สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
GHS-SDS

GHS 2015 มีอะไรใหม่?

ผู้เขียน: admin
วันที่: 10 ต.ค. 2559

GHS 2015 มีอะไรใหม่­

 

ผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงสารเคมีคงรู้จักและคุ้นเคยกับ GHS กันแล้วหรืออย่างน้อยก็ต้องเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้าง เนื่องเพราะในช่วง 3-4 ปีมานี้ทั่วโลกเริ่มนำระบบที่เรียกกันว่า GHS มาบังคับใช้ในการจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมี รวมทั้งการสื่อสารความเป็นอันตรายดังกล่าวผ่านฉลากติดภาชนะบรรจุและเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet) หรือ SDS

ระบบ GHS เป็นระบบจำแนกความเป็นอันตรายและติดฉลากของสารเคมี ที่หลายหน่วยงานทั่วโลกร่วมกันพัฒนามายาวนานกว่า 10 ปี โดยคณะทำงานสากลไดจัดพิมพ์หนังสือ GHS เล่มแรกในปี ค.ศ. 2003 และมีการปรับปรุงใหม่ทุก ๆ 2 ปี ปัจจุบันหนังสือ GHS เป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 6 (GHS 2015) แล้ว

สำหรับ GHS 2015 นี้ ได้มีการปรับปรุงที่สำคัญคือ การเพิ่มประเภทความเป็นอันตรายทางกายภาพจากเดิมซึ่งมีอยู่ 16 ประเภท ขึ้นมาอีก 1 ประเภท รวมเป็น 17 ประเภท ได้แก่ Desensitized Explosives ซึ่งหมายถึงสารหรือสารผสมที่ระเบิดได้ แต่ได้รับการกดสมบัติระเบิดได้ไว้ไม่ให้เกิดการระเบิดที่รุนแรงและไม่เกิดการลุกไหม้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้สารหรือสารผสมเหล่านี้อาจไม่เข้าข่ายเป็นวัตถุระเบิด

Desensitized Explosives แบ่งเป็นประเภทย่อย 4 ประเภท แต่ละประเภทย่อยมีการกำหนดรูปสัญลักษณ์ (symbol) คำสัญญาน (signal word) และข้อความแสดงความเป็นอันตราย (hazard statement) ไว้ดังนี้

 

Category 1

Category 2

Category 3

Category 4

Symbol

Flame

Flame

Flame

Flame

Signal word

Danger

Danger

Warning

Warning

Hazard statement

Fire, blast or projection hazard; increased risk of explosion if desensitizing agents is reduced

Fire, blast or projection hazard; increased risk of explosion if desensitizing agents is reduced

Fire, blast or projection hazard; increased risk of explosion if desensitizing agents is reduced

Fire, blast or projection hazard; increased risk of explosion if desensitizing agents is reduced

 

นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มประเภทย่อยเกี่ยวกับ pyrophoric gases ในความเป็นอันตรายประเภทก๊าซไวไฟ (Flammable gases) ทำให้ประเภทย่อยของก๊าซไวไฟเพิ่มขึ้นเป็น 5 ประเภทย่อย จากเดิมที่มีเพียง 2 ประเภทย่อย และกำหนดองค์ประกอบสำหรับสื่อสารดังนี้

 

 

 

Flammable gas

 

 

Additional; sub-categories

Pyrophoric gas

Chemically; unstable gas

Category 1

Category 2

Pyrophoric gas

Category A

Category B

Symbol

Flame

No symbol

Flame

No additional symbol

No additional symbol

Signal word

Danger

Warning

Danger

No additional signal word

No additional signal word

Hazard statement

Extremely flammable gas

Flammable gas

May ignite spontaneously if exposed to air

May react explosively even in the absence of air

May react explosively even in the absence of air at elevated pressure and/or temperature

 

ในส่วนประเทศไทยมีประกาศกระทรวงใช้บังคับในเรื่อง GHS แล้ว โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 หน่วยงานรับผิดชอบได้ออกประกาศกระทรวงในเรื่อง GHS ดังนี้

1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดใช้บังคับกับสารเดี่ยว 11 มีนาคม 2556 สารผสม 11 มีนาคม 2560

2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กำหนดใช้บังคับกับสารเดี่ยว 18 มีนาคม 2559 สารผสม 18 มีนาคม 2563

3. กรมปศุสัตว์ กำหนดใช้บังคับกับสารเดี่ยว 9 กรกฎาคม 2559 สารผสม 9 กรกฎาคม 2563

 

ประกาศกระทรวงทั้ง 3 ฉบับอ้างอิงตาม GHS ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 คือ GHS 2009 ดังนั้นการจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีตามกฎหมาย GHS ของไทยยังคงมีประเภทความเป็นอันตรายทางกายภาพ 16 ประเภท

 

อ่านเพิ่มเติม : GHS คืออะไรและทำไมถึงเกี่ยวข้องกับคนไทย

 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น