สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

พ.ร.บ. วัตถุอันตราย

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 20 ก.ค. 2549

ประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมวัตถุอันตรายเรียกว่า พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สาระสำคัญคือการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งจะมีประกาศรายชื่อของสารที่ต้องควบคุม ถ้าชื่อสารไม่ปรากฏในบัญชีรายชื่อ ก็ไม่อยู่ในการควบคุมตาม พ.ร.บ.นี้ ในประกาศบัญชีรายชื่อ จะกำหนดว่าสารใดเป็นอันตราย ชนิดใด หน่วยงานใดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม มีรายชื่อสารที่ ควบคุมประมาณ 1000 ชนิด แบ่งตามความจำเป็นแก่การควบคุมเป็น 4 ขนิด วัตถุอันตรายชนิด ที่ 1 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ถ้าเป็นชนิดที่ 2 แปลว่าเป็นวัตถุอันตรายที่ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน ชนิดที่ 3 อันตรายมากขึ้น จึงต้องได้รับใบอนุญาตก่อน ส่วนชนิดที่ 4 เป็นอันตรายมากจนถูกห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง เช่น อัลดริน เอนดริน เป็นสารฆ่าแมลงที่ถูกห้ามเป็นต้น ส่วนหน้าที่ว่าหน่วยงานใดดูแลสารชนิดไหน จะอยู่ในประกาศ เช่น ถ้าเป็นสารที่ใช้เพื่อการเกษตร ผู้ประกอบการต้องไปขออนุญาตจาก กรมวิชาการเกษตร ถ้าเป็นสารที่นำมาใช้ในโรงงาน ก็ไปขออนุญาตจากกรมโรงงาน ท่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จากฐานข้อมูลสารเคมีเพื่อการอ้างอิง www.chemtrack.org

 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น