สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

แคดเมียม – โรคอิไต-อิไต

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 20 ก.ค. 2549
ผู้ที่มีโอกาสจะได้รับพิษแคดเมียมคือ คนงานในอุตสาหกรรมชุบหรือเชื่อมโลหะ คนงานเคาะพ่นสีรถยนต์และมอร์เตอร์ไซด์ ที่มีการใช้ความร้อนหรือเปลวไฟในการอ๊อกเหล็กที่มีแคดเมียมผสมหรือเคลือบอยู่ การสูดไอของโลหะแคดเมียมเข้าไประยะยาว แคดเมียมจะไปสะสมที่กระดูก ทำให้กระดูกผุ มีอาการเจ็บปวดมาก เคยมีชื่อเรียกโรคพิษของแคดเมียมเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “ อิไต-อิไต “ ซึ่งแปลว่า “ โอ๊ย โอ๊ย “ เมื่อได้รับแคดเมียมสะสมมากๆ จะสังเกตเห็นวงสีเหลืองที่โคนของซี่ฟัน ซึ่งจะขยายขึ้นไปเรื่อยๆจนอาจเต็มซี่ ถ้าขนาดของวงยิ่งกว้างและสียิ่งเข้ม ก็แสดงว่ามีแคดเมียมสะสมมาก มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าแคดเมียมออกไซด์เป็นสารก่อมะเร็งที่ไตและต่อมลูกหมาก นอกจากนั้นยังทำอันตรายต่อไต ทำให้สูญเสียประสาทการดมกลิ่นและทำให้เลือดจาง ถ้าได้รับปริมาณมากระยะสั้นๆ จะมีอาการจับไข้ หนาวๆร้อนๆ ปวดศีรษะ อาเจียน อาการนี้จะเป็นได้นานถึง 20ชั่วโมงแล้วตามด้วยอาการเจ็บหน้าอก ไอรุนแรง น้ำลายฟูม ดังนั้น เมื่อใดมีไอของแคดเมียม เช่นจากการเชื่อมเหล็กชุบ ควรใช้หน้ากากป้องกันไอและฝุ่นของแคดเมียม หรือสารประกอบแคดเมียมในขณะทำงาน

หมายเหตุ

Cadmium

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตรและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

ทำไมถึงไม่มีความหมายของโรคอิไต อิไต

โดย:  คนเทพ  [16 มิ.ย. 2550 15:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

โรคอิไต อิไต ปรากฎขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น แถบแม่น้ำจินสุ เขตโตยามา เนื่องมาจากมีการทิ้งขี้แร่จากการทำเหมืองสังกะสีลงในแม่น้ำสายนี้ ขี้แร่นี้มีแคดเมียมปนเปื้อนอยู่ ชาวบ้านที่ใช้น้ำจากแม่น้ำหรือได้รับแคดเมียมทางอ้อมจากแม่น้ำ เกิดเป็นโรคไต กระดูกผุ เจ็บปวดบริเวณหลังและเอวอย่างรุนแรงมาก และการมีเด็กพิการในอัตราสูงผิดปกติ จึงเป็นที่มาของโรคอิไต อิไต

โดย:  T  [20 มิ.ย. 2550 12:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:6

ผมกังวลมากครับ  โรคนี้รักษายังไงครับ

โดย:  คนกังวล  [25 ส.ค. 2550 19:41]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:7

การเเก้เเก้อย่างไร ครับ

โดย:  อภิวิชญ์  [1 ม.ค. 2551 17:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:8

ขอบคุณนะค่ะที่ให้ความรู้ เกี่ยวกับโรคนี้

โดย:  ศสิศิรินันทา  [4 ก.พ. 2551 17:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:11

อิไตอิไตเป็นเสียงร้องที่ร้องออกมาด้วยความเจ็บปวดเหมือนบ้านเราที่โอ้ๆๆๆๆ

โดย:  ม.ราชภัฏเลย(เคมี)  [14 มิ.ย. 2551 11:43]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:12

ญี่ปุ่นนี่สารพิษเยอะจิงๆๆๆ   มีทั้งอิไต-อิไต แล้วก็มินามาตะ

โดย:  สายลับจากเมกา  [29 มิ.ย. 2551 17:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:13

ก็ดีค่ะ


โดย:  เด็กน้อยน่ารัก  [3 ก.ค. 2551 13:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:14

