สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

เฮกเซน (Hexane)

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 20 ก.ค. 2549
เฮกเซน เป็นสารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลายอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้ผสมสีหรือกาวในงานเฟอร์นิเจอร์ งานพ่นหรืองานทาสี งานทากาวรองเท้า สำหรับโรงงานที่ใช้เฮกเซนได้แก่โรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันพืช และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เฮกเซนเป็นของเหลวใสไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนมากจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเอาไอระเหย แล้วถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด หรือเข้าสู่กระแสเลือดจากการสัมผัสทางผิวหนัง เมื่อสัมผัสสารที่เข้มข้นจะเกิดอาการแบบเฉียบพลัน คือ ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นของไอระเหยในอากาศ ซึ่งไม่ควรเกิน 1000 ส่วนในล้านส่วน อาการเฉพาะที่ได้แก่ ผิวหนังบวมแดง อาจมีตุ่มใส ถ้าเข้าตาทำให้กระจกตาขุ่น ระคายเคือง ถ้าได้รับความเข้มข้นต่ำต่อเนื่องนานกว่า 1 เดือน จะเริ่มมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ชาที่ปลายเท้าปลายนิ้ว ปวดกล้ามเนื้อคล้ายเป็นตะคริว กล้ามเนื้อจะอ่อนแรง ลีบถึงขั้นชาแขนเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต อาการเหล่านี้ถ้ายังไม่ถึงขั้นรุนแรง จะทุเลาได้เมื่อหยุดสัมผัส และอาจกลับมาเป็นปกติได้หลังจากหยุดสัมผัสประมาณ 10 เดือน
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Hexane
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

ดีมากเลย


โดย:  dex-d  [4 พ.ย. 2551 10:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

ดีมากๆเลยคนทำคงเก่งน่าดู

โดย:  ford  [23 พ.ย. 2551 11:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

ดี

โดย:  กนกวรรณ  [10 ธ.ค. 2551 10:58]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

อยากได้มากกว่านี้อ้ะ

โดย:  BB  [18 ม.ค. 2552 18:22]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:7

ประเมินโรงเรียนในฝันวันสุดท้ายแล้ว ทำแล็ปชีววิยา การสกัดสีจากธรรมชาติ อยากได้เฮกเซน


โดย:  cha~ame  [5 มี.ค. 2552 11:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:9

เนื้อหามีแค่นี้เองหรอค่ะ

ต้องการเนื้อหามากกว่านี้ค่ะ

เพราะจะทำรางงานส่งครูค่ะ

โดย:  โมจิ  [19 ส.ค. 2552 18:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:10

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่มีค่ะ

โดย:  โมจิ  [19 ส.ค. 2552 18:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:11

ขอบคุณนะค่ะ เข้าใจง่ายมากๆค่ะ

โดย:  sweet  [21 ต.ค. 2552 16:18]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:13

thx.na ka :)
but short passage na ka :'))

โดย:  rak p'janie  [10 มี.ค. 2553 20:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:14

อยากทราบว่า Hexane ที่ใช้แล้วสามารถนำกลับไปใช้ หรือทำอะไรได้บ้าง

โดย:  PK  [25 พ.ค. 2553 15:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:15

ขอบคุณนะคะที่ให้ข้อมูลแต่ถ้ามีเยอะกว่านี้จะดีมากค่ะ

โดย:  annza  [28 มิ.ย. 2553 09:40]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:29

ผมมีเรื่องอยากจะถาม ผมต้องการกรดไนตริกที่แบบเป็น%เช่นกรดไนตริก80%
แต่ผมไปซื้อที่ร้านศึกษาภัณฑ์แล้วผมอ่านดูเป็น กรดไนตริกเข้มข้น12โมล
มัมต่างกันยังไงครับ

เด็กม.ปลาย

โดย:  ดิษ  [30 มิ.ย. 2553 22:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:31

