สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

สารกัมมันตภาพรังสี (๒)

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
ในคราวที่แล้วได้อธิบายไปว่า รังสีที่เกิดจากสารกัมมันตภาพรังสีที่สำคัญ ๆ มี ๓ ตัวคือ รังสีแอลฟา รังสีเบต้า และรังสีแกมม่า ซึ่งแต่ละตัวมีอำนาจการทะลุทะลวงที่ต่างกันไป (จากน้อยไปมาก)

วันนี้จะมาว่ากันต่อถึงผลที่เกิดขึ้นหากสิ่งมีชีวิต (เช่น มนุษย์) รับรังสีเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งหากได้รับในปริมาณที่น้อยและในช่วงเวลาสั้น ๆ ร่างกายก็สามารถสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์ที่ถูกทำลายไปได้ แต่หากได้รับในปริมาณที่มากก็จะมีอันตรายต่อบุคคลผู้นั้น เช่น เกิดอาการอาเจียน คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และถึงกับเสียชีวิตทันทีหรือภายใน ๑ สัปดาห์หากรับเข้าไปเต็มที่ ซึ่งสำหรับในกรณีของผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่สมุทรปราการ ก็เกิดจากรังสีเข้าไปทำลายกลไกการสร้างเม็ดเลือดขาวในร่างกาย ทำให้ภูมิต้านทานลดลงจนเสียชีวิตในที่สุด

สิ่งที่น่ากลัวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผลในระยะยาว บางกรณีเซลที่ได้รับรังสีเข้าไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทำให้อาจเปลี่ยนไปเป็นเซลมะเร็ง เช่น มะเร็งในเม็ดเลือดในกลุ่มคนที่ทำงานกับสารกัมมันตรังสีบ่อย ๆ มะเร็งปอดที่เกิดกับคนงานในเหมืองขุดแร่กัมมันตภาพรังสี เป็นต้น

หากพบว่ามีการรั่วไหลของรังสีในบริเวณที่เราอยู่ สิ่งแรกคือออกมาให้ห่างจากบริเวณนั้นมากที่สุด และชำระล้างร่างกายให้สะอาด และเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที จากนั้นให้ไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป และพื้นที่บริเวณนั้น จะต้องถูกประกาศเป็นพื้นที่ห้ามเข้า จนกว่าจะได้รับคำยืนยันว่าปลอดภัย

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาพิษจากกัมมันตรังสี การป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้ ในบริเวณที่มีการใช้หรือเก็บสารเหล่านี้ จะต้องมีการวัดปริมาณรังสีในสถานที่และผู้เกี่ยวข้องอยู่เสมอ กิจกรรมทุกชนิดที่เกี่ยวกับสารนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ ต้องทำอย่างระมัดระวังและมีการทำความสะอาดและตรวจซ้ำว่าไม่มีสารนี้หลงเหลืออยู่ พร้อมทั้งมีแผนสำรองหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีขั้นตอนที่เป็นสากลกำหนดไว้อยู่แล้ว อยู่ที่ผู้ปฏิบัติจะให้ความใส่ใจแค่ไหน หาไม่แล้วเหตุการณ์เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ จะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายแน่นอน...
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Cobalt-60 (Co-60)
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ ผมกำลังทำรายงานพอดี

โดย:  เมซัง  [12 พ.ย. 2550 17:37]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้ดีๆ

โดย:  แตงโม  [9 ก.ย. 2551 19:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ขอบคุณมากครับที่ให้ความรู้ดีๆ


โดย:  แชมป์  [18 พ.ย. 2551 21:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

รอยแผลเป้นแก้ยังไง

โดย:  rain  [19 ม.ค. 2552 10:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

ได้ความรู้เยอะเลย

โดย:  แพร  [28 ม.ค. 2552 15:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

ช่วยบอกเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีอีกมากมายได้ไหม

พอดีต้องทำรายงานส่งจ่ะ

โดย:  SonG ha MiN  [18 พ.ค. 2552 18:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

ใจจ้า

โดย:  molecule  [23 มิ.ย. 2552 21:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:8

ขอบคุณคร้าฟ เยี่ยมมากเลย.....