น่าจะมี วิธีป้องกันและวิธีรักษาจะได้เอาไปใช้งาน ขอบคุณค่ะ

โดย:  258  [4 ต.ค. 2551 14:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:16

โรคอิไตอิไหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคโอ๊ยเจ็บใช่มั้ยค่ะ

โดย:  นิสิตมหาลัยทักษิณ  [18 ต.ค. 2551 21:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:17

ขอช่วยบอกสถานที่ ที่เกิดในประเทศไทยด้วยได้ไมค่ะ
ขอบคุณค่ะ

โดย:  เด็กสิ่งแวดล้อม  [31 ต.ค. 2551 10:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:18

ประเทศไทย พื้นที่ที่คนมีโอกาสป่วยหรือป่วยด้วยโรคพิษแคดเมียม หรือ อิไต-อิไต คือ อ.แม่สอด จ.ตาก

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [6 พ.ย. 2551 17:08]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:19

แคดเมียมในหมึกสด [7 พ.ย. 51 - 16:09]

อาหารเป็นปัจจัย หนึ่งในสี่ที่สำคัญต่อร่างกาย เคยมีคนบอก ถ้าอยากมีสุขภาพดีต้องกินอาหารที่ดีมี ประโยชน์ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย

แต่อาหารที่ดีของคนเรานั้นไม่ เหมือนกัน บางคนว่า...อาหารที่กินอยู่ทุกวันนี้ดีอยู่แล้ว แต่บางคนก็ว่า ที่กินไป นั้นยังไม่พอต้องกินเพิ่มเข้าไปอีก

ถ้าจะให้ดีต้องดูคุณค่าทาง โภชนาการของอาหารด้วย

อาหารทะเลเป็นอาหารอีกชนิดที่เรา ไม่ควรมองข้าม มีแร่ธาตุและสารอาหารมากมาย แต่ใครจะรู้ว่า ในสิ่งที่เรากำลังจะ กินนั้น อาจมีโทษอยู่เหมือนกัน เช่น ปลาหมึก

เพราะในปลา หมึกอาจพบโลหะหนักแคดเมียมตกค้างอยู่

แคดเมียมเป็นโลหะหนักชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้า แพร กระดาษ หมึกพิมพ์

ปกติโลหะหนักเป็นสารที่คงตัว ไม่ สามารถย่อยสลายได้ในกระบวนการธรรมชาติ จึงมีบางส่วนตกตะกอนสะสมอยู่ในดิน โดยเฉพาะดินตะกอนที่อยู่ในน้ำ

ดังนั้น การปนเปื้อนของโลหะหนัก ในสัตว์น้ำ เช่น ปลาหมึก จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ที่ผ่านมา เราพบแคดเมียมในหมึก กระดอง และหมึกสายมากกว่าหมึกกล้วย เนื่องจากหมึกสายจะหากินตามผิวดินเขต น้ำตื้น หมึกกระดองหากินตามผิวดินในทะเล ส่วนหมึกกล้วยจะหากินกลางทะเล การ สะสมแคดเมียมในหมึกจึงอยู่ในส่วนของไส้มากกว่าเนื้อ

ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยง จึงควรเอา ไส้ออกทุกครั้งก่อนนำมารับประทาน แต่ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่นกัน

เมื่อร่างกายของ เราได้รับแคดเมียมจะสะสมอยู่ในไตเป็นหลัก แต่ถ้าได้รับมากจะสะสมอยู่ใน ตับ

อาการเป็นพิษเนื่องจากได้รับ แคดเมียมมากๆ จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ตะคริว จนถึงท้องร่วง

วันนี้สถาบันอาหารจึงสุ่มตัวอย่าง ปลาหมึกสดที่วางขายใน จ.สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ 5 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์หา การตกค้างของแคดเมียม

ปรากฏว่า พบการ ตกค้างในทุกตัวอย่าง แต่ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน!




