 มิ.ย. 2553 11:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:18

ฟูราดาลใช้กำจัดหนอนกออ้อยได้แน่หรือคะ  ช่วยแนะนำด้วยแล้วของแท้ซื้อที่ไหนได้   และ1. แตนเบียนหนอนโคทีเซีย 2. แตนเบียนไข่ตริโคแกรมม่า
3. แมลงหางหนีบ  มีที่เพาะพันธุ์ไว้จำหน่ายไหมคะ

โดย:  คนปลูกอ้อยมือใหม่  [1 ส.ค. 2553 19:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:19

อยากทราว่าฟูราดานเมื่อใช้รองก้นหลุมสามารถมีอายุการใช้งานอยู่ได้ประมาณกี่วันถ้าจะใช้กับพืชอายุสั้นพวกแตงโมจะต้องใช้อย่างไรให้ปลอดภัย และจะใช้ฟูราดานในการกำจัดหนอนห่อใบถั่วลิสงได้หรือไม่เพราะตอนนี้มีการระบาดของหนอนห่อใบถั่วลิสงเป็นจำนวนมากที่บ้านป่าพลู อ.จะนะ จ.สงขลา ไม่ทราบว่าจะต้องแจ้งหน่วยงานใหนมาดูแล

โดย:  เกษตรกรมือใหม่  [13 ก.ย. 2553 20:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:20

สารคาร์โบฟูรานกับในโตรฟูทีแรนมีคุณสมบัติแตกต่างในการใช้กับพืชอย่างไรบ้างครับ

โดย:  นายไกรวัลย์ นวกุลกานต์  [21 ต.ค. 2553 10:37]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:21

ขออภัยเพือ่นๆสมาชิกขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลคำถามเนื่งจากจำข้อมูลสับสนเป็นคำถามใหม่ดังนี้นะครับสารคาร์โบฟูรานกับสารไดโนทีฟูแรนมีคุณสมบัติแตกต่างในการใช้กับพืชอย่างไร

โดย:  นายไกรวัลย์ นวกุลกานต์  [21 ต.ค. 2553 13:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:22

ถ้านำฟูราดานไปหว่านในแปลงข้าวโพดที่ต้นล้มแล้วนำใบข้าวโพด
จากฝักข้าวโพดแห้งไปให้วัวกินจะมีอันตรายและมีวิธีตรวจสอบสารตกค้าง
อย่างไรค่ะ

โดย:  พิมพ์ชนก หมุนกลาง  [4 พ.ย. 2553 22:52]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:23

คุณคนปลูกอ้อยมือใหม่คับ หากใช้ก็คืออ้อยไม่เกิน 3 เดือน ดินมีความชื้นพอเหมาะ หากอ้อยอายุมากกว่านั้น ประสิทธิภาพจะไม่ค่อยดีนัก การใช้ให้รองพื้นก่อนปลูก 10 - 15 ก.ก./ไร่ครับ ส่วน ตัวห้ำ ตัวเบียนนั้นใกล้ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ไหนให้ขอที่นั่นครับ และโรงงานน้ำตาลส่วนใหญ่จะเพาะเลี้ยงบริการชาวไร่อยู่นะครับลองขอหัวหน้าเขตดูของผมอยู่โรงงานน้ำตาลสระแก้วครับ เป็นผู้ผลิตแตนเบียนไข่ และแมลงหางหนีบอยู่และมีการส่งเสริมแมลงหางหนีบให้ชาวไร่เลี้ยงเองด้วยหากสนใจเลี้ยงเองก็0843524704 ครับผมเผอิญผ่านมาครับคงไม่ได้เข้ามาอีก  ปล.ที่ปรึกษาผมคือ ดร.สุริยันต์ ที่เคยผลักดันเรื่องฟูราดานตั้งแต่ยุคแรกๆ

โดย:  วิชิต  [15 พ.ย. 2553 13:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:24

