สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

ฟอร์มาลีน-ฟอร์มัลดีไฮด์ สารร้ายตัวก่อมะเร็ง

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
“ฟอร์มาลีน-ฟอร์มัลดีไฮด์” ทั้งสองตัวนี้ในทางเคมีคือสารตัวเดียวกัน เพียงแต่ว่าเมื่ออยู่ในรูปของสารละลายจะเรียกว่า “ฟอร์มาลีน” ซึ่งเป็นชื่อที่เราคุ้น ๆ กันดีก็คือน้ำยาดองศพนั่นเอง ส่วน “ฟอร์มัลดีไฮด์” มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหะภูมิปกติ มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ส่วนมากที่จำหน่ายกันอยู่ทั่วไปอยู่ในรูปของสารละลายน้ำภายใต้ชื่อน้ำยาฟอร์มาลีน

โดยปกติสารละลายนี้จะไม่เสถียรเมื่อเก็บไว้นานโดยเฉพาะที่อุณหภูมิสูง จะกลายเป็นกรดฟอร์มิก จึงมีการเติมสารยับยั้งหรือที่เรียกว่าสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวสเตบิไลเซอร์ เช่นเมทานอล 5-15 เปอร์เซ็นต์ หรือมีขายในรูปของพาราฟอร์มัลดีไฮด์ มีประโยชน์ในฐานะที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมาย ที่ใช้มากคือนำไปทำเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ ที่มีชื่อเรียกกันว่า “ยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์” หรือ “ฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์” ที่ใช้เป็นกาวสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ ใช้ทำโฟมเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น

สำหรับในวงการแพทย์ใช้ประโยชน์มากมาย อย่างเช่นการดองศพ ใช้ในเวชภัณฑ์ เช่นยาอม ใช้ฆ่าเชื้อโรค และฟอกหนัง เป็นต้น

ไอของฟอร์มัลดีไฮด์จะระคายตา จมูก และผิวหนัง ทำให้เป็นแผลหรือถึงขั้นตาบอด ถ้าสูดดมเข้าไปมาก ๆ จะทำให้น้ำท่วมปอด จนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก และตายในที่สุด อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหลายชั่วโมงหลังจากได้รับสารโดยไม่มีอาการเจ็บปวดเลยก็ได้ หากได้รับปริมาณน้อยเป็นเวลานาน จะมีอาการไอและหายใจติดขัดเพราะหลอดลมอักเสบ เป็นต้น

สารเคมีมีประโยชน์ถ้าใช้อย่างถูกต้อง เมื่อทราบพิษภัยของมันแล้ว จงอย่าคิดนำฟอร์มาลีนไปล้างผักอย่างที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนกระทำกันอยู่ และเป็นข่าวอยู่เสมอ สิ่งตกค้างย่อมเป็นอันตรายได้เมื่อกินเข้าไป โดยเฉพาะฟอร์มัลดีไฮด์นี้มีข้อพิสูจน์ที่พอจะเชื่อได้ว่าเป็นสาร “ก่อมะเร็ง”

หมายเหตุ

Formaldehyde

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมประมง

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Formaldehyde
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ในการผลิตผ้าจะใส่formaldehydeในขั้นตอนใด และในการส่งออกต่างประเทศสามารถใส่ได้ในปริมาณเท่าไหร่ครับ  ขอบคุณครับ

โดย:  ศักดิ์กวิน  [18 ก.ย. 2549 15:22]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

formaldehyde ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอเพื่อวัตถุประสงค์หลากหลายและใช้ในหลายขั้นตอนของการผลิต ตัวอย่างเช่นใช้เป็นสารกันไม่ให้ผ้ายับยู่ยี่ในขั้นตอนการผลิตผ้าชิ้นสำเร็จรูป ซึ่งจะทำให้ formaldehyde ที่ไม่ได้ทำปฏิกิริยาสะสมอยู่ที่ผ้าและระเหยออกมาได้
ปริมาณ formaldehyde ในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผ้ามีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ตัวอย่าง
- ประเทศญี่ปุ่น กำหนดว่าในเสื้อผ้าเด็กทารกต้องตรวจวัดไม่พบ และสำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไปมีได้น้อยกว่า 75 ppm
- ฟินแลนด์ สำหรับเด็กทารก - 2 ขวบ น้อยกว่า 30 mg/kg, ผ้าที่สัมผัสผิวโดยตรง น้อยกว่า 100 mg/kg
- สหภาพยุโรป สำหรับเด็กทารก น้อยกว่า 30 ppm, ที่สัมผัสผิวโดยตรงน้อยกว่า 75 ppm, อื่น ๆ น้อยกว่า 300 ppm

โดย:  วลัยพร  [18 ก.ย. 2549 20:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

การตรวจวัดหาสารนี้ทำได้อย่างไรคะ หากเกินเท่าไหร่จึงเป็นอันตราย

โดย:  no_no  [17 มี.ค. 2550 15:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

เรามีวิธีวิเคราะห์นะ

โดย:  yuphin  [17 ก.ค. 2550 15:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

การวิเคราะห์หาฟอร์มาลีนในอาหารมีกี่วิธี วิธีใดบ้างคะ และฟอร์มาลีนมีกลไกอย่างไรที่ทำให้ปลาไม่เน่า และถ้าแช่ปลาทั้งตัวลงในน้ำยาฟอร์มาลิน ฟอร์มาลีนจะสะสมอยู่ทีใดมากที่สุดคะ ช่วยตอบด้วยค่ะจะทำรายงานค่ะ


โดย:  ning  [24 ส.ค. 2550 10:58]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :6

กรมอนามัยมีชุดทดสอบฟอร์มาลินอย่างง่าย โดยกองสุขาภิบาลอาหาร  ส่วนเรื่องการเก็บรักษาปลาไม่ให้เน่านั้น วิธีดีที่สุดคือการแช่เย็นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้มีอุณหภูมิ 0 ถึง -1 ซ. ปลาเกิดการเสียจากการย่อยตัวเอง โปรตีนปลาย่อยง่ายกว่าของเนื้อสัตว์ ปลาจึงเน่าเร็วกว่า เรื่องฟอร์มาลินสะสมที่ใดนั้น ไม่ทราบค่ะ

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [29 ส.ค. 2550 16:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

มีญาติดื่มฟอร์มาลีนโดยไม่รู้ว่าเป็นฟอร์มาลีนเพราะแช่ในตู้เย็นอยากทราบมีวิธีรักษาหรือไม่

โดย:  อิง  [7 ก.ย. 2550 00:22]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :8

ไม่น่าแปลกใจนะครับที่มีคนเอาฟอร์มาลินใส่ในตู้เย็น เพราะเคยมีคนเก็บสารสารพัดชนิดไว้ในตู้เย็น เช่นยาฆ่าแมลง โซดาไฟ (ใส่ในขวดน้ำดื่ม) เป็นต้น
การได้รับฟอร์มาลินแบบนี้ถือว่าเป็นแบบเฉียบพลัน ดังนั้นพิษจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่อไต ตับ เม็ดเลือด และหลอดอาหาร
การรักษาเบื้องต้น คือให้ดื่มน้ำทันที่ 1 แก้ว แล้วตามด้วยถ่านกัมมันต์ผง (คงเป็นหน้าที่ของแพทย์) และพยายามช่วยการหายใจ
ถ้าตับวาย/ไตวายก็รักษาตามอาการ
ไม่มียารักษาพิษโดยตรง
สิ่งที่น่าจะเป็นปัญหาสำคัญก็คือถ้าคนไข้รอดมาได้ น่าจะเกิดหลอดอาหารตีบ
ซึ่งอาจต้องแก้โดยการถ่างหลอดอาหาร หรือใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง
และระยะยาวอาจต้องผ่าตัดเอาหลอดอาหารออกและเอาลำไส้ใหญ่มาต่อแทน


โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์  [10 ก.ย. 2550 21:58]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:9

เครื่องทำน้ำโอโชนที่โฆษณาว่าสามารถล้างฟอร์มาลีนออกจากอาหารเช่น กุ้ง,ปลา,ปลาหมีก อื่น ๆ ได้ สามารถล้างได้จริงจริงหรือเปล่าค่ะ อยากรู้ค่ะซื้อมาแล้วแต่ก็ไม่แน่ใจว่ามันจะสามารถทำได้จริง

โดย:  อรัญญา สุขสบาย  [6 ต.ค. 2550 20:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:10