โดย:  อยู่ที่จัย  [18 ก.ค. 2552 19:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:9

คุงมากคฟกำลังทำรายงานอยู่เลย

โดย:  เด็กเรียน  [10 ส.ค. 2552 18:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:12

ขอบคุณมากครับ

โดย:  ชนะชล  [28 ส.ค. 2552 08:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:13

thxxxxxxx jaa

โดย:  thxx  [31 ส.ค. 2552 19:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:14

ชอบมากเลยค่ะ

โดย:  น้องน้ำฝน  [23 ก.ย. 2552 17:18]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:15

ขอตัวอย่างะาตุกัมมันตภาพรังสี 6 ธาตุก็พอค่ะTT-TTอยากได้มั่กๆ

โดย:  cuty b-girl  [19 ต.ค. 2552 20:52]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:16

ขอบคุณค่ะกำลังทำงานส่งครูพอดี

โดย:  หวาน  [13 ธ.ค. 2552 11:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:17

อยากรุ้เกี่ยวกับตัวอย่างของสารกัมมันตภาพรังสีหน่อยครับ

โดย:  คนอยากรุ  [3 เม.ย. 2553 10:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:18

อยากทราบว่าสารกัมมันตภาพรังสีมีประโยชน์กับการเกษตรอย่างไร

โดย:  นักศึกษานอกโรงเรียน  [4 ส.ค. 2553 15:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:20

ขอบคุณค่า...แต่เนื้อหาน้อยจังเลยง่ะ T^T

โดย:  มิกกี้เมาส์  [3 ก.ย. 2553 09:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:21

ขอบคุณที่ทำให้ทำการบ้านเสร็จ

โดย:  เเจ่ว  [8 ก.ย. 2553 20:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:22

ขอชื่อสารกัมมันตภาพรังสี  6 พร้อมประโยชน์ค่ะ  :)

โดย:  เด็กเซนต์โย  [18 ต.ค. 2553 20:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:23

เเล้วมันรังสี 3 ตัวนั่นมีเนื้อหาอะไรอีก

โดย:  m  [26 ต.ค. 2553 17:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:24

สุดยอดเคยครับ ได้ความรู้เรื่อง แร่กัมมันตรังสีมากครับ

โดย:  เด็กเรียนวัยมัน  [27 ม.ค. 2554 18:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:26

ข้อมูลน้อยจัง

โดย:  เล็ก  [20 มี.ค. 2554 11:42]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:27

สงสารพวกญี่ปุ่นมาก

โดย:  เอิร์ธ  [23 มี.ค. 2554 13:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:28

ก็นะ..มาศึกษาก็เข้ามาที่นี้เป็นที่เเรกเลย..ก็ไม่รู้ด้วยชำว่ากัมมันตภาพรังสีมีพิษอย่างไรครับ..พอเข้ามาอ่านดูก็รูสึกว่าอันตรายมากอยากให้มาช่วยกันรนณรงค์อย่าใช่นิวเครียร์ดีก่า..........เครียร์เเม้กะทั่งตังเอง....ฉลาดมากเนอะ..มนุษย์

โดย:  ต้นเลิฟ  [24 มี.ค. 2554 20:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 25:29

ขอบคุณครับ ผมได้ความรู้มากพอที่จะป้องกันอันตรายจากสารเหล่านี้


โดย:  โอ ชาร์เตอร์  [28 มี.ค. 2554 17:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 26:30

P-31 เปนกัมมันตรังสีมั๊ยคะ?

โดย:  Bbam  [16 พ.ย. 2554 22:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 27:31

ทำไมเนื้อหามันน้อยจัง  อยากได้เนื้อหาเยอะๆๆ จะได้ทำรายงานอย่างสมบูรณ์

โดย:  ning  [23 ส.ค. 2555 11:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 28:32

I don't even know what to say, this made things so much easeir!

โดย:  Akanisi  [19 ม.ค. 2556 13:05]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น