ขอเสริมข้อมูล ของอาจารย์ด้านบนนะครับ เฮ็กเซน ยีงสามารถใช้ ล้างอุปกรณ์พวกอิเล็กทรอนิกได้อีกด้วย จิงๆแล้วเฮ็กเซนยังแบ่งแยกได้อีกตามค่า IBP และ DP
IBP คือหยดแรกของกลั่น เฮ็กเซนออกมา  DP คือหยดสุดท้ายของการกลั่น
ดังนั้นตัวอย่าง หยดแรกได้ที่ 55 C หยดสุดท้ายได้ที่ 75 C  ดังนั้นจะได้เฮ็กเซนที่มี range อยู่ที่ 55-75 C  ซึ่งมีคุณสมบัติหลักๆคือ น้ำหนักเบา ระเหยไวเหมาะกับอุตสาหกรรม กาวที่ตอ้งการแห้งไว  หากต้องการเฮ็กเซนที่หนักขึ้นหรือแห้งช้ากว่านี้ ก็ต้องมีการตัด rangeที่ IBP 60 C -DP 85 C  นะครับ
 หากมีตัดค่าเกินจากนี้ อาจจะประมาณ IBP 65 C  - DP 110 C ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ที่เรียกว่า rubber solvent ใช้ทำละลายยางในอุตสาหกรรม ผลิตยางรถยนต์   อย่างไรก็ลองนึกภาพหรือศึกษาเรืองการกลั่นลำดับส่วน ของน้ำมันดิบดูนะครับ อาจจะเข้าใจมากกว่านี้ เพราะการกลั่นจะได้ผลิตภันฑ์ที่แตกต่างกัน หากมีข้อมูลส่วนไหนไม่ชัดเจนหรือผิดพลาดก็ขออภัยด้วยนะครับ

โดย:  mamo  [12 ก.ค. 2553 15:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:33

เฮกเซนสามารถละลายสีในนำมันดำได้หรือเปล่า(นำมันที่ดำต้องการให้ใส่)

โดย:  วิวัฒน์  [7 ก.ย. 2553 04:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:34

สารเคมีตัวไหนที่เจือจางสีให้ใส่โดยไม่ต้องกลั่น

โดย:  สารวัฒร  [12 ก.ย. 2553 21:08]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:35

ป๋มอยากได้เฮกเซนมาสกัดพืชอะคับ และมันมีคุณสมบัติที่เด่นอะไรอะคับ

บอกด้วยอะคับrittikai14@thaimail.com คงไม่ต้องถึงกับเอาเบหรอกอะคับ

โดย:  เจนคับ  [8 พ.ย. 2553 15:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:36

ผมใช่สารต้วนี้มาทำเป็นตัวทำละลายของสารสกัดจากมะขามป้อมไม่ทราบว่าจะมีผลอะไรเหรือป่าวอะ

โดย:  tay  [21 ธ.ค. 2553 10:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:37

HEXANE
ทั่วไป
เฮกเซนเป็นสารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลายอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้ผสมสีหรือกาวในงานเฟอร์นิเจอร์ งานพ่นหรืองานทาสี งานทากาวรองเท้า สำหรับโรงงานที่ใช้เฮกเซนได้แก่โรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันพืช และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เฮกเซนเป็นของเหลวใสไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นเฉพาะตัว
ขั้นตอนการประเมิน
1. การชี้บ่งความเป็นอันตราย
แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ในการประเมินความเป็นพิษ
1. ข้อมูลจากมนุษย์ (Human data)
2. ข้อมูลจากสัตว์ทดลอง (Animal data)
3. ข้อมูลจากการศึกษาในหลอดทดลองและเซลล์เพาะเนื้อเยื้อระยะสั้น
(Short term in vitro cell and tissue)
4. ข้อมูลจากการวิเคราะห์โครงสร้างและการออกฤทธิ์ (Structure-activity and lyses)
1.1 การกำหนดค่าความเชื่อมั่นต่อน้ำหนักของหลักฐาน  
ประเมินข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ กำหนดว่าสารเคมีนั้นจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง กลุ่มใดตามที่ US-EPA กำหนด
  1.2 การกำหนดค่า Slope Factor (SF)
เป็นค่าความเป็นพิษที่ใช้ในการประเมินความเป็นพิษของสารก่อมะเร็ง
- ข้อมูลที่ใช้กำหนดค่า SF ใช้ข้อมูลผลการศึกษาในมนุษย์ที่มีวิธีการที่น่าเชื่อถือ
- การอนุมานค่าสำหรับการสัมผัสสารเคมีในปริมาณต่ำ การประเมินความเป็นพิษต้องมีการอนุมาน      จากผลจากผลที่ได้จากการใช้ปริมาณสารเคมีจำนวนมากมาใช้กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากปริมาณสารเคมีปริมาณต่ำ
1.3อันตรายต่อสุขภาพ
เป็นสารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลาย สามารถทำให้เกิดโรคของปลายประสาท และโรคของประสาทส่วนกลางได้ เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเอาไอระเหย แล้วถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด หรือเข้าสู่กระแสเลือดจากการสัมผัสทางผิวหนัง เมื่อสัมผัสสารที่เข้มข้นจะเกิดอาการแบบเฉียบพลัน คือ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นของไอระเหยในอากาศ ซึ่งไม่ควรเกิน 1000 ส่วนในล้านส่วน อาการเฉพาะที่ได้แก่ ผิวหนังบวมแดง อาจมีตุ่มใส ถ้าเข้าตาทำให้กระจกตาขุ่น ระคายเคือง ถ้าได้รับความเข้มข้นต่ำต่อเนื่องนานกว่า 1 เดือน จะเริ่มมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ชาที่ปลายเท้าปลายนิ้ว ปวดกล้ามเนื้อคล้ายเป็นตะคริว กล้ามเนื้อจะอ่อนแรง ลีบถึงขั้นชาแขนเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต อาการเหล่านี้ถ้ายังไม่ถึงขั้นรุนแรง จะทุเลาได้เมื่อหยุดสัมผัส และอาจกลับมาเป็นปกติได้หลังจากหยุดสัมผัสประมาณ 10 เดือน
1.4 ความเป็นพิษ
พิษเรื้อรังทำให้แขนขาชากล้ามเนื้อลีบ
2.การประเมินการตอบสนอง
จากการศึกษาทางพิษวิทยาได้ทดลองในสูตรต่างๆของการผสมที่มีประมาณ 50% n - เฮกเซน
(commercial hexane) สำหรับ n - Hexane - เกิดผลกระทบต่อสุขภาพเล็กน้อยแต่ยังไม่ปรากฏการเสื่อมสภาพของระบบประสาท  (Biodynamics, 1978) อย่างไรก็ตาม 500 ppm เฮกเซนยังคงมีผลในเชิงพาณิชย์ในกระตุ้นอาการบางส่วนของความเสื่อม neuropath logical ในหนูทดลองSprague - Dawley
(IRDC, 1992a, B) Hexane  เป็นสารไม่ก่อมะเร็ง  จะใช้ค่าขนาดอ้างอิง (Reference  dose : RfD)  เพื่อประมาณค่าการรับสารเคมีที่ไม่ใช่สารก่อมะเร็งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งค่า RfD นั้นเป็นค่าขนาดมากที่สุดของ Hexane  ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์โดยปราศจากผลกระทบต่อสุขภาพตลอดช่วงชีวิต  ซึ่งเป็นค่าปริมาณสารเคมีที่สิ่งมีชีวิตได้รับเข้าไปทุกวัยโดยไม่มีความผิดปกติใดๆต่อร่างกาย  ค่า RfD ของ Hexane  มีค่าเท่ากับ  0.06  mg/kg per day   (ข้อมูลจาก http://www.sailhome.org/ )