เท่าที่มีข้อมูลพบว่าประเด็นนี้ยังคงมีข้อถกเถียงกันอยู่ค่ะ เช่นเอกสารที่ http://bryairlearninginstitute.org/pdf/presentations/ozone_paper.pdf

ถ้าเป็นเรื่องฆ่าเชื้อนั้นโอโซนทำได้แน่ อย่างไรก็ตาม โอโซนสามารถทำอันตรายเราได้ ถ้าเราหายใจเอาโอโซนเข้าไปมาก ๆ (ดูเพิ่มเติมที่ http://coep.pharmacy.arizona.edu/air/air_quality/OZONE.pdf)

ดังนั้น การใช้เครื่องกำเนิดโอโซนควรปฏิบัติตามคำแนะนำ โอโซนปริมาณน้อยๆ ไม่เป็นอันตรายค่ะ

โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [19 ต.ค. 2550 00:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:11

ฟอร์มาลีนเป็นอย่างไรเอารูปภาพมาให้ดูหน่อยครับ

โดย:  ฟอร์มาลีนเป็นอย่างไรเอารูปภาพมาให้ดูหน่อยครับ  [6 พ.ย. 2550 16:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:12

สาร Formaldehyde กับสาร Formic acid ต่างกันอย่างไรค่ะ แล้วสารทั้งสองชนิดนี้ต้องตรวจหาในปัสสาวะใช่ไหม


โดย:  da  [4 ธ.ค. 2550 18:31]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:13

ถ้าต้องการตรวจสอบหาสารฟอร์มาลีนจากอาหารด้วยวิธีง่ายๆจะทำอย่างไรดีคะ


โดย:  เดกม.ปลาย  [5 ธ.ค. 2550 20:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :14

ฟอร์มาลินมีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่สามารถบอกได้ด้วยตาเปล่า แต่มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนกรดฟอร์มิกนั้น เป็นสารอีกชนิดหนึ่ง ได้มาจากปฏิกริยาออกซิเดชันของฟอร์มัลดีไฮด์ วิธีทดสอบอย่างง่ายเคยตอบไปแล้วค่ะ

โดย:  รศ.สุชาตา ชินะจิตร  [17 ธ.ค. 2550 09:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:15

อยากซื้อฟอร์มาลีน ที่ไหนมีขายครับ อยากทดลองมาทำปุ๋ย  ขอขอบคุณ

โดย:  บัดเลาะ  [5 ม.ค. 2551 11:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:16

อยากทราบว่า
Formalin ที่เจือจาง ในความเข้มข้น 1:10 แล้วจะมีความคงตัวอยู่ได้นานเท่าไรคะ

และควรเจือจาง Formalin ด้วยสารละลายอะไรคะ ระหว่าง SWFI หรือ NSS หรือได้ทั้งสองอย่างคะ

ขอทราบข้อมูลเพื่อไปเตรียมเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อในโรงพยาบาลค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

โดย:  เภสัชกรประจำโรงพยาบาล  [10 ม.ค. 2551 10:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:17

หนูเรียนสัตว์แพทย์อยู่ เรียนแอนาโตมี่ แล้วฉุนฟอมารีนมากเรยค่ะ แสบมา น้ำมูกไหล เป็นอันตรายมากหรือเปล่าค่ะ ต้องเรียน ตลอดเรยอ่ะค่ะ อาทิตละ ประมาน 4 - 5 ชม

โดย:  ฝน  [10 ม.ค. 2551 16:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :18

คุณฝนได้รับอันตรายเฉียบพลันจากฟอร์มาลิน ซึ่งใน dose
ประมาณนี้น่าจะทำให้เกิดการระคายเคืองเฉพาะที่
มากกว่าที่จะเกิดผลเสียต่อตับ ไต
ซึ่งถือเป็นพิษระยะยาวหรือเรื้อรัง

วิธีแก้คือต้องพยายามเพิ่มการถ่ายเทอากาศ
เช่นเปิดพัดลมระบายอากาศทุกครั้ง
ควรเปิดก่อนเข้าเรียนสักระยะหนึ่ง
อาจต้องขอให้อาจารย์ติดตัวดูดอากาศเพิ่ม
ทางแก้ระยะสั้นอาจต้องใส่แว่นชนิดที่มีขอบเพื่อปิดช่องว่างรอบๆแว่น
หาซื้อได้ตาม Home Pro หรือร้านขายเครื่องมือช่าง

ส่วนการป้องกันทางเดินหายใจ ทำได้ยากในเชิงปฏิบัติ วิธีเดียวที่
ดีคือเพิ่ม ventilation ดังกล่าวแล้ว

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์  [12 ม.ค. 2551 09:23]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:19

คือสงสัยว่า  คนปกติสามารถดื่มฟอร์มาลีน โดยคิดว่าเป็นน้ำที่เเช่ในตู้เย็นได้ โดยไม่ได้สังเกตุ หรือค่ะเพราะว่า ฟอร์มาลีน มีกลิ่นฉุนถึงเเม้จะไม่มีสี แต่เวลาดื่มก็จะทราบ ได้ ถ้าได้กลิ่นก่อน  หรือจะทราบตอนดื่มไปแล้ว หรือ ถ้ามีการผสมฟอร์มาลีนที่ความเข้มข้นต่างกัน กลิ่นของฟอร์มาลีนก็ลดลงใช่หรือไม่ และที่ระดับความเข้มข้นใดยังสามารถเป็นพิษกับคนได้ โดยที่ไม่มีกลิ่น ค่ะ

โดย:  ป้อน  [12 ก.พ. 2551 21:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:20

เจ๋ง! สุดๆไปเลย ทำให้เรารู้เรื่อง

โดย:  งุงิ  [29 ก.พ. 2551 15:58]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:21

มีไว้ในครอบครองมีความผิดหรือไม่

โดย:  ศูนย์ฯ 6 (บ้านโหล่น)  [11 มี.ค. 2551 11:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:22

มีฟอร์มาดีไฮด์เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ในความควบคุมของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและของกรมประมง การครอบครองต้องแจ้งดำเนินการกับหน่วยงานรับผิดชอบคะ คือถ้าใช้ในทางอุตสาหกรรมต้องแจ้งที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ถ้าใช้ทางการประมงต้องแจ้งที่กรมประมง แต่ในทางปฏิบัติทางหน่วยงานรับผิดชอบอาจข้อยกเว้นในหลายกรณี ทางที่ดีควรสอบถามที่หน่วยงานรับผิดชอบดูคะ

โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [11 มี.ค. 2551 19:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:23

ใช้ฆ่าเชื้อโรคในโรงหม่อนเลี้ยงไหมจะมีวิธีการป้องกันตัวเองอย่างไร ความเสี่ยงต่ออันตรายที่เราสัมผัสกับฟอร์มาลีนทั้งกลิ่นและไอมีมากน้อยเพียงได แล้วมีวิธีการป้องกันตัวเองได้อย่างไร ถ้าเราจำเป็นต้องใช้มัน

โดย:  อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ  [12 มี.ค. 2551 23:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:24

อยากทราบว่าฟอร์มัลดีไฮล์ ส่วนมาพบในผลิตภัณฑ์ อะไรบ้าง และส่วนใหญ่สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะถูกบรรจุในpageageแบบไหน แล้วถ้าเราสามารถหาตัวดูดซับกลิ่นได้จะมีประโยชน์ไหม

โดย:  ...  [23 พ.ค. 2551 00:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:25

กะผมอยากทราบว่า เปลือกไข่สามารถตรวจสอบฟอร์มาลินได้ไม่คับ
ถ้าไม่ได้แล้วมีอะไรพอที่จะตรวจสอบได้บ้างคับ( ที่หาง่ายๆนะคับ)
ขอบคุณคับๆๆ

โดย:  OนักเรียนตาดำๆO  [23 พ.ค. 2551 15:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:26