นำฟูราดานไปใส่ต้นมะม่วงที่กำลังออกดอกอยู่ เมื่อมะม่วงสุกแล้วนำมารับประทานจะมีอันตรายหรือเปล่าค่ะ กรุณาตอบด้วยค่ะ

โดย:  ประภา  [17 ธ.ค. 2553 11:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:25

จับขาย วางบ่วง จับทาน ส่วน ฟูราดาน  เป็นเก็ดสีม่วงละลายน้ำได้ดี   เมื่อไหม้ตัวมันเองจะให้ควันพิษสีเทาขุ่นมีกลิ่นเหม็นอัตารายต่อเหยื่อบุโพลงจหูก รวมทั้งไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซพิษ ผลตกค้างในดิน10 ปี เป็นอย่างน้อย

โดย:  กฤษณ์ กุศล  [2 ม.ค. 2554 20:23]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:26

อยากทราบวิธีกำจัดหนอนกออ้อยโดยทางธรรมชาติและทางสารเคมีและวิธีการใช้สารเคมีปริมาณการใช้

โดย:  สมชาย  [1 ก.พ. 2554 07:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:27

หากใครคิดใช้ สารฟูราดาน  ขอบอกว่าอย่าใช้มันเลย เพราะได้ไม่คุ้มกับเสีย
คนแถวบ้านเราใช้สารนี้ในข้าว มากเกินไป ผ่านมาไม่ถึงเดือน เขาคนนั้นก็เสียชีวิตแล้ว ไม่น่าเชื่อจริงๆ เพราะความไม่รู้ทำให้ต้องจบชีวิตลง  น่าเศร้าใจจริงๆ

โดย:  พิมพ์  [11 เม.ย. 2554 19:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:33

จริงครับ ผมก็ขายสารตัวนี้อยู่ที่ร้านใน อ.ศรีราชา ผมจะบอกคุณ และโทษของสารตัวนี้ให้ลูกค้าทราบก่อนที่จะใช้ครับ จากความเห็นที่22 ที่เสียชีวิต ก็เพราะไม่ศึกษาการใช้และข้อห้ามของสารให้เคร่งครัด หรือว่าทางร้านไม่อธิบายให้ทราบถึงโทษอันตราย
ทุกวันนี้เกษตรกรรมใช้สารเคมีผิดๆเพราะทางร้านค้าไม่มีการอธิบายให้ลูกค้าทราบ ผมจะอธิบายให้ลูกค้าทุกครั่งเพราะ เขาปลูก เราเป็นคนทานก็ต้องระวังด้วย


โดย:  อนันท์  [22 ธ.ค. 2555 21:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:34

ฟูราดานใช้ฆ่าเพลี้ยได้หรือไม่ และมีอันตราต่อข้าวและคนหรือไม่คะ ช่วยตอบด้วยค่ะ

โดย:  เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง  [13 ก.พ. 2556 11:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 25:35

ถ้าใช้ฟุราดานมากเป้นอะไรหรือเป่ลา

โดย:  rossarin  [5 ส.ค. 2556 09:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 26:36

ใช้คาร์โบฟูแรนกำจัดหนอนกอในนาข้าวได้ไหมครับ

โดย:  สำนักจัดการและบริหารป่าชายเลนที่3  [25 พ.ย. 2561 18:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 27:37

ละลายน้ำปล่อยไปกับระบบน้ำหยดได้ไหมคับ
ปลูกพริกครับ

โดย:  จิตรา  [13 ธ.ค. 2561 20:23]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 28:38

เอาใส่มะพร้าวอยากทราบว่าจะทานนำ้มะพร้าวได้หรือไม่คะหรือต้องมีระยะเวลาคะขอบคุณค่ะ

โดย:  เมี่ยงปลาทู  [25 มิ.ย. 2562 08:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 29:39

ถ้าโดนผิวหนังโดยตรง จะมีอาการอย่างไร จะแก้อย่างไร

โดย:  ยงยุทธ  [4 ก.ย. 2562 16:05]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น