3.การประเมินการสัมผัส
การพิจารณาว่าสารเคมีเข้าสู่ร่างกายไปมากน้อยเพียงใด ต้องทราบว่า สารเคมีนั้นๆ เข้าสู่ร่าง
กายทางใดซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หรือผ่านทางอาหารที่เป็นสัตว์/พืช ปริมาณที่ร่างกายได้รับจะมีมากแค่ไหน จากนั้นจึงพิจารณาว่าจะเป็นความเสี่ยงหรือไม่ อย่างไร

4.การประเมินการรับสัมผัส
ในการประเมินการรับสัมผัสสาร Hexane นั้นเป็นขั้นตอนวัดปริมาณสารเคมีที่มนุษย์มีโอกาสได้รับเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะใช้เพื่อประเมินอุบัติการณ์การเจ็บป่วยจากการรับสัมผัสสารเคมี ซึ่งสาร Hexane นั้นเน้นการศึกษาทางการรับสัมผัสทางการหายใจต่อสารเคมีที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
EXP   = ( Cmedium   x  CR  x  CF  x  FI  x  ABSf   x  EF   x   ED )
( BW   x   AT  )
ค่า EXP             =       3.5     มิลลิกรัม/กก./วัน (จากโจทย์ที่กำหนดให้)





5.การอธิบายลักษณะความเสี่ยง    
Hexane gxHoสารเคมีชนิดที่ไม่ใช่สารก่อให้เกิดมะเร็ง  จึงใช้แบบจำลองประเมินการตอบสนองจากสารเคมีแบบมีระดับกั้น (Threshold )  โดยมีสูตรคำนวณ คือ              
             ค่าความปลอดภัย (Margin of Safety, MOS )   =        ค่าการรับสัมผัส (Exposure)
       ค่าขนาดอ้างอิง (Rfd)
ค่าการรับสัมผัส ( Exposure )      = 3.5    มก./กก./วัน
ค่าขนาดอ้างอิง  ( Rfd )      = 0.7    มก./กก./วัน
MOS                                 =              3.5 / 0.7
                                                                         =  5
    * ค่า MOS มีค่ามากกว่า 1   แสดงว่า  ปริมาณการได้รับสัมผัสสาร Hexane   เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ *



โดย:  ประวิทย์ เทพสงเคราะห์  [23 ม.ค. 2554 01:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:38

ถ้าเราใส่เฮกเซนผสมกับน้ำที่มีใยปาล์มผสมอยู่จะสามารถแยกน้ำมันออกจากใยปาล์มได้หรือเปล่า