นันทรักษ์ นำชัยเสริมสุข ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านจากใบมะยมตรวจหาฟอร์มาลินในอาหาร
นอกจากการเป็นนักเรียนทุน พสวท. แล้ว กุ้งยังเป็นตัวแทนของโรงเรียนที่สร้างผลงานอันน่าภาคภูมิใจคือได้รับรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันพูดทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่ม 5 กรุงเทพมหานคร เข้าร่วมนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ในงาน The 9th International Youth Scientific Exhibition ESI 2003 ณ กรุงมอสโกว์ ประเทศรัสเซีย นำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2546 และยังเป็นเจ้าของโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “การตรวจหาฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนในอาหารโดยสารสกัดจากใบมะยม” อันเป็นการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาประยุกต์ใช้ในการตรวจหาฟอร์มาลินในน้ำแช่อาหารสด
เป็นที่ทราบกันดีว่า ในอาหารสดโดยเฉพาะพวกปลาและอาหารทะเลนั้น มักมีฟอร์มาลินปนเปื้อนมาด้วย กุ้งจึงทดลองใช้สารสกัดจากใบมะยมมาทำปฏิกิริยากับฟอร์มาลิน แล้วนำสารละลายที่ได้ไปตรวจหาฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนในอาหารสด โดยนำผลไปเปรียบเทียบกับผลการตรวจด้วยชุดทดสอบของกองอาหาร กระทรวงสาธารสุข
ขั้นตอนการทดลองเริ่มจากสกัดสารจากใบมะยมด้วยตัวทำละลาย 3 ชนิด คือ น้ำกลั่น เอทิลแอลกอฮอล์ และคลอโรฟอร์ม โดยการปั่นใบมะยมกับตัวทำละลาย แล้วกรองด้วยตะแกรง นำสารละลายที่ได้ไปผสมกับสารละลายฟอร์มาลินความเข้มข้นต่างๆ กัน ได้แก่ 20% 40% 60% 80% และ 100% ตามลำดับ จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ไปผสมกับน้ำแช่อาหารสด ต่อจากนั้นนำน้ำแช่อาหารสดไปตรวจหาฟอร์มาลินโดยชุดทดสอบฟอร์มาลินของกองอาหาร กระทรวงสาธารณสุข
ผลการทดลองพบว่า สารสกัดจากใบมะยมด้วยน้ำกลั่นและเอทิลแอลกอฮอล์สามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายฟอร์มาลินเกิดตะกอนสีเขียวขนาดใหญ่ และสารสกัดจากใบมะยมด้วยน้ำกลั่นสามารถตรวจสอบฟอร์มาลินในน้ำแช่อาหารสดได้ โดยอาหารที่มีฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่จะเกิดตะกอนขนาดใหญ่ขึ้น

ช่วยตอบให้แล้วนะนักเรียนตาดำๆๆ

โดย:  วรรฬทน์วิศาฏ์  [26 พ.ค. 2551 20:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:27

ในปีหน้าการส่งสินค้าเป็นไม้ ไปคาลิฟอร์เนียร์ เขามีกฎการควบคุมสารฟอร์มัลดิไฮด์ในเนื้อไม้ plywood ,MDF,Particle board ให้ มีตั้งแต่ .008 ppm จนถึง 0.21 ppm. แล้วแต่ชนิดของไม้  มีใครพอจะทราบรายละเอียด
ในเรื่องนี้บ้าง

โดย:  พิมพ์  [28 พ.ค. 2551 16:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:29

อยากให้ลงข้อมูลเกี่ยวกับฟอร์มาลีนที่เป็นสารปนเปื้อนในอาหาร

โดย:  น่ารัก  [11 มิ.ย. 2551 15:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 25:30

อยากทราบว่าวิธีการกำจัดฟอร์มาลีนและการบำบัดก่อนจะปล่อยออกสู่แหล่งน้ำที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
มีวิธีการใดบ้างและวิธีการที่ลดต้นทุนในการบำบัดก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำ
ใครรู้ช่วยตอบผมทีนะครับ
ถ้ามีสารเคมีใดบ้างที่ใช้บำบัดครับ

โดย:  สิทธิ์  [30 มิ.ย. 2551 19:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 26:31

อยากทราบว่าวิธีการเตรียมสายการผลิตสิ่งทออย่างไร จึงจะได้ชื่อว่า เป็นขบวนการผลิตที่เป็น Non-formalin ขอบพระคุณอย่างสูง

โดย:  สุนิจตรา โล้เจริญรัตน์  [29 ก.ค. 2551 18:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 27:32

http://en.wikipedia.org/wiki/Formaldehyde        ( Formaldehyde )

โดย:  นักเคมี  [24 ส.ค. 2551 16:14]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 28:34

ถ้าผมอยากทดสอบฟอร์มาลีนโดยใช้สารจากธรรมชาติจะทำได้อย่างไรครับ

โดย:  นักเรียน  [9 ก.ย. 2551 23:59]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 29:35

คุณสิทธิ์ คห. 26 ลองหา paper นี้มาดูนะค่ะ

"A method for treating wastewater containing formaldehyde"

Hesham R. LotfyCorresponding Author Contact Information, E-mail The Corresponding Author, a and I. G. Rashedb

http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleURL&_udi=B6V73-44KDTHF-F&_user=591295&_rdoc=1&_fmt=&_orig=search&_sort=d&view=c&_version=1&_urlVersion=0&_userid=591295&md5=d898654e50ab95a1502c53eafff7e732

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [13 ก.ย. 2551 21:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 30:36

ความคิดเห็นที่ 29 ดูที่ ความคิดเห็นที่ 22 ครับ

โดย:  บอส์ส  [29 ก.ย. 2551 16:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 31:37

ผมเคยอ่านเอกสารเรื่องอันตรายจากสาร Formaldehyde ที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ยังไม่เจอรายงานใดยืนยันได้แน่ชัด ไม่ทราบว่าใครพอมีเอกสารยืนยันว่ามีการพบว่าเกิดแน่ๆบ้างไหมครับ รวมทั้งในเรื่องที่มีผลกระทบต่อตับหรือใต เป็นอันตรายอย่างไร และมีอาการอย่างไรบ้างครับ

โดย:  อยากทราบ  [6 ต.ค. 2551 11:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 32:38

อยากทราบว่าความเป็นพิษของฟอร์มาลดีไฮด์ในน้ำจากอุตสาหกรรมมีผลต่อ aerobic culture อย่างไร  ขอบคุณคับ

โดย:  พพ  [7 ต.ค. 2551 00:23]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 33:39

คนหนอคนเอาสารเคมีไปฆ่าคนกันเอง โถโถโถไม่น่าจาคิดร้ายเร้ยน่าสงสารจิงๆคิดรัยม่ายเปนแล้วหรอ

โดย:  คนเข้าใจ  [13 ต.ค. 2551 08:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 34:40

ที่บ้านตกแต่งภายในใช้ไม้อัด ค่ะ ทุกห้อง ห้องนอนตัวเอง ห้องนอนลูก 6 ขวบ กับ 7 ขวบ รวมถึงห้องทำงานค่ะ เหม็นมากๆ แสบตาด้วย เปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ก็แล้ว ก็ไม่หายค่ะ รบกวนใครมีวิธีแก้ไขบ้างไม๊ค่ะ กังวลใจมากค่ะ ห่วงเด็กๆ ค่ะ


โดย:  แก้ว  [16 ต.ค. 2551 18:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 35:41

อัตรายนะสารเมลามีน คนตายกันมาก

โดย:  แนน  [17 พ.ย. 2551 10:41]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 36:42

คห 32 ลองเข้าไปอ่านข้อมูลเรื่อง formaldehyde กับมะเร็ง ที่สถาบันมะเร็งของสหรัฐอเมริกาสรุปไว้เป็น FAQ ที่หน้าลิงก์ข้างล่างนะค่ะ รวมทั้ง คห.35 ด้วยนะค่ะ มีคำแนะนำอยู่ในข้อ 7 ค่ะ
http://www.nci.nih.gov/cancertopics/factsheet/Risk/formaldehyde


โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [20 พ.ย. 2551 11:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 37:43

อยากทราบว่าสารใดในตัวฟอร์มาลินที่ทำให้อาหารสด   อยากทราบมากครับ

โดย:  ธงชัย  [24 พ.ย. 2551 11:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 38:44

มีสารปนเปื้อนชนิดอื่นไหมคะนอกจากฟอร์มาลีน

โดย:  Play Boy  [24 พ.ย. 2551 16:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 39:46

ผมเคยไปตรวจโรงงานอุตาหกรรมแห่งหนึ่งเมื่อกลางปีนี้เอง
โรงงานแห่งนี้ เค้าใช้ สารฟอร์มอลดีไฮด์ มาผสมกับเกล็ดด่างทับทิม วางใส่จานแก้ว แล้วตั้งทิ้งไว้ในห้อง เพื่อให้มันทำปฏิกริยากัน กลายเป็นควันมีกลิ่นฉุน เอาไว้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศภายในอาคารการผลิตครับ ไม่ทราบว่าวิธีนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ เป็นอันตรายแก่พนักงานที่ทำงานในพื้นที่นั้นหรือเปล่าครับ เพราะว่าเป็นอาคารปิด ติดแอร์ กลิ่นฟอร์มอลดีไฮด์ ฉุนตลอดเวลา

โดย:  กฤษฎากร  [9 ธ.ค. 2551 11:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 40:47

กำลังจะทำโครงงานเรื่องนี้แต่ไม่มีความรู้อะไรเลยง่า...

