สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
GHS-SDS

GHS คืออะไร

ผู้เขียน: CIMU
วันที่: 1 ม.ค. 2555

GHS คืออะไร

      GHS (Globally Harmonised System for Classification and labeling of Chemicals) เป็นระบบการจัดกลุ่มสารเคมี การติดฉลาก และการแสดงรายละเอียดบนเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS) เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถสื่อสารและเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอันตรายที่เกิดจากสารเคมีในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่ายในการทดสอบและประเมินสารเคมี ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นว่าการใช้สารเคมีแต่ละประเภทจะถูกต้องตามวัตถุประสงค์ โดยไม่เกิดผลเสียหรืออันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด

 

สาระสำคัญของ GHS

 

1. จุดมุ่งหมายของระบบ
1.1
เพื่อยกระดับการป้องกันอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้มีระบบที่เข้าใจได้ง่ายในการสื่อสารข้อมูลและอันตรายของสารเคมี
1.2
มีแนวทางให้กับประเทศที่ยังไม่มีระบบการจัดกลุ่มสารเคมีและการติดฉลาก
1.3
ลดความซ้ำซ้อนของการทดสอบและการประเมินสารเคมี
1.4
อำนวยความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศ สำหรับสารเคมีที่ได้ประเมินและจำแนกแล้วตามหลักเกณฑ์พื้นฐานระหว่างประเทศ
2. หลักการของระบบ GHS มีดังนี้
2.1
ระดับการปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจะต้องไม่ลดลงไปจากระบบที่ใช้อยู่เดิม
2.2
การจัดกลุ่มอันตรายของผลิตภัณฑ์เคมีจะพิจารณาคุณสมบัติเฉพาะตัวเท่านั้น (ผลิตภัณฑ์ รวมถึงสารประกอบ สารผสม สารละลาย)
2.3
การจัดกลุ่มอันตรายและการสื่อข้อมูลอันตรายต้องมีพื้นฐานและเชื่อมโยงสอดคล้องกัน
2.4
คำนึงถึงการจัดกลุ่มและการสื่อข้อมูลอันตรายที่มีอยู่เดิม
2.5
ระบบเดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงและดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
2.6
เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการสื่อข้อมูลอันตรายจะต้องทำให้เข้าใจได้ง่าย
2.7
การจัดกลุ่มอันตรายในระบบใหม่ต้องยอมรับข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่มีอยู่เดิม
2.8
การปกป้องสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงการปกป้องความลับทางธุรกิจด้วย
3. ขอบเขตของระบบ GHS จะครอบคลุมถึง สารเคมี สารผสม รวมถึงสารเคมีที่อยู่ในกระบวนการผลิต โดยหลักเกณฑ์ของระบบมีดังนี้
3.1
หลักเกณฑ์ในการจัดจำแนกความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับหลักการ 3 ข้อ คือ
 
  • ความเสี่ยงและอันตรายทางกายภาพ จากการระเบิด ก๊าซไวไฟ ของเหลวที่ถูกอัดในภาชนะกับก๊าซ (aerosols) ที่อาจติดไฟ เป็นต้น
  • ความเสี่ยงและอันตรายต่อสุขอนามัยและสภาวะแวดล้อม เช่น อาการเป็นพิษรุนแรง ความระคายเคืองต่อผิวหนังหรือดวงตา และการซาบซึมเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
  • ส่วนผสมของสารในกระบวนการผลิตที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอันตรายต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
3.2
การสื่อข้อมูลความเสี่ยงตามวิธี ดังนี้
 
3.2.1
คำเตือนและข้อความที่ชี้ระดับความรุนแรงของอันตราย เช่น "Danger” หรือ “Warning” สำหรับกรณีที่ต้องการเน้นอันตรายหรือแบ่งแยกระหว่างระดับอันตราย
3.2.2
ชื่อผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย และสถานที่ที่ติดต่อได้้
3.2.3
ชื่อสารเคมี หรือในกรณีสารผสมให้ระบุสารเคมีองค์ประกอบที่มีอันตรายสูง
3.2.4
การติดฉลากที่แสดงรูปภาพหรือสัญลักษณ์ เครื่องหมาย คำเตือน ข้อควรระวัง และส่วนผสม ซึ่งคำเตือนจะแตกต่างกันระหว่างขั้นขนส่งและสินค้าขั้นสุดท้าย กล่าวคือ
 
