สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

เพลิงไหม้โรงงานรองเท้าเมืองส้มโอวอด 10 ล้าน

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
หน่วยงาน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 17 ก.ค. 2548

          อุบัติเหตุเพลิงไหม้เมื่อเกิดขึ้นที่โรงงาน    สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือสารเคมีที่ใช้ในโรงงานเมื่อมันลุกไหม้ย่อมส่งผลกระทบได้มากกว่าเพลิงที่ลุกไหม้จากบ้านเรือนชุมชน   เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นโรงงานผลิตพื้นยางรองเท้า  ซึ่งภายในมีถังสารเคมีที่ใช้ในการผลิตพื้นรองเท้า   มีเสียงระเบิดดังและประกายไฟกระเด็นไปติดกับถังสารเคมีจนเกิดไฟลุกไหม้  ลุกลามไปติดกับแท่งยางที่เป็นชิ้นส่วนของพื้นรองเท้ารูปแบบต่าง ๆ   คาดเดาได้ว่าสารเคมีที่เกี่ยวข้องในการผลิตรองเท้าหรือพื้นรองเท้า  ส่วนหนึ่ง คือ สารพวกตัวทำละลาย เช่น แอลกอฮอล์ กาว ทินเนอร์ อีกส่วนหนึ่งคือยางและเม็ดพลาสติก   ตัวทำละลายมักเป็นสารไวไฟที่พร้อมจะลุกติดไฟได้เมื่อมีประกายไฟ  ความร้อน และอากาศ (ซึ่งหมายถึง ออกซิเจนที่ทำให้ไฟไหม้)   สารไวไฟจะต้องเก็บแยกต่างหากเพื่อให้สามารถจำกัดพื้นที่ได้หากเกิดไฟไหม้  อีกส่วนหนึ่งคือยางซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี    สำหรับเม็ดพลาสติกนั้นขึ้นอยู่ว่าเป็นพลาสติกชนิดไหน   เพราะเมื่อไฟไหม้พลาสติกที่มีส่วนประกอบของคลอรีน เช่น โพลีไวนิลคลอไรด์  จะให้แก๊สพิษออกมาได้  การผจญเพลิงก็ต้องคำนึงถึงการป้องกันการสูดดมไอของสารพิษที่อาจเกิดขึ้นด้วย   นอกเหนือจากควันไฟทั่วไป

 

 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น