โดย:  แพรว  [11 ธ.ค. 2551 12:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 41:48

อยากทราบกาวที่ผสมด้วย resorcinol-formaldehyde resins หาข้อมูลได้ที่ไหนครับ

โดย:  cat  [12 ธ.ค. 2551 23:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 42:49

ทราบมาว่าในผักผลไม้และเนื้อสัตว์บางชนิดที่มีกลิ่นฉุนจะมีฟอร์มอลดีไฮด์เป็นส่วนประกอบเช่นเห็ดหอม แต่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่ามีผักชนิดใดบ้างที่มีฟอร์มอลดีไฮด์อยู่ด้วยและปรกติการตรวจฟอมาลีนจะไม่นิยมตรวจในพืชผักกลุ่มใดบ้าง แล้วต้นหอมยี่ปุ่นอยู่ในกลุ่มที่มีฟอร์มอลดีไฮด์ประกอบอยู่ด้วยหรือเปล่า ถ้านำไปตรวจจะแยกได้อย่างไรว่าเป็นสารฟอร์มอลดีไฮด์ธรรมชาติหรือมีฟอมาลีนเจือปนอยู่ กรุณาตอบคำถามทาง E-mail ด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

โดย:  AA  [17 ธ.ค. 2551 13:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 43:50

รบกวนถามผู้รู้ครับ ผมเป็นเกษตรกรปลูกต้นหอมญี่ปุ่นครับ ผมส่งสินค้าให้ลูกค้า แล้วลูกค้านำไปตรวจหาฟอร์มาลีน ผลออกมาว่าพบฟอร์มาลีน ทั้งๆ ที่ไม่มีกระบวนการช่วงใดเลยที่ให้สารนี้ จากที่ลองหาข้อมูลพบว่าสามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยากทราบข้อมูลมากกวานี้ รบกวนขอความรู้ด้วยครับ

โดย:  ภูมิพันธ์ คูสกุล  [17 ธ.ค. 2551 15:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 44:51

http://en.wikipedia.org/wiki/Carcinogen        Carcinogen        
http://www.wisegeek.com/what-is-a-carcinogen.htm        What is a Carcinogen ?        
http://www.scorecard.org/health-effects/explanation.tcl?short_hazard_name=cancer        
http://www.scorecard.org/health-effects/chemicals.tcl?short_hazard_name=cancer&all_p=t        List of Recognized Carcinogens        
http://www.scorecard.org/health-effects/chemicals-2.tcl?short_hazard_name=cancer&all_p=t        List of Suspected Carcinogens        
http://www.cancer.org/docroot/PED/content/PED_1_3x_Known_and_Probable_Carcinogens.asp        Known and Probable Carcinogens

โดย:  นักเคมี  [10 ม.ค. 2552 08:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 45:52

Formalin is a saturated solution of formaldehyde, water, and typically another agent, most commonly methanol. In its typical form, formalin is 37% formaldehyde by weight (40% by volume), 6-13% methanol, and the rest water. A quick glance at any commercially available formalin product will confirm these numbers. Formaldehyde provides the disinfectant and bacteriacide/germacide effects of formalin. The water content of formalin provides a dilution of formaldehyde. And the methanol content stabilizes the naturally chemically unstable formaldehyde compound. How formaldehyde “kills” bacteria and germs is discussed in detail below.

Formaldehyde (HCHO) belongs to a class of organic compounds called aldehydes, which are all obtained from the oxidation of alcohol, the most common being methyl alcohol (2CH2OH). During the oxidation process from methyl alcohol to formaldehyde, a certain level of formic acid is produced and will be found in formaldehyde solutions. It is important to note the presence of formic acid as this is a blistering agent most commonly associated with red or fire ants. Further, since formaldehyde is basically unstable in its basic compound form, further oxidation even in storage is possible, thus producing additional levels of formic acid. To help stabilize formaldehyde, methanol is added to the dilute formaldehyde solution formalin. It is very important to note that the formalin compound readily available as a treatment for fish is the EXACT and same compound used in embalming practices. And there is significant irony in this as discussed further below.

Formaldehyde is also highly soluable in water and as such, does not separate or degenerate in water-based solutions. This is one of the main reasons why water is most commonly used to dilute formaldehyde into the common formalin compound. Additional reasons for using water in the formalin compound include cost and the ability of water to mix with other chemical agents readily. This point will have more relevance when discussing the combined use of formalin and salt in fish treatments.

While formaldehyde is a potent disinfectant and anti-bacterial agent, it is essentially ineffective as a fungicide, insecticide, or larvacide. This is an important point to remember when considering formalin in the treatment of fish. While formalin will work for such problems as gill flukes, surface infections, and other parasites, it will NOT work on argulus, fish lice, and other macro-parasites that we associate with treatments requiring organophosphates, such as dimlin. Nor will formalin be effective against mold and fungus-related problems, such as saprolegnia.

But before you go thinking formalin is an ideal anti-bacterial treatment, first consider how formaldehyde “kills.” Unlike most anti-bacterial and germicidal agents which poison the bacteria and germ cells, formaldehyde kills cell tissue by dehydrating the tissue and bacteria cells and replacing the normal fluid in the cells with a gel-like rigid compound. The latter effect exhibits the coagulation properties of formaldehyde. Tissue and bacterium cells are made of protoplasm and as such, contain large amounts of moisture. The introduction of formaldehyde into the tissue dries out the protoplasm and destroys the cell. In terms of embalming practices, this is a perfect situation as the formaldehyde not only disinfects the tissue but replaces the tissue cell moisture with a rigid gel thus allowing the embalmed tissue to maintain its contour. Additionally, the “new” cell structure will resist further bacterial attacks as its composition now contains a formaldehyde-based compound. So, while the usual list of anti-bacterial agents, such as tetracycline, amikacin, baytril, and the like poison their respective bacterial enemies and are then flushed from the system by the kidneys and liver, formalin is retained in the now altered tissue structures of the living organism.

As stated previously, formalin was originally designed for the purposes of disinfecting and preserving tissue in embalming practices. It was not originally contemplated for use in fish medicine. Since formaldehyde is highly soluble in water, this combination offered a near perfect solution for easy permeation of tissue and cell structures. This is an important point to consider when using formalin on fish as the fish will “absorb” a certain level of formalin into its tissue and cell structures just by the very nature of how fish process water in their environment. This is where the principles of osmosis are important.

Osmosis or osmotic pressure is the passage of a solvent through a membrane separating two solutions of different densities. The basic rule of osmosis is that fluids will flow from the less dense environment to the more dense environment through the membrane. Using a practical example, consider the use of salt in koi ponds. Here, we need to consider the salt content of the fish itself and for koi and this level is about .9%. The pond water, on the other hand, maybe anywhere zero percent salt content up to whatever level the pond owner has manipulated it. There is much debate on the use of salt in the treatment of many koi problems. While there is no question that a salt level of .3% will effectively rid the pond and fish of most micro-parasites, it is the effect of salt on the osmotic regulation process of the fish that most ponders believe is a good stress reducing regimen. So as an example, the pond has a salt level of .15% and the fish’s level is .9%, then the osmotic pressure or flow of water is from the pond and into the fish’s body. And the same can be said for any salt level up to .9% where the equilibrium of osmotic pressures will start causing severe problems with the fish’s physiology. In fact, if the salt levels of the pond become equal to or greater than that of the fish, the fish can actually suffer dehydration as the flow of the fluids reverses based on reversed fluid densities.