ดังนั้น คุณวลัยพรและทีมงานจะตอบข้อมูลอะไร ควรศึกษาและทำการบ้านให้รอบด้าน ไม่ใช่พื้นที่แม่สอดเท่านั้นที่เสี่ยง พื้นที่ไหนๆ ก็เสี่ยงทั้งนั้น หากบริโภคอาหารที่ปนเปื้อแหรือแม้แต่การสูบบุหรี่ซึ่งมีแคดเมียมอยู่ด้วยเช่นกันจะตอบหรือให้ข้อมูลควรศึกษาและรู้จริง

โดย:  ผู้สนใจ  [11 ม.ค. 2552 19:31]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:20

เข้าใจที่ผู้สนใจแนะนำค่ะ และได้เคยเขียนเผยแพร่ไปเมื่อปี 2549 แล้วค่ะว่า แคดเมียม... ไม่ใช่แค่ที่แม่ตาว (http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=2&ID=25)

แต่ก็ต้องยอมรับนะค่ะว่าที่แม่ตาวมีการปนเปื้อนสูง โอกาสที่ผู้คนจะได้รับแคดเมียมก็สูงด้วยเช่นกัน ทั้งจากสิ่งแวดล้อม อาหาร และรับสัมผัสกันเกือบจะตลอดเวลานะค่ะ เพราะอยู่กินหลับนอนที่ตรงนั้นนะค่ะ โอกาสที่ผู้คนจะเลี่ยงมีน้อยกว่าเรา ๆ ที่เลือกหรือหลีกเลี่ยงไม่กินได้ค่ะ

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [12 ม.ค. 2552 10:19](แก้ไขล่าสุด: 12 ม.ค. 2552 10:23)
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:21

ขอบคุณครับ


โดย:  คนอยากรู้  [16 ม.ค. 2552 16:59]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:22

ขอบคุณมากคะ กำลังหาที่มาอยู่

โดย:  แก้ม  [16 ม.ค. 2552 17:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:23

http://en.wikipedia.org/wiki/Itai-itai_disease        Itai-Itai Disease        
http://www.kanazawa-med.ac.jp/~pubhealt/cadmium2/itaiitai-e/itai01.html        
http://www.icett.or.jp/lpca_jp.nsf/a21a0d8b94740fbd492567ca000d5879/b30e2e489f4b4ff1492567ca0011ff90?OpenDocument

โดย:  นักเคมี  [17 ม.ค. 2552 20:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:24

http://en.wikipedia.org/wiki/Cadmium        Cadmium        
http://en.wikipedia.org/wiki/Cadmium_poisoning        Cadmium Poisoning        
http://periodic.lanl.gov/elements/48.html        Cadmium Elwmwnt        
http://minerals.usgs.gov/minerals/pubs/commodity/cadmium/        Cadmium Minerals        
http://www.osha.gov/SLTC/cadmium/        Cadmium  -  Safety and Health

โดย:  นักเคมี  [17 ม.ค. 2552 20:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:25

Cadmium (Cd) แคดเมียม
เลขอะตอม 48 เป็นธาตุที่ 2 ของหมู่ IIB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะ น้ำหนักอะตอม 112.40 amu จุดหลอมเหลว 321 ํc จุดเดือด (โดยประมาณ) 767 ํc ความหนาแน่น (จากการคำนวณ) 8.65 g/cc ที่ 20 ํc เลขออกซิเดชันสามัญ + 2


การค้นพบ
ค้นพบโดย F. Strohmeyer ชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1817 โดยแยกออกไซด์ของธาตุนี้ที่อยู่ปะปนในปริมาณเล็กน้อยกับซิงค์คาร์บอเนต (ZnCO3) โดยทำให้ตกตะกอนออกมาด้วยไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) แล้วรีดิวซ์ต่อไปเป็นโลหะอิสระ

Strohmeyer เรียกโลหะนี้ว่า "cadmia" จากคำ calamine ชื่อเรียกซิงค์คาร์บอเนตในสมัยนั้น ความเป็นพิษ


แคดเมียมเป็นโลหะที่เป็นพิษมากที่สุดโลหะหนึ่ง เมื่อ cd เข้าสู่ร่างกายจะสะสมในร่างกายและปริมาณการสะสมเพิ่มขึ้นกับอายุ มีการประมาณการว่าคนทั่วไปที่มีอายุ 50 ปี มี cd สะสมในร่างกาย 10 mg ถึง 50-60 mg สุดแล้วแต่ว่าคน ๆ นั้นอยู่ที่ไหนของโลก ส่วนเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่มี cd ในร่างกายเพียง 1 mg การสะสม cd ในร่างกายในปริมาณสูงทำให้คนหรือสัตว์เป็นหมันและเป็นมะเร็งได้ นอกจากนี้แล้วยังทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ก่อความเสียหายต่อไตและตับ บทบาทความเป็นพิษของ cd ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนัก แต่ชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการเข้าแทนที่ Zn ในเอนไซม์บางชนิด ทำให้เอนไซม์นั้นไม่สามารถทำงานตามปกติไดี