  • การให้ข้อมูลในขั้นการขนส่งให้ใช้เครื่องหมายรูปภาพ ดังต่อไปนี้ ที่สามารถนำมา ใช้ปฏิบัติกับกรณีอื่น (เช่น สถานที่ทำงาน) โดยผ่านความเห็นชอบจาก หน่วยงานรับผิดชอบ
  • ในขณะที่การเตือนภัยในกระบวนการอื่นต้องใช้เครื่องหมายเป็นรูปภาพ GHS Pictograms
 
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใช้เครื่องหมายรูปภาพขั้นขนส่งแล้วไม่จำเป็นต้องมีการใช้เครื่องหมายรูปภาพ GHS อีก
3.2.5
การจัดทำเอกสารแสดงความปลอดภัยของวัสดุ (material safety data sheet) และความปลอดภัยสินค้า (safety data sheet) จะมีอยู่ 16 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ชื่อสาร ชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายและสถานที่ติดต่อ ส่วนประกอบ อันตราย การปฐมพยาบาล มาตรการผจญเพลิง มาตรการจัดการสารหกรั่วไหล การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การคุ้มครองอันตรายส่วนบุคคล คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี เสถียรภาพและความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา พิษวิทยา นิเวศวิทยา การกำจัด การขนส่ง กฎระเบียบข้อบังคับ และข้อมูลอื่น ๆ

องค์ประกอบฉลาก ตามระบบ GHS

GHS กำหนดองค์ประกอบของฉลากไว้ดังนี้
องค์ประกอบ
ตัวอย่าง
1. ชื่อผลิตภัณฑ์
 
 
 
2. ชื่อผู้ผลิต
 
 
 
3. ชื่อสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ / ที่เป็นอันตรายในผลิตภัณฑ์
 
 
 
4. สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี (Hazard Pictogram)
5. คำสัญญาณ (Signal word)
อันตราย
(Danger)
อันตราย
(Danger)
ระวัง
(Warning)
6. ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Hazard Statement)
  • ละอองลอยไวไฟ
  • ทำให้ผิวหนังไหม้ และทำอันตรายต่อดวงตา
  • อาจกัดกร่อนโลหะ
  • อาจก่อให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง
7. ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตราย เก็บรักษา กำจัดกาก และจัดการเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน (Precautionary Statement) 
  • เก็บให้ห่างจากเปลวไฟ แสงแดดหรือที่อุณหภูมิสูงกว่า 50oC
  • ห้ามสูบบุหรี่
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย เช่น ถุงมือ เสื้อ หน้ากาก และแว่นเพื่อความปลอดภัย
  • เก็บให้มิดชิด
  • ใช้ถุงมือป้องกัน

ที่มา: ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี

 

สัญลักษณ์แสดงอันตราย (Hazard Pictogram) ตามระบบสากล GHS

 

 องค์ประกอบของฉลากที่สำคัญได้แก่ รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี ซึ่งตามระบบ GHS ได้กำหนดไว้ 9 รูปดังแสดงในตารางต่อไปนี้
  • สารไวไฟ
  • สารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตนเอง
  • สารที่ลุกติดไฟได้เอง
  • สารที่เกิดความร้อนได้เอง
  • สารที่ให้ก๊าซไวไฟ
  • สารออกซิไดส์
  • สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์
  • วัตถุระเบิด
  • สารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตนเอง
  • สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์
  • ก๊าซภายใต้ความดัน
  • เป็นอันตรายถึงชีวิต
  • กัดกร่อน
  • ระคายเคืองผิวหนังและดวงตา
  • ทำให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง
  • เป็นพิษเฉียบพลัน
  • เป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมาย
  • เป็นอันตรายต่อโอโซนในชั้นบรรยากาศ
  • ก่อมะเร็ง
  • หากสูดเข้าไปทำให้เกิด
    การแพ้หรือหอบหืดหรือ หายใจลำบาก
  • เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์
  • เป็นพิษต่อระบบอวัยวะ เป้าหมาย
  • ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์
  • อันตรายจากการสำลัก
  • เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
ที่มาข้อมูล :
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ดีค่ะ

โดย:  fang  [18 ต.ค. 2565 15:31]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น