But the driving factor behind the need to control osmotic regulation and relieving the fish of added stress is not specifically with the addition of salt to the water, but what happens to the “mechanics” of the water once the salt is added. As most of us remember from high school chemistry, every fluid has a surface tension.        

http://en.wikipedia.org/wiki/Formaldehyde        Formaldehyde

โดย:  นักเคมี  [10 ม.ค. 2552 19:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 46:53

http://en.wikipedia.org/wiki/Formaldehyde        Formaldehyde        
http://www.osha.gov/OshDoc/data_General_Facts/formaldehyde-factsheet.pdf        
http://www.atsdr.cdc.gov/tfacts111.html        
http://www.cancer.gov/cancertopics/factsheet/risk/formaldehyde        
http://www.jtbaker.com/msds/englishhtml/F5522.htm        ( MSDS )        

http://www.scorecard.org/chemical-profiles/summary.tcl?edf_substance_id=50-00-0        
http://www.idph.state.il.us/envhealth/factsheets/formaldehyde.htm

โดย:  นักเคมี  [11 ม.ค. 2552 07:59]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 47:54

ดีสุดๆ เลย

โดย:  pik  [20 ม.ค. 2552 17:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 48:58

อยากทราบว่ามีชุด test kit ของ formaldehyde บ้างไหมค่ะ ที่แสดงผลเป็น ppm หรือ mg/kg ค่ะ เพราะหาได้ที่บอกเป็นเปอร์เซ็นต์แต่ทางมาตรฐานกำหนดมาแต่ ppm

โดย:  นัทธี  [26 พ.ค. 2552 11:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 49:61

คือ หนูต้องทำโครงงานค่ะ  เล้วอยากที่จะทำเกี่ยวกับฟอร์มาลีน เลยอยากรู้ว่ามีสารใดในฟอร์มาลีนมีอะไรบ้าง  แล้วควรนำไปเปรียบเทียบหรือทำโครงงานคู่กับอะไร(เช่น ว่านหางจระเข้ ใบมะยม)  
แล้วในสารนั้นมีอะไรที่คล้ายฟอมาลีนบ้าง  หนูขอเเค่ชื่อเวปก็ได้ค่ะ
 ช่วยตอบทางอิเมลล์ด้วยนะค่ะ  ขอบคุณค่ะ


โดย:  mookk_05@msn.com  [10 ก.ค. 2552 21:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 50:62

หนูเคยได้ยินว่า แม่ค้าดอกไม้บางคนใช้ดอกไม้แช่ในน้ำยาฟอร์มาลินเพื่อให้ดอกไม้ไม่เหี่ยวเฉาง่าย เลยอยากจะเตือนผู้ซื้อดอกไม้ทุกคนว่า ไม่ว่าจะซื้อดอกไม้มาจากร้านขายดอกไม้ที่ไหนก็ไม้ควรดมดอกไม้ที่ซื้อมาเพราะอาจเกิดอันตรายกับตัวท่านได้
ด้วยความปรารถนาดีจาก
เด็กไทยคนหนึ่งที่ห่วงใยทุกท่าน
ขอขอบพระคุณค่ะ

โดย:  เด็กที่กำลังศึกษาอยู่  [20 ก.ค. 2552 11:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 51:63

ตอนนี้กำลังหาวิธีวิเคราะห์หาค่าformaldehydeในน้ำเสียอยู่ค่ะ
คิดว่าจะใช้วิธีกลั่นแล้ววัดค่าด้วยUVค่ะ แต่ยังมีปัญหาตรงการ
คำนวณความเข้มข้นท่านใดพอมีความรู้เรื่องนี้ช่วยแนะนำด้วยนะคะ
...ขอบคุณค่ะ

โดย:  yanisa  [22 ก.ค. 2552 21:52]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 52:64

คห.55  
- ถ้าวิเคราะห์ด้วย UV น่าจะเป็นการเทียบสี หลักสำคัญต้องมี กราฟมาตรฐานของเครื่องUVนั้น ว่าค่าการดูดซับแสงเท่าไรมีความเข็มข้นของฟอร์มาลีนเท่าไร  แล้วก็เอามาเทียบกับตอนทดสอบจิง (ในการทดสอบไม้อัดตามมาตรฐาน EN 120:1992 มีวิธีการที่น่าจะนำมาประยุกต์ได้ เอกสารหาในห้องสมุด มอก. TISI  02-2023510 มี  )
-อีกวิธี เป็นการไตรเตรท หา Free Formaldehyde ตามวิธี ASTM : D1979-91 หาจากห้องสมุด มอก.TISI ได้เช่นกัน
-ใช้ชุดทดสอบฟอร์มาลีน ที่มีขาย วิธีนี้ จะรู้ว่าถ้าในน้ำมีฟอร์มาลีนเกิน 0.5 mg/kg  น้ำยาก็จะเปลี่ยนสี แต่คำนวณความเข้มข้นไม่ได้ (เว้นแต่จะขอสูตร หรือหลักการจากผู้ผลิตชุดทดสอบ มาวิเคราะห์อีกที)http://classified.sanook.com/item/4890596
http://board.dserver.org/r/rujida/00000007.html

โดย:  kom  [29 ก.ค. 2552 10:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 53:65

อยากทำโครงงานเรื่องนี้ช่วยแนะนำอะไรดีๆหน่อยนะค่ะ ร้อนใจมากเลยรบกวนผู้รู้ และมีประสบการณ์หน่อยค่ะ ช่วยตอบด้วยนะคะ

โดย:  แต้ว  [18 ส.ค. 2552 10:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 54:66

เคยทราบมาว่า ฟอร์มาลีนสามารถนำมาใช้ในการดองน้ำยางสด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยางบูด(VFAสูง) แต่ไม่ทราบปริมาณที่ใช้ในการดอง ช่วยตอบหน่อยครับ อีกนิดนึง การนำฟอร์มาลีนไปผสมกับ แอมโมเนียเจือจางประมาณ 10% จะมีผลอะไรบ้างครับ ขอบคุณครับ

โดย:  คนซื้อน้ำยาง  [26 ส.ค. 2552 21:34]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 55:67

ช่วยหาสารที่สามารถหาความเข้มข้นของฟอร์มาลีนหน่อยจร๊ะๆ

โดย:  กระต่อม  [30 ส.ค. 2552 14:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 56:68

ตอบ คห 59จ้า
ต้องสกัด แล้วก็ให้ทำปฎิกิริยากับacetylacetone  reagent(nash's reagent) จะได้สีเหลืองใส แล้ววัดODที่=412nm.นะ

โดย:  MAY_MAY  [31 ส.ค. 2552 21:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 57:69

เหตุใดเมื่อแช่ผลไนฟอร์มาลีนผลไม้จึงเน่าช้าแล้วในว่านหางจรเข้มีสารยับยั้งการเน่าของผลไม้
หรือเปล่าคะช่วยตอบทางอีเมลด้วยคะ ขอบคุณคะ

โดย:  เด็กน้อยผู้โง่เขลา  [8 ก.ย. 2552 19:31]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 58:70

อยากทราบว่าโมเลกุลของฟอร์มัลดีไฮด์เมื่อในสภาวะที่เป็นกรด (pH4) และสภาวะที่เป็นเบส(pH7)จะมีลักษณะโมเลกุลเป็นอย่างไร เหมือนเดิมรึป่าวครับ

โดย:  เด็กน้อย  [21 ต.ค. 2552 16:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 59:71

สำหรับการหาความเข้มข้นของฟอร์มัลดีไอด์สามารถ e-mail มาถามผมได้คับเพราะผมทำงานวิจัยเรื่องนี้อยู่

โดย:  เด็กน้อย  [21 ต.ค. 2552 16:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 60:72

บอกข้อมูลดีมาก

โดย:  ชายนิรนาม  [28 ต.ค. 2552 17:41]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 61:73

อยากทราบว่าถ้าฟอมมาลีนโดนแผลจะเป็นอะไรไหมค่ะช่วยตอบด่วนนะค่ะมันสำคัญมาก

โดย:  มะเหมี่ยวค่ะ  [27 พ.ย. 2552 10:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 62:74

ฟอร์มาลีนเป็นตัวเพิ่มเปอร์เซ็นได้หรือไม่

โดย:  ลานเทน้ำยางสดธนภัทร  [2 ธ.ค. 2552 17:59]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 63:75

คุณ คห12 ต้องการ formalin กี่เปอร์เซนต์ครับและใช้ปริมาณเท่าไหร่
ติดต่อกลับทาง E-mail นะครับ

โดย:  ปอ  [11 ธ.ค. 2552 08:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 64:77

อยากทราบอัตราส่วนในการเตรียมฟอร์มาดีไฮกับด่างทับทิมนการฆ่าเชื้อในอาการค่ะ  รบกวนผู้รู้ช่วยตอบหน่อยน่ะค่ะ   ขอบคุณค่ะ

โดย:  มัลลิการ  [7 ม.ค. 2553 14:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 65:78

ฟอร์มลิน  ทำไมตัองมีฟอร์มาลิน

โดย:  เด็กขี้สงสัย  [25 ม.ค. 2553 11:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 66:79

สารฟอร์มาลีนทำให้เกิดมะเร็งอะไรบ้างคับ....???????