โดย:  สันต์สินี  [31 ม.ค. 2554 15:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:39

สารเฮกเซนจะต้องกำจัดโดยวิธีใดครับ

โดย:  น พ. พิพัฒน์  [16 ก.พ. 2554 15:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:40

   เฮกเซนเป็นของเหลว ณ อุณหภูมิห้อง  สามารถนำมาสกัดนํ้ามันได้จากพืชทุกชนิด


โดย:  บุญฤทธิ์  [11 เม.ย. 2554 00:43]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:41

มีโอกาศที่เฮกเซนจะรวมตัวกับน้ำมัน แล้วกลายเป็นของเหลวหนืดๆ ลักษณะคล้ายอิมัลชันได้มั้ยคะ

โดย:  poeypoey  [20 เม.ย. 2554 21:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:42

อยากทราบว่ามีงานวิจัยเกี่ยวกีบความสามารถในการฆ่าเชื้อไหมครับ

โดย:  แบงค์  [23 เม.ย. 2554 16:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:43

เคยอ่านข้อมูลการสกัดน้ำมันรำข้าวว่าต้องใช้สารเฮกเซนในการที่จะได้น้ำมันออกมาจากรำข้าว แต่ก้อมีการสกัดเอาสารตัวนี้ออกไปอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้น้ำมันออกมาเรียบร้อยแล้ว คำถามคือมันสกัดเอาออกไปได้หมดจริงๆหรือ ถ้าสมมุติว่าสกัดออกไปไม่หมด มีตกค้างอยู่นิดหน่อยในน้ำมันรำข้าวที่เรากิน แล้วถ้าเรากินไปทุกๆวันมันจะมีผลกระทบต่อร่างกายเรามั๊ยคะ

โดย:  apple  [26 มิ.ย. 2554 17:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 25:44

อยากทราบด้วยค่ะว่า กรณีการสกัดน้ำมันรำข้าวโดยใช้สารเฮกเซน กับการสกัดแบบเย็น (Cold Press) อย่างไหนปลอดภัยต่อสุขภาพคนเรามากกว่ากันค่ะ

โดย:  ต้นอ้อย  [27 มิ.ย. 2554 21:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 26:45

สารนี้เป็นสารประเภทไหน


โดย:  thasnee  [28 ส.ค. 2555 10:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 27:46

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีนะคะ แล้วเราสามารถเห็นตัวเฮกเซลเปล่าๆได้มั้ยคะ อยากเห็นอ่ะค่ะ

โดย:  น้องจ๋า^^"  [2 ม.ค. 2556 20:31]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 28:49

อยากปรึกษาเรื่องการสกัดนำมันพืชโดยใช้สารเฮกเซล

โดย:  มารียา  [23 ต.ค. 2557 20:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 29:50

ความเป็นกรดเบศของเฮกเซน และ ความถ่วงเฉพาะ และความดันไอของเฮกเซน และการละลายน้ำคืออะไรค่ะ


โดย:  katae  [25 ต.ค. 2557 17:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 30:51

ถ้านำมาประสมกับน้าจะเป็นยังไงคับ
ความหนาแน่จะเป็นอย่างไร จุกเดือดละคับ


โดย:  อาร์ม  [29 ต.ค. 2558 12:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 31:58

ดีมาก

โดย:  กนกกาญจน์  [13 ต.ค. 2560 10:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 32:59

การแยกเฮกเซนออกจากสารสกัดจากดอกดาวเรืองทำได้อย่างไรคะ อยากแยกออกให้หมด เหลือแต่สารบริสุทธิ์ที่ไม่มีตัวทำละลายแบบเฮกเซนหลงเหลืออยู่เลย

โดย:  Phat  [26 พ.ย. 2560 13:37]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 33:60

อยากทราบกลไกความเป็นพิษของเฮกเซนค่ะ

โดย:  BB  [3 เม.ย. 2563 07:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 34:61

ใช้ถังไฟเบอร์กลายบรรจุได้หรือไม่ครับ

โดย:  ธรรมดา  [21 ต.ค. 2563 17:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 35:62

ตรวจพบ เฮกเซน ในปัสสาวะสูงกว่าปกติ อัตรายมากไหมครับ

โดย:  GOT  [22 ต.ค. 2563 16:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 36:63

ตรวจพบสารเฮกเชนในปัสสาวะ​มากกว่าปกติอันตรายมากเปล่าค่ะ

โดย:  สุดใจ  [27 ม.ค. 2564 06:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 37:64

เฮกเซน ไม่ใช่ของเล่น การระเหยความไวไฟต่อประกายไฟ รวดเร็ว ถึงขั้นนอนเป็นมัมมี่ได้

โดย:  ยศธร  [14 ส.ค. 2564 22:22]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น