ที่มา โครงการพัฒนาความรู้



โดย:  ข้อมูลเพิ่มเติม  [17 ม.ค. 2552 23:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:26

ดีคับ


โดย:  oblivious  [16 มี.ค. 2552 22:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:28

คนเชื่อมโลหะทำไมไม่เอาผ้าปิดจมูกอะ

โดย:  นิรนาม  [11 พ.ค. 2552 13:34]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:31

ถ้าเราปลูกพืชในดินที่มีแคดเมียมแล้วเรากินพืชนั้นเข้าไปจะสะสมในร่างกายหรือไม่

โดย:  อยากรู้  [5 ส.ค. 2552 07:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:32

อิไต  เป็นภาษา ญี่ปุ่น  แปลว่า  ปวด
เวลาจะถามว่าปวดไหม  ก็พูดว่า อิไตเดซิกะ  ครับ

โดย:  งูงูปลาปลา  [5 ส.ค. 2552 19:31]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:33

ได้รับสารแคดเมี่ยมในปริมาณเท่าไดจึงทำให้เกิดการเป็นโรคอิไต อิไต

โดย:  ช่างถาม  [22 ก.ย. 2552 00:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 25:35

เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ควรมีการระวังป้องกันภายในประเทศเรา

โดย:  อาชิ  [9 มี.ค. 2553 10:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 26:37

น่ากลัวมากคร่า เเต่เด็กก็ไม่เข้าใจว่าเป็นยังเเล้วรักษายังไงด้วยคร่า

โดย:  เด็กน้อยคร่า  [11 ก.ย. 2553 15:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 27:40

อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคอิไต-อิไต เยอะเยอะ


โดย:  ผู้ศึกษา  [15 ก.ย. 2553 17:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 28:42

ทำยังไงให้ร่างกายขับแคดเมี่ยมออกมา

โดย:  หนิง  [26 ก.ย. 2553 15:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 29:43

ขอบคุณมากๆทีให้ความกระจ่างกับดรคนี้ครับ

โดย:  เด็กน้อย  [22 ม.ค. 2554 15:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 30:47

ตอนนี้สารแคดเมียมไม่ได้มีแต่ในปลาหมึกเท่านั้นนะ แต่ยังมีสะสมอยู่ในปูจักจั่นอีกด้วย ปัจจุบันนี้ประเทศที่นำเข้าปูจักจั่นอย่างประเทศจีน จึงมีข้อกำหนดอย่างเข้มงวด โดยสินค้าที่จะนำเข้าอย่างปูจักจั่นต้องมีปริมาณแคดเมียมไม่เกิน 0.1 ppm จ้าาาาา

โดย:  HACCP &GPM  [2 ธ.ค. 2554 10:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 31:48

ที่ จ. ตากพบว่ามีแคดเมียมในปริมาณสูง แล้วแถวๆนั้นก็ปลูกข้าว แล้วข้าวสามารถดูดซึมสารไว้ได้มั้ยคะ ถ้าได้ ก็คงมีความเสี่ยงกันทั้งประเทศแหละค่ะ

โดย:  ซาลาเปา  [26 ธ.ค. 2554 20:52]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 32:49

แคดเมียมสามารถสะสมในข้าวได้ ดังนั้นรัฐจึงชดเชยให้ประชาชนที่แม่ตาวให้งดปลูกข้าว เพราะข้าวอาจถูกนำไปขายในแหล่งอื่น ๆ ทำให้ประชาชนได้รับแคดเมียมที่ปนเปื้อนในข้าว ชาวแม่ตาว จ. ตาก จึงควรใช้พื้นที่เพื่อปลูกพืชพลังงานแทนพืชเพื่อเป็นอาหาร

โดย:  นักชีววิทยา  [1 ก.ค. 2555 00:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 33:50

Thanks for senpidng time on the computer (writing) so others don't have to.

โดย:  Jana  [25 ส.ค. 2555 08:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 34:53

จะสอบเรื่องนี้แหละ

โดย:  เด็กสิ่งแวดล้อม ม.เลย  [26 ธ.ค. 2555 12:04]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น