โดย:  SomSan  [7 ก.พ. 2553 18:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 67:80

มีขายฟอร์มาลีนจำนวนมาก และราคาถูกสุดๆๆ สนใจติดต่อ 082-4585959

โดย:  ทวีศักดิ์  [18 ก.พ. 2553 10:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 68:81

ในการเตรียมสารฟอร์มาลินเพื่อหาค่าความเข้มข้น ต้องใช้ด่างทับทิมมาเป็นตัวทำละลายหรือจับกับฟอร์มาลิน อยากทราบว่าทำไมถึงต้องใช้ด่างทับทิมและปฏิกิริยาระหว่างสารสองตัวนี้ระหว่างจับกันคืออะไร ขอบคุณครับ

โดย:  นักศึกษา  [3 เม.ย. 2553 08:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 69:82

ถ้าต้องการใช้สารฟอร์มอลดีไฮด์ มาผสมกับเกล็ดด่างทับทิม วางใส่จานแก้ว แล้วตั้งทิ้งไว้ในห้อง เพื่อให้มันทำปฏิกริยากัน กลายเป็นควันมีกลิ่นฉุน เอาไว้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศภายในอากาศต้องใช้สัดส่วนเท่าไร

โดย:  เพชรลัดดา  [3 พ.ค. 2553 15:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 70:83

มีคนที่ร้อยมาลัย ที่ดอกไม้ผ่านการใช้ฟอร์มาลินค่ะ ตอนนี้มีอาการชานิ้ว และตอนนี้มีแผลที่น้ิวค่ะ ทำให้อยากทราบผลของฟอร์มาลินที่สัมผัสเป็นระยะเวลานาน และต่อเนื่องทุกวันค่ะ

โดย:  vjinda  [15 พ.ค. 2553 12:22]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 71:84

อยากทราบว่าคนที่ป่วยเป็นโรคไทรอยถ้าได้สูดดมสารฟอร์มาลีนเข้าไปจะเป็นอันตรายไหม

โดย:  เจ  [22 พ.ค. 2553 13:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 72:85

อยากทราบว่ามีเครื่องที่ใช้ตรวจจับ ฟอร์มาลีน ในอากาศ ไหม คะ  กำลังจะทำโครงงานค่ะ อยากรู้มากจริงๆ

โดย:  แพร  [25 พ.ค. 2553 20:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 73:88

ผมพยายาม ตรวจหาฟอมาลีนในน้ำแช่อาหารสด โดยว่านหางจระเข้ ปวดหัวมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก  ใครพอมีทางออกบ้าง ช่วยหน่อยครับบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ


โดย:  เด็กโครงงาน  [19 ก.ค. 2553 14:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 74:90

ตอนนี้เพลี้ยกระโดดระบาดมีชาวนาแถวบ้านใช้ฟอร์มาลีนมาฉีดในนาข้าวเพื่อกำจัดเพลี้ยกระโดดสารนี้จะตกค้างหรือเปล่า ฟอร์มาลีนนี่หาซื้อได้ง่ายมากหรือเปล่าคะ  ใครก็ได้ช่วยตอบหน่อยค่ะ

โดย:  ลูกชาวนา  [20 ส.ค. 2553 07:34]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 75:91

อย่างนั้นี่เอง

โดย:  คนขี้สงสัย  [23 ส.ค. 2553 11:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 76:92

หนูเรียนแพทย์ตอนที่มีการทดลองแช่ศพกลิ่นฟอร์มารีนฉุนมากเลยค่ะ นำตาไหล แสบจมูกมากจะเป็นอะไรไหมค่ะ


โดย:  เบนซ์  [25 ส.ค. 2553 13:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 77:93

จะกำจัดสาร Formaldehyde ได้อย่างไรถ้าหากหกรั่วไหล

โดย:  บุญญภักดิ์  [3 ก.ย. 2553 14:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 78:94

อยากทราบวิธีการหาค่าความเข้มข้นของฟอร์มาลีนที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารหลังจากทำการทดสอบด้วยชุดทดสอบฟอร์มาลีนแล้ว  ช่วยบอกวิธีการและวิธีทำอบ่างละเอียดด้วยนะค่ะ  ในหน่ยวppmนะค่ะ  ขอบคุณนะค่ะต้องการด่วนมากค่ะ

โดย:  วิจัย  [5 ก.ย. 2553 14:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 79:95

อยากทราบวิธีการล้างฟอร์มารีนออกจากเนื้อสัตว์ค่ะ

โดย:  วิสาข์  [7 ก.ย. 2553 01:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 80:96

มีใครเคยใช้น้ำยาฟลอมารีนกับบ่อปลาบ้างไหมคะ ที่บ้านเลี้ยงปลาคลาฟไว้ไม่กี่ตัว จึงซื้อมาเพิ่มใหม่ 3 ตัว ไม่กี่วันปลาเก่ามีอาการไม่ว่ายน้ำ ไม่กินอาหาร ตกเลือด ในที่สุดก็ตาย เจ้าของร้านที่ซื้อปลามาแนะนำให้ฉีดฟลอมารีนในน้ำอย่างเดียวโดยไม่ต้องใช้ยาอย่างอื่น ใครมีความรู้บ้างคะ ขอคำแนะนำหน่อยคะ ตอนนี้ลองฉีดฟลอมารีนตามคำแนะนำของเจ้าจองร้าน กลัวว่าปลาจะตายหมดบ่อก่อนคะ

โดย:  มือใหม่หัดเลี้บงปลา  [24 ก.ย. 2553 17:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 81:97

อยากทราบว่ามีสารตัวใดที่มีคุณสมบัติคล้ายกับฟอร์มาลินหรือสามารถใช้แทนฟอร์มาลินได้แต่ไม่มีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์


โดย:  อุษา  [21 ต.ค. 2553 12:14]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 82:98

อยากสอบถามเรื่องการใช้สารฟอร์มอลดีไฮด์ มาผสมกับเกล็ดด่างทับทิม วางใส่จานแก้ว แล้วตั้งทิ้งไว้ในห้องที่อยู่ในคอนโด เพื่อฆ่าเชื้อราค่ะ เพราะเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องทุกชิ้นมีเชื้อราขึ้นเยอะมาก กำลังจะเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ชุดใหม่ เลยอยากจะกำจัดเชื้อราและสปอร์ออกให้หมดก่อน ไม่ทราบว่าจะทำได้ไหมค่ะ ต้องใช้ความเข้มข้นและเวลาเท่าไหร่ และจะมีสารตกค้างไหมค่ะ

โดย:  ตูน  [23 ต.ค. 2553 11:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 83:99

สอบถามผู้รู้ ว่าจะกำจัด formaldehyde ในน้ำเสียที่มีอยู่ประมาณไม่เกิน 50 ppm หรือ  50  mg/l ให้น้อยกว่า 1 ppm หรือ  1  mg/l  ได้โดยวิธีใด
ขอบคุณครับ

โดย:  ตุลา  [30 ต.ค. 2553 14:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 84:100

คห.86
ลองอานนี่ดูครับ http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2010/05/X9304549/X9304549.html
ดูท่าวิธีคงไม่เหมาะกะห้องนอนมั้งครับ     ส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่เกิดรา มันเป็นผลจากความชื้นในห้องครับ การฆ่าราทำได้โดยตากแตดให้แห้งสนิทหรือจะทายาฆ่าเชื้อก็ได้จะใช้ ฟอร์มาลีนก็น่าจะได้ แต่มันจะกลิ่นฉุนนะครับ
ส่วนการป้องกัน ก็ทาน้ำยาพวกโบรอนที่เฟอร์ฯ ก็ได้  แล้วทำให้ห้องอากาศถ่ายเทครับ  ไม่ก็ทาสีหรือแล็กเกอร์ พวกที่กันความชื้นไม่ให้เข้าเฟอร์ครับ

โดย:  kom  [30 ต.ค. 2553 16:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 85:101

อยากทราบว่าแล้วน้ำยาซักผ้าหรือน้ำยาปรับผ้านุ่มในส่วนประกอบด้านหลังจะบอกหรือไม่ว่ามีฟอร์มัลดีไฮด์

โดย:  kij  [3 พ.ย. 2553 14:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 86:102

จะตรวจหาปริมาณ ฟิมาลีน ในปลาทะเล ได้อย่างไร

โดย:  เดก_เกรียน  [25 พ.ย. 2553 15:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 87:103

การตรวจสอบหา formaldehyde ในผลิตภัณฑ์อื่นใช้วิธีการตรวจสอบโดยใช้เครื่องมืออะไร

โดย:  get  [24 ธ.ค. 2553 11:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 88:104

อยากทราบว่าทำไมต้องใส่ formaldehyde ในผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าด้วยครับ

โดย:  คนใฝ่รู้  [9 ก.พ. 2554 15:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 89:105

ผมเป็นเจ้าของโรงงานที่มีการใช้ Formaldehyde เยอะพอสมควร อยากทราบว่ามีสารตัวไหนบ้างที่สามารถกำจัดและบำบัดให้ได้ประสิทธิภาพ

โดย:  จีเอส  [27 ก.พ. 2554 00:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 90:106

มีวิธีตรวจสอบ สารฟอร์มารีนในอาหาร แบบง่าย ๆ ชาวบ้าน ๆ เข้าใจบ้างมั๊ย.
อาการพิษที่สังเกตได้เบื้องต้น..วิธีรักษาเบื้องต้นก่อนถึงมือแพทย์.
ทั้งหมดที่อ่านมา..มีแต่ตายกับตาย..
ถ้าพวกคุณเองเผลอไปกินอาหารทะเล อาหารแห้งพวกปลากรอบ อื่น ๆ ที่มีสารฟอร์มารีนสงสัยได้ตายกันหมดแน่ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด..
ตอบหน่อยน่ะ....

โดย:  catzela  [6 เม.ย. 2554 21:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 91:107

อยากทราบวิธีกำจัดกลิ่นสารฟอร์มาดีไฮน์ ที่ผสมอยู่ในไม้อ้ดหรือไม้เอ็มดีเอฟ
ตอนนี้เหม็นและเจ็บตามาก

โดย:  อนุชาติ  [21 เม.ย. 2554 13:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 92:109

สวัสดีคะ คือมีข้อสงสัยว่าเวลาเราเรียน anatomy แล้วใส่คอนเทคเลนส์จะอันตรายมากไหมคะ เรียนสัปดาห์ละ 8-10 ชม.คะ

โดย:  นักศึกษากายภาพบำบัด  [1 ก.ค. 2554 23:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 93:110

อยากทราบวิธีการสังเคราห์ ยูเรีย ฟอร์มัลดีไฮด์ ว่าระบบในการสังเคราะห์เป็นอย่างไร แล้วเติมสารอะไรลงไปบ้างและเติมเพื่ออะไร เพื่อใช้ในการเรียนรู้ต่อไป ขอบคุณมาก

โดย:  นักเรียนป.โท  [19 ก.ค. 2554 01:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 94:111

เปิดไปเจอการกำจัดฟอร์มาลีนในอาหารด้วยเกลือ เขาบอกว่าจะทำให้ฟอร์มาลีนตกตะกอนเร็วขึ้น โดยแช่อาหารที่ปนเปื้อนกับฟอร์มาลีน 5 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลผ่านอาหาร 10-20 นาที ก็จะทำให้ฟอร์มาลีนหมดไป อยากทราบว่าทำได้จริงหรือไม่ และมีรายละเอียดหรือหลักการอย่างไรบ้าง คือหนูสนใจจะนำเรื่องนี้ไปทำโครงงาน เพื่อพัฒนาต่อยอดค่ะ ผู้รู้ช่วยตอบทีนะคะ

โดย:  นักเรียนม.3  [28 ก.ค. 2554 18:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 95:112

จะทำโครงงานเกี่ยวกับสารปนเปื้นในอาหารค่ะแต่ไม่รู้จะทำยังไงคัยรุ้ตอบด้วยนะคะ


โดย:  เด็กน้อย  [6 ส.ค. 2554 14:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 96:113

ที่ตลาดหน้าโรงงานที่จ.สมุทรสาครร้านขายผักเขาใส่ฟอร์มารีนหรือรดน้ำฟอร์มารีนที่ผักด้วย ทุกครั้งที่ซื้อมาเวลาทำกับข้าวจะมีกลิ่นฉุน เวลาล้างก็รู้สึกแปลกๆที่มือมันจะปึดๆที่มือผิดกับผักที่ซื้อจากที่ตลาดในเมือง ณ เวลานี้แฟนดิฉันก็มีผื่นแดงๆขึ้นที่ตัว ส่วนดิฉันก็รู้สึกคันตามตัวนิดๆ เพียงแค่ชิมรสชาติอาหารเท่านั้น ตอนนี้เทกับข้าวทิ้งไปหมดแล้วค่ะ ดิฉันจะแจ้งทางอ.ย.ให้ไปตรวจสอบแบบกะทันหันโดยที่ร้านนี้ไม่ทราบล่วงหน้าได้ไหมค่ะ

โดย:  ชินจัง สาคร  [29 ส.ค. 2554 22:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 97:114

ไปชื้อหมึกสดที่ขายตามรถเขนที่ชะอำกินระวังอันตรายจากฟอร์มาลินนะคะ!

เพราะโดนมาแล้วมึนหัวแน่นหน้าอกหัวใจเต้นเร็วอันตรายคะ...แย่มากๆ

โดย:  ปุ๊กปุ้ย  [5 ก.ย. 2554 07:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 98:115

เชื้อราตามเสื้อผ้าและของใช้ เป็นเชื้อราที่มีอันตรายมากไหม ???สัมผัสบ่อยๆจะเป็นอันตรายมากไหม ???? จะเข้าสมองหรือไม่????ผงซักฟอกมีฟอมาลีนด้วยหรือ???ซักผ้าแล้วมีอาการนิ้วชาเป็นอาการที่แพ้สารเคมีในผงซักฟอกใช่หรือไม่ ปลา ผัก อาหารแห้ง มีวิธีกำจัดสารฟอร์มาลีนก่อนนำไปปรุงอาหารหรือไม่ ช่วยกรุณาตอบด้วยค่ะ ขอบคุณ

โดย:  คนรู้น้อย  [17 ต.ค. 2554 20:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 99:116

เราสูบฟอร์มาลีนเข้าไปอ่ะ ประมาณ 30 วินาทีได้ คือว่าคุณลุงเค้าทำฟามเลี้ยงไก่ แล้วฉีดฟอร์มาลีนฆ่าเชื้อเพื่อรอไก่ล็อคใหม่เข้าอ่ะ ฉีดได้ประมาณครึ่งวันมั้ง เราไม่รู้ว่าเค้าฉีดฟอร์มาลีนกันเลยเข้าไป แล้วอยู่ๆก็เกิดอาการหายใจไม่ออก แสบตาแสบจมูก ไม่สามารถลืมตาได้ พอรู้ตัวก็วิ่งออกมา แล้วก็หายแสบตา แต่หลังจากนั้นประมาณ2-3ชั่วโมงได้เราก็จามตลอดเลยอ่ะ ก็เลยกินยาแก้ลดน้ำมูกไป แล้วมันจะมีผลข้างเคียงรึเปล่า หรือว่าไม่เป็นไรเพราะเราสูดดมเข้าไปแค่30วิคะ ช่วยบอกหน่อยยๆๆ กลัวมากๆๆ

โดย:  เมเปิ้ล  [30 ต.ค. 2554 22:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 100:117

อยากทราบเกณฑ์มาตรฐานในการตรวจวัด ฟอร์มาลิน ของ WHO , อย. และOSHA  ควรมีค่าสูงสุดได้ไม่เกินกี่ppm

โดย:  Palm  [7 พ.ย. 2554 00:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 101:118

อยากทราบว่า ผักชนิดไหน ที่มี ฟอร์มาลีน,ฟอร์มาดีไฮด์(formadehyde)
บ้างอะครับ อยากทราบประมาน 10 ตัวอย่าง พอจะช่วยได้ไหมครับ


โดย:  โอเล่  [29 พ.ย. 2554 13:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 102:119

ฟอมัลดีไฮต์น่ากลัวกว่าท่คิดนะ แล้วต้องหลีกเลี่ยงหรือ ควรใช้อะไรทดแทนถึงจะไม่เป็นอันตราย

โดย:  คนอยากรู้  [5 ธ.ค. 2554 22:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 103:123

ผมเคยใช้แล้วครับฟอมารีนนะสู่ไฮเตอ์ผสมน้ำตาลยังไม่ได้เเลยครับ
ออปัจจุบันผมทดลองฮอร์โมนอบู่ตัวนึงสามารถอยู่ได้ถึง2สัปดาห์
ครับ


โดย:  เด็กร้อนวิชา  [19 ม.ค. 2555 23:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 104:124

มือหนูเป็นแผลเกือบหายแล้ว ตอนหนูทำแล็ปก็ใสถุงมือทุกครั้ง แต่ถุงมือมันขาดดันโดนฟอร์มาลีน แล้วมือมันแข็ง คงตัว เหมือนกับเซลล์ที่มือเรามันตายค่ะ เราจะมีวิธีแก้ยังไง แล้วจะมีผลข้างเคียงกับเราอย่างไรบ้างค่ะ !!

โดย:  เด็กวิทยาศาสตร์  [24 ม.ค. 2555 00:41]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 105:125

แล้ววิธีล้างฟอร์มาลินออกทำยังไง  ดูแล้วผักที่ซื้อจากตลาดทุกชนิดคงมีเพราะไมเหี่ยวเลยแต่ของที่บ้านเราเก็บแป้บเดียวไม่ถึงสองช.ม.สลบ

โดย:  ชง  [28 ก.พ. 2555 19:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 106:126

ขอคำแนะนำทดสอบแบบง่ายว่ามีฟอร์มาลีนหรือไม่ กำจัดอย่างไร  ลูกชอบทานปลาแซลมอน เอาออกจากช่องฟีสบ่าย 2 ลืมไว้ในรถถึง 9 โมงเช้าอีกวัน ไม่เสีย ดีใจแต่ เอ๊ะ ทำไมไม่เสีย สงสัยมีฟอร์มาลีนรึเปล่า คาใจมาก อยากทดสอบปลาที่ซื้อมาจากร้านประจำ ตอนนี้ยังไม่กล้าซื้อปลาให้ลูกทาน  เธอถามหาปลาแซลมอนหลายครั้งแล้ว

โดย:  ปณพร  [14 พ.ค. 2555 17:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 107:127

งงมาก

โดย:  333  [11 มิ.ย. 2555 16:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 108:129

อยากทราบวิธีการทำสารฟอร์มารีนจากว่านหางจระเข้คะ เพื่อนำไปใช้ศึกษาในการทำโครงงานคะและอยากทราบอีกว่าประสิทธิภาพเหมือนกับฟอร์มาลีนจริงๆไหม?ส่งข้อมูลไปทางเมลล์ฏ็ได้คะ คะยังไงก็ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงคะที่ให้คำแนะนำ

โดย:  เด็กน้อยไร้เดียงสา  [17 มิ.ย. 2555 15:37]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 109:132

เห็นมีคนถามเรื่องการกำจัดกลิ่นฟอร์มัลดิไฮด์ในเฟอร์นิเจอร์หลายครั้ง
ยังไม่เห็นมีคำตอบ ไม่ทราบว่าพอมีผู้รู้บ้างมั้ยครับโปรดช่วยชี้แนะด้วย

โดย:  สมยศ  [17 ก.ค. 2555 15:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 110:133

อยากทราบขั้นตอนการวิเคราะห์ฟอร์มัลดีไฮด์ แบบ passive ด้วยเครื่อง HPLC ค่ะ

โดย:  นักศึกษาตัวน้อย  [13 ธ.ค. 2555 15:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 111:134

อยากทราบว่าที่ไหนมีขายอุปกรณ์ ทดสอบสารฟอมารีนที่ปนเปื้อนในอาหาร ขายบ้างค่ะ ถ้ามี มียี่ห้ออะไรบ้างค่ะที่ได้มาตรฐานค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดย:  ผู้รักสุขภาพ  [25 ธ.ค. 2555 01:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 112:135

อยากทราบวิธีการดับกลิ่นฟอร์มาลินครับ
มีชาวบ้านไม่ทราบชื่อนำฟอร์มาลินมาจากที่ใดไม่ทราบแล้วนำไปเททิ้งส่งกลิ่นได้ในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์มาแล้ว....อยากทราบวิธีการดับกลิ่น เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคนในชุมชนต่อปครับ ขอบคุณครับ

โดย:  นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์  [17 ม.ค. 2556 09:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 113:136

ใครรู้วิธีล้าง สารฟอมารีน ออกจากพืชผักผลไม้ ช่วยบอกวิธีด้วย ขอบคุณมากๆ

โดย:  anu  [25 ก.พ. 2556 05:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 114:147

ผมเรียน gross anatomy น่ะครับ แล้วพอดีว่าสัมผัสกับฟอร์มาลีนที่ใช้ดองปอดด้วยมือเปล่า เลยอยากทราบว่า ฟอร์มาลีนที่ความเข้มข้นที่ใช้ดองปอดมาอันตรายต่อมือมากแค่ไหน ขอบคุณครับ

โดย:  ปอนด์  [5 ก.ค. 2556 22:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 115:154

อยากให้ช่วยบอกวิธีลดหรือกำจัดสารฟอร์มาลีนที่ปนเปื้อนมากับปลาหมึกสดในระดับอุตสาหกรรมให้หน่อยค่ะ เพราะที่บริษัทจะรับซื้อปลาหมึกมาเพื่อบรรจุแพ็คขายส่งแต่ปัญหาคือบางเจ้า จะผสมฟอมาลีนมาในปลาหมึกเยอะมาก ทางเราจึงต้องการกำจัดหรือลดฟอร์มาลินในปลาหมึกก่อนส่งค่ะ

โดย:  PATTAREE  [3 ก.ย. 2556 15:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 116:161

k9lvovgv

qqwmcqq4

insurance

r6x4kv02

libz15rp

โดย:  plzqmasw  [24 พ.ย. 2556 12:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 117:165

ซื้อปลาเค็มมา  แต่ตอนเปิดถุงมันเป็นกลิ่นฉุนแปลกๆค่ะแต่ก็ไม่แอะใจอะไรมาก  แล้วนำมาทอดกิน4-5ตัว พอกินไปมันก็แปลกๆอีกมันรู้สึกเย็นๆเวลากลืนลงไปค่ะ  ใช่สารฟอมารีนรึเปล่าค่ะและจะเป็นอันตรายมั๊ย

โดย:  เนตรอนงค์  [19 ธ.ค. 2556 10:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 118:168

ไม่ทราบว่า มีวิธีการกำจัด ฟอมาดิไฮ ที่ตกค้างจากผ้าย้อมได้อย่างไรบ้าง และสามารถกำจัดให้หมดไปได้หรือไม่

โดย:  manop  [28 ม.ค. 2557 16:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 119:169

อยากทราบการทำปฏิกิริยาของน้ำยาทดสอบ 3 นี้คะ เมื่อมันไปเจอสารฟอรืมาลีนแล้วทำไมจึงเปลี่ยนเป็นสีม่วง ต้องการทราบจริงๆๆช่วยตอบด้วยนะค่ะ^^ ด่วน!! เลยคะพอดีจะใช้ในการเรียนคะ

โดย:  ดวงกมล  [30 ม.ค. 2557 21:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 120:170

ใช้สารฟอร์มาลดิไฮด์ผสมกับด่างทับทิมเพื่อทำปฏิกิริยาในการรมควันกันเชื้อราในเปลือกข้าวโพดแห้งได้จริงหรือไม่  จะมีอันตรายกัยผู้ที่สัมผัสเปลือกข้าวโพดที่ผ่านการรมมาแล้วหรือไม่


โดย:  กรรณิการ์  [30 พ.ค. 2557 20:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 121:171

มีอุปกรณ์ตรวจวัดสารฟอร์มาลีน และสารระเหยฟอร์มัลดิไฮด์ เสนอเพื่อเป็นประโยชน์ค่ะ  https://www.facebook.com/formaldehydetest

โดย:  วิวัน  [16 มิ.ย. 2557 14:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 122:172

อยากทราบว่าสารละลายฟอร์มาลีน มีสมบัติเป็นกรดหรือเบสคะ มีค่า pH ประมาณเท่าใด

โดย:  ปาวัน  [7 ก.ค. 2557 20:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 123:173

ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่นึ่งฆ่าเชื้อเครื่องมือแพทย์ โดยใช้สาร ฟอร์มาลีน เป็นเวลา 20 ปี หากต้องการตรวจสุขภาพ จะมีวิธีการ ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจอะไรบ้าง

โดย:  สมพร  [20 ก.ค. 2557 21:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 124:176

ถ้าเราสัมผัสโดถ้าเราสัมผัสโดยการใช้มือแต่ไม่ได้รับประทานมาเป็นเวลาจะเป็นอันตรายหรือมีผลกระทบอย่างไรบ้างค่ะ

โดย:  ลำพูช  [4 ก.ค. 2558 20:56]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น